การที่ประชากรของทวีปอเมริกาใต้มีจำนวนมากขึ้นจึงส่งผลในข้อใดมากที่สุด

เศรษฐกิจ

สหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และมีอำนาจทางเศรษฐกิจในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยต่อบุคคลคิดเป็นจำนวน 63,543.6 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2563) ในระบบเศรษฐกิจเสรีทางการตลาดนี้ ทั้งปัจเจกบุคคลและบริษัทมีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจด้วยตนเอง โดยรัฐบาลกลางจะจัดซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชน บริษัทในสหรัฐฯ จึงสามาถใช้สิทธิ์ทางด้านธุรกิจอย่างเต็มที่มากกว่ากลุ่มบริษัทที่ตั้งในประเทศคู่ค้าดังเช่นยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตัดสินใจในทางธุรกิจ การวางรกรากทางการลงทุน การปลดลูกจ้างพนักงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ มีข้อเสียเปรียบคือต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านกำแพงการค้าซึ่งกีดขวางการเข้าสู่ตลาดของคู่ต่อสู้

นับตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ เป็นผู้นำและมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจในเวทีเศรษฐกิจโลกเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เวชภัณฑ์ อวกาศ และยุทโธปกรณ์ แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังจากที่สหรัฐฯ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Recession) ระหว่างปี 2550-2552 อันเนื่องมาจากภาวะฟองสบู่แตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้มีการยุบตัวลงของสถาบันการเงินต่างๆ และบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครั้งนี้ที่ถึงแม้ว่าจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตามยังคงส่งผลกระทบระยะยาวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงานที่เรื้อรัง ปัญหาหนี้สาธารณะ ปัญหารายได้ประชาชาติที่ลดลงในกลุ่มชนชั้นล่างและกลาง และปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลของกลุ่มวัยทำงานจากการกู้ยืมเงินทางการศึกษา เป็นต้น

นโยบายทางเศรษฐกิจ

ปี 2564 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ได้ประกาศแนวทางการฟื้นฟูและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายใต้ 3 แผนงานที่สำคัญ ได้แก่

The American Rescue Plan

เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีชาวสหรัฐฯ จำนวน 4 ล้านคนต้องตกอยู่ในสภาวะการว่างงานเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ชาวสหรัฐฯ จำนวน 15 ล้านคนไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัยได้ และมีประชากรทั้งเด็กและผู้ใหญ่อีกกว่า 30 ล้านคนต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนอาหาร โดยแผนงาน American Rescue Plan จะมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประชากรชาวสหรัฐฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ

  • การให้เงินช่วยเหลือทางตรงแก่ครัวเรือนชาวสหรัฐฯ
  • การขยายระยะเวลาการให้สวัสดิการจากการว่างงาน
  • การให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
  • การให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร
  • การให้คืนเครดิตภาษีสำหรับผู้ที่มีบุตร
  • การให้ความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงดูบุตร

The American Jobs Plan

“American Jobs Plan” มีเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ การสร้างงาน และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับโลก โดยแบ่งการปฏิรูปออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  • โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
  • โครงสร้างพื้นฐานสำหรับที่พักอาศัย
  • โครงสร้างการบริการและการจ้างงานด้านการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • การส่งเสริมการลงทุนเพื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี การผลิต ธุรกิจขนาดย่อม และแรงงาน

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเดน ยังได้เสนอแผนปฏิรูปโครงสร้างภาษีควบคู่ไปกับแผนเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินตามแผนงานด้วย

The American Families Plan

“American Families Plan” มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนครอบครัวชาวอเมริกัน โดยเฉพาะครัวเรือนระดับชนชั้นกลาง ในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการปฏิรูประบบภาษี โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่

  • การสนับสนุนด้านการศึกษา อาทิ การเข้ารับการศึกษาแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โครงการทุนการศึกษา
  • การสนับสนุนครอบครัว เด็ก และเยาวชน อาทิ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก โครงการด้านอาหาร
  • การให้เครดิตภาษีและเงินช่วยเหลือ
  • การปฏิรูปโครงสร้างภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดหางบประมาณ อาทิ การเพิ่มอัตราการเรียกเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูง

ที่มา:

  • Thai Business Information Center, Royal Thai Embassy, Washington, D.C.
  • White House

 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด: สิงหาคม 2564

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

      ทวีปอเมริกาใต้มีประชากรประมาณ 387.3 ล้านคน มีความหนาแน่นประชากร 22 คนต่อตารางกิโลเมตร (พ.ศ.2551) ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ บราซิล มีประชากรประมาณ 191.5 ล้านคน ส่วนประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ ซูรินาเม มีประชากรประมาณ 500,000 คน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

    ตัวชี้วัด

            ส 5.1 ม. 3/1 ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

            ส 5.1 ม. 3/2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

     จุดประสงค์การเรียนรู้

           1.นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะเชื้อชาติในทวีปอเมริกาใต้ได้อย่างถูกต้อง                                            

           2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับการอยู่อาศัยของประชากรในทวีปอเมริกาใต้ได้อย่างมีเหตุผล

           3. นักเรียนอภิปรายความสำคัญของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงของประชากรในทวีปอเมริกาใต้ได้

           4. นักเรียนยอมรับในความหลากหลายของลักษณะประชากรในทวีปอเมริกาใต้ ได้อย่างเหมาะสม โดยปราศจากอคติ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

     1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

     2. ถาม – ตอบ

     3. ทำใบงานที่ 7 เรื่อง ลักษณะทางประชากรของทวีปอเมริกาใต้

เครื่องมือ

     1. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

     2. คำถาม

     3. ใบงานที่ 7 เรื่อง ลักษณะทางประชากรของทวีปอเมริกาใต้

เกณฑ์

     1. ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

     2. ตอบคำถามถูกต้อง

     3. ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก