ยกตัวอย่างงานควบคุมด้วย plc

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC)

         

เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งาน ตัวตรวจวัดหรือสวิทตช์ต่างๆ จะต่อเข้ากับอินพุต ส่วนเอาต์พุตจะใช้ต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เป็นเป้าหมาย เราสามารถสร้างวงจรหรือแบบของการควบคุมได้โดยการป้อนเป็นโปรแกรมคำสั่งเข้าไปใน PLC นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นเช่นเครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเครื่อง PLC จะใช้งานแบบเดี่ยว (Stand alone) แล้วยังสามารถต่อ PLC หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน (Network) เพื่อควบคุมการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยจะเห็นได้ว่าการใช้งาน PLC มีความยืดหยุ่นมากดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงเปลี่ยนมาใช้ PLC มากขึ้น

โครงสร้างของ PLC

        PLC เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม PLC ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับข้อมูล หน่วยส่งข้อมูล และหน่วยป้อนโปรแกรม PLC ขนาดเล็กส่วนประกอบทั้งหมดของ PLC จะรวมกันเป็นเครื่องเดียว แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่สามารถแยกออกเป็นส่วนประกอบย่อยๆ ได้

         หน่วยความจำของ PLC ประกอบด้วย หน่วยความจำชนิด RAM และ ROM หน่วยความจำชนิดRAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ส่วน ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC  ตามโปรแกรมของผู้ใช้ ROM ย่อมาจาก        Read Only Memory สามารถโปรแกรมได้แต่ลบไม่ได้ ถ้าชำรุดแล้วซ่อมไม่ได้

         1.  RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้ เพื่อใช้เลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและเขียนโปรแกรมลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก จึงเหมาะกับการใช้งานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมบ่อยๆ

         2.  EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิด EPROM นี้จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนโปรแกรม การลบโปรแกรมทำได้โดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตหรือตากแดดร้อนๆ นานๆ มีข้อดีตรงที่โปรแกรมจะไม่สูญหายแม้ไฟดับ จึงเหมาะกับการใช้งานที่ไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรม

         3.  EEPROM (Electrical Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิดนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม โดยใช้วิธีการทางไฟฟ้าเหมือนกับ RAM นอกจากนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟเมื่อไฟดับ ราคาจะแพงกว่า แต่จะรวมคุณสมบัติที่ดีของทั้ง RAM และ EPROM เอาไว้ด้วยกัน

VERTICAL LIFTER / ROTATOR

Vertical Rotator & Vertical Lifter

Vertical Rotator หรือ ตู้เก็บวัสดุแบบกระเช้า เป็นระบบจัดเก็บการจัดเก็บสินค้าหรือวัสดุแบบชั้น เรียงซ้อนต่อกันเป็นกระเช้า โดยการทำงานเป็นลักษณะหมุนเวียนแต่ละชั้นตามวง

อ่านเพิ่มเติม...

SORTING SYSTEMS

ระบบคัดแยกสินค้าอัติโนมัติ (Sorter System) หรือ ระบบคัดแยกชิ้นงาน/พัสดุ

Cross Belt Sorter เป็นระบบคัดแยกแบบสายพานที่มีประสิทธิภาพสูง รวดเร็ว ใช้พลังงานต่ำ เสียงรบกวนน้อย

อ่านเพิ่มเติม...

CONVEYOR SYSTEMS

ระบบลำเลียงแบบลูกกลิ้ง (Roller Conveyor)

ระบบลำเลียงแบบลูกกลิ้ง (Roller Conveyor) 

เป็นการลำเลียงที่ใช้ลูกกลิ้งในการทำงานเป็นหลัก มีวัสดุของลูกกลิ้งให้เลือกใช้ตามแต่ความเหมาะสมอุตสาหกรรม และ โครงสร้าง สามารถแบ่งออกเป็น

อ่านเพิ่มเติม...

RACKING SYSTEMS

ชั้นวางสินค้า แบบซีเร็คทีฟ

เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีอุปกรณ์และต้นทุนต่ำสุดช่วยให้สามารถเข้าถึงพาเลททั้งหมดได้โดยตรงเพื่อการเข้าถึงได้ 100% และหมุนเวียนหุ้นได้ดี สามารถจัดวางพาเลทเข้าถึงและเคลื่อนย้ายได้เองเพื่อให้สามารถจัดการสินค้า palletised ได้อย่างรวดเร็ว มีการปรับคานรับน้ำหนักได้ง่ายและรองรับความสูงของพาเลทแบบต่างๆ พาเลทระดับล่างสามารถวางอยู่บน

อ่านเพิ่มเติม...

© 2018 THAIINTERMAT CO.,LTD. All Rights Reserved. Designed By INTERMAT Marketing Team

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก