ข้อใด แสดง ถึง องค์ประกอบ ของระบบนิเวศ

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิต บางชนิดมีบทบาทในการสร้างอาหาร บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย!!

1) ผู้ผลิต (producer) => สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง
2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต
2.3 สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น ไก่ มนุษย์
2.4 สัตว์กินซาก (scavenger) เช่น แร้ง

3) ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) => ดำรงชีวิตโดยผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอาหารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมสารอาหารไปใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย

รู้หรือไม่? ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารเป็นวัฏจักรได้ เช่น วัฏจักรคาร์บอน

เริ่มจากพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช

เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นมากินพืช สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนนี้จะถูกถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภค หลังจากสิ่งมีชีวิตตายลง บางส่วนจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายจะทับถมกันเป็นเวลานานภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม

การหายใจของสิ่งมีชีวิตและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไชด์กลับคืนสู่บรรยากาศ ซึ่งพืชจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเกิดการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักร นอกจากวัฏจักรคาร์บอนแล้ว ยังมีวัฏจักรสารที่สำคัญอื่น ๆ อีก เช่น วัฏจักรน้ำ วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรฟอสฟอรัส

เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องระบบนิเวศ
1) สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ Project 14
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ //www.youtube.com/watch?v=6oMFy18U6Gg
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ //www.youtube.com/watch?v=vgDwaxck7tc
2) รายการเรียนสอนออนไลน์
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ //www.facebook.com/watch/?v=121234103188733
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ //www.facebook.com/watch/?v=3631700100281645
– การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต //www.facebook.com/ipst.thai/posts/3763855883650772
– รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต //www.facebook.com/ipst.thai/posts/3779773525392341

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

บทบาทของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ

�к�����Ƞ (ecosystem)� ���¶֧� �к�����դ�������ѹ��ѹ�ͧ���������ժ��Ե�����������Ҿ�Ǵ����
�������ժ��Ե��� �蹠 �س����Ԡ �ʧ� ������鹠 㹾�鹷��㴾�鹷��˹�觠 ��觤�������ѹ�������¶֧� �����������������ѹ �ͧ����ժ��Ե����������ժ��Ե㹺���dz˹�觹���ͧ�    �ѧ���㹺���dz����������ժ��Ե����������ժ��Ե�դ�������ѹ��ѹ��������Դ����š����¹�����ж��·ʹ��ѧ�ҹ
�����ҧ�ѹ� ���¡��Ҡ �к�����Ƞ (ecosystem)

ระบบนิเวศบนโลกถึงแม้จะมีความหลากหลาย แต่ก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน คือ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ 

1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component ) ประกอบด้วย

อนินทรียสาร ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน

อินทรียสาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ 

สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็มและความชื้น 

2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่

ผู้ผลิต (producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เองด้วยแร่ธาตุและสสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด

ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นๆเป็นอาหาร แบ่งได้เป็น

- สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร (herbivore) เช่น วัว ควาย กระต่าย 

- สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (carnivore) เช่น เสือ สุนัข กบ สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ

- สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์ ซึ่งเป็นลำดับการกินสูงสุด (omnivore) เช่น มนุษย์

ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นพวกย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอินทรีย์ได้

ความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ มี 2 ลีกษณะคือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ แสง , อุณหภูมิ , น้ำ , อากาศ ,ดินและแร่ธาตุในดิน

แสง เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น

1. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

2. การหุบและบานของดอกและใบของพืชหลายชนิด เช่น ใบไมยราบ ใบกระถิน

3. มีอิทธิพลต่อเวลาการออกอาหารของสัตว์

อุณหภูมิ เป็นปัจัยสำคัญที่มีอิธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายประการ เช่น

1. อุณหภูมิมีผลต่อการหุบและบานของดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกบัวจะบานตอนกลางวันและจะหุบในตอนกลางคืน

2. อุณหภูมิมีผลต่อพฤติกรรมบางประการของสัตว์ เช่น การจำศีลมนฤดูหนาวของหมีขั้วโลก

3. อุณหภูมิมีผลต่อลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ในเขตหนาวจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าสัตว์ในเขตร้อน หรือสัตว์บางชนิดที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนหนากว่าสัตว์ในเขตร้อน

น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น

1. น้ำเป็นวัตถุดิบในการบวนการสังเคราะห์ด้วยแวงของพืช และน้ำยังเป็นตัวทำละลายที่สำคัญที่ทำให้แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในดินละลายและซึมสู่พื้นดินเพื่อให้พืชสามารถนำไปใช้ได้

2. น้ำเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

3. น้ำเป็นส่วนประกอบในเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

4. น้ำเป็นสื่อกลางในการช่วยขับของเสียออกจากร่างการของสิ่งมีชีวิต

ดินและแร่ธาตุในดิน เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต

1. ดินเป็นแล่งที่อยู่ของพืช อีกทั้งยังให้แร่ธาตุที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

2. ดินช่วยในการกักเก็บน้ำและอากาศ

3. ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดบนโลก

อากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น

1. อากาศมีแก๊สออกซิเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด

2. อากาศมีแก๊สออกซิเจน ที่ผสมอยู่ช่วยในการเผาไหม้

2. ความสัมพันธ์ระหว่างสางมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ

2. ความสัมพันธ์ระหว่างสางมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารมีหลายรูปแบบ ได้แก่

2.1ภาวะล่าเหยื่อ ( Predation ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ส่วนฝ่ายที่ถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ ( prey) เช่น -กบกับแมลง :กบเป็นผู้ล่า แมลงเป็นผู้ถูกล่า และเหยี่ยวกับหนู:เหยี่ยวเป็นผู้ล่าส่วนหนูเป็นผู้ถูกล่า

2.2ภาวะพึ่งพา ( Mutualism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดโดยต่างก็ไ ด้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น 
- ไลเคนส์ ( Lichens) : สาหร่ายอยู่ร่วมกับสาหร่าย สาหร่ายได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากรา ราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย

2.3ภาวะการได้ประโยชน์ ( Protocooperation ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น - แมลงกับดอกไม้ : แมลงได้รับน้ำหวานจากดอกไม้ ส่วนดอกไม้ได้แมลงช่วยผสมเกสรทำให้แพร่พันธุ์ได้ดีขึ้น

2.4ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล ( Commensalism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น 
- ปลาฉลามกับเหาฉลาม : เหาฉลามเกาะติดกับปลาฉลาม ได้เศษอาหารจากปลาฉลามโดยปลาฉลามก็ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร 
- พืชอิงอาศัย ( epiphyte) บนต้นไม้ใหญ่ : พืชอิงอาศัย เช่น ชายผ้าสีดาหรือกล้วยไม้เกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ได้รับความชุ่มชื้น ที่อยู่อาศัยและแสงสว่างที่เหมาะสมโดยต้นไม้ใหญ่ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใดๆ 
- นก ต่อ แตน ผึ้ง ทำรังบนต้นไม้ : สัตว์เหล่านี้ได้ที่อยู่อาศัย หลบภัยจากศัตรูธรรมชาติโดยต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร

2.5ภาวะปรสิต ( Parasitism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต ( parasite) อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์เรียกว่าผู้ถูกอาศัย( host) เช่น 
- เห็บ เหา ไร หมัด บนร่างกายสัตว์ : ปรสิตภายนอก ( ectoparasite) เหล่านี้ดูดเลือดจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์ 
- พยาธิ ในร่างกายสัตว์ :ปรสิตภายใน (endoparasite) จะดูดสารอาหารจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์

2.6ภาวะมีการย่อยสลาย (Saprphytism) เป็นความสัมพันธ์ที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสารได้แก่ แบคทีเรีย ,เห็ด , รา จะสร้างสารออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตบางส่วนของสารที่ย่อยแล้ว จะดูดกลับไกใช้ในการดำรงชีวิต



การหมุนเวียงของสารในระบบนิเวศ

โดยทั่วไปในสภาวะแวดล้อมจะมีแร่ธาตุและสารต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบอยู่แล้วตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตไม่เพียงแต่ใช้ แร่ธาตุและสารจากธรรมชาติ แต่กิจกรรมการดำรงชีวิตก็มีการปล่อย สารบางอย่างกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วย

 วนเวียนกันเป็นวัฏจักร

การหมุนเวียงน้ำในระบบนิเวศน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตอย่างยิ่ง น้ำเป็นตัวกลางของกระบวนการต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต พบว่ามีน้ำเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก
บางชนิดมีน้ำเป็นองค์ประกอบในเซลล์ถึงร้อยละ 95 สิ่งมีชีวิตจำนวนมากอาศัยน้ำเป็นแหล่งที่อยู่
เพราะผิวโลกเราประกอบด้วยพื้นน้ำถึง 3 ใน 4 ส่วน

การหมุนวียงไนโตรเจนในระบบนิเวศ

ไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุสำคัญที่พืชต้องการในปริมาณมาก พืชจะใช้ไนโตรเจนในรูปของ สารประกอบพวกเกลือแอมโมเนีย เกลือไนไตร เกลือไนเตรต เพื่อสร้างสารประกอบอื่น ๆ ในเซลล์ ส่วนสัตว์จะได้รับสารดังกล่าว โดยถ่ายทอดมาในสายใยอาหาร สิ่งมีชีวิตในดิน พวกจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียไรโซเบียม ในปมรากพืชตระกูลถั่ว แบคทีเรียที่ดำรงชีพอิสระ ในดิน และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบางชนิด สามารถตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบของไนโตรเจนที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ในขณะเดียวกันก็มี จุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารย่อยสลายซากพืชและสัตว์ที่ตายลง กลาย เป็นไนโตรเจนอิสระกลับคืนสู่บรรยากาศ และได้สารประกอบไนโตรเจนในดินที่พืชสามารถ นำไปใช้ได้ นอกจากนี้ไนโตรเจนอีกส่วนหนึ่งจะกลับคืนสู่บรรยากาศ โดยสัตว์ขับถ่ายสาร ประกอบไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนีย พืชบางชนิด เช่น - หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง ได้รับสารประกอบไนโตรเจนแตกต่าง จากพืชอื่น โดยมีส่วนของใบเปลี่ยนแปลงไปคลายกับดักแมลง เมื่อแมลงตกลงไปจะมี เอนไซม์ย่อยเนื้อเยื่อแมลง ได้เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เข้าสู่เซลล์พืชได้

การหมุนเวียงคาร์บอนในระบบนิเวศ

คาร์บอนเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสารที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถูกพืชนำมาเปลี่ยนแปลงเป็นสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบในพืชโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สัตว์ได้รับสารที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบโดยการกินอาหาร สำหรับกลุ่มผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ก็ได้รับสาร คาร์บอนจากกระบวนการย่อยสลาย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดปล่อยคาร์บอนกลับคืนสู่บรรยากาศ โดยการหายใจออกในรูปของคาร์บอน ไดออกไซด์ ซึ่งพืชก็นำมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงอีก ในระบบนิเวศ จึงมีการหมุนเวียนคาร์บอนตลอดเวลา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก