หลักธรรมในการครองตน ครองคน ครองงาน ครองทรัพย์มีหลักธรรมอะไรบ้าง

 กำลังฝึกอยู่ค่ะ พยายามทำให้ได้มากที่สุด ณ ขณะนี้ เลยนำมาเผยแพร่ต่อค่ะ ประมาณว่าอยากจะมีธรรมะในหัวใจกะเขาบ้างค่ะ

ครองตน
ท่านให้ปฏิบัติตามฆราวาสธรรม 4 ซึ่งเป็นหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ ใช้สำหรับเราๆท่าน ๆ ผู้มิใช่นักบวช
1. สัจจะ : มีสองความหมาย ความหมายแรก คือ ความจริง ส่วนอีกความหมาย พูดถึงการใช้ชีวิตโดยยึดความจริงเป็นที่ตั้ง ได้แก่ การเป็นคนถือความจริง เป็นหลักธรรม สำหรับคิด-พูด และกระทำ เรียกว่า เป็นคนจริง คนซื่อสัตย์ คนซื่อตรง รวมทั้งการใช้ความจริงเป็นหลักในการกำหนดความสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า เป็นจริงใจ พูดจริง และทำจริง
2. ทมะ : มีสองความหมายเช่นกัน ความหมายแรก หมายถึง การฝึกใจตนเอง หรือข่มใจตนเองไม่ให้เป็นทาสของกิเลส ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เรียกว่า เรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกใจตนเอง ฝึกนิสัยตนเอง จนสามารถควบคุมใจ ควบคุมวาจา และควบคุมการกระทำ ให้เป็นไปในสิ่งที่ดีที่ควรได้
อีกความมายหนึ่ง หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องของตนและการปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา ทมะมีจุดหมายที่ทำให้เกิดปัญญา
3. ขันติ : เป็นความอดทนที่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยมุ่งมั่นอยู่ที่จุดหมายของงาน ไม่ท้อถอย หนักเอาเบาสู้ ไม่หวั่นไหว แต่เป็นคนแข็งแกร่ง ทนทานต่ออุปสรรค จนสุดท้ายไปถึงซึ่งความสำเร็จของงาน หรือความสำเร็จในแต่ละช่วงชีวิต
4. จาคะ : เป็นคนใจกว้างพร้อมรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของคนอื่น เป็นคนใจไม่คับแคบ เห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตน แต่พร้อมที่จะร่วมมือช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เสียสละแม้ความสุขสบายส่วนตนหรือผลประโยชน์ส่วนตนได้
ครองคน
ท่านให้ปฏิบัติตามสังคหวัตถุธรรม 4 ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน หรือเครื่องประสานความสามัคคีในหมู่คน
1. ทาน : การให้ มีหลายรูปแบบ เช่น ให้โดยแสดงน้ำใจแก่กัน เช่น การปลอบประโลมใจ
ให้หรือแบ่งปันช่วยเหลือด้วยสิ่งของ ตลอดจนให้ความรู้ แนะนำสั่งสอน
2. ปิยวาจา : วาจาซาบซึ้งใจ วาจาอันทำให้ดูดดื่มใจ วาจาอันทำให้คนรัก ได้แก่ การกล่าวคำสุภาพ ไพเราะเพราะพริ้ง อ่อนหวานเป็นวาจาที่ทำให้เกิดไมตรีและเกิดสามัคคี ตลอดจนวาจาที่มีเหรุมีผลเป็นประโยชน์
3. อัตถจริยา : การประพฤติหรือการกระทำที่เป็นประโยชน์ เช่น การขวนขวายช่วยเหลือกิจการ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ รวมทั้งการช่วยกันปรับปรุงแก้ไข และส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมด้วย
4. สมานัตตตา : ความมีตนเสมอ ซึ่งมีหลายสถานการณ์ เช่น การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย
การปฏิบัติต่อทุกคนเท่าเทียมกันในกฎเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน การร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วมแก้ไข การวางตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ครองงาน
ท่านให้ปฏิบัติตามอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จได้ผลตามมุ่งหมาย
1. ฉันทะ : ความพอใจ คือ ต้องการจะทำงานนั้น รักที่จะทำงานนั้น ไม่ถูกใครบังคับให้ทำ ทำด้วยใจชอบใจรัก
2. วิริยะ : ความเพียร คือ ทุ่มเท ขยันทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ท้อแม้ แต่เข้มแข็ง อดทน สู้งานนั้นจนกว่าจะสำเร็จ
3. จิตตะ : ความคิดมุ่งมั่น คือ ตั้งจิตตั้งใจทำด้วยความคิดมุ่งมั่นไม่ปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย
4. วิมังสา : การไตร่ตรอง เริ่มตั้งแต่การวางแผน ตรวจตรา ตรวจสอบ หมั่นใช้ปัญญาใคร่ครวญ ทดลอง แก้ไขปรับปรุง และวัดผล จนงานสำเร็จ

หลักการครองตน ครองคน ครองงาน

การครองตน

๑.การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ

มี ความวิริยะ อุตสาหะ ในงานหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการอำนวยการ ควบคุมกำกับติดตามงานทั้งในรูปแบบการประชุม และติดตามในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และมีความตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ให้ได้รับความสำเร็จด้วยการ บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคไม่เคยแสดงออกถึงความย่อท้อ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และผู้อื่นอย่างจริงใจ

๒. การประหยัดและเก็บออม

รู้จัก ใช้จ่ายตามควรแห่งฐานะ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และรู้จักใช้ทรัพย์สินของทางราชการให้เป็นประโยชน์และประหยัด โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ทรัพย์สินของทางราชการ เช่น รถยนต์ และวางมาตรการประหยัดพลังงานในหน่วยงาน
รู้จักมัธยัสถ์และเก็บออม เพื่อสร้างฐานะตนเองและครอบครัว ด้วยการออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข และอื่นๆ นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนดูแล บำรุง และรักษาทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวมพร้อมทั้งติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
๓. การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย

เป็น ผู้รักและปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่กำหนดไว้โดยได้กำชับและมุ่งเน้นให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยได้มีการนำระบบควบคุมภายในและตรวจสอบภายในมาใช้ในหน่วยงาน พร้อมทั้งได้ประพฤติและปฏิบัติตน ให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคคลโดยทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ และยังได้นำแนวทาง นโยบาย หรือข้อสั่งการของผู้บังคับบัญชามาท่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างทุ่มเทและจริง ใจซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการเชื่อฟัง และให้ความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ยังเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญกับการเป็นผู้ตรงต่อเวลาทั้งในเรื่อง งาน และวินัยส่วนตัว จะสังเกตได้จาก การนัดเวลาประชุม หรือการติดตามงานตามแผนผังกำกับงาน เป็นต้น
๔. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
เป็น บุคคลที่ประพฤติปฏิบัติตนในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดี
โดยละเว้นต่อการประพฤติชั่วและไม่ลุ่มหลงอบายมุข เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมโดยได้เป็นรองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดยโสธร พร้อมทั้งเสียสละแรงกายในฐานะกรรมการ และกำลังทรัพย์เพื่อช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ตกทุกข์ ซึ่งบ่งบอกถึงมีความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารีต่อบุคคลอื่นโดยทั่วไป มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากการรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเครือข่ายองค์กรอื่นๆ
๕. การมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ได้ ส่งเสริม สนับสนุนระบบประชาธิปไตย และปฏิบัติตามนโยบายของทางราชการและรัฐบาลอย่างจริงจังและทุ่มเทโดยได้ถ่าย ทอดออกมาในรูปแบบแผนปฏิบัติการของหน่วยงานเพื่อให้เกิดผลในเชิงรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันยังได้บรรจุเป็นกำลังพล กอ.รมน.จว.ยส. ในตำแหน่งหัวหน้าส่วนกิจการมวลชน
และได้เข้าร่วมปฏิบัติศาสนกิจและทำนุ บำรุงศาสนาในเทศกาลสำคัญทางศาสนา นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี เช่น ป้องกันประเทศ เสียภาษี เคารพกฎหมาย เป็นต้น
ได้เข้าร่วมพิธี ในโอกาสสำคัญอย่างสม่ำเสมอ
ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามพระบรมราโชวาท เป็นกิจวัตรปกติซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงมีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสถาบัน
ข. การครองคน

๑. ความสามารถในการประสานสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มาติดต่องาน

เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กล้าและรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ
มี น้ำใจ ช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งเห็นได้จากการได้รับความไว้วางใจจากผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เป็นประธานคณะกรรมการในหลายๆคณะ และหัวหน้าส่วนราชการอื่นได้กล่าวถึงในทางที่ดีอยู่เสมอๆ

๒. ความสามารถในการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม สามารถจูงใจให้เกิดการยอมรับและให้ความช่วยเหลือ
เป็นผู้มีความสามารถในด้านองค์ความรู้และทักษะในการในการคิดและเสนอเหตุผล ให้ความเห็น ปรึกษา และเสนอแนะในงานที่รับผิดชอบ และได้มีการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในงานที่รับผิดชอบ และเปิดโอกาสยอมรับและฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา
๓.ให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานด้วยความเสมอภาค แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์

เป็นผู้มีความสำนึกและถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องให้บริการ ช่วยเหลือ แนะนำในสิ่งที่ดี ตลอดจนให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ให้การบริการด้วยความเต็มใจ และเสมอภาคกันทุกระดับ มีอัธยาศัยดี เป็นกันเอง และสุภาพต่อทุกคน
๔. การเป็นผู้มีความเป็นธรรมทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น

เป็นผู้ประพฤติและปฏิบัติตรงตามหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ ที่การกำหนดถือประโยชน์ของทางราชการหรือส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ตัดสิน วินิจฉัย หรือแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล
๕. การเสริมสร้างความสามัคคีและร่วมกิจกรรมของหมู่คณะ ทั้งในและนอกหน่วยงาน

เป็น ผู้ให้ความร่วมมือ หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นภายนอกหน่วยงานจะเห็นได้จากการได้รับมอบหมาย จากผู้ว่าราชการจังหวัดให้จัดงานเพื่อสังคมอยู่เสมอเสมอ ส่วนภายในหน่วยงานนั้นได้ให้ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของทีมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญ ยกย่อง หรือให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงานอย่างดียิ่ง

ค. การครองงาน

๑. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ strong>

เป็นผู้ใฝ่ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ มีความตั้งใจปฏิบัติงานให้ได้รับความสำเร็จ สนใจและเอาใจใส่งานที่รับผิดชอบโดยการกำหนดนโยบาย การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ สนับสนุนช่วยเหลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมี ประสิทธิภาพ
๒. ความรู้ ความสามารถ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
เป็นผู้มีความรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ กฎ ข้อบังคับ มติ กฎหมาย และ นโยบายอย่างถ่องแท้ และมีทักษะ ความสามารถในการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี สามารถแก้ปัญหา ด้วยมีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นอย่างดี รักและชอบงานที่ทำอย่างเต็มใจ จริงใจและทุ่มเท

๓. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงงาน

เป็นผู้ มีความสามารถในการคิดริเริ่ม หาหลักการ แนวทาง วิธีการใหม่ ๆ มาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถทำงานที่ยาก หรืองานใหม่ให้สำเร็จเป็นผลดี
๔. ความพากเพียรในการทำงาน และมีผลงานที่เป็นที่น่าพอใจ

nเป็นผู้ มีความกระตือรือร้น ต้องการที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ ขยันหมั่นเพียร เสียสละ และอุทิศเวลาให้งาน จนได้รับการยกย่องในความสำเร็จของงานอยู่เป็นประจำจะสังเกตจากการได้รับ รางวัลชนะเลิศในระดับจังหวัด ระดับเขต และประเทศอยู่เป็นประจำ
นอกจาก นี้ยัง สามารถปฏิบัติงานในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสนับสนุนให้เภสัชกรเรียนเวชปฏิบัติเพื่อมาปฏิบัติงานใน รพ.ตำบล ทดแทนการขาดแคลนแพทย์
๕. การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชน

การ ปฏิบัติงานได้ยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนเป็นสำคัญ และ สอดคล้องกับความต้องการของส่วนรวมและประชาชน โดยคำนึงถึงการใช้วัสดุ อุปกรณ์และสาธารณูปโภคได้อย่างประหยัดและเหมาะสม ตลอดจนร่วมมือ ช่วยเหลือ และประสานงานระหว่างราชการกับประชาชนอย่างทุ่มเทและจริงใจ

ข้อใด คือหลักธรรมในการครองตน

หลักธรรมที่ทำให้ตนเองปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตไปในทำงที่ถูกต้อง รู้จักตนเอง ควบคุมตนเอง คือ 1.1 สติ สัมปชัญญะ สติคือควำมระลึกได้ สัมปชัญญะคือควำมรู้ตัว ผู้น ำต้องรู้ตัวเองตลอดเวลำเพื่อให้กำร ประพฤติปฏิบัติมีข้อผิดพลำดน้อยที่สุด 1.2 หิริโอตัปปะ หิริคือกำรละอำยต่อควำมชั่ว โอตัปปะคือกำรเกรงกลัวต่อบำป ธรรมะข้อนี้ช่วยให้คนที่ ...

หลักธรรมสำหรับการครองเรือนหรือการครองตน” คือหลักธรรมใด

การครองตนนั้นมีธรรมะอยู่มากมาย แต่ธรรมสำหรับการครองตนที่สามารถปฏิบัติได้ง่ายสำหรับฆราวาสนั้น เรียกว่าฆราวาสธรรม คือ ธรรมสำหรับปกครองตนเอง ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีฆาราวาสธรรม ถ้าไม่มีฆราวาสธรรมจะเป็นทุกข์ ครอบครัวแตกแยก ธรรมะที่ว่านี้มีอยู่ 4 ข้อ คือ สัจจะ หมายถึง ความซื่อสัตย์ต่อกัน ความจริงใจต่อกัน ทมะ หมายถึง ...

หลักการครองตน มีอะไรบ้าง

หลักการครองตน ครองคน ครองงาน.
การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ ... .
การประหยัดและเก็บออม ... .
การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย ... .
การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา ... .
การมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์.

ผู้ที่อยู่ครองเรือนควรปฏิบัติตนตามหลักธรรมข้อใด

หลักฆราวาสธรรมเป็นธรรมส าหรับผู้ครอง เรือนที่พึงควรประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันตั้งแต่ การด าเนินชีวิตหรือผู้มีคู่ครอง ตลอดทั้งการท างาน หลักธรรมทั้ง 4 คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ หาก บุคคลใดไม่ว่าจะอยู่ในศาสนาใดๆ ก็ตามได้น าหลัก ฆราวาสธรรมไปประยุกต์ใช้หรือปฏิบัติต่อตนเอง ครอบครัวหรือสังคมแล้วจะน ามา ซึ่งความสุขต่อ ตนเองและ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก