ใครคือพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุใด

วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล ในวันนี้จึงขอกล่าวถึงกำเนิดของภิกษุณีในพระพุทธศาสนา

ผู้หญิงที่บวชเป็นภิกษุณีสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนาคือ พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า โดยพระนางได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพระประยูรญาติที่โศกเศร้า หลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา

พระนางมหาปชาบดีได้ทูลขอบวชจากพระพุทธเจ้าถึง 3 ครั้ง แต่พระพุทธองค์ได้ตรัสห้ามทั้ง 3 ครั้ง เมื่อพระอานนท์ได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สตรีสามารถออกบวชในพระพุทธศาสนาได้อย่างบุรุษ ก็ถูกพระองค์ก็ทรงตรัสห้ามถึง 3 ครั้งเช่นกัน

จนเมื่อพระอานนท์ทูลถามว่า “หากสตรีออกบวชแล้วสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้หรือไม่” พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “สามารถบรรลุได้” พระอานนท์จึงทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สตรี โดยเฉพาะพระนางมหาปชาบดีได้ออกบวชในพระพุทธศาสนาได้อย่างบุรุษ พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาต แต่ทรงมีเงื่อนไขว่าพระนางมหาปชาบดีจะต้องถือปฏิบัติ “ครุธรรม 8 ประการ” ตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งพระนางทรงเต็มพระทัยรับเงื่อนไขนั้น พระนางมหาปชาบดีจึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีองค์แรกในพระพุทธศาสนา

ครุธรรม 8 ประการ

  1. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว 100 ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรมสามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
  2. ภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
  3. ภิกษุณีต้องหวังธรรม 2 ประการ คือ ถามวันอุโบสถ 1 เข้าไปฟังคำสั่งสอน 1 จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
  4. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปาวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง 3 คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
  5. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องปฏิบัติปักขมานัต (ระเบียบปฏิบัติเมื่อต้องครุกาบัติให้แก่ภิกษุณี ๑๕ ราตรีเท่านั้น) ในสงฆ์สองฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือบูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
  6. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม 6 ประการครบ 2 ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
  7. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือบูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
  8. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะเคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต

อ้างอิง : นักบวชหญิงในพระพุทธศาสนา, นิตยสารแสงอรุณ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – สิงหาคม 2553

วันมาฆบูชา’ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นครั้งแรก แก่พระสงฆ์ 1,250 รูป ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย จึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนชาวพุทธ จะพร้อมใจกันทำบุญ เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 นิยมเดินทางไปไหว้พระ ทำบุญ ในตอนเช้า และเวียนเทียนในตอนค่ำ

ภาพจาก : Sanook

เกร็ดความรู้ ประวัติความเป็นมาของ วันมาฆบูชา

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทรงประกาศพระศาสนา และส่งพระอรหันต์สาวกออกไปจาริกเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสถานที่ต่างๆ ล่วงแล้วได้ 9 เดือน เมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว ได้เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ หรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา โดยได้มีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันถึง 4 ประการ คือ

      1.ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

      2.มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

      3.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6

      4.พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งมีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

          - จาตุร แปลว่า 4

          - องค์ แปลว่า ส่วน

          - สันนิบาต แปลว่า ประชุม

          ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" หรือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันนั่นเอง  

ทำไม พระสงฆ์ถึงมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย ?

ในวันพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ตามคติพราหมณ์ เป็นวันพิธีศิวาราตรี วันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาที่เคยนับถือของพระสาวกอยู่แต่เดิม โดยในวันนี้เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยม จะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ แต่มาบัดนี้ได้หันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชา เพื่อฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้าแทน ทำให้พระอรหันต์เหล่านั้นซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม เดินทางมารวมกันโดยมิได้นัดหมายนั่นเอง 

หลักธรรม โอวาทปาติโมกข์ ที่ควรนำไปปฏิบัติ

"โอวาทปาติโมกข์" หลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น ประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้ 

หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่

          1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

          2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตามกุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

          3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย          

อุดมการณ์ 4 ได้แก่

          1. ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ

          2. ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น

          3. ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย วาจา ใจ

          4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา         

วิธีการ 6 ได้แก่

          1. ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร

          2. ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น

          3. สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม

          4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ

          5. อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

          6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com

3 กิจกรรมใน ‘วันมาฆบูชา’ ที่ไม่ควรพลาด

1.ทำบุญ ถวายสังฆทาน

ในวันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนจะเดินทางไปที่วัด เพื่อทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทานต่างๆ เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าไตรจีวร อาหารคาวหวาน ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงยารักษาโรค ตามกำลังของตัวเอง เพื่อสร้างอานิสงส์ผลบุญ และอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับอีกด้วย

          - ถวายสังฆทาน เครื่องอุปโภค บริโภค อานิสงส์ที่จะได้รับ คือ มีร่างกายบริบูรณ์ มีกินมีใช้ ไม่อดอยาก

          - ถวายสังฆทาน เครื่องนุ่งห่ม อานิสงส์ที่จะได้รับ คือ ไม่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม ใส่อะไรก็สบายดูดี ผิวพรรณงดงาม  

           - ถวายสังฆทาน ยารักษาโรค อานิสงส์ที่จะได้รับ คือ ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย โรคที่เป็นอยู่จะบรรเทาลง

 2.ฟังพระธรรมเทศนา

การฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระภิกษุนำมาถ่ายทอดให้พุทธศาสนิกชนได้รู้และเข้าใจ พร้อมกับน้อมนำมาเพื่อการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ทำให้ผู้ฟังได้รู้ผิดชอบชั่วดี รู้จักการให้อภัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน และยึดมั่นในการทำความดี  

3.เวียนเทียน

เป็นกิจกรรมตอนค่ำที่พุทธศาสนิกชนจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากนั้นนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัดเตรียมไว้

ThailandPostMart ขอเป็นสะพานบุญให้พุทธศาสนิกชนทุกท่านที่อยากจะซื้อชุดสังฆทานดี ๆ เพื่อทำบุญ สามารถสั่งซื้อชุดสังฆทาน ร้านบุญรักษา ได้ที่ //www.thailandpostmart.com/shop/shop1388 เพราะมีการรวบรวมชุดสังฆทานหลากหลายรูปแบบให้ได้เลือกกันตามความศัทธา แบบส่งตรงถึงมือคุณ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก