ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของอาจารย์กมล ทัศนาญชลี คือ

ศิลปินสองซีกโลก กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ปี 2540 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) ถือเป็นศิลปินดีเด่นในด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในไทยและต่างประเทศ ทางด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ในแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณีไทยในอดีต

เนื้อหา

  • 1ประวัติ
  • 2การศึกษา
  • 3รางวัลผลงานด้านศิลปะ
  • 4เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • 5อ้างอิง
  • 6แหล่งข้อมูลอื่น

นายกมล ทัศนาญชลี เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2487 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายประเสริฐ ทัศนาญชลี และนางสายหยุด ทัศนาญชลี มีพี่น้อง 6 คน เป็นลูกชายคนโตของครอบครัว มีน้องสาว 4 คน และน้องชาย 1 คน

ปัจจุบัน กมล ทัศนาญชลี สอนหนังสือและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ในฐานะประธานสภาศิลปกรรมไทยแห่งสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังสนับสนุนและส่งเสริมศิลปินไทยในการศึกษาและหาประสบการณ์ ทั้งนี้ กมล ทัศนาญชลี ยังเป็นคนไทยและคนเอเชียเพียงหนึ่งเดียว ที่ผลงานศิลปะถูกบันทึกไว้ใน Gardner's Art Through The Ages หรือ หนังสือประวัติศาสตร์ศิลป์โลก ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมผลงานศิลปะทั่วโลก ทั้งก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยทั่วโลกมีศิลปินได้รับการบันทึกเพียง 30,000 คน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวยุโรปและอเมริกา

เรียนจบหลักสูตร 5 ปีจากโรงเรียนเพาะช่างในปีพ.ศ. 2507 หลังจากนั้นได้เข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร กรุงเทพฯ ในปี 2512 ขณะนั้นได้รับทุนจาก Otis Art Institute of Los Angeles, California, U.S.A จึงไปเรียนต่อปริญญาตรีด้านศิลปะในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับปริญญาโทจาก Otis Art Institute of Los Angeles ในปีพ.ศ. 2520 และได้เข้าสอนในมหาวิทยาลัย 2 แห่งคือ Lamar University, Beaumont, Texas, USA. ในปีพ.ศ. 2520 และ University of California, Berkeley, CA, USA ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522 - 2524 -2499

ชื่อผลงาน หนังใหญ่-อเมริกันอินเดียน ปี 1991

  • 2541: Companion (Fourth Class) of the Most Admirable Order of The Direkgunnabhotn |
  • 2540: National Artist Award (Visual Art) |
  • 2540: Ph.D. (Honorable Painting) Burapha University, Chonburi, Thailand |
  • 2534: Special Grants with Dr. Herbert Phillips from National Endowment for the Humanities, U.S.A., The Integrative Art of Modern Thailand Project |
  • 2529: The Best Top Ten Alumni of Poh-Chang Art College, Bangkok, Thailand |
  • 2523: Annual Artist Award, The Oakland Museum, Oakland, California, U.S.A.
  • พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ตติยดิเรกคุณาภรณ์

  1. ราชกิจจานุเบกษา,เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๔ ข ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ หน้า ๑๖๑

  • 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • 2013-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

บทความฉบับนี้ผมใคร่ขออนุญาตแบ่งปันความหมายรวมถึงผลงานของศิลปินผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ที่ผมมีความผูกพันมายาวนานกว่าสี่สิบปี อีกทั้งท่านยังได้ทุ่มเทสร้างผลงานอันโดดเด่นจนเป็นที่ประจักษ์เอาไว้อย่างมากมาย ตั้งแต่สี่สิบกว่าปีก่อน ยุคสมัยที่พี่น้องชาวไทยของเราเพิ่งจะเริ่มเข้ามาบุกเบิกในนครลอสแอนเจลิส โดยศิลปินท่านนี้ใช้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างต่อเนื่อง ที่มิใช่เป็นการสร้างภาพ เพราะท่านได้รับปริญญากิติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆในประเทศไทยมาแล้วถึง 11 ใบ!!!

ศิลปินที่ผมกล่าวมาข้างต้นท่านนี้ก็คือ “ดร.กมล ทัศนาญชลี” นักวิจิตรศิลป์ ศิลปินแห่งชาติปี 2540 สาขาทัศนศิลป์ ที่ท่านเป็นศิลปินดีเด่นทางด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทย  โดยท่านได้รับการยกย่องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจนได้รับสมญานามว่า “ศิลปินสองซีกโลก”

อย่างไรก็ตามบางครั้งเราก็อาจจะไม่ค่อยเข้าใจคำว่า“นักศิลปินของประเทศไทย”ว่ามีความหมายที่ลึกซึ้งเช่นใด ฉะนั้นลองมาฟังความหมายของคำๆนี้จากปลายปากกาของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่บรรยายเอาไว้ดูบ้าง

“นายอาจินต์ ปัญจพรรค” ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปีพุทธศักราช 2534 ได้เขียนบรรยายเกี่ยวกับคำว่า “ศิลปิน” เอาไว้ว่า

“ผมเชื่อในพรแสวง คือต้องรักในงานเขียน และต้องเขียนแล้วเขียนเล่า ไม่ใช่รักเฉยๆ แล้วเอาแต่นั่งคิด นอนคิดว่า จะเขียนอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องสั่งสมประสบการณ์ สั่งสมเรื่องราวประทับใจ สั่งสมถ้อยคำ สั่งสมความรู้ซาบซึ้งในสิ่งที่พบ สิ่งที่อ่าน สั่งสมได้ดีแล้ว หมั่นเขียนด้วยใจรัก”

อีกทั้งมีนักประพันธ์และนักเขียนท่านหนึ่ง ซึ่งท่านเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในแวดวงสังคมไทยในนามปากกาว่า “พนมเทียน” “ก้อง สุรกานต์” และ  “รพินทร์” ท่านมีชื่อจริงว่า “นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ” ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2540 โดยท่านได้เขียนไว้ว่า

“เป็นความฝันอันสูงสุดที่จะเป็นนักประพันธ์ แต่มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นความฝันอันสูงส่งเหลือเกิน ผมให้เกียรติคำว่า นักประพันธ์มานานแล้ว ผมมีความรู้สึกว่าการที่ใครสักคนจะเป็นนักประพันธ์ได้ มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ มันเป็นเรื่องใหญ่เหลือเกิน เรื่องซึ่งมีเกียรติมาก ผมถือว่ามีเกียรติสูง”

และยังมีศิลปินอีกท่านหนึ่งที่ได้เขียนบรรยายถึงคำว่า “ศิลปิน” ซึ่งท่านก็คือ “นายช่วง มูลพินิจ” ศิลปินแห่งชาติ สาขาพัฒนศิลป์ โดยท่านได้เขียนบรรยายอย่างสั้นๆไว้ว่า

“ศิลปินคือกรรมกรทางปัญญา จิตรกรคือกรรมกรผู้สร้างงานจิตรกรรม ไม่มีเวลาสร้างภาพให้ตัวเอง รักงานศิลปะ จงเรียนศิลปะ อย่าเรียนศิลปิน”

ส่วนนักศิลปินอีกท่านหนึ่ง ที่พี่น้องชาวไทยคงจะรู้จักศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้เป็นอย่างดี ซึ่งท่านเป็นเพื่อนสนิทเปรียบเสมือนพี่ชายของดร.กมล ท่านก็คือ “ท่านถวัลย์ ดัชนี” ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปีพุทธศักราช 2544

โดย ดร.กมลเล่าว่า แม้รูปลักษณ์ภายนอกของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี จะดูว่าท่านเป็นศิลปินที่มี

“ความแรง” แทบทุกกระเบียดนิ้วในร่างกายของท่าน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว การพูดจา รวมไปถึงผลงานของท่านที่มีความโดดเด่น แต่ในทางกลับกัน ดร.กมล เคยเล่าให้ผมฟังว่า อาจารย์ถวัลย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขใดๆทั้งสิ้นเหมือนกับดร.กมล ด้วยเช่นกัน ที่ท่านทั้งสองเป็นศิลปินที่ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทาง ดำรงชีวิตแบบเดินเส้นทางสายตรงมาโดยตลอด เพราะท่านทั้งสอง ไม่เล่นการพนัน ไม่ดื่มเหล้า ไม่เคยเข้าคลับ เข้าบาร์  เวลาส่วนใหญ่ก็จะอยู่กับงานศิลปะ

โดยดร.กมล เล่าให้ผมรับทราบถึงเรื่องที่ท่านถวัลย์ ดัชนี เคยเขียนไว้อย่างน่าฟังว่า “คนเราถ้ารู้จักนิ่งเงียบ หมั่นตราจตราอยู่เสมอ ศิลปะจะเกิดขึ้นได้ ต้องรู้จักตนเอง รู้ว่าเรานั้นเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ต้องรู้จักหน้าที่ รู้จักเหตุผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา”

จะเห็นได้ว่าการแต่งกายของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่แตกต่างจากศิลปินท่านอื่นๆทั่วๆไป โดยท่านไว้หนวดเครายาวสวยงามตามแบบฉบับที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ท่านเดินทางไปที่ไหนก็จะเป็นที่สะดุดตาต่อผู้พบเห็น สืบเนื่องมาจากท่านมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงมากทีเดียว!!!

