รูปแบบภัยคุกคามต่อระบบรักษาความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ มีกี่รูปแบบ

04 Sep

7 รูปแบบทั่วไปของการโจมตี Cybersecurity

7 รูปแบบทั่วไปของการโจมตี Cybersecurity

Highlight

– หากคุณได้เคยศึกษาเรื่องราวของภัยคุกคามในโลกไซเบอร์จะพบว่า “มีการโจมตีมากมายหลายรูปแบบ แตกไม่มีรูปแบบไหนเลยที่เหมือนกัน” แต่ละประเภทของภัยคุกคามจะมีลักษณะการโจมตีเป็นของตัวเองถึงแม้อาจจะมีความคล้ายคลึงกันบ้างก็ตาม

– ในทำนองเดียวกันหากผู้ไม่หวังที่ต้องการจะคุกคามข้อมูลขององค์กรและสร้างความเสียหายให้กับองค์กรของคุณ พวกเขาจะเตรียมข้อมูลและพัฒนารูปแบบอาวุธให้มีประสิทธิภาพที่มากพอในการคุกคาม

– ซึ่งหากคุณจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภัยคุกคาม” เหล่านี้มากเพียงใด ก็อาจจะไม่มากพอ เพราะสิ่งเหล่านี้จะพยายามหาช่องโหว่ที่จะโจมตีอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตามนี่คือ 7 รูปแบบการโจมตีที่พบมากในปัจจุบัน

1. Malware
2. Phishing
3. SQL Injection Attack
4. Cross-Site Scripting (XSS)
5. Denial of Service (DoS)
6. Session Hijacking and Man-in-the-Middle Attacks
7. Credential Reuse

Malware

ภัยคุกคามรุ่นบุกเบิก Malware หากคุณเคยเห็นการแจ้งเตือนไวรัสที่มักปรากฏขึ้นเป็นหน้าจอของคุณ หรือในโปรแกรม Anti-Virus ขั้นพื้นฐานเมื่อเกิดความผิดปกติ หรือมีไวรัสปลอมแปลงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งมักแฝงตัวมากับไฟล์ที่ดาวน์โหลด อีเมล์ หรือแม้แต่การเชื่อมต่อของอุปกรณ์เสริมต่างๆ

“มัลแวร์” หมายถึงการรูปแบบหนึ่งของซอฟต์แวร์ ที่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ได้รับ เช่น ไวรัส และ ransomware หากมีมัลแวร์อยู่ในคอมพิวเตอร์แล้วก็จะสามารถสร้างความเสียหายได้มากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการทำลายข้อมูล หรือแม้แต่การเข้าควบคุมระบบของคุณ ตัวอย่างที่ระบาดหนักก็คือ WannaCry ที่สร้างความเสียหายให้กับองค์กรทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน รัสเซีย สเปน อิตาลี และไต้หวัน โดยมีการเปิดเผยข้อมูลจากบริษัท Avast ซึ่งเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รายงานว่า พบกรณีการโจมตีด้วยมัลแวร์นี้ถึง 75,000 ครั้งทั่วโลกเลยทีเดียว

โดยวิธีพื้นฐานที่ “มัลแวร์” จะทำงานก็คือการแฝงตัวเข้ามาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ดำเนินการเพื่อติดตั้งมัลแวร์ และ “วิธีที่นิยมมากที่สุดก็คือการแฝงระบบติดตั้งเข้ามาในลิงก์เพื่อดาวน์โหลดไฟล์หรือเปิดไฟล์แนบ (เช่นไฟล์เอกสาร Word หรือไฟล์ PDF)”

Phishing

แน่นอนว่า “ภัยคุกคาม” จะไม่มีวันเกิดขึ้นกับคุณแน่นอนหากไม่เปิดไฟล์หรือข้อมูลที่เป็นความเสี่ยงทั้งหลาย ! ซึ่งเหล่าอาชญากรไซเบอร์ก็เข้าใจประเด็นนี้เป็นอย่างดี จึงต้องมีระบบการ “Phishing” เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเปิดไฟล์(ที่มีมัลแวร์อันตรายแนบไว้) และเมื่อเหยื่อหลงเชื่อและทำงานเปิดไฟล์เหล่านั้น “มัลแวร์” ก็จะถูกติดตั้งและพร้อมโจมตีคอมพิวเตอร์ของคุณได้ทันที

ในรูปแบบการโจมตีนี้ “ผู้โจมตีอาจจะแสร้งส่งอีเมล์จากบุคคลที่สามารถไว้วางใจและสั่งการได้ เช่น ผู้บริหาร หรือองค์ที่น่าเชื่อถือของภาครัฐ” พร้อมแนบไฟล์ที่แฝงด้วยมัลแวร์ (ตัวอย่างเช่น รายละเอียดในอีเมล์จะทำงานแจ้งคุณว่า “มีการตรวจพบการฉ้อโกงในบัญชีของคุณ แนะนำให้คุณกรอกข้อมูลหรือเปิดไฟล์นี้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ”) ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกับดัก เพื่อหลอกล่อให้คุณคลิกติดตั้งมัลแวร์นั่นเอง

SQL Injection Attack

SQL หมายถึงภาษาที่มีโครงสร้างที่เขียนด้วยภาษาของโปรแกรมที่ใช้สื่อสารกับฐานข้อมูลภายในเซิร์ฟเวอร์ และระบบ SQL นี้ถูกใช้เพื่อจัดการฐานข้อมูลของตนเอง ทำให้เมื่ออาชญาการไซเบอร์เปิดการโจมตีไปที่ SQL ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบเซิร์ฟเวอร์โดยตรง

และการโจมตีในลักษณะนี้จะเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับองค์กรได้มากมาย เนื่องจากภายในเซิร์ฟเวอร์ของแต่ละองค์กรมักจะรวบรวม “ข้อมูลของลูกค้า” “ข้อมูลส่วนบุคคล” “หมายเลขบัตรเครดิตและระบบการเงิน” อีกทั้งการโจมตีในลักษณะนี้จะสามารถเปิดช่องโหว่บนเซิร์ฟเวอร์ SQL ซึ่งสามารถสร้างปัญหาได้ในระยะยาวเลยทีเดียวหากไม่มีการแก้ไขที่ทันท่วงที

Cross-Site Scripting (XSS)

การโจมตีในลักษณะ SQL ผู้โจมตีจะทำการโจมตีผ่านเว็บไซด์และเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ เพื่อคุกคามฐานข้อมูลสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลด้านการเงิน แต่ถ้าผู้โจมตีมีจุดมุ่งหมายใน “การโจมตีคนที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซด์” พวกเขาจะเลือกใช้การโจมตีแบบ XSS ซึ่งทำงานผ่านการเขียนสคริปต์ข้ามไซด์ โดยจะทำงานคล้ายคลึงกับการโจมตีแบบ SQL แต่จะแตกต่างกันที่ XSS จะไม่สร้างความเสียหายให้กับเว็บไซด์ที่เผยแพร่ข้อมูล

“สรุปได้ว่า เป้าหมายการโจมตีแบบ XSS จะโจมตีไปที่ผู้ใช้งานเว็บไซด์เท่านั้น ส่วนการโจมตีแบบ SQL จะเป็นการโจมตีที่ตัวเว็บไซด์และเซิร์ฟเวอร์”

วิธีที่เหล่าผู้โจมตีเลือกใช้กันบ่อยที่สุดก็คือ “การใส่โค้ดที่เป็นอันตรายลงในช่องที่ผู้ใช้งานเว็บไซด์จะต้องเปิด หรือการฝังลิงค์ไปยัง JavaScript ภายในเว็บไซด์” ถึงแม้ว่าการโจมตีแบบ XSS จะไม่สร้างความเสียหายให้กับเว็บไซด์ แต่อย่างไรก็ตาม XSS จะสร้างความเสียหายให้กับ “ชื่อเสียงของเว็บไซด์เป็นอย่างมากเลยทีเดียว”

Denial of Service (DoS)

ลองจินตนาการว่า “ถนนหนึ่งเส้นที่ออกแบบขนาดมาให้เพียงพอต่อจำนวนรถที่วิ่งในทุกวัน แต่ถ้าวันหนึ่งจำนวนรถมากขึ้นกะทันหันย่อมสร้างปัญหาจราจรติดขัดให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน” ในทางเดียวกันหากเว็บไซด์ของคุณที่เคยรองรับจำนวนผู้ใช้งานได้ในจำนวนปกติ หากมีการเข้าใช้งานเยอะจนเกินไปก็จะทำให้เซิร์ฟเวอร์ของคุณเสียหายได้

“การโจมตีในลักษณะนี้คือการโจมตีแบบ DoS (Denial of Service) นั่นเอง” บ่อยครั้งที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แต่ก็มักมีเหตุผลที่อ้างกันว่ามีผู้เข้าใช้บริการเว็บจนเยอะเกินไป แต่ในบางครั้งอาจจะเป็นอันตรายจากการคุกคามของ Dos ก็เป็นได้ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเซิร์ฟเวอร์

การโจมตีแบบ Dos หากเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์หลายๆส่วนพร้อมกันจะถูกเรียกว่า DDoS หรือ Distributed Denial of Service Attack ซึ่งการโจมตีในลักษณะอาจจะแก้ปัญหาได้ยากมากเลยทีเดียว เนื่องจากผู้โจมตีมี IP ที่หลากหลายจากทั่วโลกในการเข้ามาสร้างความหนาแน่นของ Traffic บนเซิร์ฟเวอร์

Session Hijacking and Man-in-the-Middle Attacks

ทุกครั้งที่คุณใช้งานอินเตอร์เน็ต ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณจะทำการแจ้งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อยืนยันว่าคุณคือใคร และต้องการขอเข้าเว็บไซด์หรือธุรกรรมใดๆบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งในขณะเดียวกัน กระบวนการนี้หรือเซสชันนี้จะทำการเรียกดูข้อความของคอมพิวเตอร์ของคุณไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย IP และรหัสผ่าน

ซึ่งในกระบวนการนี้เซสชันระหว่างคอมพิวเตอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลจะได้รับรหัสเซสชันที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อการรักษาข้อมูลส่วนตัวเอวไว้ อย่างไรก็ตามในระหว่างกระบวนนี้ผู้บุกรุกจะสามารถโจมตีเซสชันได้ด้วยการจับรหัสเซสชัน และวางตัวเองคอมพิวเตอร์เครื่องที่ร้องขอการใช้งานเสียเอง ซึ่งแน่นอนว่าการโจมตีในลักษณะนี้จะสามารถดักจับและสกัดข้อมูลได้อย่างทั้งสองทิศทางเลยทีเดียว

Credential Reuse

ในทุกวันนี้การเข้าใช้ระบบต่างๆ จะมีการตั้งการเข้าสู่ระบบและรหัสผ่าน ซึ่งจะช่วยสร้างความภัยได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามการรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดในระดับสากลก็คือ “คุณจะต้องมีรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแอปพลิเคชันเว็บไซต์ และการเข้าระบบทั้งหมดของคุณ”

ซึ่งหากคุณตั้งค่ารหัสผ่านไว้ในแบบเดียวกัน หากคุณโดนขโมยข้อมูลไปเพียงส่วนหนึ่ง ความเสียหายจะครอบคลุมไปได้ในหลายๆส่วนเลยทีเดียว บัญชีหลายๆบัญชีก็จะสามารถถูกแฮ็กเข้าได้อย่างง่ายดาย

Reference : //www.rapid7.com/fundamentals/types-of-attacks/

รูปแบบทางภัยคุกคามคอมพิวเตอร์มีกี่แบบ

โดยจำแนกภัยคุกคามทางระบบคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. ภัยคุกคามทางระบบฮาร์ดแวร์(Hardware Security Threats) คือ ภัยที่มีต่อระบบการจ่ายไฟฟ้า ภัยที่เกิดจากการทำลายทางกายภาพโดยตรงต่อระบบคอมพิวเตอร์นั้นๆ และภัยจากการลักขโมย โดยตรง

รูปแบบการป้องกันภัยคุกคาม มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง

รูปแบบการป้องกันภัยคุกคาม.
ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้รู้ เช่น ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน.
ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้มี เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด.
ตรวจสอบจากสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้ เช่น การสแกนนิ้วมือ ใบหน้า เสียง เป็นต้น.

ภัย คุกคาม คือ อะไร มี อะไร บ้าง

การคุกคาม.
1.1 อิเล็กทรอนิกส์.
1.2 โลกออนไลน์.
1.3 ตำรวจ.
1.4 เชื้อชาติ.
1.5 ศาสนา.
1.6 เพศ.

รูปแบบการป้องกันภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

1.ตั้งรหัสผ่าน (Password) ที่คาดเดาได้ยาก และหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ 2.ดูแลช่องทางที่ใช้ในการเปลี่ยน (Reset) รหัสผ่านให้มีความมั่นคงปลอดภัย เช่น อีเมลสำรองสำหรับกู้คืนบัญชี 3.หมั่นตรวจสอบประวัติการใช้งานที่น่าสงสัย รวมถึงช่องทางในการยืนยันตัวตนอย่างสม่ำเสมอ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก