การฟัง การดู และการอ่านมีความสำคัญอย่างไร

การพูด
๑. ความหมายของการพูด
การพูดเป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ผู้พูดสามารถใช้ทั้งวจนะภาษาและ

อวัจนะภาษาในการส่งสารติดต่อไปยังผู้ฟังได้ชัดเจนและรวดเร็วการพูด หมายถึง การสื่อความหมายของมนุษย์โดยการใช้เสียงและกิริยาท่าทางเป็นเครื่องถ่ายทอดความรู้ความคิด และความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง
วาทการ เป็นคำศัพท์หนึ่ง ซึ่งทางวิชาการนิยมใช้แทน การพูด พจนานุกรมราช-บัณฑิตยสถาน (๒๕๑๓:๘๓๑) ได้ให้ความหมายของคำว่า “วาท” หมายถึง คำพูด ถ้อยคำ,ลัทธิรวมกันเข้าเป็นวาทการ “วาทการ” หมายถึง กิจพูดหรือกิจเกี่ยวกับถ้อยคำ, งานพูดหรืองานเกี่ยวกับถ้อยคำในการสื่อสาร การพูด หมายถึง การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการถ่ายทอดความรู้ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง ในการติดต่อสื่อสารด้วยการพูด ผู้พูดจะต้องระลึกว่าไม่เพียงแต่พูดเท่านั้นจะต้องรู้จักพูดให้ดีด้วย ดังนั้นการพูดที่ดีมีความหมายดังนี้ การพูดที่ดี คือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงรวมทั้งกิริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้ ความรู้สึกและความต้องการ ที่เป็นประโยชน์ ให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายของผู้พูดมีนักการศึกษาหลายคนให้ความหมายของการพูดไว้พอจะสรุปได้ ดังนี้ การพูดคือกระบวนการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยมีภาษาน้ำเสียงและอากัปกิริยาเป็นสื่อการพูดคือการแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกโดยใช้ภาษาและเสียงสื่อความหมายการพูด เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีอานุภาพมากที่สุดในโลกการพูด เป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

การอ่าน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน
การอ่านเป็นหนึ่งในสี่ทักษะทางภาษาที่จำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ และไม่มีวันสิ้นสุดสามารถฝึกได้เรื่อย ๆ ตามวัยและประสบการณ์ของผู้อ่าน เพราะการอ่านนั้นจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับความรู้ ความคิด และความบันเทิงใจ ช่วยปรับปรุงชีวิตให้สดใสสมบูรณ์ ดังคำกล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษที่ว่า “การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์
๑. ความหมายของการอ่าน
การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการ ฟัง ปัจจุบันมีผู้รู้นักวิชาการและนักเขียนนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและงานสร้างสรรค์ ตีพิมพ์ ในหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาก นอกจากนี้แล้วข่าวสารสำคัญ ๆ หลังจากนำเสนอด้วยการพูด หรืออ่านให้ฟังผ่านสื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะตีพิมพ์รักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ๆความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพใน สังคมปัจจุบัน
๒. ความสำคัญของการอ่าน
ในสมัยโบราณที่ยังไม่มีตัวหนังสือใช้ มนุษย์ได้ใช้วิธีเขียนบันทึกความทรงจำและเรื่องราวต่าง ๆ เป็นรูปภาพไว้ตามฝาผนังในถ้ำ เพื่อเป็นทางออกของอารมณ์ เพื่อเตือนความจำหรือเพื่อบอกเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยแสดงถึงความพยายาม และความปรารถนาอันแรงกล้าของมนุษย์ ที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเป็นสัญลักษณ์ที่คงทนต่อกาลเวลาจากภาพเขียนตาม ผนังถ้ำ ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาเขียนและหนังสือ ปัจจุบันนี้หนังสือกลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อมนุษย์จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น ปัจจัยอันหนึ่งในการดำรงชีวิตคนที่ไม่รู้หนังสือแม้จะดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ เป็นชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความเจริญ ไม่สามารถประสบความสำเร็จใด ๆ ในสังคมได้หนังสือและการอ่านหนังสือจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
๓. จุดประสงค์ของการอ่าน
ในการอ่านบุคคลแต่ละคนจะมีจุดประสงค์ของตนเอง คนที่อ่านข้อความเดียวกันอาจมีจุดประสงค์หรือความคิดต่างกัน โดยทั่วไปจุดประสงค์ของการอ่านมี ๓ ประการ คือ
๑)  การอ่านเพื่อความรู้ ได้แก่ การอ่านหนังสือประเภทตำรา สารคดี วารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ์บ้านเมือง การอ่านเพื่อความรอบรู้เป็นการอ่านที่จำเป็นที่สุดสำหรับครู เพราะความรู้ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ทุกขณะ แม้จะได้ศึกษามามากจากสถาบันการศึกษาระดับสูง ก็ยังมีสิ่งที่ยังไม่รู้และต้องค้นคว้าเพิ่มเติมให้ทันต่อความก้าวหน้าของ โลกข้อความรู้ต่าง ๆ อาจมิได้ปรากฏชัดเจนในตำรา แต่แทรกอยู่ในหนังสือประเภทต่าง ๆแม้ในหนังสือประเภทบันเทิงคดีก็จะให้เกร็ดความรู้ควบคู่กับความบันเทิงเสมอ
๒)  การอ่านเพื่อความคิดแนวความคิด ทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป มักแทรกอยู่ในหนังสือแทบทุกประเภท มิใช่หนังสือประเภทปรัชญา หรือจริยธรรมโดยตรงเท่านั้น การศึกษาแนวคิดของผู้อื่นเป็นแนวทางความคิดของตนเองและอาจนำมาเป็นแนว ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตหรือแก้ ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกนำความคิดที่ได้อ่านมาใช้ให้ เป็นประโยชน์ในบางเรื่องผู้อ่านอาจเสนอความคิดโดยยกตัวอย่างคนที่มีความคิด ผิดพลาดเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้อ่านได้ความยั้งคิด เช่น เรื่องพระลอแสดงความรักอันฝืนทำนองคลองธรรมจึงต้องประสบเคราะห์กรรมในที่สุด ผู้อ่านที่ขาดวิจารณญาณมีความคิดเป็นเรื่องจูงใจให้คนทำความผิดนับว่าขาด ประโยชน์ทางความคิดที่ควรได้ไปอย่างน่าเสียดายการอ่านประเภทนี้จึงต้องอาศัย การศึกษาและการชี้แนะที่ถูกต้องจากผู้มีประสบการณ์ในการอ่านมากกว่าครูจึง ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านเพื่อความคิดของตนเองและเพื่อชี้แนะหรือสนับสนุน นักเรียนให้พัฒนาการอ่านประเภทนี้
๓)  การอ่านเพื่อความบันเทิงเป็นการอ่านเพื่อฆ่าเวลา เช่น ระหว่างที่คอยบุคคลที่นัดหมาย คอยเวลารถไฟออก เป็นต้น หรืออ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีในเวลาว่าง บางคนที่มีนิสัยรักการอ่านหากรู้สึกเครียดจากการอ่านหนังสือเพื่อความรู้ อาจอ่านหนังสือประเภทเบาสมองเพื่อการพักผ่อน หนังสือประเภทที่สนองจุดประสงค์ของการอ่านประเภทนี้มีจำนวนมาก เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย การ์ตูน วรรณคดีประเทืองอารมณ์เป็นต้นจุดประสงค์ในการอ่านทั้ง ๓ ประการดังกล่าว อาจรวมอยู่ในการอ่านครั้งเดียวกันก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกจากกันอย่างชัดเจน
๔)  คุณค่าของการอ่าน ในการส่งเสริมการอ่าน ครูควรชี้ให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่าน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเลือกหนังสือด้วย คุณค่าดังกล่าวมามีดังนี้
• คุณค่าทางอารมณ์หนังสือที่ให้คุณค่าทางอารมณ์ ได้แก่ วรรณคดีที่มีความงามทั้งถ้อยคำ น้ำเสียง ลีลาในการประพันธ์ ตลอดจนความงามในเนื้อหา อาจเรียกได้ว่ามี “รส” วรรณคดี
ซึ่งตำราสันสกฤต กล่าวว่า มีรส ๙ รส คือ
๑. รสแห่งความรักหรือความยินดี
๒.รสแห่งความรื่นเริง
๓. รสแห่งความสงสาร
๔. รสแห่งความเกรี้ยวกราด
๕. รสแห่งความกล้าหาญ
๖. รสแห่งความน่ากลัวหรือทุกขเวทนา
๗. รสแห่งความเกลียดชัง
๘. รสแห่งความประหลาดใจ
๙. รสแห่งความสงบสันติในวรรณคดีไทยก็แบ่งเป็น ๔ รส คือ
–  เสาวจนี การชมความงาม
–  นารีปราโมทย์ การแสดงความรัก
–  พิโรธวาทัง การแสดงความโกธรแค้น
–  สัลลาปังคพิไสย การคร่ำครวญ
หลายท่านคงเคยได้ศึกษามาแล้ว หนังสือที่มิใช่ตำราวิชาการโดยตรง มักแทรกอารมณ์ไว้ด้วยไม่มากก็น้อย ทั้งนี้เพื่อให้น่าอ่านและสนองอารมณ์ของผู้อ่านในด้านต่าง ๆ

• คุณค่าทางสติปัญญาหนังสือดีย่อมให้คุณค่าทางด้านสติปัญญา อันได้แก่ ความรู้และความคิดเชิงสร้างสรรค์ มิใช่ความคิดในเชิงทำลายความรู้ในที่นี้นอกจากความรู้ทางวิชาการแล้วยังรวม ถึงความรู้ทางการเมือง สังคม ภาษา และสิ่งต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านเสมอ แม้จะหยิบหนังสือมาอ่านเพียง 2-3 นาทีผู้อ่านก็จะได้รับคุณค่าทางสติปัญญาไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งหนังสืออาจจะ ปรากฏในรูปของเศษกระดาษถุงกระดาษ แต่ก็จะ “ให้ ” บาง สิ่งบางอย่างแก่ผู้อ่านบางครั้งอาจช่วยแก้ปัญหาที่คิดไม่ตกมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้ย่อมสุดแต่วิจารณญาณและพื้นฐานของผู้อ่านด้วยบางคนอาจมองผ่านไปโดย ไม่สนใจแต่บางคนอาจมองลึกลงไปเห็นคุณค่าของหนังสือนั้นเป็นอย่างยิ่งคุณค่า ทางสติปัญญาจึงมิใช่ขึ้นอยู่กับหนังสือเท่านั้นหากขึ้นอยู่กับผู้อ่านด้วย
• คุณค่าทางสังคม การอ่านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาแต่เป็นโบราณกาล หากมนุษย์ ไม่มีนิสัยในการอ่าน วัฒนธรรมคงสูญสิ้นไป ไม่สืบทอดมาจนบัดนี้ วัฒนธรรมทางภาษา การเมือง การประกอบอาชีพ การศึกษา กฎหมาย ฯลฯ เหล่านี้อาศัยหนังสือและการอ่านเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และพัฒนาให้คุณ ค่าแก่สังคมนานัปการ หนังสืออาจทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงไปได้หากมีคนอ่านเป็นจำนวนมาก หนังสือและผู้อ่านจึงอาศัยกันและกันเป็นเครื่องสืบทอดวัฒนธรรมของมนุษย์ในสังคมที่เจริญแล้ว จะเห็นได้ว่า ในกลุ่มคนที่ไม่มีภาษาเขียน ไม่มีหนังสือไม่มีการอ่านวัฒนธรรมของสังคมนั้นมักล้าหลัง ปราศจากการพัฒนา การอ่านจึงให้คุณค่าทางสังคมในทุกด้าน
๕. การอ่านสะกดคำ
การอ่านในใจเรามักไม่คำนึงถึงการสะกดคำ เพราะมุ่งอ่านเนื้อความอย่างรวดเร็วแต่ในการอ่านออกเสียงนั้น การสะกดคำ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้อ่านจำเป็นต้องอ่านให้ถูกต้องตามพจนานุกรม หรือการอ่านชื่อเฉพาะในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กำหนดคำอ่านไว้โดยอาศัยการเทียบแนวภาษาเดิมที่เป็นคำบาลี-สันสกฤต หรือคำที่อ่านตามความนิยมมาจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปก็อนุโลมให้อ่านได้เป็นบาง กรณี แต่มิใช่จะอ่านตามความสะดวกได้เสมอไปขอยกตัวอย่างเพื่อให้เป็นแนวทางในการ อ่านและเพื่อให้เกิดความระมัดระวังในการอ่านคำอื่น หากคำใดไม่แน่ใจให้นิสิต เปิดดูคำอ่านในพจนานุกรมได้
๖. บทบาทของการอ่านที่มีต่อมนุษย์
การอ่านหนังสือมีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบันนี้มาก อาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษาเล่าเรียน การประกอบอาชีพ ด้านบุคลิกภาพนี้

๑) บทบาทด้านการศึกษา
การเรียนในระดับอุดมศึกษา นิสิตจะต้องศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่ในห้องสมุดเป็นส่วนใหญ่ซึ่งต้องใช้ การอ่านเป็นประจำ ผู้ที่อ่านมากย่อมได้เปรียบกว่าผู้ที่อ่านน้อย และผู้ที่อ่านเก่งย่อมอ่านหนังสือได้รวดเร็วสามารถเข้าใจเรื่องราวที่อ่าน จับใจความได้ถูกต้องแม่นยำ รู้จักวิธีอ่านหนังสือว่าเล่มไหนควรใช้วิธีอ่านอย่างไร สามารถประเมินผลจากสิ่งที่ตนอ่านรวมทั้งมีวิจารณญาณในการอ่านสามารถวิจารณ์ ได้ ดังนั้น ผู้ที่อ่านเป็นเท่านั้นจึงจะสามารถได้รับความรู้และประสบผลสำเร็จในการศึกษา เล่าเรียน
๒) บทบาทด้านอาชีพ
การอ่านผูกพันอยู่กับบุคคลทุกอาชีพที่มุ่งหวังความเจริญก้าว หน้าเพราะผู้ประกอบอาชีพที่ดีนั้นจำเป็นต้องขวนขวายหาความรู้เพื่อเพิ่มพูน ปรับปรุงสมรรถภาพในการทำงานของตนอยู่เสมอทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าการงานทุก ชนิดก็ต้องมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลาบุคคลที่พยายามก้าวไปข้างหน้าเท่า นั้นจึงจะมีชัยในการแข่งขันบุคคลที่ฉลาดและยึดหนังสือเป็นหลักโดยการอ่าน หนังสือที่เกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ ย่อมทำให้บุคคลเหล่านั้นมีความรู้กว้างขวางและประสบผลสำเร็จในการประกอบ อาชีพของตนเองได้อย่างมีความสุข
๓) บทบาทด้านการปรับปรุงบุคลิกภาพ
สภาพสังคมในสมัยนี้ มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนและมีปัญหาของสังคมมากมายจนทำให้คนบางคนประสบชะตา กรรมที่น่าสงสารอย่างยิ่ง เป็นต้นว่าไม่อยากสมาคมกับใคร ๆ เพราะคิดว่าตนเองมีปมด้อย บางคนไม่กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาไม่กล้าร่วมกิจกรรมทางด้านสังคมกับเพื่อนฝูง กลายเป็นคนเหงาหงอย ถ้าหากบุคคลผู้มีปัญหาดังกล่าว ได้กลับมาสนใจในการอ่านหนังสือประเภทสังคมศาสตร์ จริยศาสตร์จิตวิทยา การตอบและแก้ไขปัญหาชีวิต ก็จะทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และยังจะช่วยให้รู้จักวิธีการวางตัวได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมนั้น ๆ อย่างมีความสุขทำให้เป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ
๔) บทบาทด้านนันทนาการ
ในปัจจุบันนี้การเสาะแสวงหาความบันเทิงเริงรมย์เป็นไปได้โดยง่าย และมีหลายรูปแบบ เช่น การดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ และการฟังเพลง เป็นต้น แต่มีอีกแบบหนึ่งที่เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด นั่นคือ การอ่านหนังสือ อาจจะเป็นหนังสือโบราณคดีกวีนิพนธ์ สารคดี นวนิยาย หนังสือพิมพ์รายวัน นอกจากจะทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ความบันเทิงแล้ว ยังจะเป็นทักษะฝึกการอ่านอีกด้วย
๕) บทบาทด้านพัฒนาสังคมและพัฒนาประเทศ
การพัฒนาประเทศจะประสบผลสำเร็จได้นั้น ประเด็นสำคัญอยู่ที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเบื้องต้น กล่าวคือ ให้ประชาชนมีการศึกษา เป็นผู้รู้หนังสือในระดับที่พอจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และการพัฒนาประเทศต่อไปทั้งนี้เพราะการที่ประชากรเป็นผู้รู้หนังสือและมี นิสัยรักการอ่านย่อมจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ชีวิตของคนเราประสบความ สำเร็จอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและความเป็นอยู่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศชาติในที่สุด
๗. องค์ประกอบที่มีต่อการอ่าน
ความสามารถในการอ่านของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอ่านได้รวดเร็วและเข้าใจในขณะที่อีกหลายคนอ่านได้ช้าและเกิดอุปสรรคใน การอ่าน การที่ผู้อ่านจะประสบความสำเร็จในการอ่านมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการอ่าน ดังต่อไปนี้ วลัยภรณ์ อาทิตย์เที่ยง ( ๒๕๒๙ ) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการอ่านอยู่ ๓ ลักษณะดังนี้
๑) ลักษณะของวัสดุการอ่าน จะต้องไม่ปิดกั้นหรือเป็นกำแพงขวางความเข้าใจในการอ่านของผู้เรียนนั่นคือ ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้อ่าน ไม่ใช้คำศัพท์ที่แปลกประหลาด คำศัพท์ที่เด็กไม่เคยรู้จัก หรือเป็นคำศัพท์ที่ยาวเกินความสามารถของเด็กสำหรับหลักภาษาก็ควรใช้แต่สิ่ง ที่เด็กคุ้นเคยแล้วประโยคไม่ยาวเกินไปและไม่สลับซับซ้อน
๒) ลักษณะของผู้อ่าน ความสามารถในการเข้าใจและตีความสิ่งที่อ่านจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
• ระดับสติปัญญา เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถในการอ่านแตกต่างกันไปตามระดับสติปัญญาของตน เช่น เด็กบางคนไม่สามารถจดจำรายละเอียดของเนื้อเรื่องได้บางคนไม่สามารถสรุป เรื่องที่อ่านได้ บางคนไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมและบางคนไม่สามารถแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นได้หรือถ้าทำได้ก็คงต้องใช้เวลามาก ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ครูควรจะตรวจสอบเพื่อช่วยเด็กในการพัฒนาสมรรถภาพในการอ่านและจัดประสบการณ์ ให้เหมาะสมกับระดับสติปัญญาของเด็ก
• ความรู้ในด้านคำศัพท์ และโครงสร้างของภาษาซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจ การสร้างความคิดรวบยอด และการสร้างจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
• ภูมิหลังในเรื่องความรู้และประสบการณ์ จะช่วยในการผสมผสานความคิดเดิมให้เข้ากับความคิดใหม่ ตลอดจน การแปลความ ตีความ ขยายความและการประเมินค่าของสิ่งที่อ่าน
• ร่างกาย เด็กที่มีสุขภาพทางกายดีจะมีความสามารถในการเรียน อ่านได้กว่าเด็กที่มีสุขภาพไม่ดีซึ่งต้องขาดเรียนบ่อย ๆ ทำให้การเรียนอ่านล่าช้าออกไป นอกจากนั้นสิ่งที่ครูจะต้องคำนึงถึงก็คือ สายตาและการได้ยิน เด็กที่มีสายตาผิดปกติ จะรู้สึกไม่อยากอ่านหนังสือและไม่รู้สึกเพลิดเพลินหรือพอใจกับสิ่งที่อ่าน ส่วนเด็กที่มีความผิดปกติทางการได้ยิน จะฟังคำอธิบายของครูไม่ได้ดีเท่าที่ควรเพราะจับใจความไม่ค่อยได้ และไม่เข้าใจความหมายของคำที่ครูให้อ่านซึ่งจะให้เกิดปัญหาในการอ่านต่อไป
• อารมณ์ เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการอ่านมาก เพราะการอ่านที่ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้อ่านจำเป็นต้องมีสมาธิในการอ่าน ถ้าเด็กมีความกังวลใจ หรือมีความกลัว เด็กจะมีความรู้สึกต่อต้านอย่างรุนแรง ซึ่งจะขัดขวางสมาธิในการอ่านเป็นอย่างมากจนเป็นผลให้ประสบผลสำเร็จในการอ่าน น้อยกว่าเด็ก ที่มีอารมณ์ดีหรือสุขภาพจิตดี

๓) สภาพแวดล้อม เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น สมาชิกในครอบครัวให้ความสำคัญกับการอ่าน มีการส่งเสริมการอ่านเด็กก็จะรู้คุณค่าของการอ่านและอ่านได้ดีเพราะได้พบ เห็นและมีกิจกรรมการอ่านเป็นประจำ นอกจากนี้โรงเรียนยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนอย่างสม่ำ เสมอ อันจะทำให้พัฒนาการทางด้านการอ่านดีเป็นไปตามลำดับและต่อเนื่อง
๘. การอ่านทางวิทยุโทรทัศน์และในที่ชุมชน
ทักษะการอ่าน ให้ผู้อื่นฟัง อันได้แก่ ทักษะการหายใจ ทักษะการใช้เสียงและทักษะการทรงตัว เป็นทักษะพื้นฐานให้การอ่านให้ผู้อื่นฟังโดยทั่วไป แต่ถ้าเป็นการอ่านทางวิทยุโทรทัศน์และในที่ชุมนุมชนที่เป็นทางการ ยังต้องมีทักษะอื่น ๆ อีกหลายประการ อาทิ
๑) การแต่งกาย
ผู้ทำหน้าที่อ่านทางวิทยุโทรทัศน์ มักเป็นรายการ ข่าว รายการอภิปรายสัมภาษณ์ซึ่งเป็นทางการหรือกึ่งทางการ การแต่งตัวจึงควรพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่ควรให้หรูหรามากนักเพราะมิใช่การแสดงละคร จุดสนใจของผู้ชมอยู่ที่เนื้อหาของการอ่านมิใช่ที่เสื้อผ้าของผู้อ่านสีที่ ใช้ไม่ควรลวดลายมากเพราะจะทำให้ผู้ชมตาลาย ไม่ควรใช้เนื้อผ้าที่เป็นมันระยับหรือเครื่องประดับที่แวววาวเกินไป เพราะจะสะท้อนแสงมาก การแต่งหน้าควรให้กลมกลืนกับผิวสิ่งเหล่านี้แม้ไม่เกี่ยวกับการอ่านโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเพราะมีผลต่อบุคลิกภาพของผู้อ่านด้วยการอ่านใน ที่ชุมนุมชน เช่น การอ่านสุนทรพจน์ ก็อาศัยหลักการแต่งกายเช่นเดียวกันคือ สุภาพ ไม่ฉูดฉาดบาดตาจนเกินไป
๒) กิริยาอาการ
การอ่านทางวิทยุโทรทัศน์ ผู้ชมจะสังเกตสีหน้าและกิริยาอาการของผู้อ่านได้อย่างถนัดผู้อ่านควรวางสี หน้าอย่างสบายๆ อาจยิ้มน้อย ๆ ให้ดูเป็นธรรมชาติการเคลื่อนไหวใบหน้าหรือร่างกายควรนุ่มนวล ไม่หลุกหลิก สายตาควรมองกล้องเป็นส่วนใหญ่ผู้ชมจะได้รู้สึกว่าพูดกับตน การวางมือ การนั่ง หรือการยืนควรสุภาพและผ่อยคลาย ไม่ระมัดระวังจนกลายเป็นการเกร็งตัว ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกไม่สบายตา
๓) การใช้สายตา
การอ่านทางวิทยุโทรทัศน์และในที่ชุมชน ต่างกับการอ่านทางวิทยุกระจายเสียงหรืออ่านในกลุ่มมิตรสหาย การอ่านที่ปรากฏอย่างเป็นทางการนั้น ผู้อ่านจะต้องเงยหน้าสบตาผู้ชมเป็นระยะๆ ฉะนั้น จึงต้องมีทักษะการกรวดสายตาอ่านอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษมิใช่ก้มอ่านตลอดหรือ เงยหน้าแล้วเสียจังหวะการอ่าน ไม่ว่าจะก้มหน้าหรือเงยหน้า การอ่านจะต้องราบรื่น ไม่สะดุดหรือติดขัดจนเป็นที่สังเกตได้ หากมีอุปสรรคในการอ่าน เช่น กระแอมหรือสำลัก ควรกล่าวคำขออภัยแล้วอ่านต่อไป ไม่ควรตกใจจนลืมว่าอ่านถึงที่ใด เพราะจะทำให้หยุดชะงักอีก
๙. การอ่านวินิจสาร การวิเคราะห์ข้อความ การจับใจความ และการตีความ

๑) การอ่านวินิจ หมายถึง การดูอย่างตั้งใจ เอาใจใส่อย่างถี่ถ้วน
สาร หมายถึง ใจความสำคัญของข้อความที่ผู้เขียนต้องการที่จะสื่อมายังผู้อ่าน
การวินิจฉัยสาร หมายถึง การวิเคราะห์ข้อความ การจับใจความ และการตีความ ซึ่งจะใช้วิธีการใดวิธีหนึ่งหรือสอง-สามวิธีก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อความ
๒) การวิเคราะห์ข้อความ หมายถึง การพิจารณาแยกองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏหรือมีอยู่ในงานเขียนเรื่องหนึ่ง ๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร หรือมีข้อควรสังเกตอย่างไรบ้าง
ผู้อ่านต้องแยกแยะให้ออกว่าก่อนว่า ข้อความที่อ่านนั้นผู้เขียนต้องการสื่อข้อเท็จจริงหรือสื่อความรู้สึกนึกคิด ให้ผู้อ่านทราบ
– การสื่อข้อเท็จจริง คือ การบอกให้รู้ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่าอะไร ใคร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เป็นต้น
– การสื่อความรู้สึกนึกคิด เป็นการสื่อความรู้หรือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ สิ่งที่เกิดขึ้นอาจกระทบความรู้สึกของผู้ที่พบเห็น จนทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ต่าง ๆ กันเช่น รู้สึกตระหนก รู้สึกสลดใจ บางครั้งอาจมีความคิด ซึ่งเกิดจากการใช้สติปัญญาใคร่ครวญเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นด้วย
๓) การจับใจความ หมายถึง การแยกแยะเรื่องที่อ่านให้ได้ว่า ส่วนใดเป็นใจความหรือข้อความที่สำคัญที่สุดและส่วนใดเป็นพลความหรือข้อความ ประกอบ การจับใจความจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสารที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ถูกต้อง

การเขียน
ความรู้พื้นฐานทางการเขียน
หาความรู้เร่งให้      แม่นยำ
ลืมย่อมแก้ด้วยจำ          จดไว้
จำมากนักจักทำ            ตนดุจ ห้องสมุด
การจดจึ่งต้องให้           ชอบใช้ชาญเขียนจากโครงสี่สุภาพข้าง ต้นแสดงให้ทราบถึงความสำคัญของการเขียนได้เป็นอย่างดี การเขียนจึงเป็นอีกทักษะหนึ่งทางภาษาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ การมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนก็จะทำให้เกิดความเข้าใจและลงมือ เขียนได้ง่ายขึ้น เพราะได้ทราบแนวทางการเขียนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง๑. ความหมายของการเขียน
การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจจากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึกความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จรับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น
๒. ความสำคัญของการเขียนและประโยชน์ที่ได้รับ
นอกจากมีความจำเป็นดังกล่าวแล้ว อาจกล่าวถึงความสำคัญของการเขียนโดยสรุปได้ดังนี้
๑) เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่าน
๒) เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อน
๓) เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์
๔) เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม เช่น ถ่ายทอดสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง เป็นต้น
๕) เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องมือสำหรับบันทึก สิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนาสืบไป
๖) เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์

การฟัง
การฟัง  คือ  การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน  เป็นการรับรู้สารทางหู  ในชีวิตประจำวันของเรา  เราใช้เวลานการฟัง ทั้งที่ฟังจากบุคคลโดยตรง    และฟังจากจากสื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ  เพราะข่าวสาร    ความรู้และศิลปะวิทยาการต่องๆ ที่มนุษย์ถ่ายทอดกันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง ปัจจุบัน  ยังใช้วิธีการพูดอธิบายให้ฟังแม้จะมีหนังสือบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาหลักการฟังที่ดี    การฟังที่ดีมีหลักสำคัญคือ
๑. ฟังให้ตรงตามความมุ่งหมาย  โดยทั่วไปแล้หลักการฟังมีความมุ่งหมายหลัก  ๓  ประการ
๑.๑    ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน   ได้แก่   การฟังเรื่องราวที่สนุกสนาน
๑.๒    ฟังเพื่อความรู้   ได้แก่ การฟังเรื่องราวทางวิชาการ ข่าวสารและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
๑.๓   ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ  ได้แก่  การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญา  ความสุขุมและวิจารณญาณเพื่อเชิดชูจิตใจให้สูงขึ้น ประณีตขึ
๒. ฟังโดยมีความพร้อม  ความพร้อมในที่นี้  หมายถึง  ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ  และความพร้อมทางสติปัญญา
ความพร้อมทางร่างกาย หมายถึง การมีสุขภาพทางร่างกายเป็นปกติ  ไม่เหนื่อย  ไม่อิดโรย
ความพร้อมทางจิตใจ หมายถึง การมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ๓.ฟังโดยมีสมาธิ  หมายถึง  ฟังด้วยความตั้งใจมั่น  จดจ่ออยู้กับเรื่องที่ฟัง  ไม่ปล่อยจิตใตให้เลื่อนลอยไปที่อื่น
๔. ฟังด้วยความกระตือรือร้น   ผู้ที่ฟังด้วยความกระตือรือร้นมักจะเป็นผู้ฟังที่มองเห็นประโยชน์หรือเห็นคุณค่าจึงสนใจเรื่องที่ตนจะฟัง
๕. ฟังโดยไม่อคติ   ผู้ฟังโดยไม่อคติต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน  ไม่เป็นโทษแก่ผู้อื่น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก