ท้อง 36 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อย แต่ไม่ ปวดท้อง

มหัศจรรย์ พัฒนาการ อายุครรภ์ 33-36 สัปดาห์ – ท้องแข็งบ่อย

พัฒนาการ อายุครรภ์ 33-36 สัปดาห์ การเดินทางของว่าที่คุณแม่คนใหม่ใกล้จะถึงเส้นชัยกันแล้ว เพราะช่วงสองเดือนสุดท้ายแบบนี้ แม่ท้องจะยิ่งอุ้ยอ้าย จะเดิน ลุก นั่ง ก็ต้องระวังกันให้มาก ที่สำคัญคุณแม่จะเริ่มมีอาการ “ท้องแข็ง” เกิดขึ้นด้วย สำหรับพัฒนาการ อายุครรภ์ 33-36 สัปดาห์ เดือนนี้ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการอะไรเพิ่มขึ้นบ้างนะ !?

พัฒนาการ อายุครรภ์ 33-36 สัปดาห์ กับความเปลี่ยนแปลงของทางร่างกายของแม่ท้อง

  • หากจะบอกว่าคุณแม่เริ่มท้องแก่มากแล้วก็คงไม่ผิด เพราะช่วงนี้กระดูกเชิงกรานจะเริ่มคลายตัวลง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูกนั่นเองค่ะ
  • ใกล้คลอดแบบนี้ส่งผลให้ยอดมดลูกโตขึ้น ทำคุณแม่อาจมีเจ็บตรงชายโครง จุกแน่นลิ้นปี่ แนะนำว่าเวลาที่ลุก หรือนั่งอย่านั่งห่อตัว เพราะจะยิ่งทำให้มดลูกไปค้ำยันชายโครงให้เจ็บมากขึ้น
  • คุณแม่จะเริ่มมีอาการมดลูกหดรัดตัวเป็นก้อนนูน สังเกตได้คือมดลูกจะเริ่มแข็งตัวช้าๆ และคลายตัวออกช้าๆ แต่หดรัดไม่สม่ำเสมอ ไม่รู้สึกเจ็บท้อง แต่เมื่อใดที่มดลูกเกิดการบีบรัดตัวถี่ผิดปกติ รู้สึกเจ็บ และมีของเหลวไหลออกมาทางช่องคลอด ให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีค่ะ
  • ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นเหมือนกับช่วงแรกของการตั้งครรภ์ นั่นก็เพราะว่าทารกน้อยมีขนาดร่างกายที่ใหญ่มากจเต็มพื้นที่ในมดลูก และไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดฉี่บ่อยๆ นั่นเองค่ะ
  • คุณแม่อาจมีอาการท้องแข็งเกิดขึ้น การแข็งตัวทั่วท้อง ประมาณ 30 วินาที ให้สังเกตอาการท้องแข็งต่อไม่ควรเกิน 8-10 ครั้ง แต่ช่วงปลายๆ สัปดาห์ที่ใกล้คลอด คุณแม่อาจจะมีอาการท้องแข็งบ่อยขึ้น เนื่องจากมดลูกมีการบีบตัว การบีบตัวนี้ก็จะไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่อง

คนท้องกับการดูแลโภชนาการขณะตั้งครรภ์

ช่วงสองเดือนสุดท้ายที่ใกล้คลอดแบบนี้ อาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปอาจไม่ย่อยเท่าไหร่ คุณแม่ควรต้องปรับเปลี่ยนการทานอาหาร คือให้ทานอาหารมื้อละน้อยๆ เน้นทานอาหารประเภทที่ย่อยง่ายๆ เนื้อปลา เนื้อไก่ ผักผลไม้ที่มีกากใยมากหน่อยเพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงาน ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ไตรมาสที่ 3 ถือว่าเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้ร่างกายของแม่ท้องยังคงต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 300 แคลอรีต่อวันเหมือนในช่วงไตรมาสที่ 2 และต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นจากปกติ 2 ช้อนกินข้าว/ช้อนโต๊ะ ระยะนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษได้ ดังนั้นคุณแม่ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ1

ท้อง 36 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อย แต่ไม่ ปวดท้อง

การมีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่คุณแม่ต้องรู้จักการทานอาหารที่เหมาะสม เพราะอย่าลืมว่าอาหารในช่วงตั้งครรภ์ เป็นการทานที่มีอีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ ก็จะได้ทานไปกับคุณแม่ด้วยเหมือนกัน  ซึ่งสารอาหารทุกอย่างที่แม่กินจะส่งต่อถึงลูกในท้องให้เขาได้มีพัฒนาการร่างกาย สมอง และมีอวัยวะที่สมบูรณ์แข็งแรง

มาร่วมสร้างและส่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกกันตั้งแต่ในครรภ์ ด้วยการดูแลโภชนาการช่วงแรกของชีวิตกันให้มากค่ะพัฒนาการ อายุครรภ์ 33-36 สัปดาห์

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
นพ.พนิตย์ จิวะนันทประวัติ ปฎิทินพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์
1พีระพรรณ โพธิ์ทอง โภชนากร นักกำหนดอาหารวิชาชีพ. อาหารช่วงตั้งครรภ์ โภชนาการช่วงตั้งครรภ์ (Pregnancy and Diet). haamor.com

ท้อง 36 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อย แต่ไม่ ปวดท้อง

[Sassy_Social_Share]

ท้อง 36 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อย แต่ไม่ ปวดท้อง

ท้อง 36 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อย แต่ไม่ ปวดท้อง

ตั้งครรภ์ ท้องแข็ง คืออะไร ต้องทำเช่นไร?

อาการท้องแข็งหรือเจ็บครรภ์

อาการท้องแข็งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก เกิดขึ้นได้เสมอในระหว่างตังครรภ์ ความสำคัญคือต้องแยกให้ได้ว่าเป็นเพียงการเจ็บครรภ์เตือนหรือเจ็บครรภ์จริง โดยมีสาเหตุและลักษณะดังต่อไปนี้

1. เจ็บครรภ์เตือน

สาเหตุ

  • ทารกดิ้นแรง, คุณแม่ทำงานหรือเดินมาก
  • มดลูกหดรัดตัวตามปกติระหว่างตั้งครรภ์ (Braxton Hick Contraction)

อาการ

  • อาการเจ็บเกิดขึ้นได้ไม่สม่ำเสมอ มักปวดแค่บริเวณท้องน้อย
  • ระยะห่างของอาการไม่ถี่ขึ้น อาจเป็นทุก 15-20 นาที
  • ความรุนแรงของอาการเท่า ๆ เดิม ไม่แรงมากขึ้น
  • ไม่มีอาการอื่น ๆ เช่น มูก หรือ มูกปนเลือดไหลจากช่องคลอด
    • อาการสามารถทุเลาหรือหายได้เองหลังนอนพัก หรือทานยาแก้ปวด
    • การเจ็บครรภ์เตือนจะไม่ทำให้ปากมดลูกเปิดขยาย ซึ่งสามารถตรวจได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

2. เจ็บครรภ์จริง

สาเหตุ

  • มดลูกหดรัดตัวเพื่อเข้าสู่ระยะคลอด

อาการ

  • อาการเจ็บเกิดขึ้นสม่ำเสมอ อาจปวดหลังใกล้บั้นเอวร้าวมาบริเวณหน้าท้องได้
  • ระยะห่างของอาการถี่ขึ้น เช่น จากทุก 15 นาที เป็นทุก ๆ 5-10 นาที
  • ความรุนแรงของอาการเพิ่มมากขึ้น เช่น จากเจ็บ 15-20 วินาที เป็นเจ็บนาน 45-50 วินาที
  • มีมูก หรือ มูกปนเลือดไหลออกจากช่องคลอด
    • อาการเจ็บครรภ์มักไม่หายไป แม้นอนพักหรือทานยาแก้ปวด
    • เมื่อแพทย์ตรวจภายในจะพบว่าปากมดลูกมีการเปิดขยายและคอมดลูกมีความบางลง
    • เมื่อมีอาการเช่นนี้ควรรีบไปพบแพทย์

การดูแลเมื่อมีอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์

  • นั่งหรือนอนพักนิ่ง ๆ ซักระยะ
  • สังเกตลักษณะอาการให้ดีว่าเป็นการเจ็บครรภ์แบบใด
  • หากอาการเจ็บไม่หายไปและมีแนวโน้มปวดถี่ขึ้นรุนแรงขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์
  • หากคุณแม่ไม่แน่ใจ หรือ มีอาการอื่น ๆ เช่น น้ำเดิน ทารกดิ้นน้อยลง แม้ไม่มีอาการท้องแข็งก็ควรไปพบแพทย์ทันทีเช่นกัน

คำแนะนำ ระวังการเกิดอุบัติเหตุ ลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น ทำงานหนัก, ยกของหนัก ทั้งนี้คุณแม่สามารถออกกำลังกายตามความเหมาะสมได้ ถ้าไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์

ข้อมูลโดย
อ. พญ.วิรดา ดุลยพัชร์
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล