เทคโนโลยีทางการเงิน มีอะไรบ้าง

        ในส่วนเทคโนโลยีทางการเงิน จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ธุรกิจต่างนิยมนํามาใช้งาน ร่วมกับกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการเงิน โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้

        เปรแกรมสําเร็จรูปทางการเงิน (Financing Software) คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ในบางครั้งอาจ รวมอยู่กับโปรแกรมระบบอื่น เช่น ระบบการตลาด หรือระบบการผลิต เป็นต้น และจําเป็นต้องใช้ ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยัง สามารถออกเอกสารและรายงานทางการเงินตามความต้องการของผู้ใช้ในส่วนนี้โดยโปรแกรมสําเร็จ ทางการเงินแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

        5.1.1 โปรแกรมสําเร็จรูปด้านจัดการทางการเงิน Turban et al. (2006, p.271) ได้ยก ตัวอย่างโปรแกรมแมส 90 (MAS 90) และแมส 200 (MAS 200) ซึ่งมีการรวมมอดุลของระบบงาน ด้านต่างๆ เข้าด้วยกันกับมอดูลด้านบัญชีและมอดูลด้านสื่อสารข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลเท่าที่ จําเป็นระหว่างมอดูล

        5.1.2 โปรแกรมสําเร็จรูปด้านงบประมาณ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุน งานด้านงบประมาณ โดยอาจจะพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดเตรียม และควบคุมงบประมาณ ในส่วนวิธีการงบประมาณจะมี 2 วิธี คือ วิธีจากบนลงล่างและวิธีจากล่าง ขึ้นบน สําหรับบางโปรแกรมสําเร็จรูปอาจยินยอมให้ผู้ใช้เลือกใช้ตัวแบบทางการเงินเพื่อเป็น การประสานงานสําหรับทั้ง 2 วิธี โดยอาจมีการสร้างงบประมาณในรูปแบบที่ซับซ้อน หรือมี ความเกี่ยวข้องกับหลายแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งยังมีการเปรียบเทียบข้อมูล ระหว่างกันอีกด้วย แนวโน้มล่าสุดของการผลิตซอฟต์แวร์ด้านงบประมาณ คือ การผลิตซอฟต์แวร์ สําหรับโรงพยาบาล ธนาคาร ผู้ขายปลีก โดยมีการผสมผสานระหว่างหน้าที่ด้านการวิเคราะห์ทาง การเงิน และการออกรายงาน

    ผลประโยชน์หลักของการใช้ซอฟต์แวร์งบประมาณ คือ ความสามารถในการลดเวลาและ ลดความพยายามเกี่ยวกับกระบวนการทางงบประมาณ มุ่งเน้นถึงการสํารวจ และวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงในองค์การ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีผลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ด้วยการประสานที่ลงตัวระหว่างแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ เพื่อให้กระบวนการวางแผนด้าน งบประมาณเป็นไปอย่างอัตโนมัติ

        5.1.3 โปรแกรมสําเร็จรูปด้านจัดการค่าใช้จ่ายเดินทางอัตโนมัติ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนา ขึ้นเพื่อนําเข้าข้อมูลและประมวลผลค่าใช้จ่ายการเดินทาง และค่าใช้จ่ายได้เพียง 20% ของค่าใช้จ่าย ดําเนินงานทั้งหมด ระบบจัดการค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ (Expense Management Automation: EMA) ส่วนใหญ่มักจะเป็นระบบประยุกต์ บนเว็บ ซึ่งใช้แทนที่แบบฟอร์มกระดาษและตารางทําการต่างๆ ระบบเหล่านี้จะนําไปสู่การเก็บรวบรวมสารสนเทศด้านค่าใช้จ่ายที่รวดเร็ว โดยจัดระบบควบคุมให้ เป็นไปตามนโยบายของบริษัทและช่วยวางแผนการซื้อตั๋วเครื่องบินและการจองที่พัก โดยผู้เดินทาง จําเป็นต้องมีโครงสร้างการเดินทางก่อนเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท รวมทั้งของบุคลากรอันเนื่องมา จากความสามารถในการเบิกจ่ายที่รวดเร็ว

5.2 ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ (E-commerce)

        ปัจจุบันธุรกิจมีการนําระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ มาใช้เพื่อสนับสนุนงานด้าน การจัดการทางการเงิน เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการเงินให้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง Tuban et al. (2006, p.272) ได้ยกตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ ดังนี้

        5.2.1 ระบบแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง (Global Stock Exchange) โดยปกติของตลาด การเงินทั่วโลกจะมีความเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการกระจายด้าน การแลกเปลี่ยนหุ้น ทั้งในส่วนการประมวลผลธุรกรรมการซื้อขายหุ้น ตลอดจนการประมวลผลด้าน การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น

        5.2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ (Handling Multiple Currencies) ในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศระดับโลก จะส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศทางการเงิน เนื่องจาก มูลค่าที่เป็นตัวเงินของหลายๆ สกุลเงินตราต่างประเทศที่ธุรกิจถือครองไว้ จะเปลี่ยนไปทุกๆ นาที และมีการเปลี่ยนแปลงราคาของสกุลเงินดังกล่าวบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้อัตราเปรียบเทียบเป็น สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ ดังนั้น รายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศจะต้อง จัดทําขึ้นบ่อยครั้งเท่าที่ผู้ใช้ต้องการ

        5.2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bond) ปัจจุบันธนาคารโลกได้ใช้ระบบ หุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนงานด้านการตลาดและการจัดการจําหน่ายหุ้นกู้บนอินเทอร์เน็ต มาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2003 ซึ่งอาจจะรวมมอดูลของระบบประยุกต์ด้านการค้าสกุลเงินตราต่างประเทศด้วยก็ได้

        5.2.4 ระบบนําเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Re-presentment of Cheques) มักพบว่ามีหลายบริษัทที่ประสบปัญหาด้านเช็คที่ไม่ดีหรือมีเงินไม่พอจ่าย โดยอาจ จะไม่สามารถเคลียร์เงินให้ผู้ถูกสั่งจ่ายได้ ระบบนําเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์มักเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบสารสนเทศด้านการจัดการเงินสดอัตโนมัติ ซึ่งมีมอดูลของการรวบรวมเช็คต่างธนาคารเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังมีมอดูลของการวิเคราะห์เหตุของการคืนกลับของเช็คได้อีกด้วย |

        5.2.5 ระบบนําเสนอใบเรียกเก็บเงิน และการจ่ายชําระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bill Presentment and Paygments) นับเป็นระบบย่อย ซึ่งถือเป็นความสําเร็จของ อีคอมเมิร์ซ โดยมีระบบสนับสนุนด้านบริการจ่ายชําระค่าซื้อจากธุรกิจอื่นอย่างง่าย และระบบ ยังสามารถคํานวณ พิมพ์ นําเสนอบิลค่าซื้อต่อผู้ใช้บริการได้

นอกจากนี้ ยังมีการรวมตัวของระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงินกับระบบประยุกต์ ทางด้านอีคอมเมิร์ซ เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการค้าระหว่างประเทศ ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น อีกด้วย

5.3 เทคโนโลยีด้านการชําระหนี้

        ปัจจุบันธุรกิจมีการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารเงินสด เพื่อให้เกิด สภาพคล่องในการชําระหนี้ ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากดอกเบี้ยหรือต้นทุนเงินทุน และยังมีการนําเงิน ส่วนที่เหลือมาลงทุนด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้นธุรกิจจําเป็นต้องเลือกใช้ เครื่องมือด้านการรับชําระหนี้เพื่อจัดเตรียมเงินสดรับเข้าสู่กิจการ ในเวลาอันรวดเร็วและทันต่อ เหตุการณ์ซึ่งเทคโนโลยีธุรกิจนิยมนํามาใช้เป็นเครื่องมือรับชําระหนี้มีดังนี้

        5.3.1 บัตรเครดิต (Credit Card) คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสําหรับ ช้าระหนี้ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ใช้จะต้องจัดทําบัตรเครดิตกับองค์การ หรือสถาบันทางการเงิน ภายในวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและสามารถนําบัตรเครดิตไปชําระหนี้แทนเงินสดได้ หากร้านค้ามี การติดตั้งระบบรูดบัตรเครดิตและยินยอมให้ใช้บัตรเครดิตชําระหนี้แทนเงินสด โดยร้านค้าจะต้อง ตรวจสอบการใช้เงินว่างเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ด้วย การใช้บัตรเครดิตนี้เป็นผลดีต่อร้านค้าในกรณี ที่สามารถลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชําระหนี้และสามารถเร่งกระบวนการเก็บเงินให้เร็วขึ้นได้ แต่ ร้านค้าจะต้องยินยอมชําระค่าบริการรูดบัตรเครดิตต่อองค์การหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตร

        5.3.2 บัตรเดบิต (Debit Card) คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งระบบ จะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น โดยไม่จําเป็นต้อง ตรวจสอบวงเงินสินเชื่อ เพียงแต่ระบบจะต้องตรวจสอบยอดเงินคงเหลือของบัญชีเงินฝากของ บัตรเดบิตนั้นๆ ว่าเพียงพอกับการชําระค่าซื้อหรือไม่ ซึ่งการใช้บัตรเดบิตจะเป็นหนทางที่ช่วยลด ความเสี่ยงของการรับชําระหนี้ได้เป็นอย่างดี        

        5.3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Lockbox) คือ บริการของธนาคาร ประเภทหนึ่งที่เริ่มจากให้ผู้ขายเช่าตู้ไปรษณีย์ อีกทั้งมอบอํานาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้เปิดตู้ไปรษณีย์ และนําเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย หากผู้ซื้อส่งเช็คสั่งจ่ายค่าซื้อสินค้าไปที่ตู้ไปรษณีย์ของผู้ขายพร้อม เอกสารที่เรียกว่าอาร์เอ (RA) ธนาคารจะมีหน้าที่เปิดไปรษณีย์และนําเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย หลังจากนั้นธนาคารกวาดตรวจ (Scan) เช็คและเอกสารอาร์เอ พร้อมทั้งส่งอีเมลให้ผู้ขายเพื่อแจ้งให้ ผู้ขายรับทราบการรับชําระหนี้ของลูกค้า และการโอนเงินของธนาคาร ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถใช้เพื่อลด ความเสี่ยงจากการรับชําระหนี้และลดระยะเวลาเรียกเก็บเงินได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ผู้ขายควรเลือกเช่า ตู้ไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้แหล่งที่อยู่ของลูกค้ามากที่สุด นอกจากนี้ ยังสามารถลดภาระงานของพนักงานขาย และพนักงานเก็บเงินได้เป็นอย่างดี มีระบบการตรวจสอบที่ดี และลดการสูญหายของเอกสารน้อยลงได้

        5.3.4 เช็คที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า (Preauthorized Cheque: PAC) เป็นระบบที่อาจ นํามาใช้แทนที่ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียบเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้น เนื่องจาก สามารถแปลงสภาพเช็คเป็นเงินสดได้ในทันทีที่เช็คครบกําหนดจ่ายเงิน และไม่จําเป็นต้องมี การลงนามผู้สั่งจ่ายเงินเหมือนเช็คทั่วไป การอนุญาตถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของผู้สั่งจ่าย เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มักใช้ในกรณีที่บริษัทได้รับชําระหนี้เงินผ่อนเป็นจํานวนเงินที่ เท่ากันในแต่ละงวดจากลูกค้ารายเดียวกัน เป็นการลดระยะเวลาการส่งเช็คทางไปรษณีย์และลด ขั้นตอนการดําเนินการเรียกเก็บเงินตามเช็ค

        5.3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cheque) จะมีวิธีการที่คล้ายคลึงกับเช็คสั่งจ่าย ปกติที่ทําด้วยกระดาษ แต่จะอยู่ในรูปแบบของสืออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งมีการใช้ระบบลายเซ็นเช็คดิจิทัล(Digital Signature) และทุกครั้งที่มีการรับส่งเช็ดอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย จะต้องมี การเข้ารหัสลับ (Cryptography) และสามารถสืบหาผู้สังโอนเงินหรือตัดบัญชีได้

        5.3.6 จนสติอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash) เป็นอีกบริการหนึ่งของธนาคารหรือ สถาบันการเงินที่จะทําการใส่วงเงินเข้าสู่กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) ของลูกค้า เมื่อใด ที่มีการใช้เงินจะตัดเงินออกจากกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์นี้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ไม่สามารถ สืบหาผู้สังโอนเงินหรือตัดบัญชีได้

        5.3.7 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer: EFT) นับเป็นวิธีเห้ บริการโอนเงินแบบดั้งเดิมของธนาคารผ่านสํานักหักบัญชีอัตโนมัติ (Automated Clearing House: ACH) หรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร โดยธนาคารของผู้ซื้อจะทําการโอนเงินเข้าสู่บัญชี ผู้ขายผ่านธนาคารของผู้ขายอัตโนมัติ เครื่องมือที่ใช้สั่งโอนเงินอาจจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ปกติหรือ เครื่องโทรศัพท์แบบแตะปุ่ม (Touch Tone Telephone) ก็ได้ ผลดีของการโอนเงินไปในรูปแบบนี้ คือ ธุรกิจสามารถปรับปรุงการพยากรณ์ทางการเงินและจัดการเงินสดที่ดีขึ้นได้

    5.3.8 ระบบธนาคารศูนย์กลาง (Concentration Banking) มักใช้สําหรับธุรกิจที่มี สํานักงานขายกระจายอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ และยังมีการจัดตั้งสํานักงานที่เป็นศูนย์เก็บเงินประจํา ภูมิภาคเพื่อรับชําระจากลูกค้าในพื้นที่ใกล้เคียง และสามารถนําเช็คไปขึ้นเงินกับสาขาของธนาคารใน ท้องถิ่นนั้นๆ หลังจากนั้นจึงมีการโอนเงินที่เรียกเก็บตามเช็คจากธนาคารท้องถิ่นสู่ธนาคารศูนย์กลาง ซึ่งเป็นธนาคารเดียวกันเข้าบัญชีผู้ขายรวดเร็ว

        ข้อสังเกตของการโอนเงินโดยเช็คจากธนาคารท้องถิ่น สู่ธนาคารศูนย์กลางคือเช็คที่โอน นั้นจะไม่มีการลงลายมือชื่อและไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ การถอนเงินจากบัญชีจะทําได้โดยบริษัทอื่น คําร้องเพื่อสั่งให้ธนาคารโอนเงินโดยเช็คที่ไม่มีการลงลายมือชื่อ ส่วนข้อดีของระบบนี้ ก็คือ สามารถ ลดระยะเวลาการจัดเก็บเงินจากลูกค้าได้ ทําให้มีกระแสเงินสดเข้าสู่ธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น แต่มีข้อจํากัด คือ ลูกค้าจะต้องจ่ายเช็คธนาคารตามที่บริษัทกําหนดให้เท่านั้น และจําเป็นต้องใช้เช็คธนาคารเดียวกัน กับธนาคารศูนย์กลางเท่านั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก