การเข้าถึงตำแหน่ง address ของ outputs plc siemens s7–200 เขียนแทนด้วยตัวอักษรใด

Topic: CM479

Memory Type

Range

Description

Read/Write

Data Type

I

I

0.00 - 15.7

Input Memory

R/W

Bit

IB

0 - 15

Byte

IW

0 - 14

Word

ID

0 - 12

Double Word

Q

Q

0.00 - 15.7

Output Memory

R/W

Bit

QB

0 - 15

Byte

QW

0 -14

Word

QD

0 - 12

Double Word

M

M

0.00 - 31.7

Internal Memory

R/W

Bit

MB

0 - 31

Byte

MW

0 - 30

Word

MD

0 - 28

Double Word

SM

SM

0.00 - 549.7

Special Internal Memory

R/W

Bit

SMB

0 - 549

Byte

SMW

0 -548

Word

SMD

0 - 546

Double Word

V

V

0.00 - 10239.7

Internal Variable memory

R/W

Bit

VB

0 - 10239

Byte/String

VW

0 - 10238

Word

VD

0 - 10236

Double Word

T

TW*

0 - 255

Timer Done

R/W

Bit

T

0 - 255

Timer Acc.

Word

C

C

0 - 255

Counter Done

R/W

Bit

CW*

0 - 255

Counter Acc.

Word

AIW

0 - 62

Analog Input

R/W

Word

AQW

0 - 62

Analog Output

R/W

Word

* These addresses are accessed without the W in the PLC by simply changing the data type to a numeric form, e.g. the tag C-more shows as C1 will be C1, format “Bit” in the PLC and the tag C-more shows as CW1 will be C1, format “Signed” in the PLC.

10

เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำ PLC ไปใช้งานอย่างกว้างขวาง การนำ PLC ไปใช้งาน จึงจะพิจารณา
จากขนาดของงานที่จะนำไปควบคุมเป็นหลัก ดังนั้นผู้ผลิต PLC จึงผลิต PLC ออกมาหลากหลายรุ่น แต่ละ

รุ่นมีสมรรถภาพแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท

1.3.1 การแบ่งประเภทของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ตามขนาดของหน่วยความจำ
(memory Unit) และของจำนวนอินพุต และเอาต์พุต (Input / Output Channels)

1.3.1.1 โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ขนาดเล็ก (Small or Micro size) มีจำนวน
อินพุต/เอาต์พุต ไม่เกิน 128 จุด หน่วยความจำประมาณ 4 Kbyte(2,000 Statements)

ภาพที่ 1.4 PLC ขนาดเล็ก ของ SIEMENS ภาพที่ 1.5 PLC ขนาดเล็ก ของ Toshiba
รุ่น S7 - 200 CPU221 รุ่นT1-40S

ที่มา : //www.automation.siemens.com, 2550 ที่มา : //www.pes-group.co.uk, 2550

1.3.1.2 โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ขนาดกลาง (Medium size)มีจำนวน อินพุต/
เอาต์พุต ไม่เกิน 1024 จุด หน่วยความจำประมาณ 16 Kbyte (8,000 Statements)

ภาพที่ 1.6 PLC ขนาดกลาง ของ SIEMENS ภาพที่ 1.7 PLC ขนาดกลาง ของ OMRON
รุ่น S7-300 รุ่น CJ1H

ที่มา : //www.automation.siemens.com, ที่มา : //www.omron-ap.co.th, 2550

2550

11

1.3.1.3 โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ขนาดใหญ่ (Large size)มีจำนวน อินพุต/

เอาต์พุต ไม่เกิน 2048 จุด หน่วยความจำประมาณ 64 Kbyte (32,000 Statements)

ภาพที่ 1.8 PLC ขนาดใหญ่ ของ SIEMENS ภาพที่ 1.9 PLC ขนาดใหญ่ ของ OMRON

รุ่น S7-400 รุ่น CVM1D
ที่มา : //www.automation.siemens.com, ที่มา : //www.omron-ap.co.th, 2550

2550

1.3.1.4 โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ขนาดใหญ่มาก (Very large size) มีจำนวน
อินพุต/เอาต์พุต ประมาณ 8192 จุด หน่วยความจำประมาณ 256 Kbyte (128,000Statements) เป็น

ิ่
PLC แบบ Rack ที่ต่อเพม อินพุต/เอาต์พุต ตามจำนวนที่ต้องการการขยายระบบ

1.3.2 การแบ่งประเภทของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ตามลักษณะโครงสร้าง

1.3.2.1 แบบ Compact เป็น PLC ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด มีหน่วยอินพุต/ เอาต์พุต และ

หน่วยสำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูล ประกอบรวมกันอยู่ภายในโครงสร้างเดียวกัน ซึ่งเหมาะสำหรับงานที่มีการ
กำหนดจำนวนอินพุต/เอาต์พต ที่แน่นอนและมีจำนวนไม่มาก

ภาพที่ 1.10 PLC แบบ Compact ภาพที่ 1.11 PLC แบบ Compact
ของ OMRONรุ่น CP1H

12

ของ MITSUBISHI รุ่น MELSEC FX2N ที่มา : //www.omron-ap.co.th, 2550

ที่มา : //www.mitsubishi-automation.com,
2550

1.3.2.2 แบบ Modular หรือแบบ Rack จะเป็น PLC ที่มีลักษณะเป็นโมดูล เชื่อมต่อกัน
อยู่บน Rack สามารถจะทำการถอดและเสียบโมดูลที่ต้องการใช้งาน Rack ได้ ภายใต้ข้อกำหนดของ PLC

นั้นๆ โดยบน Rack จะมีบัสต่างๆ เช่น บัสข้อมูล, บัสแอดเดรส , บัสควบคุม และ บัสสำหรับจ่ายกำลังงาน

ไฟฟ้าให้กับโมดูลต่างๆ ซึ่ง PLC ในปัจจุบันนิยมที่จะมีโครงสร้างในลักษณะนี้ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในเรื่อง
ของจำนวน อินพุต/เอาต์พุต และโมดูลฮาร์ดแวร์ที่ใช้

ภาพที่ 1.12 PLC แบบ Modular ของ SIEMENSรุ่น ภาพที่ 1.13 PLC แบบ Modular ของ OMRON

S7-400 รุ่น CJ1W-B7A

ที่มา : //www.automation.siemens.com,
2550 ที่มา : //www.ia.omron.com, 2550

1.4 โครงสร้างของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์

โครงสร้างของ PLC มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 3 ส่วน ด้วยกันได้แก ่
1. หน่วยประมวลผล (Central Processing Unit, CPU)

2. หน่วยความจำ (Memory Unit)
3. หน่วยอินพุต/เอาต์พุต (Input Unit /Output Unit)

13


อุปกรณทางด้าน อุปกรณทางด้าน


อินพุต เชน เอาต์พุต เชน

เชน

อุปกรณตอรวม


สวิตช์ หลอดไฟ



หนวย หนวย
อินพุต เอาตพุต รเลย์



โฟโต้อิเล็กทรก สวิตช์

PLC

หนวย
ประมวลผล

กลาง

พรอกซมต้ สวิตช์ มอเตอร ์




หนวยความจ า

เอ็นโค๊ดเดอร ์ โซลนอยล์วาล์ว

แหลงจายพลังงาน

ภาพที่ 1.14 แสดงโครงสร้างของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์

1.5 หลักการทำงานของหน่วยต่าง ๆ ภายในโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์

1.5.1 หน่วยประมวลผล (Central Processing Unit, CPU)

เป็นส่วนมันสมองของ PLC ประกอบไปด้วยวงจร Logic Gate หลายชนิดและมี

Microprocessor- based ใช้สำหรับแทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ ตัวตั้งเวลา ตัวนับ หน่วยประมวลผลทำหน้าที่
ื่

เป็นตัวควบคุมและจัดการระบบการทำงานทั้งหมด โดยรับสัญญาณและปริมาณต่าง ๆ จากหน่วยอินพตเพอ
ใช้เป็นข้อมูลในการประมวลผล

14

หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ตามโปรแกรมที่ผู้ใช้ป้อนให้หรือโปรแกรมที่ถูกเก็บไว้ใน

หน่วยความจำ และส่งผลที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยเอาต์พุต เพื่อใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ด้าน
เอาต์พุต ลักษณะการทำงานของหน่วยประมวลผลจะทำเป็นรอบ เรียกว่า เวลาสแกน (Scan Time) ใช้เวลา

ประมาณ 1 - 100 msec. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำโปรแกรม ความเร็วของหน่วยประมวลผล

และจำนวนโปรแกรมข้อมูลที่ป้อนเข้าไป

1.5.2 หน่วยความจำ (Memory Unit)
เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เพราะใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน

ขนาดของหน่วยความจำจะเป็นสิ่งที่กำหนดความสามารถของระบบ โดยขนาดของหน่วยความจำจะถูกแบ่ง

ออกเป็นบิตข้อมูล(Data Bit) ภายในหน่วยความจำ 1 บิต ก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก 0 หรือ 1 แตกต่างกัน
แล้วแต่คำสั่ง หน่วยความจำในPLC จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.5.2.1 Volatile Memory หน่วยความจำประเภทนี้ ได้แก่ RAM (Random Access
Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือเก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC สามารถ

เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูล เหมาะกับงานของผู้ใช้ในระยะทดลองเครื่อง เนื่องจากโปรแกรมต้องมีการ

เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ หน่วยความจำประเภทนี้จะต้องมีแหล่งจ่ายไฟสำรอง (Battery) เล็กๆ ต่อไว้ เพอใช้เป็น
ื่
ไฟเลี้ยงข้อมูล ไม่ให้ข้อมูลสูญหายเมื่อไฟดับ

1.5.2.2 Non-Volatile Memory หน่วยความจำประเภทนี้ ได้แก่ ROM (Read Only

Memory) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ตามโปรแกรมของผู้ใช้ หน่วยความจำ
แบบ ROM ยังสามารถแบ่งได้เป็น

(1) EPROM ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม เหมาะกับงานที่
ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม มีข้อดีต้องที่ข้อมูลไม่สูญหายแม้ไฟดับ จึงเหมาะสมกับการทำงานที่ไม่

ต้องการเปลี่ยนโปรแกรม

(2) EEPROM เป็นหน่วยความจำที่ถูกพัฒนาให้มีขีดความสามารถที่ดีขึ้น คือสามารถ
เขียนและอ่านข้อมูลได้โดยใช้สัญญาณไฟฟ้าเท่านั้น สามารถเก็บข้อมูลครั้งล่าสุดได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยง

จึงเหมาะสำหรับใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลการทำงานของ PLC หน่วยความจำประเภทนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือ
พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม สามารถใช้งานได้เหมือนกับ RAM และไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สำรอง แต่ราคา

จะแพงกว่าเนื่องจากรวมคุณสมบัติของ ROM และ RAM เอาไว้ด้วยกัน

1.5.3 หน่วยอินพุต / เอาต์พุต (Input / Output Unit)

15

1.5.3.1 หน่วยอินพุต (Input Unit) จะทำหน้าที่ รับสัญญาณอินพุตจากอุปกรณ์ทางด้าน

อินพุต ทั้งที่เป็นสวิตช์หรือ เซนเซอร์ (Sensor)แบบต่าง ๆ ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงหรือไฟฟ้ากระแสสลับ (ขึ้นอยู่
กับตัวควบคุม) แล้วแยกหรือแปลงให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมถูกต้องกับหน่วยประมวลผล ซึ่งติดต่อกันด้วย

ลำแสง โดยอาศัยอุปกรณ์ประเภทโฟโต้ทรานซิสเตอร์ ทั้งนี้เป็นการแยกสัญญาณทางไฟฟ้าให้ออกจากกัน

เพื่อป้องกันการรบกวนทางไฟฟ้าและป้องกันไม่ให้หน่วยประมวลผลต่อกับอุปกรณ์ภายนอกโดยตรง ในกรณี
เกิดการลัดวงจรจากภายนอก หน่วยอินพุตของ PLC แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ หน่วยอินพุตแบบดิจิตอล

และหน่วยอินพุตแบบอนาลอก
(1) หน่วยอินพุตแบบดิจิตอล (Digital Input) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า On – Off

Input หมายถึงอินพุตที่สามารถรับสัญญาณที่มีสภาวะการทำงานเพียง 2 สภาวะ เท่านั้นคือ สภาวะการ

ทำงาน(On) และหยุดทำงาน(Off ) เช่น สวิตช์แบบต่างๆ เซนเซอร์แสง (Photoelectric Sensor) เซนเซอร์
ตรวจจับระยะสั้น (Proximity Sensor) เป็นต้น

(2) หน่วยอินพุตแบบอนาลอก (Analog Input) หมายถึง อินพุตที่สามารถรับ
สัญญาณที่มีลักษณะเป็นสัญญาณต่อเนื่อง ซึ่งได้แก่ สัญญาณมาตรฐานแบบต่างๆ เช่น สัญญาณกระแส

มาตรฐาน 0 – 20 mA. สัญญาณกระแสมาตรฐาน 4 – 20 mA. สัญญาณแรงดันมาตรฐาน 0 – 10 V.

สัญญาณแรงดันมาตรฐาน 1 – 5 V. เป็นต้น ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์วัดระดับแบบต่อเนื่อง (Level Sensor)
เครื่องวัดความดันต่อเนื่อง (Pressure Sensor) เครื่องวัดระยะทางแบบต่อเนื่อง (LVDT)

1.5.3.2 หน่วยเอาต์พุต (Output Unit) ทำหน้าที่รับค่าสภาวะที่ผ่านการประมวลผลจาก

หน่วยประมวลผล เพื่อนำค่าเหล่านี้ ไปควบคุมอุปกรณ์ด้านเอาต์พุต เช่น มอเตอร์ รีเลย์ หลอดไฟ เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้ว ยังทำหน้าที่แยกสัญญาณของหน่วยประมวลผลออกจากอุปกรณ์เอาต์พุต โดยปกติไม่นิยมนำ

เอาต์พุตของ PLC ไปขับโหลดโดยตรง เนื่องจากหน่วยเอาต์พุต มีความสามารถในการขับโหลดด้วยกระแส
ประมาณไม่เกิน 2 แอมแปร์ หากต้องการนำไปขับโหลดกระแสสูง ๆ จะต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ขับอื่น เพอ
ื่
ขยายให้สามารถรับกระแสได้มากขึ้น เช่น ต่อร่วมกับ รีเลย์ หรือ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ หน่วยเอาต์พตมีอยู่

หลายแบบต้องเลือกใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของงาน เช่น
(1) หน่วยเอาต์พุตแบบดิจิตอล (Digital Output) เป็นเอาต์พุตที่ให้สัญญาณแบบ

On-Off นอกจากนี้เอาต์พุตแบบดิจิตอล ยังแบ่งออกได้ ตามชนิดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาผลิตเป็น
หน่วยเอาต์พุตได้ดังนี้ คือ

(1.1) เอาต์พุตชนิดรีเลย์ เป็นเอาต์พุตประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุด
เหมาะสำหรับใช้งานกับไฟฟ้ากระแสสลับหรือไฟฟ้ากระแสตรง โดยปกติเอาต์พุตแบบรีเลย์สามารถขับโหลดที่

กระแสประมาณไม่เกิน 2 แอมแปร์หรือ 10 แอมแปร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่บริษัทผู้ผลิต ในกรณีที่โหลดต้องการ

16

กระแสใช้งานมากกว่านี้ ต้องนำไปต่อกับอุปกรณ์ขับ หรือขยายสัญญาณ เช่น ต่อกับรีเลย์ หรือแมกเนติกคอน

แทคเตอร์

(1.2) เอาต์พุตชนิดทรานซิสเตอร์ แบ่งเป็น ชนิด NPN และ PNP มีความเร็ว

ในการทำงานสูง เหมาะสำหรับใช้งานโหลดที่มีการปิด–เปิดบ่อยๆ หรือการควบคุมที่ใช้งานความถี่ในการ
Switch สูง เช่น PID Control แบบ On - Off, Stepping/Servo Motor Control, PWM Control

(1.3) เอาต์พุตชนิดไตรแอค จะใช้กับโหลดที่มีเปิด – ปิด บ่อย ๆ เหมาะ

สำหรับใช้งานกับไฟฟ้ากระแสสลับมีความเร็วในการทำงานสูง เช่นเดียวกับแบบทรานซิสเตอร์

(2) หน่วยเอาต์พุตแบบอนาล็อก (Analog Output) เป็นเอาต์พุตที่ให้สัญญาณ
ออกมามีลักษณะเป็นสัญญาณต่อเนื่อง ซึ่งได้แก่ สัญญาณมาตรฐานแบบต่าง ๆ เช่น สัญญาณกระแสมาตรฐาน

0 – 20 mA. ,สัญญาณกระแสมาตรฐาน 4 – 20 mA., สัญญาณแรงดันมาตรฐาน 0 – 10 V. สัญญาณแรงดัน
มาตรฐาน 1 – 5 V. เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การต่อร่วมกับ Control Valve ,Inverter , DC Speed Drive

Control

ซึ่งในเรื่องรายละเอียดและหลักการทำงานของอุปกรณ์ทางด้านอินพุตจะ

กล่าวอย่างละเอียดในหน่วยที่ 2 ต่อไป

1.6 อุปกรณ์ต่อร่วม (Peripheral Devices )

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อร่วมกับ PLC ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด หลายประเภท เป็นอุปกรณ์ที่ช่วย

อำนวยความสะดวกในการใช้งาน PLC และในปัจจุบันได้มีการผลิตซอฟแวร์ ที่สามารถเขียน

โปรแกรม PLC ด้วยภาษาแบบต่าง ๆ โดยการโปรแกรมผ่านคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันการพัฒนา Human
Machine Interface (HMI) ของแต่ละบริษัทต่างมีเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ทำให้การใช้

งานสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ตัวอย่างของอุปกรณ์ต่อร่วม เช่น

1.6.1 Human Machine Interface (HMI)

ใช้สำหรับการแก้ไขโปรแกรมแสดงสภาวะการควบคุม ฯลฯ ตามที่บริษัทผู้ผลิตจะออกแบบ
และพัฒนา โดยจะมีเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งาน เพื่อความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น เช่น

17

สามารถทำการโปรแกรมภาพแบบหน้าจอให้แสดงผลหรือปุ่มควบคุมให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้

งานได้ ทำให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกขึ้น

ภาพที่ 1.15 Human Machine Interface (HMI) ของ OMRON รุ่น NS5 / NS8 / NS10 / NS12 NS

Series

ที่มา : //www.omron-ap.co.th, 2550

18

ภาพที่ 1.16 HMI ของ SIEMENS รุ่นต่าง ๆ

ที่มา : //www.automation.siemens.com, 2550

1.6.2 คอมพิวเตอร์ (Computer)
ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไปในหน่วยความจำ แก้ไขโปรแกรม และแสดงสภาวะการควบคุม

โดยต้องใช้ร่วมกับซอฟแวร์ของ PLC ยี่ห้อนั้น เช่น PLC ของ SIEMENS ใช้โปรแกรม STEP 7 MICRO/WIN

หรือ PLC ของ ORMRON ใช้โปรแกรม CX - Programmer โดยแต่ละบริษัทจะพัฒนาซอฟแวร์ให้สามารถ
รองรับฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้นตามการพัฒนาของ PLC

ในอดีตเรามักใช้ Programming Console ในการเขียนโปรแกรม แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มี

ราคาถูกลงและซอฟแวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมได้พัฒนาขึ้นมาก Programming Console ซึ่งมีราคา
ค่อนข้างแพง จึงไม่ได้รับความนิยมเหมือนเช่นเคย

(ก) (ข)

ภาพที่ 1.17 (ก) Programming Console ของ OMRON รุ่น CQM1-PRO01-E

19

(ข) คอมพิวเตอร์(Computer)

ภาพที่ 1.18 โปรแกรม STEP 7 Micro/WIN

ภาพที่ 1.19 โปรแกรม CX - Programmer

20

ภาพที่ 1.20 SCADA Software (Supervisory Control And Data Acquisition Software)

ซึ่งมีไดร์ฟเวอร์ของ PLC ยี่ห้อนิยมใช้งานทั่วไปและกำลังได้รับความนิยม
ที่มา : //www.thaiengineering.com, 2550

21

แบบฝึกหัด

หน่วยที่ 1 เรื่อง โครงสร้างของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์

คำสั่ง จงตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์ที่สุด

1. จงบอก ข้อดี ของการนำ PLC มาควบคุม ในงานอุตสาหกรรม แทนที่ ระบบควบคุมแบบเก่า ซึ่ง

ใช้รีเลย์
2. จงยกตัวอย่างงานที่ใช้ PLC ในการควบคุมระบบ

3. จงอธิบายถึงการแบ่งประเภทของ PLC ตามขนาดของหน่วยความจำ

4. จงอธิบายถึงประเภทของ PLC ตามขนาดของโครงสร้าง
5. ส่วนประกอบที่สำคัญของ PLC มีกี่ส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง

6. หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่อะไร
7. หน่วยความจำ ภายใน PLC แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ประกอบด้วยอะไรบ้าง

8. หน่วยความจำ ประเภท Non – Volatile คืออะไร

9. จงอธิบายการทำงานของหน่วยอินพุต และหน่วยเอาต์พุต
10. จงยกตัวอย่างอุปกรณ์ต่อร่วมกับ PLC พร้อมบอกหน้าที่การทำงานมา 1 ตัวอย่าง

22

แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 1 เรื่อง โครงสร้างของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์
ระดับชั้น ปวส. รายวิชา 3104-2006 ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม

จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน

คำสั่ง ให้นักศึกษาทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในกระดาษคำตอบบนคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อดีของการนำ PLC มาควบคุมกระบวนการผลิตคืออะไร

ก. ขยายระบบได้ง่าย
ข. ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาง่าย

ค. มีความน่าเชื่อถือ

ง. ถูกทุกขอ

2. การแบ่งประเภทของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ตามขนาดของอินพุต / เอาต์พุต ขนาด

ใหญ่ มีจำนวนอินพุตไม่เกินกี่จุด

ก. 1024 จุด
ข. 1042 จุด

ค. 2048 จุด

ง. 2084 จุด

3. การแบ่งประเภทของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ตามขนาดของอินพุต / เอาต์พุต ขนาดเล็ก ม ี
จำนวนอินพุตไม่เกินกี่จุด

ก. 128 จุด

ข. 182 จุด
ค. 218 จุด

ง. 281 จุด

4. ส่วนใดของ PLC ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมด

ก. หน่วยประมวลผล
ข. หน่วยความจำ

ค. หน่วยอินพุต / เอาต์พุต
ง. อุปกรณ์ต่อร่วม

23

5. การทำงานของ CPU ในแต่ละรอบการใช้งานเรียกว่าอะไร

ก. เวลาสแกน (Scan Time)
ข. ขนาดของหน่วยความจำ

ค. ความเร็วในการประมวลผล


ง. การตอบสนองของหน่วยอินพต

6. PLC แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง ได้กี่ประเภท
ก. 1 ประเภท

ข. 2 ประเภท

ค. 3 ประเภท
ง. 4 ประเภท

7. หน่วยความจำ RAM ใช้โปรแกรมในลักษณะใด

ก. ไม่สามารถแก้ไขโปรแกรมได้

ข. เมื่อโปรแกรมแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
ค. การโปรแกรมข้อมูลแบบซ้ำ

ง. การโปรแกรมข้อมูลสลับซับซ้อน

8. หน่วยความจำประเภท Volatile Memory คือหน่วยความจำประเภทใด
ก. RAM

ข. ROM

ค. EPROM
ง. EEPROM

9. หน่วยอินพุต ทำหน้าที่อะไร

ก. ควบคุมการทำงานของ PLC

ข. ส่งสัญญาณออกไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอก
ื่
ค. รับสัญญาณเพอส่งเข้าที่ CPU

ง. เก็บขอมูลหรือโปรแกรม

10. อินพุตที่สามารถรับสัญญาณที่มีลักษณะสัญญาณเป็นสัญญาณต่อเนื่อง เรียกว่าอินพุตแบบใด

ก. อินพุตแบบ ดิจิตอล
ข. อินพุตแบบอนาลอก

24

ค. พัลส์อินพุต

ง. อินพุตแบบพิเศษ

11. อินพุตที่มีการทำงานเพียง 2 สภาวะ คือ สภาวะ On – Off เรียกว่า อินพุตแบบใด

ก. อินพุตแบบ ดิจิตอล
ข. อินพุตแบบอนาลอก

ค. พัลส์อินพุต
ง. อินพุตแบบพิเศษ

12. อุปกรณ์ในข้อใด เป็นอุปกรณ์ด้านอินพุต
ก. รีเลย์

ข. คอนโทรลวาล์ว
ค. อินเวอร์เตอร์

ง. เทอร์โมคัปเปิ้ล

13. หน่วยอินพุตที่ดี ควรมีลักษณะแบบใด

ก. มีการสั่นของหน้าสัมผัส ตามความถี่
ข. การรับคลื่นตั้งอินพุตต้องเรียบ

ค. เปลี่ยนแปลงระดับ สัญญาณได้เรื่อย ๆ
ง. ไม่มการสั่นของหน้าสัมผัส

14. อุปกรณ์ในข้อใด ไม่ใช่อุปกรณ์ด้านอินพุต
ก. โฟโตอิเล็กทริก เซนเซอร์

ข. โซลินอยด์วาล์ว
ค. เพรสเชอร์เซนเซอร์

ง. อาร์ทีดี

15. เอาต์พุตแบบดิจิตอล ทำจากอุปกรณ์ชนิดใด ใช้เฉพาะกับไฟฟ้ากระแสตรง และเหมาะสำหรับ ใช้

งานกับโหลด ที่มีการ เปิด – ปิดบ่อย ๆ หรือการควบคุมงานที่ต้องการความถี่ในการสวิตช์สูง
ก. ชนิดทรานซิสเตอร์

ข. ชนิดไตรแอค

ค. ชนิดรีเลย์

25

ง. ชนิดโฟโต้ไดโอด

16. ชนิดของเอาต์พุตแบบดิจิตอล ชนิดใดได้รับความนิยมมากที่สุด เหมาะกับการใช้งานทั้งไฟฟ้า

กระแสตรงและไฟฟ้ากระสลับ
ก. ชนิดทรานซิสเตอร์

ข. ชนิดไตรแอค

ค. ชนิดรีเลย์
ง. ชนิดโฟโต้ไดโอด

17. อุปกรณ์ในข้อใด ต่อไปนี้ เป็นอุปกรณ์ด้านเอาต์พุต

ก. โฟโต้อิเล็กทริกสวิตช์

ข. โซลินอยด์ วาล์ว
ค. เอนโค๊ดเดอร์

ง. พร็อกซิมิตี้ สวิตช์

18. หน่วยเอาต์พุตของ PLC ทำหน้าที่ใด

ก. ควบคุมและจัดการระบบการทำงานทั้งหมด
ข. เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน

ค. รับสัญญาณอินพุตแล้วส่งเข้า CPU
ง. รับค่าสภาวะที่ผ่านการประมวลผลแล้ว นำไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอก

19. อุปกรณ์ในข้อใด ต่อไปนี้ ไม่ใช่อุปกรณ์ด้านเอาต์พุต
ก. รีเลย์

ข. คอนโทรลวาล์ว
ค. อินเวอร์เตอร์

ง. เทอร์โมคัปเปิ้ล

20. Programming Console เป็นอุปกรณ์ประเภทใด

ก. CPU
ข. Peripheral Devices

ค. Input Unit

ง. Output Unit

26

แบบสังเกตพฤติกรรม

เพื่อประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

วิชา ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม รหัสวชา 3104-2006
หน่วยที่ 1 เรื่อง โครงสร้างของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์

ชื่อ-สกุล.................................................ระดับชั้น............เลขที่.........สาขางาน..........................................

ลำดับที่ พฤติกรรม ระดับคะแนน

0 1 2

1 มีมนุษย์สมพันธ์
1.1 พูดจาสุภาพ
1.2 ไม่เอาเปรียบผู้อื่น

2 ความมวินัย

2.1 แต่งกายถูกต้องตามระเบียบและข้อตกลง
2.2 ตรงต่อเวลา

2.3 รักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อม
3 ความรับผิดชอบ

3.1 มีการเตรียมความพร้อมในการเรียนและการปฏิบัติงาน

3.2 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนด
ื่
4 ความซอสัตย์สุจริต
4.1 ไม่ทุจริตในการสอบ

4.2 ไม่ลักขโมย
5 ความสนใจใฝ่รู้

5.1 มีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ใหม่

รวมคะแนนที่ได้
หมายเหตุ ความหมายของระดับคะแนน 0 = ไม่ปฏิบัติเลย

1 = ปฏิบัติบ้างในบางครั้งหรือต้องมีการชี้นำตักเตือน 2 = ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
........................................................................................................................................................

ลงชื่อ.................................................ผู้ประเมิน

27

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 2

วิชา ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม สอนครั้งที่ 2
ชื่อหน่วย โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ SIEMENS คาบรวม 5 ชั่วโมง

รุ่น SIMATIC S7 – 200

ชื่อเรื่อง โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200 จำนวนคาบ 5 ชั่วโมง

สมรรถนะที่พึงประสงค์ รายการสอน
จุดประสงค์ทั่วไป

1. เพื่อให้นักศกษา รู้จักคุณลักษณะต่าง ๆ ของ PLC SIEMENS

รุ่น SIMATIC S7 – 200 1. โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์

2. เพื่อให้นักศกษา รู้จักอุปกรณ์ต่อขยาย อุปกรณ์เชื่อมต่อและ ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200
การสั่งงานแบบต่าง ๆ ของ PLC SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 2. คุณลักษณะของ PLC SIEMENS
200 รุ่น SIMATIC S7 – 200

3. เพื่อให้นักศกษา รู้จัก ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมของ 3. อุปกรณ์ต่อขยาย (Expansion)

PLC SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200 4. อุปกรณ์สั่งงานและจอแสดงผล
4. เพื่อให้นักศกษา รู้จัก ตำแหน่งพื้นที่ใช้งานและการอ้าง 5. อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่าง

Address ใน SIMATIC คอมพิวเตอร์ กับ PLC

5. เพื่อให้นักศกษา มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและ 6. สายเคเบิ้ล PC / PPI

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านมีมนุษย์สัมพันธ์ ความมีวินัย 7. ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม

ความซื่อสัตย์สุจริต ความสนใจใฝ่รู้และความรับผิดชอบ 8. ตำแหน่งพื้นที่การใช้งาน

9. การอ้างตำแหน่ง Address ใน
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม SIMATIC

1. บอกรายละเอียด คุณลักษณะต่าง ๆ ของ PLC SIEMENS รุ่น
SIMATIC S7 – 200 ได้ถูกต้อง

2. บอกหน้าที่ของอุปกรณ์ต่อขยาย อุปกรณ์เชื่อมต่อและสั่งงาน

แบบต่างๆ ของ PLC SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200ได้
ถูกต้อง

3. บอก ชนิดของภาษาที่ใช้ใน การเขียนโปรแกรมของ PLC

SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200ได้ถูกต้อง
4. บอกตำแหน่งพื้นที่ใช้งานและการอ้างAddress ใน SIMATIC

ได้ถูกต้อง

28

แบบทดสอบก่อนเรียน

หน่วยที่ 2 เรื่อง โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200
ระดับชั้น ปวส รายวิชา 3104-2006 ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม

จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน

คำสั่ง ให้นักศึกษาทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในกระดาษคำตอบบนคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

“ CPU 226 24 Input / 16 Output 7 Expansion Modules MAX 226 I/0 MAX”
จากข้อความข้างต้น จงใช้ตอบคำถามข้อ 1 – 2

15. “ 7 Expansion Modules MAX” มีหมายความว่าอย่างไร
จ. ขยายเพมได้ 1 โมดูล อินพุตสูงสุดไม่เกิน 7 จุด
ิ่
ฉ. ขยายเพมได้ 7 โมดูลสูงสุด
ิ่
ช. ขยายเพมได้ 7 โมดูล อินพุตสูงสุดไม่เกิน 7 จุด
ิ่
ซ. ขยายเพมได้ 7 โมดูล เอาต์พตสูงสุดไม่เกิน 7 จุด

ิ่
16. “ 226 I/0 MAX” หมายความว่าอะไร

จ. เพิ่มอินพุตสูงสุดไม่เกิน 226 จุด

ฉ. เพิ่มอินพุต / เอาต์พุตสูงสุดไม่เกิน 226 จุด
ช. อินพุต รวมกันทั้งหมดได้สูงสุดไม่เกิน 226 จุด

ซ. อินพุต / เอาต์พต รวมกันทั้งหมดได้สูงสุดไม่เกิน 226 จุด

17. EM 221 Digital Input/Output สามารถเพิ่มขนาดอินพุตได้ทั้งหมดกี่จุด
1
จ. 4 จุด
ฉ. 8 จุด

ช. 12 จุด
ซ. 16 จุด

18. PLC ของ SIEMEN S7 – 200 จำนวนอินพุต / เอาต์พุตมากที่สุดคือขนาด CPU ใด
a. CPU 221

b. CPU 222
c. CPU 223

d. CPU 226

29

19. Software ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ PLC ของ SIEMENS ชื่ออะไร

จ. SSS
ฉ. TPDS

ช. STEP 7 Micro/Win

ซ. SFC

20. สายที่ใช้ในการ Link ข้อมูลระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ PLC ของ SIEMENS ชื่ออะไร
จ. PPI / PC

ฉ. PC / PPI

ช. PPI / Serial
ซ. PC / USB

21. การตั้งค่า Dip Switch ทำเพื่อกำหนดค่าอะไร

ก. ความเร็วในการประมวลผล

ข. ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล
ค. ความเร็วในการรับสัญญาณด้านอินพุต

ง. ความเร็วในการรับสัญญาณด้านเอาต์พุต

22. Baud Rate คืออะไร

จ. ความเร็วในการประมวลผล
ฉ. ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล

ช. ความเร็วในการรับสัญญาณด้านอินพุต
ซ. ความเร็วในการรับสัญญาณด้านเอาต์พุต

23. Baud Rate ของ PLC ของ Siemens S7 – 200 ที่นิยมใช้ มีค่าเท่ากับ
จ. 1.2 Kb

ฉ. 2.4 Kb
ช. 9.6 Kb

ซ. 19.2 Kb

24. การติดต่อระหว่าง PLC ไปยัง คอมพิวเตอร์ ใช้ระบบสอสารแบบใด
ื่

30

ก. RS-232 / RS-485

ข. RS-485 / RS-232
ค. RS-232 / RS-422

ง. RS-422 / RS-485

25. ลักษณะการเขียนโปรแกรมแบบใด มีลักษณะคล้ายกับวงจรทางไฟฟ้า

จ. LAD
ฉ. STL

ช. SFC

ซ. FBD

26. ลักษณะการเขียนโปรแกรมแบบใด มีลักษณะคล้ายกับวงจรลอจิกเกท
จ. LAD

ฉ. STL

ช. SFC
ซ. FBD

27. การอ้าง Address เพื่อเข้าถึงตำแหน่งของอินพุต PLC SIMENS S7 – 200 เขียนแทนด้วย

จ. A
ฉ. I

ช. V

ซ. Q

28. การอ้าง Address เพื่อเข้าถึงตำแหน่งของเอาต์พุต PLC SIMENS S7 – 200 เขียนแทนด้วย
ตัวอักษร

จ. A

ฉ. I
ช. V

ซ. Q

29. ตัวตั้งเวลา (Timer) PLC SIMENS S7 – 200 มีจำนวนสูงสุดให้ใช้ไม่เกินเท่าใด

จ. 128
ฉ. 129

31

ช. 255

ซ. 256

30. ตัวตั้งเวลา (Timer) PLC SIMENS S7 – 200 มีค่า Resolution เท่ากับเท่าไร
ง. 1 mS.

จ. 1 mS., 10 mS.

ฉ. 1 mS., 10 mS., 100 mS.
ง. 1 mS., 1 mS., 10 mS., 100 mS., 1000 mS.

17. ค่า Resolution หมายถึงค่าอะไร

จ. ค่าเวลา

ฉ. ค่าจำนวนนับ
ช. ค่าความละเอียด

ซ. ค่าความเร็วในการส่งข้อมูล

18. ค่า Maximum ของ Time Number 101 มีค่าเท่าไร

จ. 3.2767 S
ฉ. 32.767 S

ช. 327.67 S
ซ. 3276.7 S

19. ตัวตั้งเวลา (Timer) หมายเลข T0 เป็น Time ชนิดใด
ก. TON

ข. TOF
ค. TONR

ง. SSS

20. ตัวนับ (Counter) PLC SIMENS S7 – 200 มีจำนวนสูงสุดให้ใช้ไม่เกิน

จ. 128
ฉ. 129

ช. 255

ซ. 256

32

ใบความรู้

หน่วยที่ 2
โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200

โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า S7

– 200 เป็น PLC ของบริษัท SIEMENS ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการควบคุมได้หลากหลาย ลักษณะ
โครงสร้างถูกออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด มีความสามารถในการทำงานสูง มีฟังก์ชั่นการใช้งานมาก

2.1 โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200

PLC ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200 มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 3 ส่วนเหมือนกับ

PLC โดยทั่วไป ได้แก หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยอินพุต/เอาต์พุต ซึ่งหน่วยต่าง ๆ อยู่ภายใน
ตัว PLC โดยมีจุดต่อออกมาใช้งานต่าง ๆและหลอด LED จะแสดงสภาวะการทำงานของ PLC ดังรูป

ภาพที่ 2.1 โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200

33

2.2 คุณลักษณะของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200

ในลักษณะของงานควบคุมแบบอัตโนมัติที่หลากหลายในปัจจุบัน จะมีความแตกต่างของลักษณะ

งาน ขนาดของงาน รูปแบบของงาน PLC ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200 มีขนาดของ CPU
เพื่อให้เลือกใช้งาน และสามารถเปรียบเทียบข้อมูล การใช้งาน ข้อแตกต่างของ PLC ของ SIEMENS รุ่น

SIMATIC S7 – 200 แต่ละ CPU จากตารางที่ 3.1

PLC ของ SIEMENS S7 – 200 มีหน่วยอินพุตเป็นแบบดิจิตอล ในการใช้งานสามารถนำสัญญาณ
จากอุปกรณ์ด้านอินพุตเช่น Photoelectric Sensor, Proximity Switch และสวิตช์แบบต่าง ๆ ที่มี

สัญญาณเป็นแบบดิจิตอล ต่อเข้าทอินพุตของ PLC ได้และในการเลือกใช้งาน สามารถเลือกจำนวนของอินพุต
ี่
ที่เหมาะสมกับขนาดของงานที่ต้องการควบคุมได้ ดังภาพที่ 2.3

ภาพที่ 2.2 แสดงจำนวนอินพุต ของ PLC แต่ละขนาดของ CPU

ที่มา : //www.automation.siemens.com, 2550

จากภาพที่ 2.2 ตัวอย่างเช่น CPU 226 24 inputs/16 outputs 7 expansion modules max

226 I/O max หมายความว่า เป็นรุ่น CPU 226 มีจำนวนอินพุตที่เครื่อง 24 จุด (24 inputs) /มีจำนวน

34

เอาต์พุตที่เครื่อง 16 จุด (16 inputs) สามารถขยายจุดต่อได้ 7 โมดูล (7 expansion modules max) จำนวน

รวมของอินพุตและเอาต์พุตสูงสุดไม่เกิน 226 จุด (226 I/O max) เป็นต้น

2.3 อุปกรณ์ต่อขยาย (Expansion Modules)

หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ต่อร่วมกับ PLC เพอเพมจำนวนอินพุต / เอาต์พุต ของ PLC ทั้งใน
ิ่
ื่
แบบของอินพุตแบบดิจิตอลและอินพุตแบบอนาล็อก หรืออินพุตแบบพิเศษเฉพาะงาน รายละเอียด
ข้อกำหนดต่าง ๆ ของอุปกรณ์ต่อขยายทั้งแบบดิจิตอล และแบบอนาล็อก สามารถดูได้จากตารางท 2.2 – 2.4
ี่
และสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือการใช้งาน หรือเอกสารประกอบการขายของบริษัทผู้ผลิตหรือจำหน่าย

ภาพที่ 2.3 แสดง Analog Expansion Modules Siemens EM235

ภาพที่ 2..4 แสดงการต่อใช้งาน PLC S7 – 200 CPU 224 ร่วมกับ Analog Expansion Modules EM235

35

ภาพที่ 2.5 แสดงการต่อใช้งาน PLC S7 – 200 CPU 224 ร่วมกับ 2 Expansion Modules

36

ตารางที่ 2.1 แสดงการเปรียบเทียบคุณสมบัติ CPU ของ S7-200 รุ่น CPU 221, CPU 222และ CPU 224

37

ตารางที่ 2.1 ( ต่อ) แสดงการเปรียบเทียบคุณสมบัติ CPU ของ S7-200 รุ่น CPU 224XP/CPU 224XPsi

และ CPU 226

38

ตารางที่ 2.2 แสดงตัวอย่างขอมูลรายละเอียดการต่อขยายอินพุตแบบดิจิตอล โดยใช้ Digital Expansion

1
Module EM221 EM222
1

39

ตารางที่ 2.3 แสดงตัวอย่างข้อมูลรายละเอียดการต่ออินพตแบบอนาล็อก โดยใช้ Analog Input

1
1
Expansion Module EM231 ,EM231 และEM 232

ตารางที่ 2.4 แสดงตัวอย่างข้อมูลรายละเอียดการขยายจุดต่ออินพุตแบบพิเศษ โดยใช้ Analog Expansion

Module EM231 TC และ EM231 RTD

2.4 อุปกรณ์สั่งงานและจอแสดงผล (Text Display and Touch Screen)

40

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ในการสั่งงาน การกำหนดค่า หรือ ปรับตั้งค่าต่าง ๆ รวมถึง การ

ตรวจสอบข้อมูล การแสดงผลสภาวะการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องจักร

ภาพที่ 2.6 แสดง Text Display Siemens Simatic TD 400Cและ Touch Screen Siemens Simatic
Panel TP177 micro

ที่มา : //www.automation.siemens.com , 2550

2.5 อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ PLC

การเขียนโปรแกรม PLC จะต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ใช้การเขียนโปรแกรม ในแผนการจัดการ
เรียนรู้นี้ จะแนะนำวิธีการเขียนโปรแกรม ผ่านซอฟแวร์ STEP 7 Micro / Win Version 4 และต้องมีอุปกรณ์

ที่ช่วยในการเขียนโปรแกรม คือ คอมพิวเตอร์และสายสำหรับเชื่อมติดต่อสื่อสารข้อมูล คือ สายเคเบิ้ล PC /
PPI

2.6 สายเคเบิ้ล PC / PPI

การติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 นั้น จะต้องใช้

สายเคเบิ้ล PC / PPI โดยมี Adaptor ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ RS 232 จาก Series Port ของ
คอมพิวเตอร์ มาเป็น RS 485 ที่ใช้กับเครื่อง PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 สายเคเบิ้ล PC / PPI จะมีให้

เลือกใช้ 2 แบบ คือแบบหัวต่อ USB และแบบ RS232 (Com Port)

41

ภาพที่ 2.7 แสดง สายเคเบิ้ล PC / PPI หัวต่อแบบ USB และ หัวต่อแบบ RS232 (COM Port)

ื่
ในการใช้สายเคเบิ้ล PC/PPI จะต้องมีการปรับตั้ง Dip Switch เพอกำหนดอัตราการส่งข้อมูลใน
การปรับตั้งอัตราการส่งข้อมูลที่ใช้กัน ส่วนมาก จะมีค่าเท่ากับ 9.6 Kbyte


ภาพที่ 2.8 แสดงรายละเอยดในการตั้งค่า Dipswitch เพื่อกำหนดค่าอัตราการส่งข้อมูล

42

ภาพที่ 2.9 แสดงตำแหน่ง Dipswitch ที่ Adaptor สายเคเบิ้ล PC / PPI

2.7 ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม

PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 สามารถเขียนโปรแกรมได้ 3 ภาษา ดังนี้

2.7.1 แบบ Ladder Logic Editor (LAD)

เป็นภาษาที่ผู้ใช้ รู้จักและนิยมใช้ กันมาก ในระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติด้วย PLC ไม่ว่าจะ
เป็น PLC ยี่ห้อใด ก็ต้องรู้จักการเขียนโปรแกรมแบบ LADDER โดยโปรแกรมแบบ LADDER จะมีลักษณะ


คล้ายกับการนำเอาหน้าสัมผัสหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ มาต่อเป็นวงจรไฟฟา ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นการทำงานได้
จริงและเข้าใจได้ง่าย ทางเดินของวงจรไฟฟ้า เรียกว่า Network การสร้าง Project จะเริ่มสร้างจาก

ทางซ้ายไปทางขวาและจากขางบนลงข้างล่าง
Network 1

I0.0 I0.1 Q0.0

Q0.0

ภาพที่ 2.10 แสดงลักษณะการเขียนโปรแกรม แบบ Ladder Diagram

43

2.7.2 แบบ Function Block Diagram (FBD)

เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ การสร้างหรือเขียนโปรแกรม เราจะใช้
คำสั่ง ลอจิกบล็อก ที่มีลักษณะคล้ายกับชุดคำสั่งลอจิกเกท โดยคำสั่งแบบ FBD ไม่มีสัญลักษณ์ Contact และ

Coil เหมือนกับคำสั่งแบบ LAD แต่ชุดคำสั่ง FBD จะมีความใกล้เคียงกัน โดยแตกต่างกันอยู่ในชุดคำสั่งในแต่

ละบล็อก การสร้างโปรแกรม FBD จะสร้างในลักษณะการนำ Block มาต่อกัน
T101

I0.0 AND IN
TON
I0.1 VD0
PT

ภาพที่ 2.11 แสดงลักษณะการเขียนโปรแกรม แบบ Function Block Diagram

2.7.3 แบบ Statement List (STL)
เป็นการสร้าง หรือเขียนโปรแกรม โดยใช้ชุดคำสั่งเป็นแบบภาษาเครื่อง โดยทั่วไป การสร้าง

Project แบบนี้ ผู้ใช้ต้องอาศัยความชำนาญในการเขียนโปรแกรม

Network
LD I0.0

LD I0.1
LD I0.2

OLD

ALD
= Q0.0

2.8 ตำแหน่งพื้นที่การใช้งาน

การเขียนโปรแกรมควบคุม PLC จะไม่สามารถทำงานได้ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งของ
หน่วยความจำในการเขียนโปรแกรมให้ถูกต้อง ตรงกับหน่วยอินพุตหรือหน่วยความจำภายในและเอาต์พุตที่

ต่อใช้งาน ดังนั้นก่อนเขียนโปรแกรม จะต้องศึกษาถึงเรื่องหน่วยความจำ ชนิดของข้อมูลและตำแหน่ง

Address ของ PLC นั้น ๆ จากคู่มอการใช้งานหรือเอกสารประกอบที่บริษัทผู้ผลิตหรือจำหน่าย

2.8.1 การใช้งาน Memory Address เพื่อเก็บข้อมูล (Data)

44

สำหรับพื้นที่ของหน่วยความจำ จะต้องมีการระบุ Address ซึ่งจะประกอบด้วย พื้นที่

หน่วยความจำที่เป็น byte Address และ bit ตัวอย่างเช่น

I 0 . 2

Bit of Byte , or bit number
Period separates the byte address from the bit

number Byte Address : byte 3 (the fourth
byte)

Area identifier (I = input)

ในการอ้างพื้นที่หน่วยความจำของ CPU ได้จาก V , I , Q , M , S ,L และ SM โดยขนาดของ

ข้อมูลเป็น Byte , Word หรือ Double Word โดยใช้รูปแบบการอ้างในตำแหน่ง Byte – Address การเข้าถึง

ข้อมูลในหน่วยความจำของ CPU จะต้องระบุตำแหน่ง Address ในทำนองเดียวกันกับการระบุ bit – address
จากรูปที่ แสดงการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำของ CPU

45

ภาพที่ 2.12 แสดง การเปรียบเทียบข้อมูล ชนิด Byte , Word และ Double word

2.8.2 การแสดงจำนวน (Number) ใน CPU

Data Size Unsigned Integer Range Signed Integer Range
Decimal Hexadecimal Decimal Hexadecimal
B (Byte) : 0 to 255 0 to FF -128 to 127 80 to 7F

8 – bit Value
W (Word) : 0 to 65,535 0 to FFFF -32,768 to 8000 to 7FFF

16 – bit Value 32,767

D (Double word 0 to 0 to FFFF -2,147,483,648 8000 0000 to
Dword) 4,294,967,295 to 7FFF FFFF

32 – bit Value 2,147,483,648

ตารางที่ 2.5 แสดงจำนวน (Number) ใน CPU

2.8.3 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Input (I)

การอ้าง Address เพื่อเข้าถึง Input สามารถกำหนดขนาดได้ดังนี้ Bit, Byte, Word และ

Double Word

รูปแบบ

46

Bit I (Byte Address). (Bit I0.1

Address)
Byte, Word, Double Word I (Size) (Starting byte IB4

Address)

2.8.4 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Output (Q)
การอ้าง Address เพื่อเข้าถึง Output สามารถกำหนดขนาดได้ดังนี้ Bit, Byte, Word

และ Double Word

รูปแบบ

Bit Q (Byte Address). (Bit Address) Q0.3
Byte, Word, Double Word Q (Size) (Starting byte Address) QB5

2.8.5 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Variable (V) Memory

การอ้าง Address เพื่อเข้าถึง Variable(V) Memory สามารถกำหนดขนาดได้ดังนี้ Bit ,

Byte , Word และ Double Word

รูปแบบ
Bit V (Byte Address). (Bit Address) V10.3

Byte, Word, Double Word V (Size) (Starting byte Address) VW100

2.8.6 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Bit Memory (M)

ื่
การอ้าง Address เพอเข้าถึง Bit Memory (M) สามารถกำหนดขนาดได้ดังนี้ Bit, Byte,
Word และ Double Word

รูปแบบ
Bit M (Byte Address). (Bit Address) M26.1

Byte, Word, Double Word M (Size) (Starting byte Address) MD20

47

2.8.7 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Sequence Control Relay (S) Memory

การอ้าง Address เพื่อเข้าถึง Sequence Control Relay (S) Memory Area สามารถ

กำหนดขนาดได้ดังนี้ Bit , Byte , Word และ Double Word

รูปแบบ
Bit S (Byte Address). (Bit Address) S3.1

Byte, Word, Double Word S (Size) (Starting byte Address) SB4

2.8.8 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Special Memory (SM) bits
การอ้าง Address เพื่อเข้าถึง Special Memory (SM) bits สามารถกำหนดขนาดได้ดังนี้

Bit, Byte, Word และ Double Word

รูปแบบ

Bit SM (Byte Address). (Bit Address) SM0.1

Byte, Word, Double Word SM (Size) (Starting byte Address) SMB86

2.8.9 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Local (C) Memory

PLC S7 – 200 จะเตรียม Local Memory ไว้ที่ 64 byte ซึ่ง 60 byte จะสามารถ

ใช้สำหรับกำหนดพารามิเตอร์ของโปรแกรม ถ้าหากสร้างโปรแกรมโดยใช้ LAD หรือ FBD แต่ถ้าสร้าง
โปรแกรมโดยใช้ STL พื้นที่ตั้ง 64 byte ของ L Memory จะสามารถเรียกใช้ได้ แต่ไม่นิยมให้ใช้ 4

byte สุดท้ายของ L Memory
Local Memory จะมีลักษณะคล้ายกับ V Memory ยกเว้นจุดสำคัญอย่างหนึ่งคือ V

Memory จะมีขอบเขตกว้างกว่า Local Memory ตำแหน่งของ Local Memory จะไม่สามารถกำหนด

ได้ในการเขียนโปรแกรมที่ Subroutines หรือ Interrupt Routines เราสามารถกำหนดขนาดของ
Address ได้ทั้งแบบ Bit, Byte, Word หรือ Double Words

48

รูปแบบ
Bit L (Byte Address). (Bit Address) L0.1

Byte , Word , Double Word L (Size) (Starting byte Address) LB33

2.8.10 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Timer (T) Memory

PLC S7 – 200 Timer มีค่า Resolution ของการนับเป็น 1 mS., 10 mS. และ100
mS. โดยมีตัวแปรร่วม 2 อย่างด้วยกัน คือ

Current Value :

Counter Bit :
การกำหนด Address ของทั้งสองตัวแปรจะใช้ Timer Address (T + Timer number) ซึ่งจะ

ขึ้นอยู่กับคำสั่งที่ใช้ด้วย

รูปแบบ

T (Time Number) T55

2.8.11 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Counter (C) Memory

PLC S7 – 200 มี Counter เพื่อใช้ในการนับ ซึ่งประกอบด้วย Counter 3 ชนิด คือ CTU,
CTD, CTUD

Current Value :
Counter Bit :

การกำหนด Address ของทั้งสองตัวแปรจะใช้ Counter Address (C + Counter number) ซึ่ง

จะขนอยู่กับคำสั่งที่ใช้ด้วย
ึ้

รูปแบบ
C (Counter Number) C19

2.8.12 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Analog Input (AI) Memory

PLC S7 – 200 จะทำการเปลี่ยนค่าที่เป็น Real – Word ค่า Analog (เช่น อุณหภูมิหรือ
แรงดัน) เข้าไปใน PLC ในลักษณะ Word – Length (16 – bit) เป็นแบบค่า Digital การกำหนดค่าใช้ AI

49

ขนาดของข้อมูลเป็น Word (W) และ Byte Address เริ่มต้น สัญญาณ Analog Input จะใช้ค่าเริ่มต้น

เป็น Even Number เช่น 0 , 2 หรือ 4 โดยมีรูปแบบการอ่าน Address เป็น AIW0 , AIW2 หรือ AIW4

รูปแบบ

AIW (Starting byte Address) AIW2

2.8.13 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Analog Output (AQ) Memory
PLC S7 – 200 จะทำการเปลี่ยนข้อมูลขนาด 16 bit (Digital) ให้เป็นกระแสหรือแรงดัน การ

กำหนดค่าใช้ AQ ขนาดของข้อมูลเป็น Word (W) และ Byte Address เริ่มต้น สัญญาณ Analog Output

จะใช้ค่าเริ่มต้นเป็น Even Number เช่น 0 , 2 หรือ 4 โดยมีรูปแบบการอ่าน Address เป็น AQW0 , AQW2
หรือ AQW4

รูปแบบ

AQW (Starting byte Address) AQW2

2.8.14 การกำหนดพื้นที่ Address ของ Accumulators (AC) Memory

Accumulators (AC) Memory เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่าน หรือเขียนของหน่วยความจำ เช่น

ใช้ Accumulator ในการนำค่าพารามิเตอร์จาก Subroutines และนำค่าไปใช้ในการคำนวณ CPU จะเตรียม

Accumulator ขนาด 32 bit ไว้ 4 ตัว คือ AC0 , AC1 , AC2 และ AC3 สามารถที่จะเข้าถงข้อมูลใน
Accumulator ได้โดยใช้ข้อมูลเป็นชนิด byte , word หรือ double word

รูปแบบ

AC (Accumulator Number) AC0

2.8.15 การกำหนดพื้นที่ Address ของ High – Speed Counter (HC) Memory
High – Speed Counter (HC) เป็นส่วนที่ใช้นับให้มีความเร็วสูง โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับการ

สแกน (Scan) ของ CPU ซึ่งจะนับข้อมูลเป็น Integer ขนาด 32 bit การนับค่าของ HC จะระบุ Address

โดยใช้ HC และหมายเลข Counter เช่น HC0

รูปแบบ

50

HC (High – Speed Counter HC0

Number)

2.8.16 การใช้ค่าคงที่ (Constant Values)

การใช้ค่าคงที่ ในชุดคำสั่งของ PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 สามารถใช้ได้ทั้งแบบ
Byte, Word และ Double Word CPU จะเก็บค่าคงที่ทั้งหมดเหมือนตัวเลข Binary ซึ่งแสดงในลักษณะ

ของเลขฐานสิบ (Decimal) เลขฐานสิบหก (Hexadecimal) หรือรหัส ASCII หรือ Floating Point
รูปแบบ

• Decimal Format (Decimal Value)

• Hexadecimal Format 16 # (Hexadecimal Value)

• ASCII Format (ASCII Text)

• Real or Floating - Point Format ANSI / IEE 754 – 1985

ตัวอย่าง

• Decimal Constant 200477

• Hexadecimal Constant 4E4F
• ASCII ext. goes between single qugtess

• Real or Floating - Point Format t1.175495E – 38 (Positive)

- 1.175495E – 38 (Negative)

• Binary Format 2 # 1100 – 0101 – 1010 – 0101

2.9 การอ้างตำแหน่ง Address ใน SIMATIC

การอ้างตำแหน่ง Address โดยตรง PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 CPU จะใช้ Address ใน
การอ้างพื้นที่หน่วยความจำโดยอ้อม คือ I , Q ,V , M , T และ C ซึ่งจะไม่สามารถกำหนด Address หรือ Bit

เฉพาะค่า Analog ได้
2.9.1 การสร้างตำแหน่ง Address

การสร้างตำแหน่ง Address จะต้องสร้างตำแหน่งแบบ Double Word สามารถใช้
ตำแหน่งในหน่วยความจำ V , L หรือ Accumulator Registor (AC1 , AC2 , AC3) และจะต้องใช้คำสั่ง Move

51

Double Word (MOVD) เพื่อย้ายตำแหน่ง Address ไปยังตำแหน่งที่กำหนด Operland ทาง Input ของ

ื่
คำสั่งต้องนำหน้าด้วยสัญลักษณ์ & เพอบงชี้ Address ของตำแหน่งในหน่วยความจำ
MOVD & VB100 , VD204

MOVD & MB4 , AC2

MOVD & C4 , LD6

2.9.2 การใช้ตัวชี้เพื่อเข้าถึงข้อมล

ใส่เครื่องหมาย * นำหน้า Operland สำหรับคำสั่งที่ระบุตัวบ่งชี้ของ Operland ดังรูป

*AC1 เป็นตัวที่แสดงการบ่งชี้เป็นลักษณะความยาว Word ค่าเริ่มต้นในการอ้างอิงใช้คำสั่ง
MOVW จากตัวอย่างค่าทั้งสองที่เก็บไว้ใน V200 และ V201 จะถูกเก็บด้วย Accumulator AC0



2.10 ชนิดของขอมล

2.9.1 ข้อมลพื้นฐาน (Elementary Data)

Elementary Description Rang

BOOL Boolean 0 to 1
BYTE Unsignd Byte 0 to 255

BYTE Signed Byte (SIMATIC mode -128 to + 128

for SHRB instruction only)
WORD Unsigned Integer 0 to 65,535

INT Signed Integer - 32,768 to + 32,768

52

DWORD Unsigned Double Integer 0 to 4294967295

DINT Signed Double Integer - 2147483648 to + 2147483648
REAL IEEE 32 bit floating Point + 1.175495E-38 to

+3.402823E+38

ตารางที่ 2.6 แสดงข้อมูลพื้นฐาน (Elementary Data)

2.9.2 Complex Data

Complex Data Description Rang

Types

TONR On – Delay Timer 1 mS T0 , T64
10 mS T1 – T4 , T65 – T68

100 mS T5 – T31 , T69 – T95

TON , TOF Off – Delay Timer 1 mS T32 , T96
10 mS T33 – T36 , T97 – T100

100 mS T37 – T63 , T101 –
T255

TP Pulse Timer 1 mS T32 , T96

10 mS T33 – T36 , T97 – T100
100 mS T37 – T63 , T101 –

T255

CTU Up Counter 0 to 255
CTD Down Counter 0 to 255

CTUD Up / Down Counter 0 to 255

SR Set Dominant Bistable N / A
RS Reset Dominant Bistable N / A

ตารางที่ 2.7 แสดง Complex Data

2.93 CPU Memory Address Ranges

53

ในการติดต่อกับ CPU จะต้องกำหนด Range ของหน่วยความจำให้ถูกต้อง ถ้าหากป้อนค่าเกิน
Range ที่กำหนด โปรแกรม จะเกิดการ Error ขอบเขต Memory สำหรับ CPU 224 & 226 ดูได้ในตาราง

Accessed by Memory Range
Bit (Byte , Bit) I 0.0 – 15.7

Q 0.0 – 15.7

M 0.0 – 31.7
T 0 – 255

C 0 – 255

ตารางที่ 2.8 แสดง CPU Memory Address Ranges

Byte QB 0 – 15

MB 0 – 31
SMB 0 – 299

Word Constant
IW 0 – 14

QW 0 – 14

MW 0 – 30
SMW 0 – 298

T 0 – 255

C 0 – 255
Double ID 0 – 12

QD 0 – 28

MD 0 – 28
SMD 0 – 296

Constant Constant

54

ตารางที่ 2.8 (ต่อ) แสดง CPU Memory Address Ranges

PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 จะเห็นว่า มีจำนวนของหน่วยความจำพิเศษ จำนวนมาก ใน

ที่นี้จะขอยกตัวอย่าง หน่วยความจำพิเศษที่นำไปใช้งานบ่อย ๆ คือ

ชื่อ ตำแหน่ง ความหมาย

Always_On SM0.0 Always ON

Clock_60s SM0.4 Clock pulse that is ON for 30 s, OFF for 30 s, for a
duty cycle time of 1 min

Clock_1s SM0.5 Clock pulse that is ON for 0.5 s, OFF for 0.5 s, for a

duty cycle time of 1 s.Clock_60s
Mode_Switch SM0.7 Indicates the current position of the mode switch: 0

= TERM, 1 = RUN

Pot0_Value SMB28 Set to value corresponding to analog adjustment 0
Pot1_Value SMB29 Set to value corresponding to analog adjustment 1

ตารางที่ 2.9 แสดงตัวอย่างหน่วยความจำพิเศษ
แบบฝึกหัด

หน่วยที่ 2 เรื่อง โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200

คำสั่ง จงตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์ที่สุด

11. จงอธิบายข้อความต่อไปนี้ให้ได้ใจความมากที่สุด “ CPU 226 24 inputs/16 outputs 7

expansion modules max 226 I/O max”
12. จากรูป จงบอกชื่อส่วนประกอบต่าง ๆ ตามหมายเลขที่กำหนดให้

55

13. อุปกรณ์ต่อขยาย (Expansion Modules) หมายถึงอะไร
14. สายสำหรับเชื่อมติดต่อสื่อสารข้อมูลของ PLC SIEMENS S7 – 200 คือสายอะไร

15. การปรับตั้งอัตราการส่งข้อมูลที่ใช้กัน ส่วนมาก จะมีค่าเท่ากับเท่าไร

16. PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 มีสามารถเขียนโปรแกรมได้ กี่ภาษา
17. PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรม คือ

18. การอ้าง Address เพื่อเข้าถึงตำแหน่งของ Input / Output PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 –

200 เขียนแทนด้วยอะไร
19. PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 Timer มีค่า Resolution ของการนับคือ

20. หน่วยความจำพิเศษ SM0.0 มีลักษณะการทำงานอย่างไร

56

แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 2 เรื่อง โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ของ SIEMENS รุ่น SIMATIC S7 – 200
ระดับชั้น ปวส. รายวิชา 3104-2006 ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม

จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน

ให้นักศึกษาทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในกระดาษคำตอบบนคำตอบที่ถูกต้องทสุด
ี่

“ CPU 226 24 Input / 16 Output 7 Expansion Modules MAX 226 I/0 MAX”
จากข้อความ จงใช้ตอบคำถามข้อ 1 – 2

1. “ 7 Expansion Modules MAX” หมายความว่า

ก. ขยายเพมได้ 1 โมดูล อินพุตสูงสุดไม่เกิน 7 จุด
ิ่
ข. ขยายเพมได้ 7 โมดูล อินพุตสูงสุดไม่เกิน 7 จุด
ิ่
ค. ขยายเพมได้ 7 โมดูลสูงสุด
ิ่
ิ่

ง. ขยายเพมได้ 7 โมดูล เอาต์พตสูงสุดไม่เกิน 7 จุด
2. “ 226 I/0 MAX” หมายความว่าอะไร
ก. เพิ่มอินพุตสูงสุดไม่เกิน 226 จุด

ข. เพิ่มอินพุต / เอาต์พุตสูงสุดไม่เกิน 226 จุด

ค. อินพุต รวมกันทั้งหมดได้สูงสุดไม่เกิน 226 จุด
ง. อินพุต / เอาต์พต รวมกันทั้งหมดได้สูงสุดไม่เกิน 226 จุด

1
3. EM 221 Digital Input/Output สามารถเพิ่มขนาดอินพุตได้ทั้งหมดกี่จุด
ก. 16 จุด

ข. 12 จุด
ค. 8 จุด

ง. 4 จุด

4. PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 ที่มีจำนวนอินพุต / เอาต์พุต น้อยที่สุดคือขนาด CPU ใด

a. CPU 221
b. CPU 222

c. CPU 223
d. CPU 226

57

5. Software ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมระหว่างกับ PLC SIEMENS ชื่ออะไร

ก. SSS
ข. STEP 7 Micro/Win

ค. TPDS

ง. SFC

6. สายที่ใช้ในการ Link ข้อมูลระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ PLC SIEMENS ชื่ออะไร
ก. PC / USB

ข. PPI / Serial

ค. PPI / PC
ง. PC / PPI

7. การตั้งค่า Dip Switch ทำเพื่อกำหนดค่าอะไร


ก. ความเร็วในการรับสัญญาณด้านเอาต์พต
ข. ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล
ค. ความเร็วในการรับสัญญาณด้านอินพุต

ง. ความเร็วในการประมวลผล

8. Baud Rate คืออะไร
ก. ความเร็วในการประมวลผล

ข. ความเร็วในการรับสัญญาณด้านอินพุต

ค. ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล
ง. ความเร็วในการรับสัญญาณด้านเอาต์พุต

9. Baud Rate ของ PLC ของ SIEMENSรุ่น S7 – 200 ที่นิยมใช้ มีค่าเท่ากับเท่าไร

ก. 19.2 Kb

ข. 9.6 Kb
ค. 2.4 Kb

ง. 1.2 Kb

ื่
10. การติดต่อระหว่าง PLC ไปยัง คอมพิวเตอร์ ใช้ระบบสอสารแบบใด
ก. RS-232 / RS-485
ข. RS-422 / RS-485

58

ค. RS-232 / RS-422

ง. RS-485 / RS-232

11. ลักษณะการเขียนโปรแกรมแบบใด มีลักษณะคล้ายกับวงจรลอจิกเกท
ก. LAD

ข. STL

ค. SFC
ง. FBD

12. ลักษณะการเขียนโปรแกรมแบบใด มีลักษณะคล้ายกับวงจรทางไฟฟ้า

ก. FBD

ข. LAD
ค. STL

ง. SFC

13. การอ้าง Address เพื่อเข้าถึงตำแหน่งของอินพุต PLCของ SIMENS รุ่น S7 – 200 เขียนแทนด้วย

ตัวอักษรใด
ก. A

ข. V
ค. I

ง. Q

14. การอ้าง Address เพื่อเข้าถึงตำแหน่งของเอาต์พุต PLCของ SIMENS รุ่น S7 – 200 เขียนแทน

ด้วยตัวอักษรใด
ก. A

ข. I

ค. V
ง. Q

15. ตัวตั้งเวลา (Timer) PLCของ SIMENS รุ่น S7 – 200 มีจำนวนสูงสุดให้ใช้ไม่เกินเท่าใด

ก. 128

ข. 129
ค. 255

59

ง. 256

16. ค่า Resolution หมายถึงค่าอะไร

ก. ค่าเวลา
ข. ค่าจำนวนนับ

ค. ค่าความละเอียด

ง. ค่าความเร็วในการส่งข้อมูล

17. ตัวตั้งเวลา (Timer) PLC SIMENS S7 – 200 มีค่า Resolution เท่ากับเท่าไร
ก. 1 mS., 10 mS.

ข. 1 mS.

ค. 1 mS., 1 mS., 10 mS., 100 mS., 1000 mS.
ง. 1 mS., 10 mS., 100 mS.

18. ค่า Maximum ของ Time Number 101 คือค่าใด

ก. 32.767 S

ข. 3.2767 S
ค. 327.67 S

ง. 3276.7 S

19. ตัวตั้งเวลา (Timer) หมายเลข T0 เป็น Time ชนิดใด

ก. TONR
ข. TON

ค. TOF
ง. SSS

20. ตัวนับ (Counter) PLC SIMENS S7 – 200 มีจำนวนสูงสุดให้ใช้ไม่เกินเท่าใด
ก. 128

ข. 129
ค. 255

ง. 256

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก