ระบบ ที่ ไม่มี สายดิน เมื่อ เกิด ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะ ย้อน กลับ ไป ครบ วงจรที่ ใด

แบบที่ 1

คือ กระแสไฟฟ้าในระบบสูง เกินปกติ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฉนวนสายไฟฟ้าเสื่อมแล้วสายทองแดงสองเส้นมาแตะกันเกิด “ไฟฟ้าช็อต” ทำให้กระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ในระบบมากกว่า
ปกติจนกลายเป็น “ไฟฟ้าลัดวงจร” เพราะไฟฟ้าจากสายไฟวิ่งลัดไปทางอื่นแทนที่ จะวิ่งผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า

แบบที่ 2

คือกระแสไฟฟ้าหายไปจากระบบ โดยปกติกระแสไฟฟ้าที่วิ่งเข้าบ้าน กับที่จะวิ่งกลับออกมาต้องเท่ากัน เมื่อไรที่กระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าไม่เท่ากับกระแสไฟฟ้าที่วิ่งกลับออกมาแสดงว่าต้องเกิด“ไฟรั่ว”ในระบบเรื่องนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งของตู้เย็นเสื่อมสภาพทำให้สายทองแดงแตะที่โครงตู้เย็น แต่ยังไม่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เพราะสายไฟฟ้าแตะแค่เส้นเดียวถ้าสายไฟฟ้าแตะกันสองเส้นจะกลายเป็น“ไฟช็อต”เหมือนแบบที่ 1

ช่วงแรกอาจยังไม่มีปัญหาเพราะไฟฟ้าที่วิ่งเข้าและวิ่งออกจากตู้เย็นยังเท่ากันอยู่ แต่เมื่อไรที่มีคนไปจับตู้เย็น กระแสไฟฟ้าที่วิ่งอยู่รอบตู้เย็นจะไหลเข้ามาที่ตัวคนแล้ว วิ่งลงดินทำให้กระแสไฟฟ้าที่วิ่งเข้า และวิ่งออกจากตู้เย็นไม่เท่ากัน เกิดเป็น “ไฟรั่ว” หรือ “ไฟดูด” นั่นเอง

แล้วจะป้องกันได้อย่างไรสำหรับไฟช็อตหรือกระแสไฟฟ้าสูงเกินปกติให้ติดตั้ง อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าเกิน สมัยก่อนคือ “ฟิวส์” ที่เมื่อเกิดไฟฟ้าเกินฟิวส์จะขาด ทำให้ไฟฟ้าที่ลัดวงจรนั้นดับ เดี๋ยวนี้มีอุปกรณ์ที่ใช้แทนฟิวส์คือ เบรกเกอร์ ซึ่งจะตัดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติที่เรามักเรียกอาการนี้ว่า “เบรกเกอร์ทิป” เมื่อแก้ไขปัญหาจุดที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้แล้วเราก็แค่เปิดหรือสับเบรกเกอร์ขึ้นไปใหม่ โดยไม่ต้องซื้อฟิวส์มาใส่ใหม่เหมือนสมัยก่อน

ส่วนการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าหายไปจากระบบหรือไฟรั่วไฟดูด มีหลายวิธี เริ่มจากการติดตั้งสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ง่าย เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำร้อน ฯลฯ สายดินจะนำไฟฟ้าที่รั่วไหลลงดินทำให้ไม่เกิดไฟดูดหากเราไปจับเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น แต่ต้องเข้าใจว่า ไฟฟ้ายังคงรั่วตลอดเวลา และเราต้องเสียค่าไฟฟ้าที่รั่วลงดินนี้ด้วย

ข้อจำกัดของสายดิน

การติดตั้งสายดิน ไม่สามารถติดตั้งได้กับอุปกรณ์ทุกประเภท เช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และก็ไม่ครอบคลุมทุกชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุจากความประมาท หรือความพลั้งเผลอได้อีกด้วย เช่น ถ้าเด็กเล็กๆ เอาแท่งโลหะแหย่เข้าไปในรูปลั๊กไฟฟ้าสายดินก็ไม่สามารถ
ป้องกันอันตรายได้

จึงมีการผลิตเครื่องป้องกันไฟดูดที่จะวัดความแตกต่างระหว่างกระแสไฟฟ้า ที่ไหลเข้ากับที่ไหลกลับ ซึ่งตามที่บอกไว้แล้วว่าปริมาณไฟฟ้าสองส่วนนี้ต้องเท่ากันเสมอ เมื่อไรที่กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับ แสดงว่า ต้องเกิดไฟดูดหรือไฟรั่วที่จุดใดจุดหนึ่ง ตัวเครื่องป้องกันไฟดูดจะตัดกระแสไฟฟ้าทันทีคนขายมักคุยว่าตัดไฟฟ้าได้เร็วมากเพียงเสี้ยววินาที

เจ้าเครื่องนี้มีหน้าปัดให้หมุนเลือกว่าจะยอมให้ไฟฟ้ารั่วได้เท่าไร ตั้งแต่ 5 มิลลิแอมป์ ไปถึง 30 มิลลิแอมป์ หรือจะต่อตรง ซึ่งปัจจุบันไม่ยอมให้มีตัวเลือกแบบต่อตรงแล้ว เพราะถ้าหมุนไปที่ต่อตรงหมายความว่าระบบนี้จะไม่ตัดไฟเลย แม้ว่าไฟจะรั่ว มากแค่ไหนก็ตาม ฉะนั้นติดไปก็เสียเงินเปล่าอย่าติดดีกว่า

ปัจจุบันเครื่องประเภทนี้มีขนาดเล็กลงจนเท่ากับเบรกเกอร์ สามารถใส่ในตู้กล่องไฟ ได้เลยมีชื่อเรียกว่า Earth Leakage Circuit Breaker หรือ ELCB ซึ่งกำหนดค่า ยอมให้ไฟฟ้ารั่วไว้ตายตัวที่ 30 มิลลิแอมป์ ซึ่งเป็นค่าสูงสุดของไฟฟ้ารั่วที่มาตรฐาน ยอมรับได้นั่นเอง

แนะนำให้แยกวงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ออกจากกัน ได้แก่ เครื่องทำน้ำอุ่น ปลั๊กในห้องน้ำ ปลั๊กใกล้อ่างล้างหน้า ปลั๊กในชั้นใต้ดิน ปลั๊กภายนอกอาคาร จากนั้นให้ติดตั้งเครื่องป้องกันไฟดูดที่วงจรนั้น ถ้ามีงบพอก็ติดแยกเป็นวงจรละตัว ถ้ามีงบจำกัดให้รวมวงจรไว้ด้วยกันแล้วติดตัวเดียว แต่ไม่ควรติดตัวป้องกันไฟดูด ตัวใหญ่เพียงตัวเดียวที่วงจรหลักอย่างที่หลายๆ บ้านทำกัน เพราะในวงจรไฟฟ้า จะมีไฟรั่วเสมอ เลยทำให้เครื่องป้องกันไฟดูดต้องตัดไฟตลอดเวลา และไม่ควรติดตัวป้องกันไฟดูดที่วงจรเครื่องปรับอากาศหรือปั๊มน้ำ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มี โอกาสไฟรั่วได้เสมอ แต่ให้ป้องกันไฟรั่วโดยติดตั้งสายดินแทน

เผยแพร่เมื่อ:  12/07/2564....,
เขียนโดย คุณวุฒิพงศ์ ปัทมวิสุทธิ์
               ที่ปรึกษาและวิทยากรอิสระ
...,

เรื่อง อันตรายและการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

          ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า กับอุปกรณ์และบริภัณฑ์ไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้า จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในข้อกำหนดกฎหมาย ความรู้ทางทฤษฎีไฟฟ้า การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เพื่อเป็นพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ บริภัณฑ์ไฟฟ้า ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ช่างเทคนิค วิศวกร ในองค์กร และรวมถึงการติดตาม และควบคุม ตรวจสอบ การทำงานของช่างผู้รับเหมาที่เข้ามาทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ให้มีความปลอดภัยในการทำงาน และใช้งานได้อย่างปลอดภัย

          การเกิดอันตรายจากไฟฟ้า จะแบ่งตามลักษณะของอันตรายได้ 2 ประเภทคือ อันตรายที่เกิดกับบุคคล และอันตรายที่เกิดกับทรัพย์สิน รวมถึงอาจมีผลกระทบที่เกิดต่อเนื่องจากอุบัติเหตุจากไฟฟ้า ทั้งบุคคล ทรัพย์สินและชุมชนหรือสาธารณะ

          ข้อแรก อันตรายจากไฟฟ้าที่เกิดกับบุคคล  แบ่งออกได้ดังนี้
                    
1.1 อันตรายจาก ไฟฟ้าดูด (Electric Shock)คือการมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านส่วนต่างๆของร่างกาย โดยที่ไฟฟ้าจะดูดเราได้ก็ต่อเมื่อร่างกายสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า 2 จุด และ 2 จุดนั้นมีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน ทำให้ร่างกายเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า โดยความรุนแรงของอันตรายจากไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับ
                              - 
แรงดันไฟฟ้าระหว่างจุดสัมผัส 2 จุด
                              - 
ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย
                              - 
ระยะเวลาที่สัมผัสกับไฟฟ้า
                              - 
เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
                              - 
ความต้านทานของร่างกาย ณ ขณะสัมผัสไฟฟ้า

                      การสัมผัสส่วนที่มีกระแสไฟฟ้า แบ่งการสัมผัสออกเป็น 2 แบบ คือ
                              
1) การสัมผัสโดยตรง ( Direct Contact ) ความหมายคือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับตัวนำไฟฟ้าที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าแล้ว หรือไปสัมผัสกับบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ไปสัมผัสกับตัวนำไฟฟ้าที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าแล้วทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายไปครบวงจรที่แหล่งจ่ายไฟฟ้า 
                              
2) สัมผัสโดยอ้อม ( Indirect Contact ) ความหมายคือร่างกายส่วนใสส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายครบวงจรลงดิน

ระบบ ที่ ไม่มี สายดิน เมื่อ เกิด ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะ ย้อน กลับ ไป ครบ วงจรที่ ใด

                    1.2 อันตรายจาก ประกายไฟจากการอาร์ก (Arc Blast) การอาร์กเป็นการปล่อยประจุไฟฟ้าออกสู่อากาศในรูปของแสง เกิดขึ้นเมื่อมีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมช่องว่างระหว่างสายตัวนำมีค่าสูงเกินค่าความคงทนของไดอิเล็กทริก (dielectric strength) ของอากาศ และมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอากาศ ทำให้เกิดดังนี้

ระบบ ที่ ไม่มี สายดิน เมื่อ เกิด ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะ ย้อน กลับ ไป ครบ วงจรที่ ใด

                              1) รังสีความร้อน และแสงจ้า ทำให้เกิดอันตรายกับบุคคลที่ปฏิบัติงานหรืออยู่ใกล้
                              
2) โลหะหลอมละลาย สร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์
                              
3) แผลไหม้จากการอาร์ก (Arc Burns) ความรุนแรงของแผนไหม้มี 3 ระดับดังนี้
                                        - 
ความรุนแรงระดับ 1 หนังกำพร้าผิวนอกถูกทำลายแผงบวมแดง
                                        - 
ความรุนแรงระดับ 2 หนังกำพร้าตลอดทั้งชั้นและหนังแท้ส่วนตื้นๆ ถูกทำลายผิวหนังอาจหลุดลอดเห็นเนื้อแดง น้ำเหลืองซึม การรักษาไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นขึ้นได้
                                        - 
ความรุนแรงระดับ 3 หนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ และเซลประสาทถูกทำลาย ผิวหนังทั้งชั้นหลุดลอกเห็นเนื้อแดงหรือเนื้อไหม้เกรียม บาดแผลประเภทนี้จะไม่หายเอง จำเป็นต้องรักษาให้ถูกวิธี อาจเกิดมีการดึงรั้งของแผลทำให้ข้อยึดติด เมื่อหายแล้วจะเป็นแผลเป็น บางรายจะพบแผลเป็นที่มีลักษณะนูน ถือเป็นบาดแผลที่ร้ายแรง

                    1.3 อันตรายจาก การระเบิดจากการอาร์ก (Arc Blast) เมื่อเกิดจากการอาร์กขึ้นในพื้นที่จำกัด เมื่ออากาศได้รับความร้อนจากอาร์กก็จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว อาจมีอุณภูมิสูงและความดันที่มีพลังงานสูง ทำให้บุคคลได้รับอันตรายจากการกระเด็น กระแทกกับของแข็ง หรือทำให้ตกจากที่สูง

ระบบ ที่ ไม่มี สายดิน เมื่อ เกิด ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะ ย้อน กลับ ไป ครบ วงจรที่ ใด

          ข้อสอง อันตรายจากไฟฟ้าที่มีผลกับทรัพย์สิน  แบ่งออกได้ดังนี้
                    
2.1 ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) คือการที่มีจุด 2 จุดในวงจรไฟฟ้ามาสัมผัสกัน มี 2 กรณี
                              1) การสัมผัสระหว่างสายไฟฟ้ากับสายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า
                              
2) การสัมผัสระหว่างสายไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้ากับดินหรือสายดิน

                           สาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร อาจเกิดจากฉนวนไฟฟ้าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ แรงดันที่ใช้เกินขนาดหรือมีกระแสไฟฟ้าเกินขนาดของสายไฟฟ้า และอาจเกิดจากการที่ตัวนำไฟฟ้าที่มีแรงดันต่างกันสัมผัสกันหรือ ตัวนำไฟฟ้าสัมผัสกับดินหรือสายดิน
                           
เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรแล้วจะมีผลให้ สายไฟฟ้าหรือเครื่องใช้อุปกรณ์ บริภัณฑ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหาย อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ ทรัพย์สินเสียหาย และบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุได้รับอันตรายบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

                           แนวทางในการป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
                                   - 
เลือกอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งที่ได้มาตรฐานและติดตั้งตามมาตรฐานที่กำหนด
                                   - 
มีการตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่เป็นประจำ
                                   - 
ดูแลบำรุงรักษา ทำความสะอาดเครื่องใช้ บริภัณฑ์ไฟฟ้าตามรอบระยะเวลา
                                   - 
เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับรองมาตรฐาน มอก. หรือ มาตรฐานสากลอื่นๆ
                                   - 
ศึกษาและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ตามคู่มือที่ผู้ผลิดหรือวิศวกรกำหนด

                           เมื่อเกิดเพลิงไหม้ที่สายไฟฟ้า เครื่องใช้หรือบริภัณฑ์ไฟฟ้า การดับเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรจะต้องดำเนินการดังนี้
                                   - 
ตัดแหล่งจ่ายไฟฟ้าออกถ้าทำได้
                                   - 
แจ้งเหตุเพลิงไหม้ยังหน่วยดับเพลิงในพื้นที่ หรือ โทรศัพท์แจ้งเหตุไฟไหม้ ขอความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่หมายเลข 199
                                   - 
ใช้ถังดับเพลิง ชนิด Class C (Electrical Equipment) ที่เหมำสมกับเพลิงไหม้ที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่
                                   - 
ในกรณีที่เป็นไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลง เสาไฟฟ้า ให้แจ้งการไฟฟ้าพื้นที่ การไฟฟ้านครหลวง แจ้งโทร 1130 และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโทร 1129

                    2.2 การเกิดเพลิงไหม้ เนื่องจากความร้อนจากบริภัณฑ์ไฟฟ้า ยังเกิดจากอีกหลายสาเหตุดังนี้
                              - 
ความร้อนจากการใช้งานเกินกำลังของเครื่องใช้ไฟฟ้า
                              - 
ความร้อนจากการใช้งานตามปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดความร้อน
                              - 
ความร้อนจากการต่อสายไฟฟ้าไม่แน่น ไม่ได้มาตรฐาน
                              - 
ขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษา
                              - 
การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมกันหลายเครื่องในเต้ารับหรือสายพ่วงเดียวกัน
                              - 
ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความสามารถในการซ่อมบำรุงษา
                              - 
การติดตั้งไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า 

          วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
                    วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสำหรับผู้ประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม การจัดให้มีข้อบังคับในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ โดยนายจ้างเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้ลูกจ้างมีความปลอดภัย นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558

                    สำหรับแนวทางการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ามีดังนี้
1. 
การป้องกันการสัมผัสโดยตรง  การป้องกันสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
                                        - 
ติดตั้งเครื่องปลดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้ารั่ว
                                           
เบรกเกอร์จะไม่สามารถตัดวงจรได้เนื่องจากไฟฟ้าดูดได้ สำหรับไฟบ้าน 220 โวลต์ กระแสจะผ่านร่างกายประมาณ 0.22 แอมแปร์ หรือ 200 มิลลิแอมแปร์ ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ตัดไฟฟ้ารั่วอัตโนมัติมาร่วมทำงานด้วยโดยใช้อุปกรณ์ประเภท RCD (Residual Current Devices) ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้ารั่วได้ ซึ่งจะตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วเกินมาตรฐานที่กำหนด
                                        - 
ใช้การหุ้มฉนวนส่วนที่มีไฟ (Insulation of Live Parts) เช่นสายไฟ หรือส่วนที่มีโอกาสสัมผัสส่วนทองแดงหรือโลหะที่มีไฟฟ้าได้
                                        - 
ป้องกันโดยวิธีใช้สิ่งกั้น หรืออยู่ภายในตู้ (Barrier or Enclosures) จะต้องทำการล็อกไม่ให้เข้าถึงได้ง่าย
                                        - 
ป้องกันโดยใช้รั้วหรือสิ่งกีดขวาง (Fence or Obstacles) ทำการปิดกั้นไม่ให้ผ่านเข้าถึงได้
                                        - 
ติดตั้งอยู่ในระยะที่เอื้อมไม่ถึง (Placing Out or Reach) เช่นนำสายไฟฟ้า ไว้สูงจากพื้นดิน หรือห่างจากอาคารในระยะที่เอื้อมไม่ถึง
                                        - 
ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personnel Protective Equipment) ให้ผู้ปฏิบัติงาน สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือยางพร้อมถุงมือหนัง รองเท้านิรภัย หมวกนิรภัย

                              2. การป้องกันการสัมผัสโดยอ้อม การป้องกันสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
                                        - 
บริภัณฑ์ไฟฟ้าให้ทำการต่อสายดินและต้องมีเครื่องปลดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ 
                                           
การต่อสายดินอย่างเดียวโดยไม่ติดตั้งเครื่องปลดวงจรไฟฟ้ารั่วอัตโนมัติ กรณีถ้ามีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลจะรั่วไหลลงดิน เมื่อเราสัมผัสบริภัณฑ์ที่มีไฟฟ้ารั่วก็จะไม่ไหลผ่านร่างกายเรา ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัย แต่กระแสไฟจะรั่วไหลลงดินไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าได้ ดังนั้นถ้าติดตั้งคู่กับเครื่องปลดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ จะทำให้ตัดออกจากระบบไฟฟ้าทันทีเมื่อกระแสรั่วไหลเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้  โดยมาตรฐานประเทศไทยอยู่ที่ 30 มิลลิแอมป์      
                                        - 
ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทฉนวน 2 ชั้น (Double Insulation) เครื่องใช้ประเภท 2 จะไม่มีสายดินแต่จะมีการออกแบบพิเศษให้มีความหนาของฉนวนมากกว่าปกติหรือมีฉนวนหนา 2 ชั้น โดยต้องมีเครื่องหมาย Double Insulation แสดงที่ผลิตภัณฑ์

ระบบ ที่ ไม่มี สายดิน เมื่อ เกิด ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะ ย้อน กลับ ไป ครบ วงจรที่ ใด

                                        - ใช้แผ่นฉนวนไฟฟ้าปูพื้นเวลาปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ถ้าต้องปฏิบัติงานในพื้นที่มีแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 50 โวลต์
                                        - 
ป้องกันโดยการใช้สิ่งของปิดกั้นส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ บริภัณฑ์ไฟฟ้า
                                        - 
ใช้แยกระบบไฟฟ้าออกจากกัน (Isolation) หรือ ระบบที่ไม่ต่อลงดิน โดยแยกระบบออกจากกันโดยไม่มีส่วนต่อเนื่องทางไฟฟ้าร่วมกัน
                                        - 
โดยใช้เครื่องใช้ที่ใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำที่ไม่เกิน 50 โวลต์ เช่น สว่านไร้สาย ระบบส่องสว่างที่ใช้แรงดันจากแบตเตอรี่
                                        - 
ใช้วิธีจำกัดขนาดกระแสที่ไหลผ่านร่างกาย ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อบุคคล เช่น ระบบป้องกันไฟดูดในเครื่องเชื่อมไฟฟ้า
                                        - 
ถ้าร่างกายเปียกชื้นไม่ควรแตะต้องหรือสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สวิตช์ไฟฟ้า ที่เป่าผม หรือส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้า

                              3. ระยะปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
                                        - 
ระยะห่างต่ำสุดตามแนวนอน ระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้าง เมื่อสายไฟฟ้าไม่ได้ยึดติดกับสิ่งก่อสร้าง
                                           
(อ้างอิงจากมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ)

ระบบ ที่ ไม่มี สายดิน เมื่อ เกิด ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะ ย้อน กลับ ไป ครบ วงจรที่ ใด
 

                                        - ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกล มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงานรวมถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด เช่น ปั่นจั่นรถเครน หรือวัตถุที่ถืออยู่ในมือ จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าระยะดังต่อไปนี้ (อ้างอิงจาก การไฟฟ้านครหลวง)

ระบบ ที่ ไม่มี สายดิน เมื่อ เกิด ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะ ย้อน กลับ ไป ครบ วงจรที่ ใด

                                        - ระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้มทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับสำหรับนั่งร้าน
                                           
(อ้างอิงจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน)

ระบบ ที่ ไม่มี สายดิน เมื่อ เกิด ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าจะ ย้อน กลับ ไป ครบ วงจรที่ ใด

     บทส่งท้าย
     การใช้งานหรือการทำงานกับบริภัณฑ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า จะเกิดความปลอดภัย ต้องเริ่มจากการเลือกซื้อเลือกใช้อุปกรณ์ทีมีมาตรฐาน มีการใช้งานและการออกแบบติดตั้งโดย ช่างเทคนิคและวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถ มีการตรวจสอบบริภัณฑ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ
     ผู้ที่ติดตั้งหรือซ่อมบำรุงต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ตามข้อกำหนดขั้นต่ำด้านความปลอดภัยรวมถึงการใช้อุปกรณ์การป้องกันอันตรายตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน จะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยห่างไกลจากอุบัติเหตุต่างๆ

     สามารถติดตาม OHSWA Meet the Professional: Safety Engineer for Jor Por Series เรื่อง “พื้นฐานความปลอดภัยด้านไฟฟ้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยต้องรู้” ในเรื่องต่อไป

EP.2 : กฎหมายความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า ที่จป. ต้องรู้ (ส.ค. 2564)

EP.3 : PPE สำหรับงานไฟฟ้า (ก.ย. 2564)

EP.4 : การตรวจสอบระบบไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับ จป. (ต.ค. 2564)

EP. 5 : มาตรฐานทางไฟฟ้าและมาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้า ในสถานประกอบกิจการ (พ.ย. 2564)

EP.6 : เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าเบื้องต้น สำหรับ จป. (ธ.ค. 2564)

ข้อมูลอ้างอิง (Reference source)

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 กระทรวงแรงงาน
  • ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสาขาอาชีพ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะซึ่งต้องดำเนินการโดยผู้ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ
  • คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 (ภาคความรู้) สำนักพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
  • มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
  • คู่มือการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย พ.ศ. 2561 การไฟฟ้านครหลวง
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ว่าด้วยนั่งร้าน
  • NFPA 70E Standard for Electrical Safety in the Workplace ของ National Fire Protection Association