การจัดองค์ประกอบของงานกราฟิกมีอะไรบ้าง

การจัดองค์ประกอบงานแบบสมดุล (Balance) เป็นเทคนิคพื้นฐานที่นักออกแบบควรค่าแก่การศึกษา เพราะว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะในการจัดองค์ประกอบมากนัก ทำสามารถผลิตชิ้นงานที่สวยงามมีคุณภาพแถมยังใช้เวลาไม่นานอีกด้วย

วันนี้ผมจะมาแนะนำเทคนิคการจัดองค์ประกอบแบบสมดุล (Balance) ว่าสามารถทำแบบไหนได้บ้างเพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานของตัวเองกันได้อย่างง่ายมากๆ

เนื่องจากวันนี้เราจะมาสอนทำคอนเท้นท์สำหรับใช้งานบนสื่อ Social media ฉะนั้นสิ่งที่ต้องการสำหรับการทำคอนเท้นท์หนึ่งชิ้นคือ

  • รูปภาพสำหรับใช้เป็นพื้นหลัง
  • ข้อความ
  • โลโก้บริษัท สินค้า

ตามตัวอย่างภาพที่สมดุลคือภาพที่มีพิ้นฐานว่างหรือจุดเด่นเท่ากัน ตามตัวอย่างจะเรียกว่าสมดุลกึ่งกลางคือทุกส่วนของภาพที่พื้นที่ว่างที่เท่ากันและจุดเด่นของภาพก็อยู่ตรงกลาง สำหรับใครที่มีภาพแบบนี้แนะนำให้วางข้อความลงไปตรงกลางได้เลย เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและรวดเร็วที่สุดในการจัดวางองค์ประกอบภาพ

ใช้ Grid เข้าช่วย

วิธีที่เราจะรู้ว่าภาพนั้นมีพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ว่างสำหรับการวางข้อความคือการใช้การตีเส้น Grid เข้าช่วยจะทำให้เรามองเห็นพื้นที่ในการวางได้อย่างชัดเจน

หลายคนมองภาพนี้เพียงหนเดียวก็บอกได้ทันทีว่าพื้นที่สำหรับการวางข้อความควรจะเป็นจุดไหน

ลองตีเส้น Grid เพื่อให้เห็นพื้นที่ว่างได้ชัดเจนขึ้น

พื้นที่ในการวางข้อความของภาพนี้ก็คือด้านบนนั้นเอง

ตัวอย่างการจัดวางแบบอื่น

ถ้าภาพไม่ได้มีสมดุลกกึ่งกลางแต่หนักไปด้านซ้าย เมื่อลากเส้น Grid จะเห็นพื้นที่ว่างทันที

พื้นที่ด้านซ้ายคือผู้หญิง ทำให้พื้นที่ด้านขวามีพื้นที่สำหรับใส่ข้อความจำนวนมาก

ภาพหนักไปที่ด้านล่าง เมื่อเราใช้เส้น Grid จะเห็นได้ทันทีว่าพื้นที่ว่างอยู่ด้านบน

สรุปแล้วตัวช่วยสำหรับเทคนิคในการจัดวางนี้คือการใช้เส้น Grid เขามาช่วยในการจัดวาง เมื่อเราลากเส้น Grid จะทำให้เราเห็นพื้นที่ว่างในการวางข้อความทันที ใครที่อยากรู้ว่า

Related posts:

จากที่เรียนรู้องค์ประกอบกราฟิก ในครั้งที่แล้ว วันนี้ก่อนจะจัดองค์ประกอบ ต้อเข้าใจว่า ผลงานที่จะสร้างสามารถสื่อตามความหมายที่ต้องการหรือเปล่า จุดเด่นและภาพรวมสื่อไปในทางเดียวกันหรือเปล่า

การจัดองค์ประกอบ

skill พื้นฐานของการจัดองค์ประกอบ

    • จังหวะการวาง (Rhythm)  = การวางองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร สี รูปภาพ อาจจะวางซ้ำๆ หรือวางในระยะห่างที่เท่ากัน ทำให้เกิดจังหวะที่แตกต่างเพื่อให้ส่วนที่ต้องการเป็นจุดเด่น

    • ความสอดคล้องขององค์ประกอบ (Harmony/Contrast) = การสร้างจุดเด่นโดยอาศัยความคล้ายกันขององค์ประกอบ  อาจจะทำให้กลมกลืนหรือส่วนที่แตกต่างโดดเด่นออกมา
      • ส่วนที่โดดเด่น ยังดูกลมกลืนกับองค์ประกอบ (Harmony)
      • ส่วนที่โดดเด่น แตกต่างกับองค์ประกอบ (Contrast)

    • การจัดเรียงตำแหน่งขององค์ประกอบให้เป็นลำดับ (Alignment) = จัดให้อ่านง่าย สบายตา รู้ได้ทันทีว่าต้องเริ่มอ่าน-จบตรงไหน มีทิศทางการมองที่ชัดเจน

    • สัดส่วนขององค์ประกอบ (Proportion) = สัดส่วนที่แตกต่างกันของจุดเด่นและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่จุดเด่น ควรจะมีความแตกต่างอย่างชัดเจนในระดับหนึ่ง จึงจะเพิ่มความสนใจให้กับจุดเด่น

    • การรวมกลุ่มขององค์ประกอบ (Proximity) = การนำองค์ประกอบรองอื่นๆ มารวมกลุ่มไว้ใกล้ๆ จุดเด่น ควรวางแบบมีลำดับชัดเจน ไม่ว่าจะด้วยขนาดหรือสี เพื่อไม่ให้เกิดจุดเด่นซ้อนกัน)

รูปแบบของการจัดองค์ประกอบ

    • แบบ Unity  = เลือกองค์ประกอบที่สื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกัน

    • แบบ Balance = แบ่งออก 2 แบบ Balance คือ รูปทรงเหมือนกันทั้งซ้ายทั้งขวา และ Balance ด้วยน้ำหนัก ผลงานไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่มองดูแล้วมีน้ำหนักเท่ากัน โดยใช้องค์ประไม่ว่าจะเป็น สี รูปทรง

    • แบบเน้นจุดสนใจ Point of interest = การวางตำแหน่งจุดเด่นลงไป แล้วใช้วิธีต่าง ๆ ให้จุดเด่นเกิดความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบ หรือการจัดวางองค์ประกอบ เป็นสีงที่ต้องเข้าใจ ควรที่อ่านทฤษฎี ฝึกฝนเรื่อยๆ และดูผลงานจากที่ต่างๆ เพื่อที่จะให้เข้าใจแล้วทำเป็นสไตล์ตัวเอง จะได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

อ้างอิงจากหนังสือ Graphic Design Artwork

Comments

comments

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก