Lasso Tool เป็นเครื่องมือ Selection ภาพที่ใช้งานแบบใด

เครื่องมือ Lasso Tool ใน Adobe Photoshop เป็นเครื่องมือใช้สำหรับตัดภาพ

180810100019-l3VO.jpg (8.97 KiB) Viewed 3605 times

มีทั้งหมด 3 ประเภท
1.เครื่องมือ Lasso Tool ใช้สำหรับเลือกพื้นที่แบบอิสระ
2.เครื่องมือ Polygonal Lasso Tool ใช้สำหรับเลือกพื้นที่แบบมุมเหลี่ยม
3.เครื่องมือ Magnetic Lasso Tool ใช้สำหรับเลือกพื้นที่แบบชิดเส้นขอบภาพ

วิธีใช้ Lasso Tool
1.เลือกภาพที่ต้องการ

180810102352-3yr5.jpg (21.26 KiB) Viewed 3605 times

2.เลือกเครื่องมือ Lasso Tool

180810102440-3w34.jpg (21.81 KiB) Viewed 3605 times

3.คลิกเมาส์ลากเส้นรอบพื้นที่ที่ต้องการตัด

180810102612-Og87.jpg (21.54 KiB) Viewed 3605 times

4.ปรับความ Smooth ของขอบภาพที่ตัด โดยเลือกเมนู Select -> Modify -> Smooth

180810102738-8946.jpg (23.88 KiB) Viewed 3605 times

5.ใส่ค่าในช่อง Sample Radius ยิ่งค่ามาก ขอบของภาพยิ่งมีความ Smooth มาก

180810102829-2p0U.jpg (22.94 KiB) Viewed 3605 times

6.เลือกเครื่องมือ Move Tool

180810103824-1VWz.jpg (22.3 KiB) Viewed 3605 times

7.ย้ายภาพที่ตัดเสร็จแล้วไปยังหน้าที่ต้องการใช้

180810102907-U1u2.jpg (21.76 KiB) Viewed 3605 times

180810102936-69h6.jpg (14.87 KiB) Viewed 3605 times

การเลือกพื้นที่  คือ  การกำหนดขอบเขตอาณาบริเวณบนรูปภาพเพื่อนำมาใช้งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดขอบเขตเพื่อคัดลอกภาพ  (Copy) ,เคลื่อนย้าย (Cut)  , ปรับค่าสี (Adjustment) , ปรับทิศทาง หรือ รูปทรงของรูปภาพ  (Transform)  ตลอดจนการตกแต่งด้วยสไตล์ต่าง ๆ  ฯลฯ

วิธีการเลือกพื้นที่เป็นการเลือกพิกเซล  (Pixel)  ของรูปภาพมาใช้งานด้วยคำสั่งอื่น ๆ ของ Photoshop  ซึ่งวิธีการนี้จะเรียกว่า  การเลือกพื้นที่แบบบิตแมพ (Bitmap)  สามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือประเภท  Marquee  Tool , Lasso  Tool , Magic Wand  หรือ  Color  Range  เป็นต้น  โดยที่การเลือกพื้นที่ด้วยวิธีการเหล่านี้จำเป็นต้องกำหนดค่าออปชั่น  (option)  เฉพาะของแต่ละเครื่องมือด้วย  เพื่อเป็นการบังคับให้ขอบเขตพื้นที่นำไปใช้งานได้ตรงต่อความต้องการ โดยมีรายละเอียดของการใช้เครื่องมือและคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้

Marquee  Tool  เป็นเครื่องมือสำหรับใช้กำหนดขอบเขตหรือพื้นที่บนรูปภาพ  เพื่อนำพื้นที่ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ต่อไป  โดยพื้นที่เหล่านี้สามารถใช้งานข้ามเลเยอร์  หรือข้ามไฟล์  ส่วนใหญ่แล้วค่าออปชั่นที่กำหนดในการใช้เครื่องมือ  Marquee  Tool  คือค่าออปชั่น  Feather  (กำหนดให้บริเวณขอบมีความนุ่มนวล)
ในการใช้งาน   Marquee  Tool    บน  Toolbox  ให้คลิกเมาส์เลือกไอคอน จะเห็นว่าจะมีเครื่องหมายสามเหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่ด้านล่าง ทางขวามือของไอคอน  ซึ่งแสดงว่าไอคอนนี้มีคำสั่งย่อยซ่อนอยู่อีก  วิธีการใช้งานคำสั่งย่อยนี้ให้คลิกเมาส์ค้างไว้ที่ปุ่มสามเหลี่ยมนี้ซึ่งจะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์คำสั่งย่อยแสดงขึ้นมาให้เลือกใช้ได้  โดยคลิกเมาส์ที่คำสั่งย่อยที่ต้องการ 

โดยเมื่อเลือกใช้คำสั่งใน  Marquee  Object  Tool  แล้วในส่วนของ  Option  bar  จะมีรายละเอียดของคำสั่ง  ดังนี้ 

        Add to Selection    ทำการกำหนดขอบเขตเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้  หรือเป็นการสร้าง Selection  ใหม่เพิ่มเติมไปโดยที่  Selection  เก่าก็ยังคงอยู่ 

Subtract  from  Selection     ทำการลดขนาดพื้นที่  Selection  จากที่กำหนดไว้     โดยลาก เมาส์เลือกพื้นที่ใหม่ซ้อนทับพื้นที่เดิม  พื้นที่บริเวณที่นั้นจะถูกลดขนาดลงไปด้วย

Intersect  with  Selection     ทำการเลือกพื้นที่เฉพาะในส่วนที่ใช้งานร่วมกัน  โดยการเลือก Selection  แบบนี้จะแสดงผลส่วนที่ซ้อนทับกันเท่านั้น

Feather กำหนดให้บริเวณขอบของพื้นที่ที่เลือกไว้มีความเบลอฟุ้งจาง ๆ ดูนุ่มนวล หลังจากที่ได้เลือกพื้นที่แล้วจะต้องคัดลอก (Copy) , ตัด (Cut) , เคลื่อนย้าย (Move) เพื่อให้เห็นผลการทำงานของ Feather หากยิ่งกำหนดค่าของ Feather มากความเบลอก็จะยิ่งมากไปด้วย โดย

Normal                                              กำหนดขนาดของพื้นที่เป็นแบบอิสระ
Fixed   Aspect  Ratio                       กำหนดพื้นที่เป็นแบบอัตราส่วนระหว่างความกว้างและความสูง
                                                          สัมพันธ์กับค่า  Width  และ  Height
Fixed   Size                                       กำหนดขนาดของพื้นที่โดยระบุค่าตัวเลขในช่องค่า  Width  และ
                                                           ค่า  Height  หลังจากนั้นเมื่อนำเมาส์ไปคลิกที่บริเวณพื้นที่ที่
                                                           ต้องการจะได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ทันที

โดยรูปแบบการเลือกพื้นที่ในเครื่องมือ  Marquee Object Tool มีรายละเอียดดังนี้

เลือกพื้นที่แบบสี่เหลี่ยมด้วย  Rectangular  Marquee  Tool

การเลือกพื้นที่แบบสี่เหลี่ยมด้วย  Rectangular  Marquee  Tool  ปกติแล้วใช้เพื่อกำหนดขอบเขตที่มีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยการใช้เครื่องมือนี้บางครั้งต้องกำหนดออปชั่นต่าง ๆ  เช่นกำหนดให้เป็นแบบสี่เหลี่ยมมุมมน หรือ     มีความเบลอฟุ้ง  สามารถเลือกพื้นที่ได้ตามขั้นตอนดังนี้ 
1.  คลิกเลือกเครื่องมือ  Rectangular  Marquee  Tool  จากกลุ่มเครื่องมือ  Marquee  Tool บน Toolbox  เพื่อกำหนดพื้นที่แบบสี่เหลี่ยม 
2.  ดรากส์เมาส์บริเวณของรูปภาพที่ต้องการที่จะเลือกพื้นที่  โดยเมื่อเลือกบริเวณของภาพที่ต้องการใช้งานแล้ว  ส่วนที่เลือกเราจะเรียกว่า “Selection”  ซึ่งจะมีเส้นประวิ่งล้อมรอบส่วนที่เลือกเป็นการบอกกับโปรแกรมว่าเราจะเลือกบริเวณใดไปทำงานต่อไป  ซึ่ง Selection จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม

เลือกพื้นที่แบบวงกลมด้วย  Elliptical  Marquee  Tool 

การเลือกพื้นที่แบบวงกลมด้วย  Elliptical   Marquee  Tool    มีหน้าที่สำหรับเลือกพื้นที่แบบวงกลม หรือ วงรี  โดยสามารถกำหนดลักษณะรูปทรงได้ตามต้องการ  ซึ่งปกติแล้วหากไม่กดแป้น  Shift  ขณะวาดพื้นที่ก็จะกลายเป็นวงรี   ดังนั้นเวลาที่วาดพื้นที่เป็นแบบวงกลมจึงจำเป็นจะต้องกดแป้น  Shift  ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้เสมอ  ซึ่งสามารถเลือกพื้นที่แบบวงกลมได้ตามขั้นตอนนี้ 
1.  คลิกเลือกเครื่องมือ    Elliptical   Marquee  Tool  จากกลุ่มเครื่องมือ  Marquee  Tool  บน Toolbox  เพื่อกำหนดพื้นที่แบบวงกลม หรือ วงรี

2.  ดรากส์เมาส์บริเวณของรูปภาพที่ต้องการที่จะเลือกพื้นที่   ซึ่ง Selection จะเป็นวงกลม หรือ วงรี  ตามต้องการ

เลือกพื้นที่แบบ  Single  Row  Marquee  และ  Single  Column  Marquee

การเลือกพื้นที่แบบ    Single  Row   /  Single   Column   Marquee  Tool    เป็นการสร้าง Selection  ในแบบแนวนอน และ แนวตั้ง  ซึ่งมีความสูงเพียง  Pixel  เท่านั้น      เวลาใช้ให้ผู้เรียนคลิกลงบนพื้นที่ของรูปภาพที่ต้องการที่จะสร้างเส้น  Selection  ซึ่งเส้นที่เกิดขึ้นจะเป็นเส้นเพียงเส้นเดียว  แต่ถ้าเราขยายภาพแบบใหญ่ขึ้นจะมองเห็นเส้นนี้เป็น  2  เส้น
1.  คลิกเลือกเครื่องมือ    Single  Row  / Single  Column  Marquee  Tool    จากกลุ่มเครื่องมือ  Marquee  Tool  บน  Toolbox  เพื่อกำหนดพื้นที่แบบเส้นแนวตั้งและแนวนอน
2.  คลิกเมาส์บริเวณของรูปภาพที่ต้องการสร้าง  Selection ที่เป็นเส้นทั้งแนวตั้ง และแนวนอน 

เลือกพื้นที่แบบรูปทรงอิสระ  Lasso  Tool   

การเลือกพื้นที่แบบรูปทรงอิสระด้วยเครื่องมือ  Lasso  Tool  คือ  การกำหนดพื้นที่โดยไม่จำกัดให้อยู่ในรูปทรงเรขาคณิต  เช่นเดียวกับเครื่องมือ  Marquee  Tool  เครื่องมือนี้ถูกนำมาใช้งานสำหรับการเลือกพื้นที่ตามรูปทรงของวัตถุที่แสดงอยู่ในภาพ  เช่น  รูปคน, สัตว์ , ตึก  หรือวัตถุอื่น ๆ ที่มีส่วนเว้า  ส่วนโค้ง 
เครื่องมือในกลุ่มของ Lasso  Tool  มีให้เลือกใช้งาน  3  เครื่องมือประกอบด้วย  Lasso  Tool  , Polygonal  Lasso  Tool และเครื่องมือที่ใช้งานค่อนข้างบ่อยครั้งที่สุด  Magnetic  Lasso  Tool 

โดยเมื่อเลือกใช้คำสั่งใน Lasso Tool แล้วในส่วนของ Option bar จะมีรายละเอียดของคำสั่ง ดังนี้

  รายละเอียดของ  Option  bar  ของเครื่องมือ  Lasso  Tool 
1. Width     กำหนดบริเวณขอบเขตพื้นที่ที่เลือก  ซึ่งหากกำหนดค่ามาก ๆ  ก็ไม่ต้องเลื่อนเมาส์ไปใกล้ ๆ วัตถุ
2. Edge  Contrast  กำหนดให้เส้นขอบพื้นที่ที่เลือกมีความแตกต่างของสี (Contrast)  ซึ่งกำหนดค่าได้ตั้งแต่ 0-100 %
3. Frequency  กำหนดจุดขอบเขตในแต่ละส่วนของการเลือก  ทำให้สามารถเลือกพื้นที่ได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น  โดยกำหนดค่าได้ตั้งแต่ 0-100 %

เลือกพื้นที่แบบไม่เกาะติดวัตถุบนภาพ  Lasso  Tool 

        Lasso  Tool  เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างรูปทรงของพื้นที่ที่ต้องการเลือกบนรูปภาพ  ที่เราสามารถวาดขึ้นเองโดยไม่มีการยึดติดกับวัตถุใด ๆ บนรูปภาพ  แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของเครื่องมือนี้ในการเลือกพื้นที่ คือ  หากเราต้องการเลือกพื้นที่ตามรูปทรงของวัตถุ  เช่น     รูปร่างของคนจะทำได้ไม่สะดวกเนื่องจากมีส่วนเว้า  ส่วนโค้งมากอีกทั้งยังมีรายละเอียดประกอบเพิ่มเติมอีก เช่น  เส้นผม ปลายนิ้ว หรือ เสื้อผ้า  แต่ถ้ามีความชำนาญในการใช้เครื่องมือก็สามารถทำได้อย่างสะดวก  ซึ่งสามารถเลือกพื้นที่แบบไม่เกาะติดวัตถุได้ตามขั้นตอนนี้ 
1.  คลิกเลือกเครื่องมือ    Lasso  Tool  จากกลุ่มเครื่องมือ  Lasso Tool  เพื่อกำหนดพื้นที่แบบอิสระ

2.    นำเมาส์ไปคลิกที่ตำแหน่งเริ่มต้นที่ต้องการสร้าง Selection  จากนั้นคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากเมาส์ไปยังตำแหน่งหรือพื้นที่ที่ต้องการเลือกจนมาบรรจบกับจุดเริ่มต้น  จากนั้นปล่อยเมาส์จะได้เป็นเส้นประล้อมรอบพื้นที่ที่เลือก  ซึ่งรูปทรงของ Selection  ที่ได้จะเป็นรูปทรงอิสระตามที่วาด

เลือกพื้นที่แบบหลายเหลี่ยม  Polygonal  Lasso  Tool 

Polygonal  Lasso Tool  ใช้สร้างพื้นที่เลือกใช้งานเป็นแบบหลายเหลี่ยม  ซึ่งเป็นรูปแบบการเลือกแบบเป็นลักษณะของมุมฉาก   โดยจะเป็นการคลิกเพื่อสร้างเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งต่อเนื่องกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นเรื่อยไปจนถึงจุดสิ้นสุดส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือนี้มักถูกนำมาใช้เพื่อเลือกพื้นที่ของวัตถุที่มีรูปทรงเป็นเหลี่ยม  ซึ่งสามารถเลือกพื้นที่แบบหลายเหลี่ยมได้ตามขั้นตอนนี้ 
1.  คลิกเลือกเครื่องมือ  Polygonal  Lasso  Tool  จากกลุ่มเครื่องมือ  Lasso Tool  เพื่อกำหนดพื้นที่แบบหลายเหลี่ยม

2. นำเมาส์ไปคลิกที่ตำแหน่งเริ่มต้นที่ต้องการสร้าง Selection  จากนั้นลากเมาส์ไปตามขอบเขตพื้นที่ของภาพที่ต้องการจนมาบรรจบตำแหน่งเริ่มต้นแล้วดับเบิ้ลคลิกเมาส์   หากต้องการเลือกรูปทรงที่เป็นมุมหรือเป็นเส้นที่ติดต่อกันให้คลิกเมาส์มุมที่ต้องการแล้วเริ่มลากเมาส์และคลิกเลือกตามมุมที่ต้องการ  ซึ่งจะได้ลักษณะเป็นเส้นประล้อมรอบพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง

เลือกพื้นที่แบบเกาะติดวัตถุ   Magnetic  Lasso  Tool 

Magnetic  Lasso  Tool   เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการเลือกพื้นที่  เนื่องจากการทำงานมีลักษณะเหมือนเป็นแม่เหล็กที่เกาะติดกับวัตถุบนค่าพิกเซลของรูปภาพ    เมื่อมีการเลื่อนเมาส์ไปตามทิศทางหรือขอบเขตที่ต้องการเลือก  Magnetic  จะกำหนดขอบเขตตามทิศทางการเคลื่อนที่ของเมาส์ทันที  โดยอ้างอิงจากค่าสีที่คล้ายคลึงกัน แต่อย่างไรก็ตามหากผู้เรียนต้องการเพิ่มความถูกต้องในการเลือกพื้นที่ก็ให้คลิกเมาส์ในแต่ละตำแหน่งเพื่อเป็นการควบคุมเส้นที่เลือกบนรูปภาพได้อีกด้วย  ซึ่งสามารถเลือกพื้นที่แบบเกาะติดวัตถุได้ตามขั้นตอนนี้ 
1.  คลิกเลือกเครื่องมือ  Magnetic  Lasso  Tool  จากกลุ่มเครื่องมือ  Lasso Tool  เพื่อกำหนดพื้นที่แบบเกาะติดวัตถุ

โดยเมื่อเลือก Magnetic Lasso Tool แล้วในส่วน Option bar จะมีรายละเอียดของคำสั่งเพิ่มขึ้นมา ดังนี้

2. นำเมาส์ไปคลิกที่ตำแหน่งเริ่มต้นที่ต้องการสร้าง Selection จากนั้นลากเมาส์ไปตามขอบเขตพื้นที่ของภาพที่ต้องการจนมาบรรจบตำแหน่งเริ่มต้นแล้วคลิกเมาส์   หากต้องการเลือกรูปทรงที่ค่อนข้างเล็กหรือต้องการกำหนดเส้นที่แน่นอนสามารถที่จะคลิกเพื่อให้เกิดจุดได้   โดยเส้นประที่เราเลือกจะมีจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เหมือนแม่เหล็กวางไว้อยู่บนเส้น เมื่อเลือกเสร็จแล้วจะได้ลักษณะเป็นเส้นประล้อมรอบพื้นที่ที่ต้องการ 

เลือกพื้นที่โดยเปรียบเทียบค่าสี  Color  Range
         
การเลือกพื้นที่ด้วยวิธีการของคำสั่ง  Color  Range  อาศัยการอ้างอิงค่าสีในตำแหน่งที่มีค่าสีเหมือนหรือใกล้เคียงกันกับตำแหน่งที่คลิกเลือก   การใช้งานคำสั่งที่สามารถใช้ร่วมกับ  Marquee  Tool  หรือ  Lasso  Tool  เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ของภาพในส่วนที่ต้องการเลือกเสียก่อน  ดังขั้นตอนต่อไปนี้ 

1.  เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการ

2.  เลือกเมนูคำสั่ง  Select เลือกคำสั่ง Color Range จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ของคำสั่ง จากนั้นคลิกเมาส์ที่ตำแหน่งของค่าสีที่ต้องการเลือกพื้นที่ โดยคลิกเมาส์ที่บริเวณของภาพ จะปรากฏภาพตัวอย่างในช่องภาพตัวอย่างของคำสั่ง ซึ่งจะขึ้นภาพที่มีค่าสีเดียวกันให้เท่านั้น

3.  กำหนดค่าออปชั่นเพื่อกำหนดให้แสดงรูปภาพตัวอย่างที่ได้จากการเลือก  โดยกำหนด
Selection                                   แสดงเฉพาะพื้นที่ที่ถูกเลือกเท่านั้น 
Image                         ใช้แสดงรูปภาพทั้งหมด
4.  กำหนดค่าออปชั่น  Fuzziness เพื่อขยาย หรือ ลดขอบเขตของพื้นที่การเลือกค่าของสี   ซึ่งหากกำหนดค่ายิ่งมากจะทำให้สีที่มีความแตกต่างกันถูกเลือกไปด้วย

รายละเอียดคำสั่ง  Color  Range 

Select              กำหนดค่าสีที่ต้องการเลือกโดยไม่ต้องคลิกเมาส์ลงในตำแหน่งพื้นที่ค่าสี
-  Add  to  Sample      เพิ่มพื้นที่ในตำแหน่งอื่น ๆ
-  Subtract  from    Sample      ลดพื้นที่ที่เลือกไว้
Invert  เลือกพื้นที่แบบตรงกันข้ามกับค่าสีในพื้นที่ที่เลือกไว้
Save     จัดเก็บตำแหน่งค่าสีที่เลือกไว้ให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์
-  Load     โหลดไฟล์ที่จัดเก็บไว้ขึ้นมาใช้งาน
Selection  Preview     ทำการแสดงผลของการเลือกพื้นที่ในโหมดสีและการทำงานแบบต่าง ๆ   ซึ่งปกติจะถูกกำหนดไว้เป็น  None

เลือกพื้นที่โดยอ้างอิงจากกลุ่มสี   Magic  Wand  Tool  

การเลือกพื้นที่ด้วยวิธีการของคำสั่ง Magic  Wand  Tool  อาศัยการอ้างอิงค่าสีในตำแหน่งที่
คลิกเมาส์  หากค่าสีใดตรงกับค่าสีที่คลิก  ก็คือพื้นที่ที่เลือกในการใช้งานนั่นเอง   เช่น  สีผิวของคนเมื่อนำเมาส์ไปคลิกจะทำให้เกิดบริเวณพื้นที่ถูกเลือกทั้งหมด  ซึ่งพื้นที่ที่ได้เหล่านั้นโปรแกรมจะคำนึงถึงเรื่องของสีให้เองโดยอัตโนมัติ   โดยการเลือกพื้นที่สามารถคลิกเลือกได้มากกว่า  1 ครั้ง โดยการกดแป้น  Shift  ค้างไว้ขณะที่คลิกเมาส์เลือกพื้นที่  หรือคลิกเมาส์เลือก Option เป็น 
Add  to Selection
    โดยมีขั้นตอนดังนี้ 
1.  เปิดไฟล์รูปภาพขึ้นมา  จากนั้นให้คลิกเมาส์เลือกเครื่องมือ  Magic  Wand  Tool  
2.  คลิกเมาส์ในตำแหน่งสีบริเวณพื้นที่ ๆ ต้องการ
3.  หากต้องการเพิ่มพื้นที่ Selection ให้คลิกบริเวณที่ต้องการเพิ่มขึ้นอีก 

โดยเมื่อเลือกใช้คำสั่งใน Magic  Wand  Tool  แล้วในส่วนของ  Option  bar  จะมีรายละเอียดของคำสั่ง  ดังนี้ 

รายละเอียดคำสั่ง  Magic  Wand  Tool 
รูปแบบการเลือกพื้นที่       (ดูรายละเอียดจากรูปแบบการเลือกพื้นที่ใหม่)       
Tolerance กำหนดความแตกต่างของระดับสีที่ต้องการใช้เลือกพื้นที่  โดยเปรียบเทียบค่า Pixel    ในตำแหน่งที่เมาส์คลิกเพื่อเลือกสี   ซึ่งสามารถกำหนดได้ตั้งแต่  0 – 255  หากค่าที่กำหนดยิ่งสูงทำให้พื้นที่ที่ถูกเลือกเพิ่มขึ้น
Anti - alias ค่าออปชั่นนี้ใช้เพื่อตกแต่งเส้นขอบของพื้นที่ ๆ กำหนดไว้ให้เรียบ
Contiguous ค่าออปชั่นนี้จะเลือกพื้นที่ ๆ อยู่ต่อเนื่องกับตำแหน่งที่เมาส์คลิก  แต่ตำแหน่งที่อยู่ต่อเนื่องจะต้องมีสีใกล้เคียงกันด้วย
Sample  All  Layers ออปชั่นนี้ใช้เพื่อกำหนดให้เลือกพื้นที่  โดยพิจารณาจากเลเยอร์อื่น ๆ ด้วย โดยหากไม่ได้เลือกออปชั่นนี้จะทำงานเฉพาะเลเยอร์ปัจจุบันที่กำลัง ทำงานอยู่เท่านั้น

เลือกพื้นที่โดยวิธีระบายบนภาพ   Quick Selection Tool  

เป็นเครื่องมือใหม่ที่เพิ่มมาใน CS5 โดยใช้สำหรับเลือกวัตถุหรือพื้นที่ที่ต้องการ ด้วยวิธีระบายลงไปบนภาพคล้ายกับการใช้พู่กัน ซึ่งโปรแกรมจะค้นหาขอบของพื้นที่และสร้าง selection ที่เหมาะสมให้อย่างอัตโนมัติ

  1. เลือกเครื่องมือ  จากทูลบ็อกซ์
  2. บนออปชั่นบาร์ : กำหนดออปชั่นบาร์ตามต้องการ
  3. ใช้เมาส์   คลิกหรือหคลิกลากระบายไปบนพื้นที่ที่ต้องการเลือก
  4. ถ้าการระบายครั้งแรกยังครอบคลุมพื้นที่ไม่หมดก็สามารถระบายเพิ่มเติมได้หลายๆ ครั้งจนพอใจ

A         รูปแบบการเลือก มีคุณสมบัติคล้ายกับรูปแบบการเลือกของเครื่องมือกลุ่ม Marquee ดังนี้

B         Brush กำหนดขนาดหัวแปรงที่ระบาย เมื่อใช้หัวแปรงขนาดใหญ่-การเลือกจะมีผลเป็นวงกว้างส่วนการปรับแต่งบริเวณขอบ Selection ควรใช้หัวแปรงขนาดเล็ก
C         Sample All Layer ให้นำสีจากภาพในทุกๆ เลเยอร์มาใช้กำหนดพื้นที่ที่จะถูกเลือก
D         Auto-Enhance ช่วยให้ได้ขอบ Selection ที่เรียบและเที่ยงตรงมากขึ้น แต่โปรแกรมก็จะใช้เวลาคำนวณนานขึ้นด้วย

การเลือกพื้นที่ตรงกันข้าม  Inverse   

การเลือกพื้นที่แบบตรงกันข้าม  คือ การเปลี่ยนจากตำแหน่งพื้นที่ ๆ กำหนดบริเวณไว้ใช้งาน หรือ พื้นที่ ๆ ได้ทำการเลือก Selection  ให้กลายเป็นตำแหน่งอื่น ๆ  ที่ไม่ได้ถูกเลือกไว้ในตอนแรก ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเลือกที่มีความแตกต่างกันมากๆ   โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
1.  เลือกเปิดภาพที่ต้องการใช้ 
2.  เลือกพื้นที่โดยทำการสร้าง  Selection  พื้นที่ ๆ ต้องการ
3.  เลือกเมนูคำสั่ง  Select  เลือกคำสั่ง  Inverse 
ตัวอย่าง  เป็นการเลือกพื้นที่ ๆ ตรงข้ามกับพื้นที่  Selection  ที่เลือก   ในภาพจะเป็นรูปผู้หญิงกับพระจันทร์  ในที่นี้เราต้องการเลือกผู้หญิงและพระจันทร์   ซึ่งภายในภาพจะมีส่วนประกอบคือสีพื้น รูปผู้หญิงและพระจันทร์  ฉะนั้นถ้าเราเลือกสีพื้นและใช้คำสั่ง  Inverse  เพื่อเลือกพื้นที่ตรงกันข้ามก็จะเป็นการเลือกผู้หญิงและพระจันทร์  ซึ่งจะทำให้สะดวกและรวดเร็วกว่าในการเลือกพื้นที่ 

การตัดรูปภาพให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการ  Crop 

Crop  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดรูปภาพให้แสดงผลเฉพาะส่วนที่ต้องการเท่านั้น   โดยที่จะแสดงเป็นกระดานออกแบบใหม่ทันที  ซึ่งมีความแตกต่างจากเครื่องมือในกลุ่ม  Lasso  และ  Marquee  ซึ่งจะเป็นการเลือกพื้นที่เฉพาะบริเวณที่ต้องการทำงานเท่านั้น 

โดยเมื่อเลือกใช้คำสั่ง  Crop  แล้วในส่วนของ  Option  bar  จะมีรายละเอียดของคำสั่ง  ดังนี้ 

รายละเอียดคำสั่ง  Magic  Wand   Tool   
-  Width ,Height และ Resolution
    ใช้กำหนดขนาดพื้นที่ หรือ บริเวณที่ใช้ตัดรูปภาพ  และความละเอียดในการตัดภาพ
Resolution          กำหนดความละเอียด  ซึ่งปกติจะเป็นหน่วย  Pixels/inch
Front  Image      อ่านค่า  Width  , Height และ Resolution ของภาพปัจจุบันนำมาใส่ลงบนออปชั่นบาร์เพื่อนำไปใช้ตัดภาพ
                                                จากรูปภาพอื่น ๆ เพื่อให้มีขนาด (Width ,Height)และความละเอียด (Resolution)  ที่เท่ากัน
Clear     ลบค่าที่กำหนดไว้ในช่อง  Width , Height และ  Resolution 


การเลือกพื้นที่ด้วย  Quick  Mask 

4.  คลิกปุ่ม(Edit in Standard  Mode) บนกล่องเครื่องมือ   จะปรากฏ  Selection  บนพื้นที่ ๆ เราเลือก

žการปรับแต่ง  Quick  Mask 
เราสามารถเปลี่ยนสี หรือ กำหนดออปชั่นต่าง ๆ  ในโหมด  Quick  Mask ได้โดยการดับเบิ้ลคลิกปุ่มEdit in Quick Mask Mode  จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์สำหรับการตั้งค่า  Quick  Mask

การใช้  Selection  ในรูปแบบต่าง ๆ    
การจัดเก็บพื้นที่ ๆ เลือกไว้  ( Save Selection )
บริเวณพื้นที่ Selection  ที่เราสร้างขึ้นมานั้นสามารถจัดเก็บ (Save)  ไว้ใช้ในภายหลังได้  โดยพื้นที่ ๆ จัดเก็บนี้จะถูกจัดเก็บไว้ในไฟล์ .psd   ซึ่งเมื่อเราจัดเก็บแล้วสามารถที่จะเรียกใช้ได้ทันทีเมื่อเราเปิดไฟล์ที่บันทึกไว้ขึ้นมา    โดยจุดประสงค์หลักของการจัดเก็บพื้นที่ คือ ป้องกันความผิดพลาดอันเกิดจากการเลือกพื้นที่ใหม่  ในกรณีที่ใช้พื้นที่เดิมนี้ซ้ำกันมากกว่า 1 ครั้ง  ซึ่งจะทำให้เราสามารถเรียกใช้พื้นที่ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว  สามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้

   1. เปิดไฟล์ภาพขึ้นมา  แล้วทำการสร้าง  Selection บริเวณพื้นที่ ๆ ต้องการ

2.  เลือกเมนูคำสั่ง  Select  เลือกคำสั่ง  Save  Selection  จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์สำหรับการบันทึกพื้นที่  แล้วทำการกำหนดรายละเอียดของคำสั่ง

รายละเอียดของคำสั่งมีดังนี้ 
- Document                        จะแสดงชื่อไฟล์รูปภาพที่เปิดขึ้นมาใช้ในการกำหนดพื้นที่
-  Channel                         
กำหนดแชลแนลที่ใช้จัดเก็บ  ซึ่งปกติแล้วจะสร้างเป็น  Alpha  Channel 
-  Name                              กำหนดชื่อพื้นที่ ๆ เรากำหนดไว้และต้องการจัดเก็บโดยชื่อที่ตั้งนี้จะ
                                                            สัมพันธ์กับ  Channel  ที่กำหนด
3.  เมื่อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ แล้วคลิกเมาส์ที่ OK.  โปรแกรม  Photoshop จะทำการบันทึก  Selection ไว้ในโปรแกรม

การเรียกใช้พื้นที่ ๆ จัดเก็บไว้มาใช้งาน  ( Load  Selection )
การเรียกใช้พื้นที่มีข้อจำกัด คือ จะต้องจัดเก็บพื้นที่ด้วยคำสั่ง  Save  Selection  พร้อมกับไฟล์รูปภาพที่เป็นนามสกุลไฟล์  .psd หรือ  .TIFF  เสมอ  มิฉะนั้นจะไม่สามารถเรียกใช้พื้นที่กลับขึ้นมาใช้งานต่าง ๆ ต่อไปได้อีก  โดยเลือกเมนูคำสั่ง  Select  เลือกคำสั่ง  Load  Selection  โดยจะปรากฏไดอะล็อกบล็อกซ์ของคำสั่ง  ให้เราเลือกชื่อ Selection  ที่ได้ Save  ไว้ก็จะปรากฏ Selection  บนภาพ  ดังรายละเอียดคือ 

การเคลื่อนย้าย  Selection
เมื่อเราสร้าง  Selection  ใด ๆ ขึ้นมาแล้ว  หากต้องการเคลื่อนย้าย  Selection  ออกไปบริเวณอื่นก็สามารถทำได้เช่นกัน  โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ 
1.  สร้าง  Selection  บริเวณพื้นที่ ๆ ต้องการ
2.  ใช้คำสั่ง Select เลือก Tramform Selection
3.  คลิกเมาส์เลือกเครื่องมือ Move  Tool บน  Toolbox
4.  คลิกเมาส์บริเวณ Selection จากนั้นคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปวางยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วปล่อยเมาส์ 

การยกเลิก  Selection
เมื่อเราสร้าง Selection  ใด ๆ บนรูปภาพซึ่งจะได้เป็นเส้นประล้อมรอบพื้นที่ ๆ เลือก  และถ้าเราต้องการยกเลิก  Selection  นี้สามารถทำได้โดย
1.   เลือกเมนูคำสั่ง  Select  เลือกคำสั่ง  Deselect 
2.   กดแป้น  Ctrl + D   

การเลือกพื้นที่ทั้งหมด
การเลือกพื้นที่ทั้งหมดในรูปภาพด้วยเมนูคำสั่ง  Select  เลือกคำสั่ง  All  หรือกดแป้น Ctrl + A  ซึ่งจะเป็นการเลือกพื้นที่ทั้งหมดของรูปภาพ  ส่วนมากใช้ในกรณีที่ต้องการเลือกพื้นที่ทั้งหมดแล้วต้องการคัดลอกทั้งรูปภาพไปใช้งานอื่น  ๆ 

การหมุน / การย่อ – ขยาย  Selectionเมื่อเราสร้าง  Selection  ขึ้นมาแล้วต้องการหมุน  Selection  ไปในทิศทางอื่น ๆ  สามารถ      ทำได้โดย
1.  สร้าง  Selection  ในพื้นที่ ๆ ต้องการจากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง  Select  เลือกคำสั่ง  Transform  Selection  จะปรากฏกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบพื้นที่  Selection  และบริเวณมุมจะมีจุดสีเหลี่ยม 8 มุมอยู่บนกรอบสี่เหลี่ยม
2.  ถ้าต้องการหมุน  -   นำเมาส์ไปวางตรงมุมสี่เหลี่ยมด้านบนและด้านล่าง  สังเกตว่าเมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร 2 หัวและเป็นเส้นโค้ง  จากนั้นหมุนกรอบสี่เหลี่ยมนี้ไปยังทิศทางที่ต้องการ 

3.  ถ้าต้องการย่อ –ขยาย   -   นำเมาส์ไปวางตรงมุมสี่เหลี่ยม สังเกตว่าเมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร   2 หัว จากนั้นดึงออกเพื่อขยาย  และดึงเข้าเพื่อย่อ Selection  ก็จะได้ขนาดใหม่ตามต้องการ

การปรับแต่ง  Selection
เมื่อเราสร้าง  Selection  บนพื้นที่ของรูปภาพเพื่อทำงานเราสามารถที่จะปรับแต่ง  Selection  ได้เช่นกัน  โดยการปรับแต่งให้ใช้เมนูคำสั่ง  Select  เลือกคำสั่ง  Modify  จะมีเมนูการปรับแต่ง  Selection  อยู่ 4 รูปแบบ  คือ 
กำหนดเส้นขอบของ  Selection   มีวิธีการดังนี้ 
1.  สร้าง  Selection   บนพื้นที่ ๆ ต้องการ 
2.  เลือกเมนูคำสั่ง    Select  เลือกคำสั่ง  Modify  เลือก  Border..
3.  จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ของคำสั่ง  ให้กำหนดขนาดขอบของ  Selection  โดยให้ใส่ตัวเลขลงไป  ซึ่งจะมีหน่วยวัดเป็น  Pixel  โดยจะสามารถกำหนดได้ตั้งแต่ 0-200  Pixel  

มีความนุ่มนวลมากยิ่งขึ้น   มีวิธีการดังนี้ 
1.  สร้าง  Selection   บนพื้นที่ ๆ ต้องการ 
2.  เลือกเมนูคำสั่ง    Select  เลือกคำสั่ง  Modify  เลือก  Smooth..
3.  จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ของคำสั่ง  ให้กำหนดค่าของ  Selection  โดยให้ใส่ตัวเลขลงไป  ซึ่งจะมีหน่วยวัดเป็น  Pixel  โดยจะสามารถกำหนดได้ตั้งแต่ 0-100  Pixel  

กำหนดเส้นขอบของ  Selection  ให้ขยายออกไปมีวิธีการดังนี้ 
1.  สร้าง  Selection   บนพื้นที่ ๆ ต้องการ 
2.  เลือกเมนูคำสั่ง    Select  เลือกคำสั่ง  Modify  เลือก  Expand..
3.  จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ของคำสั่ง  ให้กำหนดค่าของ  Selection  โดยให้ใส่ตัวเลขลงไป  ซึ่งจะมีหน่วยวัดเป็น  Pixel  โดยจะสามารถกำหนดได้ตั้งแต่ 0-100  Pixel  

กำหนดเส้นขอบของ  Selection ให้ย่อลงมา มีวิธีการดังนี้ 
1.  สร้าง  Selection   บนพื้นที่ ๆ ต้องการ 
2.  เลือกเมนูคำสั่ง    Select  เลือกคำสั่ง  Modify  เลือก  Contract..
3.  จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ของคำสั่ง  ให้กำหนดค่าของ  Selection  โดยให้ใส่ตัวเลขลงไป  ซึ่งจะมีหน่วยวัดเป็น  Pixel  โดยจะสามารถกำหนดได้ตั้งแต่ 0-100  Pixel  

ปรับแต่งขอบ Selection โดยใช้ (Refine Edge) 
            ใน Photoshop CS5 มีเครื่องมือใหม่ที่ใช้สำหรับปรับแต่งขอบ Selection เพิ่มขึ้นมา คือคำสั่ง Refine Edge โดยเป็นการรวบรวมคุณสมบัติของคำสั่งกลุ่ม Modify ที่มีอยู่เดิมมาไว้ในที่เดียวกันเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น และเพิ่มเติมคุณสมบัติอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                เราจะเรียกใช้คำสั่ง Refine Edge ได้ 2 วิธีคือ

  • คลิกปุ่ม  บนออปชั่นบาร์ของเครื่องมือสร้าง Selection
  • เลือกคำสั่ง Select >> Refine Edge จากเมนู

ตัวอย่างการใช้งาน   Refine Edge  

  1. เลือกพื้นที่ที่ต้องการ โดยจะใช้เครื่องมือใดก็ได้ (ในที่นี้ใช้   Magic Wand เลือกพื้นที่หลัง แล้วใช้คำสั่ง Select>>Inverse เพื่อสลับที่ selection)   
  2. ทดลองปรับค่าต่างๆ แล้วดูผลบนวินโดว์รูปภาพ
  3. เมื่อได้ผลที่พอใจแล้ว ก็คลิก ok

ออบชั่นของคำสั่ง Refine Edge

ออปชั่นของคำสั่ง  Refine  Edge

  • Show  Radius  แสดงเส้นขอบ  Radius
  • Show  Original  แสดงภาพที่เลือก
  • Radius  ใช้ปรับของการเลือก  Selection  ให้แม่นยำขึ้น
  • Smooth  ใช้ปรับของ  Selection  ให้เรียบ
  • Feather  ใช้ปรับขอบ  Selection  ให้ฟุ้งกระจาย  (ถ้าจะใช้เพื่อเลือกวัตถุที่มีขอบไม่คมชัด  ควรใช้วิธีปรับค่า  Radius  ซึ่งจะให้ผลที่ดีกว่า)
  • Contrast  ใช้ปรับขอบ  Selection  ให้คมชัดมากขึ้น
  • Shift  Edge  ปรับเพิ่ม / ลดขอบ  Selection
  • เครื่องมือ  Zoom  และ  Hand  ใช้ซูมและเลื่อนภาพบนวินโดว์  (วิธีใช้เหมือนเครื่องมือ  Zoom  และ  Hand  บนทูลบ๊อกซ์  รวมทั้งใช้คีย์ลัดแทนได้เช่นกัน)

ตัวเลือกการแสดงผลลัพธ์ของ  Selection  (Output)

  • Selection  สร้างเป็น  Selection  ปกติทั่วๆ  ไป
  • Layer  Mask  สร้าง  Selection  เป็นเลเยอร์มาสก์บนพาเนล  Layers
  • New  Layer  สร้าง  Selection  แล้วก๊อปปี้ผลลัพธ์ไปวางไว้ที่เลเยอร์ใหม่
  • New  Layer  with  Layer  Mask  ก๊อปปี้ผลลัพธ์ไปวางไว้ที่เลเยอร์ใหม่แบบเลเยอร์มาสก์
  • New  Document  สร้าง  Selection  แล้วก๊อปปี้ผลลัพธ์ไปวางในไฟล์ใหม่
  • New  Document  with  Layer  Mask  สร้าง  Selection  แล้วก๊อปปี้ผลลัพธ์ไปวางใหม่ในไฟล์ใหม่แบบเลเยอร์มาสก์

บันทึกและเรียกใช้งาน

บันทึก  Selection
การสร้าง  Selection  ที่ซับซ้อนบางครั้งต้องใช้เวลามาก  ซึ่งเมื่อยกเลิกไปแล้วก็จะไม่สามารถเรียกกลับคืนมา  ดังนั้นถ้าคาดว่าจะจำเป็นต้องใช้อีกภายหลังก็ควรบันทึก  Selection  นี้เก็บไว้

เรียกใช้  Selection  ที่บันทึกไว้

 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก