งานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

Mis à jour le 13/09/22

ในประเทศไทย สถาบันวิจัย IRD ได้ขับเคลื่อนและผลักดันโครงการวิจัยตามลำดับความสำคัญสามประการที่ตอบสนองต่อสาระสำคัญของการพัฒนาแบบยั่งยืน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และสังคม

© François Carlet-Soulages

Chemical analysis of the water carried out by the IRD

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

โครงการวิจัยเหล่านี้มีหัวใจหลักในการเสนอความร่วมมือจาก IRD ในรูปแบบสหวิทยาการ มีเป้าหมายปฎิบัติการที่จะกระชับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศในเขตภูมิภาคใต้และประเทศในเขตภูมิภาคเหนือเส้นศูนย์สูตร โดยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนทักษะและวิทยาการต่างๆระหว่างทีมงานด้านวิทยาศาสตร์เพื่อความยั่งยืนในระดับสากล

สถาบันวิจัย IRD ในประเทศไทยดำเนินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในสาขาดังต่อไปนี้:

  • สาขาสิ่งแวดล้อม : การศึกษาระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ และผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
  • สาขาสาธารณสุข: การศึกษาโรคติดเชื้อ พาหะนำโรค และโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อประชากรไทย
  • สาขาสังคมศาสตร์: การศึกษาพลวัตของเมือง การใช้ธรรมาภิบาล และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

โครงการวิจัยหลัก

โครงการวิจัยด้านสาธารณสุข

  • BioVectrol: ชีววิทยาและการควบคุมยุง พาหะนำโรคในประเทศไทย (พ.ศ. 2547-2567)
  • DisCoVer: วงจรธรรมชาติวิทยาของเชื้อ SARS-CoV2: การอุบัติของโรค และแหล่งระบาด (2563-2565)
  • INGENIOUS: นวัตกรรมทางเทคนิคในการตรวจหาเชื้ออาร์โบไวรัสที่แพร่ขยายขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2563-2565)
  • โปรแกรม iTAP: การลดการแพร่เชื้อของไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูก (2555-2565)
  • NAPNEUNG: การเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรอง HIV ระยะแรก (2558-2562) และ ระยะที่สอง
  • QUALI-DEC: การหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับนางผดุงครรภ์และผู้ดูแลในการตัดสินใจที่ดีเพื่อเตรียมการผ่าคลอด (2020-2025)
  • ZIKAHOST: ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในระบบประสาทจากไวรัสซิก้า (2561-2565)

โครงการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • BufFarm One Health SEA: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์เลี้ยงในฟาร์มกับองค์ความรู้ในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม (2563-2566)
  • HAZE: มิติทางสังคมและนิเวศวิทยาของมลพิษทางอากาศในภาคเหนือของประเทศไทย (2561-2565)

โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

  • งานวิจัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องมือวัดความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเครื่องดักจับการสำรวจระยะไกล (2564-2566)

© Geneviève Michon

กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ (JEAI)

JEAI คือการรวมกลุ่มนักวิจัยจากประเทศในเขตภูมิภาคใต้ (อย่างน้อย 3 คน) สร้างสรรค์โครงการวิจัยและการฝึกอบรม โดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากหน่วยวิจัยของ IRD  โครงการวิจัยผลักดันให้กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่สามารถสร้างทีมงานที่แข็งแกร่งและเป็นที่ยอมรับในสาขางานวิจัย ทั้งนี้พันธมิตรจากสถาบันต่างๆจะช่วยทำให้กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่นี้มีพื้นที่ในแวดวงสาขาวิทยาศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ

กลุ่มนักวิจัย (JEAI)  ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2565:

  • JEAI BIMOMS - การสร้างแบบจำลองความหลากหลายและกระบวนการทางชีวภาพต่างๆจากระบบนิเวศป่าสู่กระบวนการระดับภูมิภาค

© Justine Montmarche

ห้องปฏิบัติการผสมผสานระดับนานาชาติ (LMI)

LMI เป็นโครงการวิจัยที่ก่อตั้งและบริหารงานร่วมกันระหว่าง IRD และพันธมิตรท้องถิ่น(มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย) ที่มีแนวคิดสายวิทยาศาสตร์ทิศทางเดียวกันและรูปแบบเหมือนกัน โครงการวิจัยของ LMI  ส่งเสริมการพัฒนาและการวิจัยแบบสหวิทยาการที่ผนึกรวมเป็นโครงสร้างปฏิบัติการของการวิจัยอย่างยั่งยืนภายใต้ความรับผิดชอบของประเทศพันธมิตรแบบทวิภาคี หรือระดับท้องถิ่น

LMI ระดับท้องถิ่นในประเทศไทยยังคงดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน:

  • LMI Presto - การศึกษาความเข้าใจเพื่อบรรเทาการแพร่กระจายโรคจากสัตว์สู่คนในแหล่งที่ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

© François Molle

กลุ่มวิจัยระหว่างประเทศ (GDRI)

GDRI เป็นกลุ่มเครือข่ายห้องปฏิบัติการของฝรั่งเศสร่วมกับต่างประเทศโดยมีประเทศกำลังพัฒนาอย่างน้อยหนึ่งประเทศในกลุ่ม ทำงานการวิจัยเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ร่องความกดอากาศต่ำแถบเส้นศูนย์สูตร นอกจากนี้ GDRI ยังเป็นกลุ่มที่มีคณะกรรมการเพื่อประสานงานทางด้านวิทยาศาสตร์อีกด้วย

ปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์พันธมิตรชาวไทยได้เข้าร่วมทำงานในกลุ่มใน GDRI ทั้งสองแห่ง:

  • GDRI COMPACSOL - การบ่งชี้ลักษณะเฉพาะของดินเพื่อลดความเสื่อมโทรมทางกายภาพและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกทางการเกษตรอย่างยั่งยืน
  • GDRI SOOT-SEA - ผลกระทบของฝุ่นแบล็คคาร์บอนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก