10 ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ขอเผยแพร่เอกสารตอนที่2 ต่อค่ะ

ตอนที่ 2เรื่อง ระบบและสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสาร

จุดประสงค์ 1. บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

2. จำแนกประเภทของระบบโดยใช้การเปลี่ยนแปลงมวลสารและพลังงานเป็นเกณฑ์ได้

3. บอกความแตกต่างของระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระได้

4. ยกตัวอย่างระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระที่พบในชีวิตประจำวันได้

ระบบและสิ่งแวดล้อม

ระบบ(system ) หมายถึง สิ่งหรือสารที่เราต้องการศึกษา การกำหนดองค์ประกอบของระบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา ซึ่งต้องกำหนดหรือระบุให้ชัดเจน

สิ่งแวดล้อม ( surrounding ) หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่นอกขอบเขตที่ต้องการศึกษา

ตัวอย่างการกำหนดองค์ประกอบของระบบ เช่น การศึกษาการละลายน้ำของน้ำตาลทราย

ระบบ คือ น้ำและน้ำตาลทราย

สิ่งแวดล้อม คือ บีกเกอร์ แท่งแก้วสำหรับคนสาร และสภาพอากาศโดยรอบ

ประเภทของระบบ

เมื่อระบบมีการเปลี่ยนแปลง มวลของสารในระบบอาจเพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่

ก็ได้ ซึ่งมวลของสารจะไม่สูญหายไปไหน แต่อาจมีการถ่ายโอนไปมาระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม การถ่ายเทมวลของสารสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของระบบได้ดังนี้

1. ระบบเปิด (open system)

2. ระบบปิด (closed system)

3. ระบบอิสระ หรือระบบโดดเดี่ยว ( isolated system)

ระบบเปิด (open system)

ระบบเปิด (open system) คือ ระบบที่มีการถ่ายเททั้งพลังงานและมวลสาร ระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม นั่นคือ มวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงมีค่าไม่เท่ากัน เช่น การเกิดตะกอนในน้ำปูนใส และการระเหิดของพิมเสน

การทดลองในระบบเปิด

มวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง ≠ มวลของสารหลังการเปลี่ยนแปลง

ระบบปิด ( closed system )

ระบบปิด ( closed system ) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานแต่ไม่มีการถ่ายเทมวลสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม นั่นคือ มวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงมีค่าเท่ากัน

ถ้าระบบใดๆ ที่ มีแก๊สเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การปิดเปิดภาชนะ จะมีผลต่อประเภทของ

ระบบนั้นด้วย กล่าวคือ

ถ้าเปิดภาชนะ ระบบนั้นเป็นระบบเปิดเพราะมวลเปลี่ยนแปลง ( แก๊สหนีออกไปได้ )

ถ้าปิดภาชนะ ระบบนั้นเป็นระบบปิดเพราะมวลคงที่ ( แก๊สหนีออกไปไม่ได้)

การทดลองในระบบปิด

มวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง = มวลของสารหลังการเปลี่ยนแปลง

ระบบปิดทดลองในภาชนะเปิด

ภาพ มวลก่อนการเปลี่ยนแปลง = มวลหลังการเปลี่ยนแปลง

คือมวลของ Kl(aq) + Pb(NO3 )2 (aq) = มวลของ KNO3 (aq) + Pbl2 (s)

ระบบอิสระหรือระบบโดดเดี่ยว (isolated system) คือ ระบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งมวลและพลังงาน ไม่มีการถ่ายเทมวลและพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม เช่น กระติกน้ำร้อนที่มีฉนวนหุ้มอย่างดี

กิจกรรมที่ 1

จุดประสงค์

บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง จากเอกสารประกอบการเรียน เรื่องระบบ

และสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสารแล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1. กำหนดภาพการทดลองให้ดังนี้

ที่มา : หนังสือเรียนเสริมวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ระบบประกอบด้วย...............................................................................

ระบบนี้จัดเป็นระบบปิดหรือระบบเปิด..............................................................

เพราะ..................................................................................................................................

2. แก๊สออกซิเจนมวล 32 กรัมที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ความดัน 1 บรรยากาศ มีปริมาตร 22.4 ลิตร

ระบบคือ..............................................................................................................

สิ่งแวดล้อมคือ.....................................................................................................

สมบัติของระบบคือ.............................................................................................

3. พิจารณาสมการและข้อมูล

CaCO3 (s) → CaO(s) + CO2 (g)

หินปูน 20 กรัม ปูนดิบ 11.2 กรัม + แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นมีมวลเท่ากับ.........................................กรัม

ถ้าเผาหินปูนในถ้วยกระเบื้อง ระบบนี้จัดเป็นระบบปิดหรือระบบเปิด เพราะเหตุใด......................................................................................................................

...........................................................................................................................................

......................................................................................

กิจกรรมที่ 2

จุดประสงค์

1. บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

2. บอกความแตกต่างของระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระได้

3. ยกตัวอย่างระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระที่พบในชีวิตประจำวันได้

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนศึกษาเรื่อง ระบบและสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสาร

จากเอกสารประกอบการเรียน แล้วตอบคำถาม

1. เมื่อต้มน้ำในบีกเกอร์ จนเดือดกลายเป็นไอ สิ่งใดจัดเป็นระบบและสิ่งใด

จัดเป็นสิ่งแวดล้อม

.....................................................................................................

......................................................................................................

2. จงยกตัวอย่าง ระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระ มาระบบละ 2 ตัวอย่าง

..............................................................................................

....................................................................................................

3. การเปิด ปิดภาชนะ สัมพันธ์กับชนิดของระบบหรือไม่ อย่างไรจงอธิบาย

...................................................................................................

...............................................................................................

4. ผสมของเหลว A และของเหลว B ลงในบีกเกอร์ที่ไม่ปิดฝา เกิดตะกอน

ของสาร C เพียงอย่างเดียว ระบบดังกล่าวเป็นระบบชนิดใด เพราะเหตุใด

..........................................................................................................................

........................................................................................................................

กิจกรรมที่ 2

จุดประสงค์

1. บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

2. บอกความแตกต่างของระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระได้

3. ยกตัวอย่างระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระที่พบในชีวิตประจำวันได้

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนศึกษาเรื่อง ระบบและสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสาร

จากเอกสารประกอบการเรียน แล้วตอบคำถาม

1. เมื่อต้มน้ำในบีกเกอร์ จนเดือดกลายเป็นไอ สิ่งใดจัดเป็นระบบและสิ่งใด

จัดเป็นสิ่งแวดล้อม

.....................................................................................................

......................................................................................................

2. จงยกตัวอย่าง ระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระ มาระบบละ 2 ตัวอย่าง

..............................................................................................

....................................................................................................

3. การเปิด ปิดภาชนะ สัมพันธ์กับชนิดของระบบหรือไม่ อย่างไรจงอธิบาย

...................................................................................................

...............................................................................................

4. ผสมของเหลว A และของเหลว B ลงในบีกเกอร์ที่ไม่ปิดฝา เกิดตะกอน

ของสาร C เพียงอย่างเดียว ระบบดังกล่าวเป็นระบบชนิดใด เพราะเหตุใด

..........................................................................................................................

ตอนที่ 3

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

จุดประสงค์

1. ทำการทดลองและสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบได้

2. จำแนกประเภทของการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบได้

3. บอกความหมายของการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนและ แบบคายความร้อนได้ถูกต้อง

4. ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูด ความร้อนและคายความร้อนได้

การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ เป็น การถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม เมื่อระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งจะมีพลังงานเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ซึ่งระบบอาจมีพลังงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อให้ระบบมีพลังงานสมดุลกับสิ่งแวดล้อม สังเกตได้จากหลังการเปลี่ยนแปลงของระบบ อุณหภูมิจะเปลี่ยนไปด้วย

การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบมี 2 ประเภท ดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน หรือประเภทดูดพลังงาน (endothermic change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อม เนื่องจากระบบมีอุณหภูมิต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม ระบบจะปรับตัวโดยดูดพลังงานความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเพื่อทำให้อุณหภูมิของระบบเท่ากับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ขณะเปลี่ยนแปลงถ้าสัมผัสระบบจะรู้สึกเย็น เมื่อระบบดูดพลังงานเข้าไปจะทำให้พลังงานของระบบเพิ่มขึ้น เมื่อสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลง ระบบจะมีอุณหภูมิเท่ากับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน แสดงดังรูปที่ 3.1 และ 3.2

รูปที่ 3.1 การหลอมเหลวของน้ำแข็ง รูปที่ 3.2 การละลายของไอศกรีม

ที่มา : www.kpxkosmos.spaces.live.com ที่มา : www.muranomulatte9.blogspot.com

2. การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน หรือประเภทคายพลังงาน (exothermic change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบคายพลังงานให้แก่สิ่งแวดล้อม เนื่องจากระบบมีอุณหภูมิสูงกว่าสิ่งแวดล้อม จึงถ่ายเทพลังงานจากระบบไปสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้อุณหภูมิของระบบลดลงจนเท่ากับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ขณะเปลี่ยนแปลงถ้าสัมผัสระบบจะรู้สึกร้อนหรือมีความร้อนหรือมีทั้งความร้อนและแสงเกิดขึ้นเมื่อระบบคายพลังงานออกมาจะทำให้พลังงานของระบบลดลง เมื่อสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงระบบจะมีอุณหภูมิเท่ากับสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน แสดงดังรูปที่ 3.3 และ 3.4

รูปที่ 3.3 น้ำร้อนในหม้อเย็นลงเพราะคายพลังงานให้สิ่งแวดล้อม รูปที่ 3.4 กองไฟคายความร้อนให้สิ่งแวดล้อม

ที่มา : www.bloggang.com ที่มา : www.fordclub.net

หลักในการพิจารณาประเภทของการเปลี่ยนแปลง

1. ถ้าระบบคายความร้อน เมื่อเราจับจะรู้สึกร้อน ( ระบบคายพลังงานให้เรา )หรือเมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัด อุณหภูมิจะสูงขึ้น เพราะทั้งเราและเทอร์โมมิเตอร์ต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อม

2. ถ้าระบบดูดความร้อน เมื่อเราจับจะรู้สึกเย็น( ระบบดูดพลังงานจากมือเราไป )

หรือเมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัด อุณหภูมิจะต่ำลง เพราะทั้งเราและเทอร์โมมิเตอร์ต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงพลังงานทั้งในรูปการคายพลังงาน และการดูดพลังงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสาร 3 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี

กิจกรรมที่ 1

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

จุดประสงค์ ทำการทดลองและสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

พลังงานของระบบได้

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติดังนี้

1. อ่านวิธีทำกิจกรรมการทดลองให้เข้าใจ

2. ตอบคำถามก่อนทำกิจกรรม

3. ทำกิจกรรมและบันทึกผล

4. ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม

กิจกรรม การทดลองการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

วัสดุอุปกรณ์

1. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 3 หลอด

2. เทอร์โมมิเตอร์ 1 อัน

3. ช้อนตักสารเบอร์ 2 2 อัน

4. โพแทสเซียมไนเตรต 2 ช้อนเบอร์ 2

5. โซเดียมคลอไรด์ 2 ช้อนเบอร์ 2

6. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 ช้อนเบอร์ 2

7. น้ำกลั่น 45 ลูกบาศก์เซนติเมตร

วิธีการทดลอง

1. เติมน้ำกลั่น 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรลงในหลอดทดลองขนาดใหญ่วัดอุณหภูมิแล้วบันทึกผล

2. เติมโพแทสเซียมไนเตรต 2 ช้อนเบอร์ 2 ลงในหลอดทดลอง เขย่าให้ละลาย

แล้วใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิของสารในหลอดทดลองอีกครั้งหนึ่ง แล้วบันทึกผล

3. ทำซ้ำข้อ 1 และข้อ 2 แต่ใช้โซเดียมคลอไรด์แทนโพแทสเซียมไนเตรต

4. ทำซ้ำข้อ 1 และข้อ 2 แต่ใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์แทนโพแทสเซียมไนเตรต

(ข้อควรระวัง : การเขย่าสารเคมีให้ใช้ไม้หนีบ หนีบบริเวณกลางหลอดทดลอง

แล้วเขย่าโดยการเคาะหลอดทดลองกับฝ่ามือเบาๆ ไม่เขย่าหลอดทดลองในลักษณะขึ้น -ลงในแนวตั้ง )

คำถามก่อนทำกิจกรรม

1. จุดประสงค์ของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร

........................................................................................................

2 2. สมมุติฐานของการทดลองนี้คืออะไร

.........................................................................................................

.........................................................................................................

3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมของการทดลองนี้คือ

อะไร

.........................................................................................................

.........................................................................................................

.........................................................................................................

.........................................................................................................

ตารางบันทึกผล

ชนิดของสาร อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)

ก่อนเติมสาร หลังเติมสาร

1. โพแทสเซียมไนเตรต

2. โซเดียมคลอไรด์

3. โซเดียมไฮดรอกไซด์

คำถามหลังทำกิจกรรม

1. ผลการทดลองเป็นไปตามสมมุติฐานหรือไม่ อย่างไร.................................

..........................................................................................................................

2. อุณหภูมิของน้ำก่อนและหลังเติมสารแต่ละชนิด มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

อย่างไร..............................................................................................................

..........................................................................................................................

..........................................................................................................................

3. เพราะเหตุใดหลังการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของสารจึงมีการเปลี่ยนแปลง

..........................................................................................................................

..........................................................................................................................

4. จงสรุปผลการทดลอง....................................................................................

..........................................................................................................................

..........................................................................................................................

5. จงยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน มาสัก 2 ตัวอย่าง

...........................................................................................................................

6. จงยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน มาสัก 2 ตัวอย่าง

...........................................................................................................................

7. จงอธิบายว่าเหตุใดการระเหยของเหงื่อ จึงทำให้เรารู้สึกเย็น

...........................................................................................................................

...........................................................................................................................

...........................................................................................................................................

.

สรุป

การเปลี่ยนแปลงของสาร แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงมีสารใหม่เกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของสาร หรือการเปลี่ยนแปลงของระบบ

เมื่อสารหรือระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงจะมีการถ่ายเทมวล ระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ระบบเปิด มีการถ่ายเทมวลระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม ทำให้มวลของระบบไม่คงที่

2. ระบบปิด ไม่มีการถ่ายเทมวลระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม ทำให้มวลของระบบคงที่

3. ระบบอิสระ ไม่มีการถ่ายเททั้งมวล และพลังงาน เป็นระบบโดดเดี่ยว

การเปลี่ยนแปลงของสารนอกจากจะมีการถ่ายเทมวลระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีการถ่ายเทพลังงานของระบบด้วย คือ

1. การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน หรือดูดพลังงาน (endothermic chamge) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบ ทำให้ระบบมีพลังงานเพิ่มขึ้น อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมต่ำกว่าเดิม เช่น การระเหยของแอลกอฮอล์บนผิวหนัง ถ้าสัมผัสจะรู้สึกเย็น

2. การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน หรือคายพลังงาน (exothermic change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบคายพลังงานไปสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบมีพลังงานลดลง อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมจะสูงขึ้น ถ้าสัมผัสจะรู้สึกร้อน เช่น การลุกไหม้ของเทียนไข

*************

แบบทดสอบประจำหน่วย

คำชี้แจง เลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวในแต่ละข้อ

1. ถ้าต้องการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของน้ำ จะออกแบบการทดลองอย่างไรจึงจะอธิบาย

การเปลี่ยนแปลงของน้ำได้อย่างชัดเจนที่สุด

ก. นำน้ำแข็งมาให้ความร้อนจนกระทั่งเดือดสังเกต การเปลี่ยนแปลง

ข. นำน้ำเทใส่ภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน สังเกต การเปลี่ยนแปลง

ค. นำน้ำร้อนใส่แก้ววางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องสังเกต การเปลี่ยนแปลง

ง. นำน้ำใส่ภาชนะวางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา24ชั่วโมงสังเกตการเปลี่ยนแปลง

2. สมศรีเหยียบถ่านหุงข้าวก้อนหนึ่งทำให้ถ่านก้อนนั้นแตกเป็นก้อนเล็กๆ การที่ถ่านก้อน

กลายเป็นถ่านป่นเป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทใด

ก. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ข. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ค. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง

ง. การเปลี่ยนแปลงทางขนาด

3. ข้อใดอธิบายความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจนที่สุด

ก. ระบบคือสาร สิ่งแวดล้อมคือภาชนะ

ข. ระบบและสิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่เราต้องการศึกษา

ค. ระบบคือการเปลี่ยนแปลงของสาร สิ่งแวดล้อมคืออุณหภูมิ

ง. ระบบคือสิ่งที่เราต้องการศึกษา สิ่งแวดล้อมคือสิ่งอื่นๆที่นอกเหนือจากการศึกษา

4. เมื่อใส่น้ำตาลทราย 3 ช้อนชาลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อน้ำตาล

ทรายละลาย ใช้มือจับบีกเกอร์รู้สึกเย็น จะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบใด

ก. ระบบปิด

ข. ระบบโดดเดี่ยว

ค. ระบบดูดพลังงาน

ง. ระบบคายพลังงาน

5. เกี่ยวกับระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระ ข้อใดถูกต้องที่สุด

ก. ระบบเปิดมีการถ่ายเทพลังงานและมวลกับสิ่งแวดล้อม

ข. ระบบปิดไม่มีการถ่ายเทพลังงานและมวลกับสิ่งแวดล้อม

ค. ระบบอิสระมีการถ่ายเทพลังงานแต่ไม่มีการถ่ายเทมวลกับสิ่งแวดล้อม

ง. ทั้งระบบเปิดระบบปิดระบบอิสระไม่มีการถ่ายเทพลังงานและมวลกับสิ่งแวดล้อม

6. การเปลี่ยนแปลงของสารในข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบปิด

ก. เผาผงคาร์บอนในอากาศ

ข. ผสมสารละลาย 2 ชนิดเข้าด้วยกันแล้วเกิดแก๊สไม่มีสี

ค. ทิ้งจุนสีสะตุไว้ในอากาศ จะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า

ง. ผสมสารละลาย 2 ชนิดเข้าด้วยกันแล้วเกิดตะกอนสีเหลือง

7. เมื่อนำหินอ่อนใส่ลงในกรดไฮโดรคลอริก จะเกิดฟองก๊าซและเมื่อจับภาชนะนั้นจะ

รู้สึกร้อน ข้อใดสรุปผลการทดลองได้ถูกต้อง

ก. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบมีพลังงานลดลง สิ่งแวดล้อมมีพลังงานเพิ่ม

ข. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบมีพลังงานเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมมีพลังงานลดลง

ค. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบมีพลังงานลดลงเพราะส่วนหนึ่งกลายเป็นก๊าซ

ง. เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารที่ระบบมีพลังงานเพิ่มขึ้นและค่อยๆลดลง

8. การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบในข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน

ก. การระเหิดของลูกเหม็น การเผาคาร์บอน

ข. การเผาผลาญอาหารในร่างกาย การลุกไหม้ของเทียนไข

ค. การหลอมเหลวของของแข็ง การระเหยของแอลกอฮอล์ที่ทาบนผิวหนัง

ง. การละลายของน้ำแข็ง การละลายของโซเดียมไฮดรอกไซด์

9. ข้อใดบอกความหมายของการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนและคายความร้อนได้

ถูกต้องที่สุด

ก. การเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนระบบจะมีอุณหภูมิสูงกว่าการเปลี่ยนแปลง

แบบคายความร้อน

ข. การเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนระบบจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าการเปลี่ยนแปลง

แบบคายความร้อน

ค. การเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อนระบบจะมีอุณหภูมิสูงกว่าการเปลี่ยนแปลง

แบบดูดความร้อน

ง. การเปลี่ยนแปลงทั้งแบบดูดความร้อนและคายความร้อนระบบจะมีอุณหภูมิสูงทั้ง

สองระบบ

10. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน ที่สามารถพบเห็นได้ใน

ชีวิตประจำวัน

ก. การเกิดเมฆ หมอก การละลายของหิมะ

ข. ลูกเหม็นระเหิด การละลายของน้ำตาลทราย

ค. การเผาไหม้ การหมักปุ๋ยหมัก การควบแน่นของไอน้ำ

ง. การละลายของน้ำแข็ง การเผาผลาญอาหารในร่างกายของสิ่งมีชีวิต

*********