แหล่งพลังงานที่ใช้ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด พลังงานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานชนิดใด อาคารพาณิชย์ และบ้านที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ใช้พลังงานรูปแบบใด ข้อใดไม่ใช่พลังงานทดแทน พลังงานใดที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศไทย มากที่สุด ประเทศไทยใช้เชื้อเพลิงใดมากที่สุด พลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทย มาจากอะไร พลังงานทดแทนหมายถึงอะไร ประเทศไทยมีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสาเหตุใด

ปัจจุบันประเทศไทยใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใดเป็นหลัก

ประเภทของพลังงาน

09 ส.ค. 2564 ข้อมูลน่ารู้

พลังงานคืออะไร?

พลังงาน (Energy) คือ แรงงานที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหวหรือทำงานในทางใดทางหนึ่ง โดยพลังงานสามารถเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ ตัวอย่างพลังงานที่รู้จักกันดี คือ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานลม พลังงานความร้อน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว พลังงานจะมีหน่วยวัดเป็นจูล (Joules) โดยเราสามารถแบ่งประเภทพลังงานตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ

  • พลังงานต้นกำเนิด (Primary Energy) เป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงแดด น้ำ ลม หรือเชื้อเพลิงธรรมชาติ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น
  • พลังงานแปรรูป (Secondary Energy) เป็นพลังงานต้นกำเนิดที่ผ่านการแปรรูปและปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ เช่น พลังงานไฟฟ้า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น

รูปแบบของพลังงาน

พลังงานมีหลายรูปแบบ โดยรูปแบบของพลังงานที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • พลังงานเคมี (Chemical Energy)

    เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในรูปแบบอะตอมและโมเลกุลของสารเคมี ที่จะสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานรูปแบบอื่นเมื่อเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เช่น การเผาถ่านไม้ ฟืน หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง เป็นต้น
  • พลังงานความร้อน (Heat Energy/Thermal Energy)

    เป็นพลังงานที่ได้จากทั้งแหล่งธรรมชาติและการกระตุ้นด้วยวิธีต่าง ๆ จนส่งผลให้เกิดการสั่นหรือเคลื่อนไหวของโมเลกุลภายในวัตถุ จนเกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในตัววัตถุนั้น ๆ เช่น พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ พลังงานในเปลวไฟ การใช้เตาแก๊สต้มน้ำจนเกิดเป็นพลังงานความร้อน เป็นต้น
  • พลังงานกล (Kinetic Energy)

    เป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง เป็นต้น
  • พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy)

    เป็นการแผ่รังสีหรือถ่ายเทรังสีของพลังงาน เช่น คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  • พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)

    เป็นพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์เมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอมหรือจากสลายของสารกัมมันตรังสี
  • พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy)

    เป็นพลังงานที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน โดยพลังงานไฟฟ้าจะเป็นพลังงานที่มีการเปลี่ยนรูปมาจากพลังงานอื่น และสามารถเปลี่ยนให้อยู่ในรูปพลังงานอื่นได้ง่ายเช่นกัน เช่น การหมุนของพัดลมที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เป็นต้น

ประเภทของพลังงาน

  • พลังงานใช้แล้วหมดไป

    พลังงานใช้แล้วหมดไป หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นเชื้อเพลิงประเภทหนึ่งที่มีมาตั้งแต่บรรพกาล เกิดจากการเน่าเปื่อยทับถมของซากพืช ซากสัตว์ในชั้นใต้ดินหรือใต้ท้องทะเลเป็นเวลานับล้านปี โดยเป็นพลังงานที่สามารถใช้แล้วหมดไปได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและชั้นบรรยากาศของโลกโดยตรงจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พลังงานใช้แล้วหมดไป ได้แก่

    • ถ่านหิน (Coal)

      ถ่านหิน คือ แหล่งพลังงานที่เกิดจากการทับถมของซากพืชในพื้นที่ชื้นแฉะเป็นเวลาราว 300 – 360 ล้านปี โดยมีความร้อนและแรงดันที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลกเป็นตัวเร่งให้เกิดกระบวนการย่อยสลายจนเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ่านหินแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พีต ลิกไนต์ ซับบิทูมินัส บิทูมินัส และแอนทราไซต์ โดยถือเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในการผลิตพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้า
    • น้ำมันดิบ (Crude Oil)

      น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่อยู่ในรูปของของเหลว สีสันหลากหลาย มีส่วนประกอบคือคาร์บอนและไฮโดรเจน โดยมีอัตราความหนืดข้นแตกต่างกันตามองค์ประกอบทางเคมี น้ำมันดิบไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง จะต้องนำไปผ่านกระบวนการกลั่นและกระบวนการผลิตแยกส่วนก่อน
    • ปิโตรเลียม (Petroleum Product)

      ปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นและแยกส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลและน้ำมันดิบจนได้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้หลากหลาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันเตา เป็นต้น
    • ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)

      ก๊าซธรรมชาติเป็นเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตใต้พื้นดิน เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สำคัญเป็นลำดับต้น ๆ และถือเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและปลอดภัย
  • พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน

    พลังงานหมุนเวียน หรือ พลังงานสะอาด คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป เนื่องจากสามารถหาทดแทนหรือผลิตขึ้นได้ใหม่อย่างไม่จำกัด ทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต แปรรูป นำไปใช้ จนถึงการจัดการของเสียที่เหลือจากกระบวนการต่าง ๆ นั้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนพลังงานใช้แล้วหมดไป พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่

    • พลังงานน้ำ (Water Energy)

      พลังงานน้ำ คือ พลังงานที่สร้างขึ้นจากพลังงานการเคลื่อนที่ของน้ำ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การผลิตพลังงานน้ำสามารถทำได้โดยการกักเก็บน้ำไว้ด้วยเขื่อนหรือฝายปิดลำน้ำเพื่อสะสมกำลังในการสร้างพลังงานศักย์ จากนั้นจึงผันน้ำเข้าท่อไปยังเครื่องกังหันน้ำเพื่อขับเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ
    • พลังงานลม (Wind Energy)

      พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากความกดดันของบรรยากาศ ความแตกต่างของอุณหภูมิ และแรงที่เกิดจากการหมุนของโลก โดยมีกังหันลมเป็นตัวกลางที่จะช่วยเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานอื่น ๆ พลังงานลมถือเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
    • พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)

      พลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยพลังงาน 2 ส่วน คือ พลังงานความร้อนและพลังงานแสงที่ได้จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ในการทำหน้าที่เก็บแสงจากดวงอาทิตย์และกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อรอแปรสภาพเป็นพลังงาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อน
    • พลังงานชีวภาพและพลังงานชีวมวล (Biogas Energy/Biomass Energy)

      พลังงานชีวภาพ คือ พลังงานที่ผลิตขึ้นจากการย่อยสลายวัตถุชีวภาพ (เช่น ซากพืช มูลสัตว์ ฯลฯ) ในสภาพแวดล้อมไร้ออกซิเจนจนเกิดเป็นก๊าซชีวภาพ (biogas) ซึ่งสามารถนำไปผลิตไฟฟ้าได้ ส่วนพลังงานชีวมวล คือพลังงานความร้อนที่ได้จากการแปรรูปวัตถุชีวภาพ ซึ่งวิธีที่พบได้แพร่หลายที่สุดคือ การเผาเชื้อเพลิงชีวมวล (biofuel) เพื่อแปรรูปเป็นพลังงานที่สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้
    • พลังงานขยะ (Waste Energy)

      พลังงานขยะเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงขยะชุมชนที่มีความสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงได้ (Refuse Derived Fuel หรือ RDF) นำมาแปรรูปให้เป็นพลังงานไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูงแห่งหนึ่ง โดยจะจัดการให้อยู่ภายในมาตรการควบคุมมลพิษอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    • พลังงานใต้พิภพ (Geothermal Energy)

      พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานที่ได้จากพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ดินหรือบริเวณแกนกลางของโลกที่มีอยู่ตั้งแต่โลกกำเนิดขึ้น เป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน ทั้งการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนและการผลิตกระแสไฟฟ้า

    ความสำคัญของพลังงานทดแทน

    • ด้านอุปโภคและสาธารณูปโภค

      ใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อการอุปโภคและสาธารณูปโภคแทนแหล่งพลังงานเดิม เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ประโยชน์ภายในครัวเรือนหรือชุมชน
    • ด้านเศรษฐกิจ

      ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต่างประเทศ เนื่องจากประชาชนหันมาใช้ผลผลิตจากแหล่งธรรมชาติที่ผลิตได้เองภายในประเทศ
    • ด้านการเกษตร

      ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้นด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่านอกจากการบริโภค อีกทั้งยังช่วยลดของเสียจากการผลิตพืชอาหารเพื่อนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทน อันจะช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน
    • ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม

      การใช้พลังงานทดแทนจะช่วยลดผลกระทบ มลภาวะ และมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกระบวนการแปรรูปเชื้อเพลิงฟอสซิล การเลือกใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนจึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

แหล่งพลังงานที่ใช้ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

ร้อยละ 90 ของพลังงานที่ใช้ในเมืองไทยผลิตในรูปแบบดั้งเดิม จากรูปแบบของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และถ่านหิน โดยส่วนที่เหลือเป็นพลังงานจากพลังงานทางเลือก อาทิ มวลชีวภาพ แก๊สชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

ปัจจุบันไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 42,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 28,129 เมกะวัตต์ ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ อีกประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ผลิตจากถ่านหิน ที่เหลือเป็นไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อน พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล แสงอาทิตย์ ลม และรับซื้อจากต่างประเทศ ได้แก่ ลาวและมาเลเซีย อีก 10 เปอร์เซ็นต์

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

สาขาเศรษฐกิจที่ใช้พลังงานมากที่สุด คือ สาขาขนส่ง โดยกว่า 60% ของผลิตภัณฑ์น้ำมันถูกใช้ไปในสาขาการขนส่ง และสัดส่วนนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด กว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ในการขนส่งอยู่ในรูปของน้ำมันดีเซล ส่วนน้ำมันเบนซินมีความสำคัญรองลงมา และมีการใช้มากเป็น 25% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด

พลังงานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานชนิดใด

พลังงานส่วนใหญ่ที่เราใช้ในปัจจุบันมาจากน้ำมันและถ่านหิน และมาจากก๊าซธรรมชาติมากขึ้น ไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ให้พลังงาน ความร้อน และความเย็นกับครัวเรือนและสถานที่ทำงาน รวมถึงเป็นเชื้อเพลิงของระบบการขนส่งที่พาเราไปทำงานหรือโรงเรียนหรือพาเราไปยังจุดหมายปลายทางในวันหยุดพักผ่อน พลังงานเหล่านี้ช่วยให้อุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อการ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก