ผู้ ที่ จะ ต้อง มี บัตร ประ จํา ตัว ประชาชน ต้อง มีอายุ ตาม เกณฑ์ ใน ขอ ใด

บัตรประจำตัวคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ให้มีขีดความสามารถที่พร้อมในการปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า และมีความสุข

  1. คุณสมบัติของคนพิการที่ยื่นคำขอ
    1.1 เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
    1.2 บุคคลที่ยังไม่ได้แจ้งเกิดหรือบุคคลที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสัญชาติไทยต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ก่อน
  2. สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
    2.1 กรุงเทพมหานคร
        (1) ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
        (2) โรงพยาบาลสิรินธร
        (3) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
        (4) สถาบันราชานุกูล
        (5) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
        (6) โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
        (7) ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
        (8) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
    **หมายเหตุ หน่วยออกบัตรประจำตัวคนพิการ ข้อ 2.1 จะหยุดทุกวันทำการ ทุกสิ้นเดือน 
    2.2 ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด……..
  3. สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
    3.1 กรุงเทพมหานคร
        (1) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
        (2) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี
        (3) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
    3.2 จังหวัด
        (1) โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
        (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        (3) หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด
  4. เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
    4.1 เอกสารหลักฐานของคนพิการ
        (1) เอกสารประจําตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังนี้ 
             (ก) บัตรประจําตัวประชาชน
             (ข) บัตรประจําตัวข้าราชการ
             (ค) สูติบัตรสําหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี
             (ง) หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกําหนด
        (2) ทะเบียนบ้านของคนพิการ 
            กรณีที่คนพิการมีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประชาชน ต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ก่อน
        (3)  รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง
        (4)  เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด
        (5)  สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้โดยประจักษ์ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอถ่ายสภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน
    4.2 เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ (เป็นผู้ซี่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง)
        (1)  บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ 
         (2)  ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ 

    กรณีคนพิการมิได้มาแจ้งหรือไม่สามารถแจ้งได้
        (1)  หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ จำนวน 1 ฉบับ
            - ผู้รับรอง : กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานชุมชน ลูกจ้างประจํา (หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ) โดยผู้รับรองต้องอาศัยอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เดียวกับที่คนพิการอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
        (2)  สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง พร้อมรับรองสําเนา จำนวน 1 ฉบับ
               * ข้าราชการบำนาญ ไม่สามารถรับรองหนังสือนี้ได้
               * การรับรองจะสมบูรณ์ เมื่อพยานลงนามครบถ้วน
               * การรับรองอันเป็นเท็จมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา
    4.3 บุคคลอื่นยื่นคำขอมีบัตรฯ แทนคนพิการ
        (1)  สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่ดำเนินการแทน
        (2)  หนังสือมอบอำนาจ เป็นหลักฐานว่าได้รับมอบจากคนพิการ (พยานต้องลงนามครบถ้วน)
       กรณีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือมีความพิการมากไม่สามารถดำเนินการเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแล ดำเนินการแทนได้

  5. เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการใหม่ เนื่องจากบัตรเดิมหมดอายุ ชำรุด  สูญหาย มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับคนพิการ อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
    5.1  เอกสารหลักฐานของคนพิการ
        (1) บัตรประจำตัวคนพิการใบเดิม
        (2) เอกสารประจําตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
             (ก) บัตรประจําตัวประชาชน
             (ข) สําเนาบัตรประจําตัวข้าราชการ
             (ค) สูติบัตรสําหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี
             (ง) หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกําหนด
         (3)  ทะเบียนบ้านของคนพิการ 
               กรณีที่คนพิการมีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประชาชน ต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ก่อน
         (4)  หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
         (5)  รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง
         (6)  กรณีมีความพิการเพิ่ม หรือเปลี่ยนไปจากเดิม
               - เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด
               - สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้โดยประจักษ์ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอถ่ายสภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน
    5.2  เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ (ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการ ซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง)
         (1)  บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ 
         (2)  ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ 

    กรณีคนพิการมิได้มาแจ้งหรือไม่สามารถแจ้งได้
         (1)  หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ 
               - ผู้รับรอง : กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานชุมชน ลูกจ้างประจํา (หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ) โดยผู้รับรองต้องอาศัยอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เดียวกับที่คนพิการอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
         (2)  สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง พร้อมรับรองสําเนา จำนวน 1 ฉบับ
               * ข้าราชการบำนาญ ไม่สามารถรับรองหนังสือนี้ได้
               * การรับรองจะสมบูรณ์ เมื่อพยานลงนามครบถ้วน
               * การรับรองอันเป็นเท็จมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา
    5.3  บุคคลอื่นยื่นคำขอมีบัตรฯ แทนคนพิการ
         (1)  สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่ดำเนินการแทน
         (2)  หนังสือมอบอำนาจ เป็นหลักฐานว่าได้รับมอบจากคนพิการ (พยานต้องลงนามครบถ้วน*)

    กรณีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือมีความพิการถึงขั้นไม่สามารถดำเนินการเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแล ดำเนินการแทนได้

กรณีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการถึงแก่ความตาย หรือได้รับการแก้ไข ฟื้นฟู จนไม่มีสภาพความพิการ หรือมีความประสงค์ยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการ ให้ผู้มีบัตรประจำตัวคนพิการหรือบุคคลที่ดำเนินการแทน แจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อจำหน่ายออกจากทะเบียนบัตรประจำตัวคนพิการต่อไป
6.1  เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ กรณีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการถึงแก่ความตาย     
     (1)  บัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) 
     (2)  บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการ
     (3)  ทะเบียนบ้านของคนพิการ
     (4)  สำเนาใบมรณะบัตร
6.2  เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ กรณีได้รับการแก้ไขฟื้นฟูจนไม่มีสภาพความพิการ หรือมีความประสงค์ยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการ  
     (1)  บัตรประจำตัวคนพิการ
     (2)  บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการ
     (3)  ทะเบียนบ้านของคนพิการ
     (4)  เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกําหนด
     (5)  ยื่นคำขอแทน ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ดำเนินการแทน และหนังสือมอบอำนาจ (พยานต้องลงนามครบถ้วน*)

กรณีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือมีความพิการถึงขั้นไม่สามารถดำเนินการเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแล ดำเนินการแทนได้

สิทธิการอุทธรณ์     

1. กรณีคนพิการไม่ได้รับอนุมัติให้มีบัตรประจำตัวคนพิการ อาจยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งนั้น ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งดังกล่าว
      2. ให้นายทะเบียนพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์แล้ว ให้แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมเหตุผลเป็นหนังสือต่อผู้อุทธรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พิจารณาอุทธรณ์เสร็จ คำวินิจฉัยของนายทะเบียนให้เป็นที่สุด

หากคนพิการมีปัญหา หรือมีข้อสงสัยในการดำเนินการขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
      - กรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร โทร. 02-3543388 ต่อ 701-705 ในวันและเวลาราชการ
      - ต่างจังหวัด ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด
**บัตรประจำตัวคนพิการมีอายุ 8 ปี นับตั้งแต่วันออกบัตร**

สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองคนพิการ
  คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการแล้ว สามารถยื่นคำขอใช้สิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 หรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนด ได้แก่การคุ้มครองสิทธิคนพิการด้านบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนทางการแพทย์ ในเรื่องการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการเพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น

 การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางการศึกษา ในเรื่องการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือแผนการศึกษาแห่งชาติตามความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะ หรือในสถานศึกษาทั่วไป หรือการศึกษาทางเลือก หรือการศึกษานอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สำหรับคนพิการให้การสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างทั่วถึง

 การคุ้มครองสิทธิคนพิการด้านการประกอบอาชีพและการมีงานทำ ในเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมประกอบอาชีพอิสระ และบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกเทคโนโลยี หรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ

การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางสังคมและสวัสดิการสังคม เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางสังคมและสวัสดิการสังคมเป็นไปอย่างทั่วถึง เช่น การให้บริการล่ามภาษามือ การช่วยเหลือทางกฎหมาย การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล การส่งเสริมสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการ และการจัดสวัสดิการเบี้ย ความพิการ

การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่คนพิการเข้าถึงได้ เพื่อคุ้มครองสิทธิคนพิการมีให้สภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคมสำหรับคนพิการ

การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ได้กำหนดห้ามหน่วยราชการ องค์กรเอกชนหรือบุคคลกระทำการที่มีการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรับ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ และให้หมายความรวมถึงการกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดที่กระทบต่อคนพิการแม้จะไม่มีจุดมุ่งหมายเป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ เพราะเหตุผลแห่งความพิการด้วย ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้คนพิการที่ได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อคนพิการสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้

เอกสารประกอบ
         -

ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคําขอมีบัตรฯ พ.ศ. 2556

ผู้ ที่ จะ ต้อง มี บัตร ประ จํา ตัว ประชาชน ต้อง มีอายุ ตาม เกณฑ์ ใน ขอ ใด

ขั้นตอนการบริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ

ผู้ ที่ จะ ต้อง มี บัตร ประ จํา ตัว ประชาชน ต้อง มีอายุ ตาม เกณฑ์ ใน ขอ ใด

ผู้ ที่ จะ ต้อง มี บัตร ประ จํา ตัว ประชาชน ต้อง มีอายุ ตาม เกณฑ์ ใน ขอ ใด

การลดหย่อนภาษีของผู้ดูแลคนพิการ
สิทธิการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฏหมายของผู้ดูแลคนพิการประจำปีภาษี 2558 นั้น ต้องเป็นผู้ดูแลตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในปีภาษี 2558 กล่าวคือมีชื่อเป็นผู้ดูแลในบัตรระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดศึกษาประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 182) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชิวิตคนพิการหรือคนทุพพลภาพ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  การลดหย่อนภาษีของผู้ดูแลคนพิการ กดที่นี่ 

สถานพยาบาลที่ให้บริการออกเอกสารรับรองความพิการให้แก่คนพิการ

    สถานพยาบาลรัฐบาลสามารถออกเอกสารรับรองความพิการได้ทุกแห่ง
    สถานพยาบาลเอกชนเข้าร่วมออกเอกสารรับรองความพิการให้แก่คนพิการ

  • ฉบับ1.PDF
  • ฉบับ2.PDF
  • ฉบับ3.PDF
               

เอกสารดาวน์โหลด

ผู้ ที่ จะ ต้อง มี บัตร ประ จํา ตัว ประชาชน ต้อง มีอายุ ตาม เกณฑ์ ใน ขอ ใด
 - ประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง กำหนดแบบบัตรประจำตัวคนพิการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ ที่ จะ ต้อง มี บัตร ประ จํา ตัว ประชาชน ต้อง มีอายุ ตาม เกณฑ์ ใน ขอ ใด
 - ประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง กำหนดแบบคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ
 - ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555
 - ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ


ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๕

ผู้ที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชน ต้องมีอายุตามเกณฑ์ในข้อใด

ผู้ที่มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์ ผู้ที่ได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล ผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร.14) กรณีตกสำรวจหรือแจ้งเกิดเกินกำหนด ผู้ที่พ้นจากสภาพการได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

หลักเกณฑ์ทำบัตรประชาชนข้อใดกล่าวถูกต้อง

1. มีสัญชาติไทย 2. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) 3. มีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี.
บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ.
หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน ต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย ... .
กรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย.

ผู้ใดต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

ขึ้นใช้บังคับแทน โดยได้กำหนดให้บุคคลผู้ที่จะต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ต้อง เป็นผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๗ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์ และกำหนดการนับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้มีประชาชนจำนวนมากมายื่นคำขอ มีบัตรประจำตัวประชาชนในช่วงตั้งแต่วันที่๑ มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของ ทุกปีทำให้ ...

ใด ไม่ใช่หลักเกณฑ์ ของผู้ที่จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช ผู้พิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ผู้ที่อยู่ในที่คุมขัง โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ฯลฯ จะขอมีบัตรก็ได้