และการที่ท่านอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ทุ่มเทแรงกายแรงใจสร้างสรรค์ผลงานติดต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่าห้าสิบปีนั้น นับเป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมมากทีเดียว

เมื่อหกปีก่อนครั้งที่ผมยังพำนักอยู่ที่บ้านในเมืองเชียงใหม่ ผมได้ทราบข่าวร้ายเรื่องการสูญเสียของท่านอาจารย์ถวัลย์ ผมได้ถือโอกาสเดินทางจากไปคารวะท่านเป็นครั้งสุดท้ายในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน ที่กรุงเทพฯ โดยครั้งนั้นผมมีโอกาสได้พบกับดร.กมล ทัศนาญชลี  และมีโอกาสได้พูดคุยสนทนากับครอบครัวของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนีอีกด้วย

ในคืนงานวันนั้นปรากฏว่ามีบุคคลสำคัญๆทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน รวมไปถึงศิลปินจากทั่วทุกวงการต่างพร้อมใจไปรวมตัวแสดงความอำลาอาลัยกันอย่างแน่นขนัด

นอกจากนั้นเมื่อสองปีก่อนผมก็ยังเคยเดินทางไปเยี่ยมชม “พิพิธภัณฑ์บ้านดำ” ณ จังหวัดเชียงราย โดยวันนั้นทันทีที่ผมย่างเท้าก้าวเข้าไป ผมก็เห็นบ้านตั้งเรียงรายกว่าสามสิบหลังที่ทุกๆหลังล้วนแต่มีสีดำด้วยกันทั้งสิ้น!!!

สำหรับในตัวอาคารพิพัธภัณฑ์อันใหญ่โตนั้น ก็เต็มไปด้วยกระดูกสัตว์ต่างๆอาทิเช่น เขากวาง เขาควาย กระดูกช้าง หนังจระเข้ และหนังงูที่มีขนาดยาวหลายสิบฟุต

 

หลังจากที่ผมเดินชมภายในพิพิธภัณฑ์นานร่วมชั่วโมง ผมก็ออกเดินเที่ยวชมบริเวณบ้านดำที่ตั้งเรียงรายในพื้นที่กว่าหนึ่งร้อยไร่ ซึ่งเต็มไปด้วยความร่มรื่น บ้านแต่ละหลังสร้างด้วยศิลปะแบบล้านนา และยังมีสระน้ำใหญ่เบ่อเริ่มเทิ้มตั้งอยู่อีกด้วย

ทั้งนี้ผมขอย้อนกลับไปท้าวความว่า ผมรู้จักกับ ดร.กมล ทัศนาญชลี ได้อย่างไร?

เมื่อสมัยที่ผมยังเป็นหนุ่มวัยละอ่อนพำนักอาศัยอยู่ ณ นครลอสแอนเจลิส เราทั้งคู่ต่างก็เป็นนักกิจกรรม มาด้วยกัน และทุกๆครั้งที่ผมเอ่ยปากขอความช่วยเหลือในงานสังคมใดๆก็ตาม ท่านดร.กมลก็ไม่เคยเอ่ยปากปฏิเสธ ท่านมักจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งผมถือว่าดร.กมล เป็นกัลยาณมิตร และเป็นเพื่อนรักของผมตลอดมา

โดยแปดปีก่อนเมื่อดร.กมล ทราบว่าผมทำงานประจำอยู่ที่ “มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่” ท่านก็มีมิตรจิตมิตรใจเดินทางแวะไปเยี่ยมเยือน และครั้งนั้นผมถือโอกาสเชิญให้ท่านได้พบกับ “ท่านอธิการบดี ดร.ณรงค์ ชวสินธุ์” และขณะที่นั่งคุยกันท่านอธิการบดีเอ่ยขอให้ดร.กมลสเก็ตภาพ เนื่องจากท่านอธิการบดีต้องการที่จะสร้างประติมากรรม เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย  เมื่อได้ฟังดังนั้นมิรอช้าเมื่อดร.กมล นั่งเครื่องบินเดินทางกลับกรุงเทพฯ ท่านก็จัดการสเก็ตภาพครอบครัวนกอินทรีให้ในทันที!!!

โดยท่านบอกว่า นกอินทรีเป็นนกพิเศษเพราะนกอินทรีสง่างาม สายตาเฉียบคม แข็งแรง บินเร็วถือเป็นราชาของนกทั้งหลาย และยังเป็นนกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกมากถึง 70 ปี แต่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างแสนสาหัส

ณ ปัจจุบันประติมากรรมรูปพญานกอินทรีตั้งเด่นเป็นตระหง่านจนถือเป็น landmark สำคัญแห่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ โดยครั้งนั้นดร.กมล สละเวลาอันแสนมีค่าคอยติดตามเฝ้าดูโครงการในระยะเริ่มแรก เพื่อให้โครงการนี้ดำเนินไปตามจินตนาการที่ท่านต้องการ โดยท่านต้องการให้ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้เหล่าบรรดานักศึกษาและบุคลากรนำไปใช้ยึดเหนี่ยวให้ตนเองมีคุณสมบัติอันแกร่งกล้าดั่งเช่นนกอินทรี ที่ให้ความอบอุ่นกับลูกๆเฝ้าเพียรฝึกฝนให้ลูกๆมีความแข็งแกร่งจนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต่อไป

และต้องขอกล่าวคำว่าซาบซึ้งและกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่งานประติมากรรมพญานกอินทรีอันยิ่งใหญ่นี้ ท่านดร.กมลมิได้เรียกร้องค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น

เนื่องจาก ดร.กมลมีภารกิจอันมากมาย ท่านจึงไม่เคยไปพบเห็นและสัมผัสผลงานของท่านชิ้นนี้ด้วยตนเองเลย

กล่าวโดยสรุปทั้งนี้และทั้งนั้น “ดร.กมล ทัศนาญชลี” ถือเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของไทยและของโลก ที่พวกเราพี่น้องชาวไทยสมควรจะภาคภูมิใจที่ท่านสร้างผลงานอาไว้อย่างมากมายอีกทั้งท่านยังวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ที่พวกเราควรจะนำมาปฏิบัติตามอีกด้วยเช่นกัน

และสุดท้ายนี้ผมขออนุญาตกล่าวคำอวยพร เนื่องในวันสงกรานต์ ปีใหม่ของพี่น้องชาวไทยขอให้ท่านผู้อ่านประสบแต่ความสุข มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง คิดหวังสิ่งใดขอให้สมดั่งความปรารถนา อย่าเจ็บ อย่าจน เฮงๆรวยๆ ตลอดไปละครับ.

โดยดร.วิวัฒน์  เศรษฐช่วย

ผลงานของอาจารย์กมล ทัศนาญชลี มีลักษณะอย่างไร

กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ปี 2540 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) ถือเป็นศิลปินดีเด่นในด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในไทยและต่างประเทศ ทางด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ในแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณีไทยในอดีต

ผลงานของอาจารย์ กมล ทัศนาญชลี มีชื่อว่าอะไร

กมล ทัศนาญชลี เกิด 17 มกราคม พ.ศ. 2487 (78 ปี) คู่สมรส.
2541: Companion (Fourth Class) of the Most Admirable Order of The Direkgunnabhotn |.
2540: National Artist Award (Visual Art) |.
2540: Ph.D. (Honorable Painting) Burapha University, Chonburi, Thailand |.

ประเทือง เอมเจริญ มีผลงานอะไรบ้าง

ประเทือง เอมเจริญ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ปี 2548. คาราวะ พี่ประเทือง โอบโลกด้วยหัวใจอาบไฟศิลป์ ออกโบยบินจินตนาเติมฟ้าม่าน

กมล ทัศนาญชลี แสดงนิทรรศการเดี่ยวที่ใด

นิทรรศการเดี่ยว : 2509 - 2515 - นิทรรศการเดี่ยว บางกะปิ แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ 2533 - "Twenty Years of Art in the USA.1970-1990" หอศิลป แห่งชาติ 2554 - "67 ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินสองซีกโลก - สัญจรสู่เชียงใหม่" หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก