สิทธิ ว่างงาน ประกันสังคม 2564

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน กรณีว่างงาน ตกงาน ลาออก ถูกเลิกจ้าง พร้อมขั้นตอนการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์

กรณีที่บริษัทเปิดโครงการให้ลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจลาออก ซึ่งลูกจ้างที่สมัครใจลาออกนอกจากจะได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างแล้ว หากเป็นผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคม ยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงาน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ จากสำนักงานประกันสังคมอีกด้วย

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมว่างงาน

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย

ทั้งนี้ลูกจ้างต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น เพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมในบางอย่าง เช่น

มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้

ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงานต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ไม่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานได้ เช่น

ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง

ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร

ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย

ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

สามารถลงทะเบียนได้ที่นี่

1. ลงทะเบียนของผู้ประกันตนกรณีว่างงานเลิกจ้าง/ลาออกปกติ

ให้ลงทะเบียนที่ ( //empui.doe.go.th/auth/index )

2. เฉพาะกรณีว่างงานเลิกจ้างจากเหตุโควิด 19 ให้ลงทะเบียนที่

( //www.sso.go.th )

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม

กรณีถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต)

ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม กรณีว่างงาน

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)

บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)

หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้

หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)

ขอบคุณข้อมูล กรมการจัดการหางาน

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

เผยแพร่ 3 ก.ค. 2565 ,08:00น.

ไขข้อสงสัยผู้ประกันตนมาตรา 33 ลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง จะได้รับสิทธิประกันสังคมอะไรบ้าง และต้องรักษาสิทธิอย่างไร เช็กที่นี่!

ผู้ประกันตนมาตรา 33 อย่าลืมรักษาสิทธิ แม้จะตัดสินใจลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง เพราะใช่ว่าสิทธิประกันสังคมนั้น จะสิ้นสุดลงทันที ยังสามารถใช้สิทธิได้ ดังนี้

1.) ใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน

ผู้ประกันมาตรา 33 ที่ลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง จะยังใช้สิทธิประกันสังครบทั้ง 7 กรณีเหมือนเดิม ได้แก่ การได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานได้

ผู้ประกันตนม. 33 เกษียณ 55 ปี เช็กสิทธิประโยชน์รับเงินชราภาพ

รู้ไว้! ทำงานอย่างไร ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ "แรงงาน" เปิดวิธีคำนวณเงินโอที แลกค่าล่วงเวลาเป็นวันห...

เมื่อโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น วิถีชีวิตเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร

2.) รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้

  • กรณีถูกเลิกจ้าง : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
  • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา : รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
  • กรณีไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

ทั้งนี้ หากใน 1 ปี ปฏิทินมีการขอยื่นรับเงินทดแทน กรณีถูกเลิกจ้างและกรณีลาออก/สิ้นสุดสัญญา ให้นับระยะเวลารับเงินทดแทนไม่เกิน 180 วัน

อย่างไรก็ตาม จะต้องลงทะเบียนว่างงาน ผ่านระบบ //e-service.doe.go.th ของกรมการจัดหางานด้วย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

ลงทะเบียนว่างงาน

  • สำหรับคนไทย
  1. ลงทะเบียนขอใช้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล / Digtal ID ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร.
  2. ผู้ประกันตนสามารถเข้าสู่ระบบ (Login) โดยใช้ User / Password ที่ลงทะเบียน Digital ID ในการขึ้นทะเบียนว่างงาน
  3. กรอกข้อมูลรายละเอียดตามระบบ และแนบไฟล์บัญชีธนาคารที่จะให้โอนเงินเข้าบัญชีในระบบ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องยื่นเอกสารใดๆ กับสำนักงานประกันสังคมอีก
  4. ภาพถ่ายสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึงมีชื่อและเลขที่บัญชีของตนเองที่จะยื่นในระบบ
  5. รายงานตัวตามกำหนด
  • สำหรับต่างชาติ/ต่างด้าว ไม่สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้
  1. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ดาวน์โหลดเอกสาร >>> คลิกที่นี่ <<<
  2. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) (ถ้ามี) ดาวน์โหลดเอกสาร >>> คลิกที่นี่ <<<
  3. หนังสือ หรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  4. กรณีว่างงานจากสาเหตุสุดวิสัยแนบหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากสาเหตุสุดวิสัย
  5. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุล
  6. สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้
  7. หากเอกสารสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย และรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
  8. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
  9. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
  10. รายงานตัวตามกำหนดนัด ณ สำนักงานจัดหางานพื้นที่ที่สะดวก

ทั้งนี้ ผู้ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากสาเหตุ ไล่ออก ปลดออก ให้ออกเนื่องจากกระทำความผิด ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีการติดต่อนายจ้างภายใน 7 วันทำงานติดต่อกัน จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน

สภาพอากาศวันนี้!ไทยร้อนจัดสูงสุด 42 องศา เตือนพายุฤดูร้อนถล่ม 28 เม.ย.

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนฉบับ1 ไทยจ่อเจอพายุฤดูร้อนถล่ม 5 วัน

3.) เปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

หลังจากใช้สิทธิประกันสังคมเดิมครบ 6 เดือน หลังจากออกจากงาน หรือ ถูกเลิกจ้าง/สิ้นสุดสัญญาแล้ว ยังสามารถรักษาสิทธิต่อไปได้ด้วยการสมัครเข้าเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 39” แต่จะได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิมหรือไม่ และต้องสมัครอย่างไร มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

มาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณี

หากได้สมัครเข้ามาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองใน 6 กรณี ได้แก่

  1. ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. ทุพพลภาพ
  3. ตาย
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ

มาตรา 39 สมัครอย่างไร

  • ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  • สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
  • ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง : ต้องใช้ แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) พร้อมบัตรประชาชน/บัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งราชการออกให้พร้อมสำเนา จากนั้นให้ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
  • ยื่นใบสมัครออนไลน์ : ดาวน์โหลด แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ออนไลน์ จากนั้นกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย พร้อมแนบหลักฐานบัตรประชาชน/บัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งราชการออกให้ แล้วสมัครออนไลน์ผ่านอีเมล/ไลน์ เก็บหลักฐานการส่งเพื่อตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้แนะนำว่าให้ติดตามผลการสมัครมาตรา 39 จนกว่าจะสำเร็จด้วย
  • ส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

ส่งเงินสมทบได้ 6 วิธี

  • จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก
  • จ่ายเงินทางธนาณัติหรือจ่ายผ่านไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  • ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาติ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย
  • ส่งผ่าน CenPay
  • ส่งผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • เปิดบัญชีออมทรัพย์และให้ทางธนาคารหักจากบัญชีธนาคารข้างต้น (มีค่าธรรมเนียมในการหักบัญชี)

ทั้งนี้ หากไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ ดังนั้นแนะนำว่า ไม่ควรขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน เพราะจะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ และหากส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนภายในระยะเวลา 12 เดือน จะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบเก้าเดือน

นอกจากการไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดแล้ว การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังสามารถสิ้นสุดลงได้เนื่องจากสาเหตุอื่นด้วย คือ ผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือลาออกจากมาตรา 39

เปิดวิธีขอรับเงินทดแทนประกันสังคม“เจ็บป่วย-ชราภาพ-ว่างงาน”ระบบออนไลน์

เช็กสิทธิผู้ประกันตน ม.39 ในระบบประกันสังคม ได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง

ไม่พลาดทุกเหตุการณ์ติดตามข่าวจาก PPTV ได้ที่ Subscribe

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก