10 จังหวัดที่รวยที่สุดในประเทศไทย

กรณีศึกษา KBank รุกตลาดเวียดนาม ปล่อยสินเชื่อ 15,000 ล้าน ภายในปี 2022

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ธนาคารกสิกรไทยได้เปิดสาขาแรกในประเทศเวียดนาม โดยสาขานครโฮจิมินห์จะนับว่าเป็นสาขาที่ 10 ของธนาคารกสิกรไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งการรุกตลาดเวียดนามในครั้งนี้อยู่ภายใต้พันธกิจของการเป็นธนาคารระดับภูมิภาคที่ลูกค้าเลือกใช้บริการ หรือ Regional Bank of Choice ต้องบอกว่า ยุทธศาสตร์หลักของธนาคารกสิกรไทยคือการก้าวไปสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 หรือพูดง่าย ๆ คือกลุ่มประเทศอาเซียน และ 3 ประเทศอย่าง จีน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารกสิกรไทย มีเครือข่ายบริการกว่า 16 แห่ง พันธมิตร 84 แห่งทั่วโลก และมีฐานลูกค้ารวม 1.85 ล้านคน

26 พ.ย. 2021

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม กรอบตีพิมพ์ล่วงหน้าสำหรับส่งไปขายต่างจังหวัดทั่วประเทศไทย พาดหัวข่าวหน้า 1 ได้อย่างถูกใจผมจนต้องตัดใส่แฟ้มไว้

เป็นพาดหัวหน้า 1 ที่ให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน มีทั้งในส่วนที่ปลาบปลื้มดีใจและน่ายินดี กับในส่วนที่เป็นความทุกข์ ความกังวลอันเป็นปัญหาหลักของประเทศชาติ ที่จะต้องแก้ไขต่อไปในอนาคต

มีรายละเอียดว่า...รวยอันดับ 1 ได้แก่ตระกูล เจียรวนนท์ มีทรัพย์สิน 930,000 ล้านบาท อันดับ 2 ตระกูล จิราธิวัฒน์ ทรัพย์สิน 657,200 ล้านบาท 3.นาย เฉลิม อยู่วิทยา ทรัพย์สิน 651,000 ล้านบาท 4.นาย เจริญ สิริวัฒนภักดี ทรัพย์สิน 539,400 ล้านบาท 5.นาย วิชัย ศรีวัฒนประภา ทรัพย์สิน 161,200 ล้านบาท

ผมขออนุญาตยกตัวอย่างเพียง 5 รายชื่อก็แล้วกันนะครับ เพราะถ้าลงหมดทั้ง 50 รายชื่อ สัปดาห์เต็มๆก็คงจะยังไม่หมด

พร้อมกับรายงานโดยละเอียดว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯคลอดบิ๊กดาต้าแก้ปัญหา “คนจน” แบบชี้เป้ารายจังหวัดละเอียดยิบ พร้อมกับเผยรายชื่อ 10 จังหวัดยากจนสุดของประเทศ เรียงตามลำดับ ดังนี้

1.แม่ฮ่องสอน 2.กาฬสินธุ์ 3.บุรีรัมย์ 4.น่าน 5.นครพนม 6.นราธิวาส 7.ปัตตานี 8.ชัยนาท 9.ตาก และ 10.อำนาจเจริญ

โดยเฉพาะ แม่ฮ่องสอน มีรายละเอียดว่ามีประชากร 68,909 คน มีคนจน 24,132 คน มีเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 6,778 คน ไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาล 10,113 คน อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ 8,843 คน และเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน 9,859 คน

ผู้แถลงข่าวนี้ก็คือท่าน รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สุวิทย์ เมษินทรีย์ เจ้าตำรับ “ไทยแลนด์ 4.0” นั่นเอง...เมื่อไปดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ ก็นำวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้จนสามารถระบุรายละเอียดของคนยากจนในประเทศไทยได้อย่างชนิด “ชี้เป้า” เป็นรายคน รายหมู่บ้าน รายตำบล รายจังหวัด ดังกล่าว

ที่ผมต้องขอบคุณหัวหน้าข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่นำข่าวนี้มาพาดหัวคู่กัน ก็เพราะจะเป็นการช่วยให้รัฐบาลไทย ตลอดจนพี่น้องชาวไทยทั้งประเทศที่มีโอกาสอ่านทั้ง 2 ข่าวนี้ได้รับรู้รับทราบถึงความเป็นจริงของประเทศไทย

รัฐบาลนั้นรับทราบอยู่แล้ว เพราะสภาพัฒน์ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนใน แผนพัฒนา ฉบับที่ 12 ว่า แม้จำนวนคนจนในประเทศไทยจะลดลงแต่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนกลับเพิ่มมากขึ้น

ตัวเลขล่าสุดระบุว่า คนไทยรวย 10 เปอร์เซ็นต์ข้างบนมีรายได้มากกว่าคนไทยยากจน 10 เปอร์เซ็นต์ข้างล่าง ถึง 35 เท่า และคนรวย 10 เปอร์เซ็นต์ที่ว่านี้เป็นเจ้าของทรัพย์สินถึง 79 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ

สำหรับคนรวยที่ติดอันดับทั้ง 50 ท่าน รวมทั้งที่ไม่ได้อยู่ในอันดับ แต่ก็ถือว่ารวยเช่นกันที่อยู่ใน 10 เปอร์เซ็นต์ข้างบนของประเทศ ผมไม่แน่ใจว่าจะทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยเรายังมีความยากจนอยู่มาก

อย่างน้อยการนำมาพาดหัวคู่กัน ก็คงจะทำให้คนรวยทั้ง 50 คน รับรู้ว่าในวันนี้ประเทศไทยยังมีคนจนอยู่และรัฐบาลกำลังจะช่วยอยู่

ที่ผ่านมา ผมก็ทราบว่าคนรวยหลายๆท่าน รวมทั้งที่มีชื่ออยู่ใน 50 อันดับที่ฟอร์บส์ประกาศคราวนี้ก็เคยมีโครงการการมีผลงานลงไปช่วยคนจน ผ่านมูลนิธิของท่าน หรือผ่านงาน CSR ของท่าน

แต่ความยากจนนั้นยังไม่หมดลงและช่องว่างก็ยังมิได้แคบลง

คงต้องฝากให้คนรวยทั้งหลายทั้งที่มีชื่อในบัญชี 50 ท่านนี้และคนรวยอื่นๆที่อยู่ในนอกบัญชีช่วยเหลือคนจนกันต่อไปครับ

จะปล่อยรัฐบาลฝ่ายเดียวคงไม่ได้หรอก เพราะคนภาครัฐที่ดีก็มี ที่ไม่ดีก็มาก ดูเถอะเมื่อเร็วๆนี้ยังมีข่าวเลย ข้าราชการของกระทรวงหนึ่งระดับผู้ใหญ่ซะด้วยนะ ยังโกงเงินในโครงการการช่วยเหลือคนจนเลย

หน้าที่ในการช่วยคนจนบ้านเราจึงสมควรที่จะเป็นของทุกๆคน ที่รวยแล้วในประเทศนี้--ผมฝากไว้ด้วยก็แล้วกันครับ!

ยุคที่ศรีสะเกษยังเป็นจังหวัดรายได้ต่อหัวต่ำสุดของประเทศไทย จนเป็นเหตุให้นักพัฒนาชนบทยุคโน้นตัดสินใจหยิบยกจังหวัดนี้มาเป็นจังหวัดทดลอง “นำร่อง” ซึ่งหากเป็นยุคปัจจุบันคงเรียกกันว่า “ศรีสะเกษแซนด์บ็อกซ์” ไปแล้วล่ะ

ช่วยกันทำโน่นนิดนี่หน่อยจนจังหวัดศรีสะเกษเจริญก้าวหน้าตามลำดับ จนล่าสุดไม่ใช่จังหวัดจนที่สุดของประเทศไทยอีกต่อไปแล้ว ตามตัวเลขที่ค้นเจอในกูเกิลน่าจะอยู่อันดับที่ 63 ของประเทศ หรือประมาณ 12 หรือ 13 อันดับจากล่างสุด

วันนี้ผมขออนุญาตเขียนต่อนะครับเพราะไปพบในการสืบค้นจากกูเกิลเช่นกันว่า จังหวัดที่จนที่สุดหรือมีรายได้ต่อหัวต่ำสุดในปัจจุบันนี้คือ “แม่ฮ่องสอน” นั่นเอง

เห็นตัวเลขแล้วก็นึกถึงความหลังขึ้นมาอีกเพราะนี่ก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ผมชื่นชอบมากๆ--อยากจะเขียนให้กำลังใจเช่นกัน

ในแผนภูมิหลายๆแผนภูมิที่ผมเจอในกูเกิลสรุปว่า ค้นต่อมาจากสภาพัฒน์และบอกว่าเป็นตัวเลขของปี 2563 นั้นสรุปรายได้ต่อหัวของ 10 จังหวัดต่ำสุดของประเทศไทยไว้ดังต่อไปนี้

1.แม่ฮ่องสอน (รายได้ต่อหัว 4,864 บาท/เดือน), 2.ยโสธร (5,005 บาท/เดือน), 3.หนองบัวลำภู (5,065 บาท/เดือน), 4.นราธิวาส (5,172 บาท/เดือน), 5.มุกดาหาร (5,231 บาท/เดือน), 6.สกลนคร (5,340 บาท/เดือน), 7.อำนาจเจริญ (5,479 บาท/เดือน), 8.บุรีรัมย์ (5,595 บาท/เดือน), 9.บึงกาฬ (5,623 บาท/เดือน) และ 10.ชัยภูมิ (5,811 บาท/เดือน)

รวมความแล้วก็คือ แม่ฮ่องสอน ของภาคเหนือครับที่ถือว่ายากจนที่สุดตามข้อมูลนี้ ส่วนที่ยากจนรองๆลงมาก็จะอยู่ในภาคอีสานเกือบทั้งหมด มี นราธิวาส จากภาคใต้แทรกอยู่ที่จนอันดับ 4 เพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น

แต่ในขณะที่ผมค้นหาไปเรื่อยๆนั้น ก็ไปเจอการสำรวจชิ้นหนึ่งจัดทำโดย ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชนของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อ 9 ปีที่แล้วคือ พ.ศ.2556

แม้จะเป็นข้อมูลเก่าแต่ผมก็ยังเชื่อว่า ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะผมแว่บไปบางจังหวัดเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว (ก่อนโควิด-19 อาละวาด) ก็พบว่า ยังคงน่าอยู่อาศัยและมีความสุขเหมือนเดิม

นี่คือจังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขที่สุด 10 จังหวัดแรกครับ...ได้แก่ 1.แม่ฮ่องสอน (ได้คะแนน 60.9%) 2.พังงา (ได้คะแนน 60.7%) 3.ชัยภูมิ (60.0%) 4.ปราจีนบุรี (57.0%) 5.อุทัยธานี (56.6%)

อันดับ 6 ได้คะแนนเท่ากัน 2 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี และ สุโขทัย ได้คะแนนร้อยละ 56.3

อันดับ 7 ก็มี 2 จังหวัด ได้แก่ พะเยา และ แพร่ ได้คะแนนร้อยละ 55.6

อันดับ 8 น่าน (54.8%) อันดับ 9 หนองคาย (54.3%) และอันดับ 10 ลำปาง (53.9%)

เห็นอย่างนี้แล้วก็ชื่นใจแทน แม่ฮ่องสอน ซึ่งแม้จะมีรายได้ต่อหัวต่ำสุดหรือจนที่สุด แต่ก็ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มี ดัชนีความสุข สูงสุด

ผมว่าน่ายินดีกว่าเป็นจังหวัดที่รวยที่สุดหรือรวยมากๆแต่ความสุขน้อยๆเสียอีกด้วยซ้ำ

ทุกจังหวัดใน 10 อันดับแรกผมมีโอกาสแวะไปก่อนโควิด-19 ถึง 6-7 จังหวัด รวมทั้ง แม่ฮ่องสอน ด้วย ยืนยันและเห็นด้วยกับการสำรวจของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเลยครับว่า น่าอยู่...และอยู่แล้วเป็นสุขที่สุดจริงๆ

ส่วนจังหวัดที่ได้คะแนนน้อยสุดแปลว่า อยู่แล้วความสุขน้อยที่สุด ความจริงในรายงานเขาก็ระบุไว้ 10 จังหวัดเช่นกัน แต่เนื้อที่ผมจะหมดแล้ว ขอลงแค่ 3 จังหวัดดังนี้ครับ

อันดับ 75 (รองบ๊วยอันดับ 2) ภูเก็ต (24.2%) อันดับ 76 (รองบ๊วยอันดับ 1) สมุทรปราการ (22.0%)

และบ๊วย...ได้แก่...(ดนตรี)...กรุงเทพมหานคร (20.8%)!

เฮ้อ! ก็เป็นไปตามที่คาดหมายไว้...ผมงงๆหน่อยที่ภูเก็ตมาติดอันดับเกือบบ๊วยกับเขาด้วย แต่สำหรับ สมุทรปราการ และ กทม. แล้วไซร้ เห็นด้วยพันเปอร์เซ็นต์ครับ ความสุขน้อยกว่าจังหวัดอื่นๆจริง

แต่จะทำไงได้ ตัดสินใจเลือกที่จะอยู่แล้วนี่นา...หวังว่าท่านผู้ว่าฯคนใหม่จะช่วยทำให้อันดับความสุขดีขึ้นนะครับ (ปล.เขียนในวันที่ กกต.รับรองผลการเลือกตั้งพอดีเลยครับ)

“ซูม”

จังหวัดไหนมีรายได้มากที่สุด

10 จังหวัดที่มีรายได้รวมสูงที่สุด 1. กรุงเทพมหานคร 15.40 % 103,377.94 ล้าน

จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยที่สุดของประเทศไทยคือจังหวัดใด

5 จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนนน้อยที่สุดคือ เชียงราย 13,497 บาท เชียงใหม่ 14,950 บาท แม่ฮ่องสอน 15,119 บาท

จังหวัดไหนรวยที่สุดในไทย

Aug 30, 2021 | อ่าน 26956.

10จังหวัดอะไรใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่.