ข้าวเหนียว 100 กรัม คาร์โบไฮเดรต

ข้าวเหนียว กินแล้วง่วง จริงหรือเปล่า ?

  • 20/08/2020

เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า เวลาที่ทานข้าวเหนียวอิ่มได้ไม่นานทำไมถึงรู้สึกง่วงกว่าทานอาหารชนิดอื่นๆ ซึ่งอาการง่วง ความอยากนอนที่ว่านี้เป็นความรู้สึกของร่างกายจริงๆ หรือเราแค่คิดไปเองกันแน่วันนี้ พิชชามีท จะหาคำตอบให้ได้ถามได้ค่ะ

ข้าวเหนียว 100 กรัม คาร์โบไฮเดรต

ก่อนอื่นเรามารู้จักเรื่องทั่วไปของข้าวกันก่อนค่ะ
“ข้าว” หากแบ่งตามลักษณะของเมล็ดจะแบ่งเป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียวค่ะ ซึ่งข้าวทั้ง 2 ชนิดมีจะลักษณะเหมือนกันแทบทุกอย่าง แต่ต่างกันที่เนื้อเมล็ด ข้าว โดยข้าวเป็นอาหารจำพวกแป้ง ที่ให้คาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง คุณค่าทางโภชนาการของข้าวในปริมาณ 100 กรัม จะให้คาร์โบไฮเดรตถึง 80 กรัม น้ำประมาณ 12 กรัม โปรตีนอีกประมาณ 7 กรัม และส่วนที่เหลือจะเป็นไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ แต่คาร์โบไฮเดรตหลักในข้าว คือ อะไมโลส (Amylose) และ อะไมโลเพกติน (Amylopactin) นั่นเอง

โดย อะไมโลส เป็นคารโบไฮเดรตที่มาจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่อกันเป็นเส้นตรง ย่อยง่าย พบในข้าวเจ้า มากกว่าข้าวเหนียว ส่วนข้าวเหนียว จะมีอะไมโลเพกตินอยู่ในปริมาณที่มากกว่าข้าวเจ้า ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มาจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่อกันแบบกิ่งก้านสาขา ซึ่งจะทำให้ย่อยได้ยากกว่าอะไมโลส

เมื่อเราทานข้าวเข้าไปจะเข้าสู่กระบวนการย่อยอาหาร ข้าวจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล ซึ่งเมื่อปริมาณน้ำตาลสูงขึ้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ออกมาเพื่อปรับให้ปริมาณน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างไรก็ตาม การหลั่งอินซูลินทำให้มีฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) และเมลาโทนิน (Melatonin) ออกมาด้วย (เมลาโทนิน ได้จากการสังเคราะห์เซโรโทนินอีกที) ซึ่งฮอร์โมนทั้ง 2 นี้เอง คือ “สาเหตุของอาการง่วงนอน”

ข้าวเหนียว 100 กรัม คาร์โบไฮเดรต

“ข้าว” กับอาการ “ง่วงนอน”
ในขณะที่ร่างกายกำลังย่อยอะไมโลเพกตินในข้าวเหนียวอยู่นั้น ก็จะหลั่งเซโรโทนินและเมลาโทนินออกมามากขึ้นตามไปด้วย (เพราะอะไมโลเพกตินย่อยยาก) นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้มากกว่าการกินข้าวเจ้า อีกทั้งในข้าวเหนียวก็ยังมีสารทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งทั้งเซโรโทนินและเมลาโทนินออกมาเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ เจ้าเซโรโทนิน มีส่วนสำคัญในการทำงานของทั้งร่างกายและจิตใจ ควบคุมเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เช่น ความหิว ความง่วง จึงมีผลต่อการนอนหลับ ส่วนเมลาโทนิน จะมีผลต่อการกระตุ้นนาฬิกาของร่างกาย โดยเกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด ซึ่งฮอร์โมนทั้ง 2 นี้ มีผลทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและทำให้เกิดอาการง่วงซึมนั่นเองค่ะ

เอาเป็นว่า ก็คือ ไม่ว่าจะกินข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว ต่างก็ทำให้เกิดอาการง่วงได้ทั้งนั้น แต่การที่กินข้าวเหนียวแล้วรู้สึกง่วงนอนกว่ากินข้าวเจ้า เพราะข้าวเหนียวย่อยยากกว่า และใช้เวลาย่อยนานกว่าข้าวเจ้า จึงทำให้ร่างกายหลั่งสารง่วงนอนทั้ง 2 ออกมามากและนานกว่าค่ะ

 ข้าวจัดว่าเป็นอาหารที่สำคัญของคนมานานตั้งแต่โบราณแล้ว   และรับประทานข้าวกันทั่วโลก   โดยเฉพาะในเอเซียรับประทานข้าวกันทั่วไปเรียกได้ว่าเป็นอาหารหลัก   ข้าวในโลกนี้มีหลายพันธุ์แตกต่างกันมากมาย

คุณค่าทางโภชนาการของข้าว

ข้าว ประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ มากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

คาร์โบไฮเดรต ข้าวทุกชนิดมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบร้อยละ 70-80 ซึ่งเป็นแป้งเกือบทั้งหมด มีน้ำตาลซูโครส (sucrose) และน้ำตาลเดกซ์ทริน (dextrin) เล็กน้อย

โปรตีน มีโปรตีนไม่มาก อยู่ระหว่างร้อยละ 7-8 ในข้าวเจ้า และร้อยละ 11-12 ในข้าวสาลี

ไขมัน ในข้าวกล้องมีปริมาณไขมันสูงกว่าข้าวชนิดอื่นๆ เพราะข้าวกล้องยังมีส่วนของรำข้าวอยู่ แต่เมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่น ๆ แล้ว ข้าวไม่ใช่แหล่งที่อุดมด้วยสารอาหารจำพวกไขมัน

ใยอาหาร ข้าวกล้องและให้ใยอาหารสูงกว่าข้าวขาว โดยทั่วไปข้าวกล้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน คนไทยสมัยก่อนใช้วิธีซ้อมหรือตำด้วยมือ จึงเรียกว่า “ข้าวซ้อมมือ” เป็นข้าวกล้องอย่างหนึ่ง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง มีใยอาหาร ไขมันและวิตามินบี 1 มากกว่าข้าวชนิดอื่น

วิตามินและแร่ธาตุ ในข้าวกล้องจะมีวิตามินและแร่ธาตุสูงกว่าข้าวขาว ที่เห็นได้ชัดคือ ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแมกนีเซียม ไนอาซิน และวิตามินบี 1

คุณค่าของข้าวกล้อง

ข้าวกล้องมีสารอาหารครบทุกชนิด องค์ประกอบหลักคือ คาร์โบไฮเดรต เช่นเดียวกับข้าวชนิดอื่น ๆ (ดังตาราง) เมื่อเปรียบเทียบข้าวกล้องกับข้าวขาว พบว่า ข้าวกล้องมีใยอาหารสูงกว่าถึง     3 เท่า ส่วนข้าวขาวนั้นมีการสูญเสียสารอาหารที่มีประโยชน์คือโปรตีน ไขมัน ใยอาหารไประหว่างการขัดสี เหลือแต่คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ การขัดสียังทำให้สูญเสียวิตามินและเกลือแร่อีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวดิบชนิดต่าง ๆ

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารต่อข้าวดิบ 100 กรัม
ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวเหนียว ข้าวมันปู
พลังงาน (กิโลแคลอรี) 351 347 353 347
โปรตีน (กรัม) 6.7 7.1 6.3 5.8
ไขมัน (กรัม) 0.8 2.0 0.6 2.9
คาร์โบไฮเดรต (กรัม) 79.4 75.1 80.4 72.5
ใยอาหาร (กรัม) 0.7 2.1 0.8 4.0
วิตามิน
วิตามินบี 1 (มก.) 0.07 0.26 0.09 0.44
วิตามินบี 2 (มก.) 0.02 0.04 0.03 0.18
ในอาซิน (มก.) 1.79 5.40 1.82 2.14
เกลือแร่
โซเดียม (มก.) 79 84
โพแทสเซียม (มก.) 121 144
แคลเซียม (มก.) 6 9 7 16
ฟอสฟอรัส (มก.) 195 267 61 120
แมกนีเซียม (มก.) 27 60
เหล็ก (มก.) 1.2 1.3
สังกะสี (มก.) 0.48 0.49
ทองแดง (มก.) 0.14 0.11

ขอขอบคุณ lovefarmer.org