ขั้นตอนการฟังและการดูมีอะไรบ้าง

เรื่องที่ 1 หลักการ ความสําคัญ จุดมุ่งหมายของการฟังและดู

1. หลักการฟังและดู
           การฟังและการดูเป็นการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ จากแหล่งเสียงและภาพ ทั้งจากแหล่งจริง และผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ หนังสือเป็นต้น การฟังและการดูมีหลักการดังนี้
           1. การฟ้งและดูอย่างตั้งใจจะได้รับเนื้อหาสาระถูกต้องและครบถ้วน
           2. มีจุดมุ่งหมายในการฟังและดูเพื่อจะช่วยให้การฟังและดูมีประโยชน์และมีคุณค่า
           3. จดบันทึกใจความสําคัญ จะได้ศึกษาทบทวนได้
           4. มีพื้นฐานในเรื่องที่ฟังและดูมาก่อนจะได้ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาสาระได้เร็วขึ้น

2. ความสําคัญของการฟังและการดู
           1. เพิ่มความรู้และประสบการณ์ที่จะนําไปใช้ประโยชน์ได้
           2. เป็นการสื่อสารระหว่างกัน ให้เข้าใจและปฏิบัติตามได้
           3. เป็นการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ โดยนําความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ
มนุษยศาสตร์ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม

3. จุดมุ่งหมายของการฟังและการดู
           1. เพื่อรับความรู้และความบันเทิงจากการฟังและการดู
           2. เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน อาจจะไปอธิบายหรือสอนต่อ หรือจะนําไปประกอบ
เป็นอาชีพได้
           3. เพื่อความเพลิดเพลิน หรือเพื่อการผ่อนคลาย เช่น การฟังเพลง การดูรายการบันเทิง เป็นต้น
           4. เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จุดมุ่งหมายของแต่ละท่านอาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ได้และอาจจะมากกว่า 1จุดมุ่งหมายก็ได้

     ดาวนส์ (Downs. 2008 : 1) ได้กล่าวว่า ปกตินั้นการฟังจะเกี่ยวข้อง กับกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นความตั้งใจ (Attending) ขั้นความเข้าใจ (Understanding) ขั้นการแปลความหมาย (Interpreting) ขั้นการตอบสนอง (Responding) และขั้นการจดจำ (Remembering) โดยกระบวนการนี้จะเป็นการปฏิบัติมากกว่าการนั่งเรียนตามปกติ

     ฟลาวเวอร์ดิวและมิลเลอร์ (Flowerdew and Miller. 2005 : 24-26) ได้กล่าวถึง กระบวนการฟังว่ามี 3 แบบ ได้แก่
     1. กระบวนการฟังจากล่างขึ้นบน (Bottom-up Model) แบบแรกของการฟังที่ได้รับการพัฒนา คือ การฟังแบบจากล่างขึ้นบน (Bottom-up Model) โดยนักวิจัยได้ทำการค้นคว้า ในปี ค.ศ. 1940-1950 ซึ่งกระบวนการนี้ ผู้ฟังจะสร้างความเข้าใจโดยเริ่มจากหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของข้อความ คือ หน่วยเสียงที่เล็กที่สุดในภาษา หน่วยเสียงเหล่านี้จะถูกนำมารวมเข้าด้วยกันกับคำตามลำดับ โดยการนำหน่วยเสียงมารวมกันนั้นจะเป็นการสร้างวลี ประโยคย่อย และประโยคที่สมบูรณ์
     2. กระบวนการฟังจากบนลงล่าง (Top-down Model) กระบวนการฟังแบบนี้จะเน้นการใช้องค์ความรู้เดิมมากกว่าอาศัยการฟังจากเสียงและคำพูด โดยได้รับการพัฒนาเมื่อนักวิจัยหลายๆ คนได้พิจารณาความจริงที่ว่าเนื้อหาที่เกี่ยวกับประสบการณ์นั้นไม่สามารถระบุเสียงที่ถูกตัดออกไปในการแยกคำออกจากกัน แต่ทว่าเนื้อหานั้นสามารถระบุคำที่ถูกตัดออกตราบที่เนื้อหาได้ถูกนำเสนอด้วยบริบทแวดล้อม ตัวอย่างเช่น เมื่อนำเสนอเสียง /mæ/ เป็นไปไม่ได้ที่จะคาดเดาเสียงที่ตามมา อย่างไรก็ตาม ถ้าหากนำเสนอเสียงนี้ในบริบท เช่น “the cat sat on the /mæ/” ต่อมานั้นค่อนข้างจะง่ายสำหรับการคาดเดาว่าเสียงที่ตามมาน่าจะเป็นเสียง /t/ แสดงให้เห็นว่าผู้ฟังเชื่อเนื้อหาที่มีมาก่อน
     3. กระบวนการฟังที่มีการสื่อสารระหว่างกัน (The Interactive Model) คือ กระบวนการฟัง ที่ต้องประกอบด้วยกลวิธีการฟัง ทั้งแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up processing) ซึ่งเป็นการใช้ความรู้พื้นฐานทางภาษา (linguistics knowledge) เช่น ความรู้ไวยากรณ์ ส่วนประกอบ ของคำ ความหมาย วลี โครงสร้างประโยค การเน้นเสียง การพูดซ้ำ ฯลฯ เพื่อเข้าใจความหมาย ควบคู่กับกลวิธีการฟังแบบบนลงล่าง (Top-down processing) ซึ่งเป็นการใช้ความรู้พื้นฐาน ความรู้ทั่วไป ประสบการณ์ชีวิตหรือการใช้ความรู้เดิม (สิ่งที่เรารู้แล้วเกี่ยวกับเนื้อหา) เพื่อที่จะทำนาย/คาดการณ์ เรื่องราว ข้อมูล ให้สามารถเข้าใจเรื่องราว/เนื้อหาได้ง่ายขึ้น

     ไทยากิ (Tyagi. 2013 : 1-3) ได้กล่าวว่า กระบวนการฟังมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการได้ยิน (Hearing) ขั้นความเข้าใจ (Understanding) ขั้นการจดจำ (Remembering) ขั้นการประเมินผล (Evaluating) และขั้นการตอบสนอง (Responding)
     1. ขั้นการได้ยิน (Hearing) โดยการได้ยินเป็นทักษะเชิงรับ (Passive) ที่การตอบสนองเกิดขึ้นโดยคลื่นเสียงจะไปกระตุ้นตัวรับที่เกี่ยวกับความรู้สึกของหู ซึ่งเป็นการตอบสนองทางร่างกาย การได้ยินนั้นเป็นการรับรู้คลื่นเสียง สมองจะกลั่นกรองสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ และจะเลือกเพียงบางสิ่งที่สนใจเท่านั้น และการรับรู้สิ่งที่ได้เลือกมาแล้วนั้นเรียกว่า ความสนใจที่เป็นความต้องการอันสำคัญสำหรับการฟังเพื่อให้มีประสิทธิภาพ
     2. ขั้นความเข้าใจ (Understanding) ขั้นนี้ช่วยให้เข้าใจเครื่องหมายที่เคยเห็นและเคยได้ยิน ซึ่งต้องวิเคราะห์ความหมายของตัวกระตุ้นที่ได้รับรู้โดยตัวกระตุ้นที่เป็นสัญลักษณ์ ไม่ใช่เพียงแค่คำเท่านั้นแต่ยังเป็นเสียงและภาพด้วย สำหรับการสื่อสารระหว่างบุคคลให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้ฟังต้องเข้าใจความหมายที่ตั้งใจจะสื่อสารและบริบทที่รับจากผู้ส่งสาร
     3. ขั้นการจดจำ (Remembering) การจดจำเป็นกระบวนการฟังที่มีความสำคัญ เพราะหมายถึงว่าแต่ละบุคคลนั้นไม่ได้รับและเข้าใจข้อความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มข้อความเข้ามาสู่คลังของความคิดตัวเองได้ ซึ่งสิ่งที่จำได้นั้นจะค่อนข้างแตกต่างจากสิ่งที่เห็นหรือได้ยิน
     4. ขั้นการประเมินผล (Evaluating) มีเพียงผู้ฟังเชิงรุกเท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการฟังขั้นนี้ โดยผู้ฟังเชิงรุกจะชั่งน้ำหนักหลักฐาน เรียงลำดับข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น และกำหนดการมีหรือไม่มีอคติหรือความลำเอียงในข้อความ
     5. ขั้นการตอบสนอง (Responding) เป็นขั้นที่ต้องการให้ผู้รับสารเสร็จสิ้น กระบวนการผ่านการตอบสนองด้วยวัจนภาษาและอวัจนภาษาหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะผู้พูดไม่มีทางอื่นที่จะตรวจสอบผู้รับสารหากข้อความนั้นไม่ได้รับการตอบรับ และขั้นนี้จะมีความหมายชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะการที่ผู้ส่งสารสามารถตรวจสอบระดับของความสำเร็จในการถ่ายทอดข้อความได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก