เบิกประกันสังคมใช้เวลานานไหม

การหักเงินประกันสังคม สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ  อาจจะคิดว่า “ไม่จำเป็น” หรืออยากเอาเงินไปทำอย่างอื่นเองคงจะดีกว่า  แต่จริง ๆ  แล้วสิทธิประกันสังคมมี “ข้อดี” อีกมากที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึง หรือยังไม่รู้ว่าการ จ่ายเงินประกันสังคมในทุก ๆ เดือนนั้น  จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ?

ในวันนี้ . . เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน “ประกันสังคม” จะได้รับบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วยมาฝากกันค่ะ


ในกรณีเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้

  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ การรักษาทั้งอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาทตามระยะเวลาการผ่าตัด
  • กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม (ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลได้จาก สำนักงานประกันสังคม) สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาทต่อปี

14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ดังนี้

1. โรคหรือประสบอันตรายเนื่องจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
2. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันใน 1 ปี
3. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรังยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตนให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
8. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
9. การผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้น
- การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
10. การเปลี่ยนเพศ

11. การผสมเทียม
12. การบริการระหว่างการรักษาตัวแบบพักฟื้น
13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันขุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
14. แว่นตา

โดยเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ : ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3

ช่วงนี้โรคระบาดยอดฮิตที่หันไปทางไหนก็ถามกันว่า “เกมรึยัง?” อยู่เสมอ ก็คือ “โควิด-19” แล้วถ้าติดขึ้นมาจะทำยังไงต่อ คนที่อยู่ในประกันสังคมเบิกอะไรได้ไหม วันนี้พี่ทุยเลยพามาดูวิธี “เบิกประกันสังคม” ในกรณีผู้ประกันตน “ม.33-39-40” ติดโควิด-19 ฉบับปี 2565 กัน ไปฟังกัน 

กรณีที่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมติดโควิด-19 สามารถใช้สิทธิในการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล และเงินทดแทนรายได้ โดยผู้ประกันตนแต่ละมาตราจะต้องเข้ารับการรักษาในระบบสำนักงานประกันสังคม หรือ สปสช. เพื่อขอรับใบรับรองแพทย์มาเบิกประกันสังคม

การเบิกค่าชดเชยค่ารักษา เมื่อหยุดงาน กรณีติดโควิด-19 จากประกันสังคม 

1. เข้ารักษาตัวตามระบบที่ สปสช. กำหนด

2. ทำเรื่องขอใบรับรองแพทย์ ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ระบุการติดเชื้อ ระบุวันหยุดงาน

3. เตรียมเอกสารเบิกค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยรายได้จากสำนักงานประกันสังคม

เอกสาร/หลักฐาน เพื่อ “เบิกประกันสังคม” เมื่อ “ติดโควิด-19” 

1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) ดาวน์โหลด หรือขอแบบฟอร์ม “แบบคำขอประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)” จากสำนักงานประกันสังคม กรอกข้อมูลส่วนบุคคล และเลือก “ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย” แล้วเลือกค่ารักษาพยาบาล จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงิน จากนั้นเลือกเงินทดแทนการขาดรายได้ ตั้งแต่วันที่…. ถึงวันที่….. กลับเข้าทำงานวันที่….

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ สำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

3. สำเนาบัตรประกันสังคม

4. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง (ระบุวันหยุดงาน)

5. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (กรณีเบิกค่ารักษา)

6. หนังสือรับรองการหยุดงานจากนายจ้าง

7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์ หน้าแรก

8. กรณีเปลี่ยนชื่อ สกุล แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อสกุลด้วย

เงื่อนไข “เบิกประกันสังคม” หาก “ติดโควิด-19” สำหรับปี 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 

กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน

เงื่อนไขการเบิกประกันสังคมโควิด 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน 

ทั้งนี้ ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39

สปสช. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ และผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้ 

1. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ

2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา)

3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่น ๆ

4. ค่ายาที่ใช้รักษา

5. ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล

6. ค่าบริการ X-ray

7. ค่า Oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

เงื่อนไขการเบิกประกันสังคมโควิด 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40

ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะต้องส่งสมทบมาอย่างน้อย 3 เดือน ในระยะเวลา 4 เดือนจนเกิดสิทธิ์ก่อน จึงจะเบิกเงินชดเชยรายได้กับประกันสังคมได้ โดยมี 3 ทางเลือกดังนี้

  • ทางเลือกที่ 1 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 700 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท
  • และทางเลือกที่ 3 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท

ซึ่งจะแบ่งกรณีการเบิกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เป็น จะได้เงินทดแทนวันละ 300 บาท กรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป แต่ไม่ถึง 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

หรือได้เงินทดแทนวันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้รักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี (สำหรับทางเลือก 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วันต่อปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

หรือได้เงินทดแทนวันละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเท่านั้นมาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)

“เบิกประกันสังคม” กรณี “ติดโควิด-19” ต้องใช้เวลากี่วัน

การเบิกเงินชดเชยต่างๆ จากประกันสังคม อยู่กับระยะเวลาการพิจารณาเอกสารของเจ้าหน้าที่ประกันสังคม ซึ่งเร็วสุดอาจจะได้เงินภายใน 7 วัน หรือภายในวันที่ 30 หรือ 31 ของเดือนที่ทำเรื่องเบิก ผู้ประกันตนสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะการจ่ายเงินได้ที่ www.sso.go.th โทร 1506

อ่านเพิ่ม

  • เมื่อ “โควิด-19″ เป็น “โรคประจำถิ่น” เราต้องเตรียมรับมือยังไงบ้าง ?

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก