โครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน ตัวอย่าง

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระ

pageviewรายละเอียดโครงการ

รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระ
รหัสโครงการ 62-L7499-3-02
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระ
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2561
ปี 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
งบประมาณ 12,030.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนันต์สิทธิ์ สงวนวงศ์ รก. ผอ.โรงเรียนอนุบาลฯ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่จะอยู่อาศัยในโรงเรียนน่าอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกันและอยู่ร่วมกันกับ ครู พนักงาน และเพื่อน ๆ อย่างสงบสุข มีความสะดวกสบาย สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ และความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม โรงเรียนที่มีการจัดการ ควบคุมส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยเอื้อ และขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของโรงเรียน โดยมุ่งหวังให้เด็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาพ และครู พนักงาน ได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขกาย สบายใจ ครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาโรงเรียน เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพที่ดีและ ทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ปกครองและครูได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถ ดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครอง เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมโดยสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ระหว่างบ้าน และโรงเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระ เห็นความสำคัญ การส่งเสริมการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตรการการป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน เนื่องด้วยปัจจุบัน โรคติดต่อสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุขต้องป้องกันและควบคุมในโรงเรียน ได้แก่ โรคหวัด โรคมือ เท้า ปาก โรคสุกใส โรคตาแดง และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ซึ่งโรคติดต่อเหล่านี้ สามารถติดต่อกันได้ทั้ง การหายใจเอาละอองอากาศที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป การไอหรือจามรดกัน และการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไป หากเด็กที่อยู่ใน โรงเรียนอนุบาลฯ เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อเหล่านี้ก็สามารถแพร่กระจายสู่กัน และแพร่กระจายสู่ชุมชนได้ง่าย ซึ่งจากการดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพปลอดโรค ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพกายใจที่ดีลดอุบัติการณ์การเกิดโรค ดังนั้นโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระ ประจำปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลฯ เพื่อให้เด็กปฐมวัย ครู และพนักงาน ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยและการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดจากโรคต่างๆ

  1. เพื่อให้ครู/พนักงาน ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโรคติดต่อและการป้องกันโรค
  2. เพื่อให้ครู/พนักงาน ผู้ปกครองมีทักษะในการจัดสิ่งแวดล้อมและคัดกรองอาการป่วยโรคมือ เท้า ปาก ที่ถูกต้อง
  3. เพื่อป้องกันโรคติดต่อด้วยการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่ายทุกครั้ง

  1. การทำป้ายรณรงรค์
  2. การจัดอบรมให้ความรู้
  1. ประชุมชี้แจงเหตุผลความสำคัญของจัดโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
  3. จัดอบรมครู/พนักงาน ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนในประเด็นต่อไปนี้
      1.) ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น อุจจาระร่วง ไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก การเฝ้าระวังโรค การป้องกัน  การควบคุมโรค   2.) สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรค ทักษะในการจัดการสิ่งแวดล้อม การล้างทำความสะอาดของเล่น อุปกรณ์ที่เด็กใช้ร่วมกัน     3.) ทักษะในการดูแลเด็กเบื้องต้น การเช็ดตัวลดไข้ การวัดไข้เด็ก
  4. จัดกิจกรรมให้เด็กนักเรียนทุกคนล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งและหลังขับถ่ายทุกครั้ง
  5. จัดกิจกรรมทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระทุกสัปดาห์
  6. สรุปผลการดำเนินโครงการ

1.ครู/พนักงาน ผู้ปกครอง ได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่อและการป้องกันโรค
2.ครู/พนักงาน ผู้ปกครอง มีทักษะในการจัดสิ่งแวดล้อมและคัดกรองอาการป่วยโรคมือ เท้า ปาก
3.เด็กนักเรียนได้รับการฝึกการล้างมือที่ถูกวิธีเพื่อป้องกันโรค
4.โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสทิงพระจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง

project version 4.4.01 release 2022-02-13. ช่วยเหลือ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประชาชนเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา แบบบูรณาการ ประจำปี 2560 ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
( นางอรัญญา พรหมวิจิตร ) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประชาชนเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา แบบบูรณาการ ประจำปี 2560

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 60-L7250-01-10 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประชาชนเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา แบบบูรณาการ ประจำปี 2560 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประชาชนเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา แบบบูรณาการ ประจำปี 2560


บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประชาชนเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา แบบบูรณาการ ประจำปี 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L7250-01-10 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 31 สิงหาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 40,650.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"

สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ »
บทคัดย่อ »
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล »
   วัตถุประสงค์โครงการ »
   กิจกรรม/การดำเนินงาน »
   กลุ่มเป้าหมาย »
   ผลลัพธ์ที่ได้ »
   การประเมินผล »
   ปัญหาและอุปสรรค »
   ข้อเสนอแนะ »
   เอกสารประกอบอื่นๆ »

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สาเหตุของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ การขาดการออกกำลังกาย และ ความเครียด ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง และภาวะไขมันใน เลือดผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง จากข้อมูลรายงานจังหวัดจังหวัดสงขลา(ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดสงขลา) ประจำปี 2559 เขตรับผิดชอบพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา พบว่า ประชากรอายุ 35 ปีได้รับการคัดกรองสุขภาพ พบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ11.82 ,กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ24.26,เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 14.57,กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 3.69,อัตราความครอบคลุมคัดกรองมะเร็งเต้านม 84.76% , ไม่พบผลผิดปกติ,พบป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมเดิมที่มีชีวิต16 ราย(1.00%) ,อัตราความครอบคลุมคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 46.61 % ,พบผลผิดปกติ 0.38%, (5 ราย),ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเดิมที่ยังมีชีวิต 7 ราย(0.53%)
ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 7 ชุมชน ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการป้องกันเฝ้าระวังโรคเหล่านี้ โดยการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยงให้ได้รับการตรวจสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่ ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยเร็ว ซึ่งการทำงานต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกส่วน ทั้งบุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน กรรมการชุมชน ประชาชนในชุมชน เพื่อเป้าหมายประชาชนสุขภาพดี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์
  2. 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่
  3. 3. เพื่อให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ส่งต่อทันเวลา และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,060
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    7.1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพ ประเมินภาวะสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพได้
    7.2 ประขากรกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการติดตามดูแลสุขภาพไม่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ สามารถดูแลสุขภาพ กลับไปเป็นกลุ่มปกติ 7.3 ประชากรกลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐาน สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม
    ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรค มีคุณภาพชีวิตที่ดี

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการผลผลิต*ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ :
    1. สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ 3.1 ประชุมชี้แจงแกนนำ ทีมทำงานในชุมชน 6  แห่ง จำนวน 4  ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1.  วันที่      28      เดือน  มิถุนายน    พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 2.  วันที่      18      เดือน  กรกฎาคม  พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 3.  วันที่      27      เดือน  กรกฎาคม    พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 4.  วันที่      18      เดือน  สิงหาคม      พ.ศ. 2560 3.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมและปากมดลูกและตรวจคัดกรองคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกในชุมชน
      3.3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่ ติดตาม 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน จำนวน 50 คน 3.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ SHG กลุ่มป่วย 3.5 กิจกรรมฐานการเรียนรู้ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเรื้อรัง
      3.6 กิจกรรมการเยี่ยมบ้านและประเมินภาวะสุขภาพโดยจิตอาสา (ประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรัง )

    2. สรุปการใช้งบประมาณ 5.1  งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร  จำนวนทั้งสิ้น 40,650  บาท 5.2  งบประมาณที่ใช้จริง จำนวนทั้งสิ้น 30,650  บาท       1.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม                                      จำนวน 26,650  บาท       2.  ค่าวัสดุ จัดทำป้าย สื่อความรู้ เอกสารรูปเล่ม            จำนวน  4,000  บาท                                                                       รวม              30,650              บาท

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 1.1 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80 1.2 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ น้อยกว่าร้อยละ 10 และ 5 ตามลำดับ 1.3 กลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อรักษาตามมาตรฐาน ร้อยละ 100
    2 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่
    ตัวชี้วัด : 2. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ร้อยละ 90
    3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ส่งต่อทันเวลา และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
    ตัวชี้วัด : 3. ประชาชนเพศหญิง อายุ 30- 70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 80
    4
    ตัวชี้วัด : 4. ประชาชนเพศหญิง อายุ 30- 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกประจำปี ร้อยละ 20
    5
    ตัวชี้วัด : 5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ 3

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2060
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,060
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ (2) 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่ (3) 3. เพื่อให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ส่งต่อทันเวลา และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค (4)  (5)

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

    โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประชาชนเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา แบบบูรณาการ ประจำปี 2560 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 60-L7250-01-10

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ( นางอรัญญา พรหมวิจิตร ) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก