หลักสูตรเทียบโอน ปวส เรียนกี่ปี

วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัลสนิทวงศ์ CTC

ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ระยะเวลาศึกษา หลักสูตร 2 ปี
รอบที่เปิดสอน รอบปกติ และ รอบวันอาทิตย์

คุณสมบัติของผู้ศึกษา
ผู้ศึกษาต้องสำเร็จการศึกษา ระดับ ม.6 / ปวช. / กศน.ม.ปลาย หรือเทียบระดับ

โครงสร้างหลักสูตร ระดับ ปวส.
ผู้ที่สำเร็จการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 หรือ ระดับชั้นมัธยมปลาย (ม.6) สามารถเลือกศึกษาต่อสายอาชีพในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพื่อสร้างบุคลากรมืออาชีพ Professional ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานในอนาคต สามารถเป็นผู้จัดการหน่วยงาน และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพอิสระได้ ในหลักสูตรนี้เน้นศึกษากรณีศึกษา (Case Study) สร้างความเชี่ยวชาญในอาชีพ มีบุคลิกภาพ คุณธรรมและเจตคติที่ดี หลังจากศึกษาจบแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรเทียบโอน) ได้อีก 2 ปี

         สวัสดีน้องๆที่น่ารักทุกคนนะคะ เป็นที่ทราบกันดีว่าหลักสูตรการศึกษาในประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีทางเลือกในหลากหลายด้าน การเรียนสายอาชีพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับการเตรียมความพร้อมทางทักษะความรู้และประสบการณ์การทำงานในอนาคตค่ะ        

         วันนี้พี่เมก้าเลยขอเอาใจน้องๆสายอาชีพคนเก่ง โดยเฉพาะน้องๆหลักสูตร ปวส. ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานและสั่งสมทักษะต่างๆในงานทางสายวิชาชีพมาอย่างหนักหน่วงได้ลองทำความรู้จักกับ "หลักสูตรต่อเนื่องและหลักสูตรเทียบโอน" เผื่อน้องๆคนไหนสนใจศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยจะได้เก็บไว้เป็นทางเลือกนะคะ

ทำความรู้จัก "หลักสูตรต่อเนื่องและหลักสูตรเทียบโอน"

         หลักสูตรต่อเนื่องและหลักสูตรเทียบโอนเกิดขึ้นจากความต้องการสร้างโอกาสให้แก่น้องๆที่เรียนจบหลักสูตรอาชีวะระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. ได้มีทางเลือกในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากขึ้น

         ความก้าวหน้าและความได้เปรียบทางประสบการณ์ความรู้จากการลงมือฝึกปฏิบัติงานจริงและร่ำเรียนมาอย่างชำนิชำนาญ นับเป็นข้อพิสูจน์ที่ตอบโจทย์ได้ว่าเมื่อจบจากสายอาชีพแล้วน้องๆสามารถนำความรู้มาต่อยอดการเรียนเฉพาะทางในระดับมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ


"หลักสูตรต่อเนื่อง" คืออะไร?

         หลักสูตรต่อเนื่อง คือการเรียนต่อเนื่องจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือ ปวส. สู่ระดับปริญญาตรี โดยไม่มีการเทียบโอนรายวิชา เมื่อน้องๆจบการศึกษาจากระดับ ปวส. ก็สามารถศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องในระดับปริญญาตรีได้เลย โดยใช้ระยะเวลาการศึกษาเพียง 2 ปีเท่านั้นค่ะ

         ปัจจุบันมีเพียงบางสถานศึกษาเท่านั้นที่ยังคงเปิดหลักสูตรต่อเนื่องเพื่อรองรับน้องๆที่เรียนจบจาก ปวส. เช่น สถาบันการอาชีวศึกษา หลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยรัฐบางแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่ง เป็นต้น

ยกตัวอย่าง

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2
         วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
         วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
         คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล-วิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล-วิศวกรรมอุตสาหการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
         คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรม หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยสยาม
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
         คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

"หลักสูตรเทียบโอน" คืออะไร?

         หลักสูตรเทียบโอน คือการนำผลการเรียนในระดับ ปวส. จากรายวิชาที่น้องๆศึกษามาแล้วบางส่วนเทียบโอนเข้ากับรายวิชาในระดับปริญญาตรี เพื่อศึกษาต่อให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีนั่นเองค่ะ ระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตรเทียบโอนจะแตกต่างจากหลักสูตรต่อเนื่องตรงที่ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้นะคะว่าน้องๆต้องใช้เวลาเรียนกี่ปีจึงจะสำเร็จการศึกษา

         ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับการเทียบโอนรายวิชาในสาขานั้นล้วนๆเลยค่ะว่าสามารถเทียบโอนมาได้มากเท่าไหร่ และน้องๆมีความขยันรวมถึงเอาใจใส่ต่อการเรียนมากแค่ไหน ส่วนใหญ่แล้วการเรียนในหลักสูตรนี้มักใช้เวลาเรียนโดยประมาณอยู่ที่ 2 ปีครึ่งถึง 3 ปีค่ะ

         ก่อนที่น้องๆจะสมัครจึงควรศึกษาคุณสมบัติเฉพาะที่ทางคณะระบุไว้ในประกาศหรือระเบียบการให้ดีค่ะว่า สาขาวิชาที่เรียนมาตรงกับกลุ่มวิชาที่เปิดรับสมัครรึเปล่า เพราะถ้าเกิดไม่ตรงกันน้องๆอาจไม่สามารถจบการศึกษาได้ภายใน 2-3 ปี และบางมหาวิทยาลัยก็อาจตัดสิทธิ์ไม่รับเข้าศึกษาเลยก็มีค่ะ

         
         ปัจจุบันหลายสถาบันเปิดกว้างให้น้องๆที่สำเร็จการศึกษาจากระดับ ปวส. สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ โดยใช้ระบบเทียบโอนผลการเรียนนี่แหละค่ะ มีทั้งหลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษเลย

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มหาวิทยาลัยบูรพา
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีเคมี เทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการก่อสร้างและงานโยธา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
         คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตร 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
         คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-ไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

         ตอนนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนพยายามให้การสนับสนุนโอกาสทางการเรียนรู้และส่งเสริมความสามารถของน้องๆสายอาชีพมากเลยนะคะ พี่เมก้าก็ขอเอาใจช่วยน้องๆ ปวส. ที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียน จบออกมาเป็นบุคลากรที่ดีมีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปค่ะ

จบปวส ต่ออีกกี่ปี

ปัจจุบันยังไม่เห็นทิศทางแน่ชัดในการเปิดหลักสูตรปริญญาต่อเนื่อง ผู้ที่จบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็ยังต้องใช้เวลาในการเรียนอีก 3 ปีเช่นเดิม

จบปวชต่อปริญญากี่ปี

ปัจจุบันวิทยาลัยเปิดสอนตั้งแต่ระดับเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ จนถึงระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.), หลักสูตรปริญญาตรี ต่อเนื่อง 2-3 ปี, หลักสูตรปริญญาตรี เทียบโอน 3 ปี, หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี, หลักสูตรปริญญาโท, และหลักสูตรปริญญาเอก

เรียนปวส.ต้องเรียนกี่ปี

เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยรับจากผู้จบ ม.6 หรือ ปวช. ใช้เวลาเรียน 2 ปี จำนวน 14 สาขาวิชา เรียนภาคปกติทุกสาขาดังนี้ คณะบริหารธุรกิจ การตลาด

เรียนปวส.ต่อป.ตรีได้ไหม

น้องๆ คนไหนท ที่จบ ปวช. ปวส. สามารถเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ โดยสามารถเข้าระบบ TCAS ได้ทั้ง 5 รอบ แต่จะจำกัดคณะ/สาขา สำหรับคุณสมบัตินั้นต้องมีอย่างไรบ้าง ต้องสอบอะไรบ้าง มาดูกัน ระบบ TCAS ทั้ง 5 รอบ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้างในการคัดเลือก Portfolio ไม่ต้องใช้คะแนนอะไรเลย แต่ต้องมีผลงานตามที่คณะ/สาขากำหนด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก