งานเกี่ยวกับไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

“ไฟฟ้า” นับว่าเป็นระบบที่จำเป็นสำหรับที่พักอาศัย ซึ่งในการทำงานเกี่ยวกับระบบไฟก็มี อุปกรณ์ไฟฟ้า หลากหลายชนิด ที่นอกจากจะช่วยขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานได้แล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวก และเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานได้มากขึ้น โดยในวันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า ตลอดจน อุปกรณ์ต่อสายไฟ ภายในบ้าน ว่ามีอะไรบ้างที่ควรซื้อมาติดบ้าน แล้วมีมาตรฐานของอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าอะไรบ้างที่ควรรู้จัก

สำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าเพื่อใช้ในงานระบบไฟ สิ่งสำคัญคือ การเลือกใช้อุปกรณ์ให้ถูกต้องตามคุณสมบัติ รวมถึงวิธีการใช้งานที่เหมาะสม

การเลือกใช้งาน อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ถูกต้อง

หลักการสำคัญของระบบไฟฟ้าภายในที่พักอาศัย สิ่งสำคัญก็คือ การเลือกใช้ อุปกรณ์ต่อสายไฟ ให้ถูกต้องตามลักษณะของการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น วัสดุ ความเหมาะสมต่อการติดตั้ง และความถูกต้องตามมาตรฐาน ซึ่งหลักการคำนึงหลัก ๆ คือ การทำงานของอุปกรณ์ชนิดนั้น ๆ การใช้งาน สถานที่ที่ใช้ สภาพแวดล้อมโดยรวม ภูมิอากาศ และที่ขาดไม่ได้คือ ประโยชน์จากการใช้งาน เช่น การเลือกใช้ สายไฟ ต้องดูตั้งแต่พิกัดแรงดัน พิกัดกระแส แรงดันตก รวมถึงสายควบ ไม่ใช่แค่การเลือกซื้อตามชนิดของสายไฟฟ้าเท่านั้น

รวม 7 อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์งานช่างไฟ ที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น

  1. คีมชนิดต่าง ๆ

ในบรรดางานระบบไฟฟ้า “คีม” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานร่วมกับ อุปกรณ์ต่อสายไฟ ง่ายมากขึ้น ซึ่งคีมที่ใช้งานในงานไฟฟ้าก็มีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น

    • คีมปากแหลม หรือคีมปากจิ้งจก ตัวปากคีมมีลักษณะเรียวแหลม เหมาะสำหรับจับโลหะ และ สายไฟ
    • คีมปากจระเข้ สามารถใช้ได้ทั้งการจับชิ้นงานและตัดสายไฟได้ดี
    • คีมย้ำหัว ช่วยย้ำสายไฟ สายลวด และสายสัญญาณ เพื่อบีบวัสดุให้เปลี่ยนรูปไปตามทรงของคีม
    • คีมปอกสาย ถูกออกแบบมาให้ปอกฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มลวดทองแดง โดยจะตัดเฉพาะฉนวนพลาสติก
  1. มัลติมิเตอร์ (Multimeters)

เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งสามารถตั้งเป็นหน่วยโวลต์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ หรือโอห์มมิเตอร์ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกได้ระหว่างไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งในบางชนิดก็วัดค่าอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ อาทิ วัดค่าความจุ วัดความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์

โดยการแสดงผลของมัลติมิเตอร์ จะแยกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม และมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (ดิจิตอล) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีรายละเอียดการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงความแม่นยำของการอ่านค่าด้วยเช่นกัน

สำหรับเทคนิคการเลือกมัลติมิเตอร์ มีดังต่อไปนี้

  • มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดไฟฟ้า โดยต้องตรงกับประเภทในการใช้งาน
  • การวัดค่าเหมาะกับมัลติมิเตอร์แบบไหน คือ TURE RMS หรือ MEAN
  • Resolution และ Accuracy ที่จะบอกว่ามัลติมิเตอร์เครื่องนั้นมีความละเอียดและแม่นยำมากน้อยแค่ไหน
  • จำนวนหลักของการแสดงผล
  • ช่วงของการวัด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากการทำงาน
  • ฟังก์ชันในการทำงานที่ตอบสนองการใช้งาน และเหมาะสมกับ อุปกรณ์ต่อสายไฟ

Tips: แคลมป์มิเตอร์ เป็น อุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์วัดค่าไฟฟ้าของสายไฟตามจุดต่าง ๆ สามารถอ่านค่าได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เนื่องจากได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น

  1. หัวแร้งบัดกรีไฟฟ้า

เมื่อต้องทำงาน “บัดกรี” หรือก็คือ การเชื่อมวัสดุหรือโลหะเข้าด้วยกัน โดยนิยมใช้ดีบุกและตะกั่วเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหัวแร้งบัดกรีโดยทั่วไปที่นิยมใช้ คือ

  • หัวแร้งปืน เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความร้อนมาก ๆ เช่น การบัดกรีสายไฟกับ อุปกรณ์ต่อสายไฟ
  • หัวแร้งแช่ เป็น อุปกรณ์ต่อสายไฟ ที่เหมาะกับงานบัดกรีอุปกรณ์บนแผงวงจรพิมพ์ หรืองานประกอบวงจรที่มีความร้อนคงที่ มีหลากหลายขนาดให้เลือก
  1. สว่าน

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในงานช่างและงานไฟฟ้า โดยทำหน้าที่เจาะรูเพื่อเดินสายไฟและยึด อุปกรณ์ต่อสายไฟ ซึ่งสว่านสามารถใช้ได้ทั้งกับไม้และผนังปูน แต่ก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้งาน ทั้งนี้ การเจาะรูจะต้องเจาะในแนวตั้งฉากกับชิ้นงาน หากต้องการเจาะรูขนาดใหญ่ก็ควรใช้ดอกสว่านเล็กก่อน แล้วค่อยใช้ดอกสว่านที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกระดับ

  1. ฟิวส์

นับว่าเป็นอีกหนึ่ง อุปกรณ์ต่อสายไฟ ที่มีความสำคัญสูงในบ้านเรือน เพราะฟิวส์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลเกิน จนอาจก่อให้เกิดอันตรายและส่งผลกระทบต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งตัวฟิวส์จะทำการหลอมละลายจนขาด จึงทำให้สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในครัวเรือนได้ทันที

สำหรับฟิวส์แต่ละชนิดก็จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป คือ

  • ฟิวส์เส้น มีลักษณะเป็นเส้นลวด นิยมใช้กับสายไฟในอาคารบ้านเรือน
  • ฟิวส์แผ่น เป็นแผ่นโลหะผสม มีขอเกี่ยวที่ทำจากทองแดง นิยมใช้กับอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียน
  • ฟิวส์กระเบื้อง มีลักษณะเป็นเส้นฟิวส์อยู่ภายในกระปุกกระเบื้อง นิยมใช้ติดตั้งที่แผงควบคุมไฟฟ้า
  • ฟิวส์หลอด มีขนาดเล็ก ๆ ในหลอดแก้ว นิยมใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์
  1. ไขควงและไขควงวัดไฟ

“ไขควง” นับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการขันสกรู ต่อฟิวส์ ใส่สวิตช์ ในขณะที่ไขควงวัดไฟช่วยตรวจเช็กกระแสไฟ หรือก็คือการตรวจสภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ซึ่งการทำงานของไขควงไฟฟ้าคือ หากนำไขควงไปแตะที่ อุปกรณ์ต่อสายไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วมีแสงสว่างขึ้นมา ก็แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น ๆ มีปัญหาไฟรั่ว ดังนั้น ต้องถอดปลั๊กออกแล้วติดต่อช่างทันที  

โดยการใช้งานไขควงควรจำไว้เสมอว่า ห้ามใช้ไขควงแทนค้อนโดยเด็ดขาด และต้องใช้ไขควงที่มีด้ามจับเป็นฉนวน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

  1. เบรกเกอร์

ถือว่าเป็น อุปกรณ์ต่อสายไฟ ที่ทุกบ้านควรมี เนื่องจากเบรกเกอร์จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าลัดวงจร และกระแสไฟฟ้าสูงผิดปกติ เมื่อเบรกเกอร์ทำการตัดกระแสไฟฟ้าแล้ว เราจะต้องทำการกดเบรกเกอร์ใหม่เพื่อให้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้อีกครั้ง

Tips: สำหรับบางบ้าน อาจเพิ่มเครื่องตัดไฟรั่วเข้ามาด้วย เพื่อเสริมความปลอดภัยอีกหนึ่งชั้น และป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

อาชีพช่างไฟฟ้า มีอะไรบ้าง

อาชีพช่างไฟฟ้ามีหน้าที่ทำอะไรบ้างในโรงงานอุตสาหกรรม.
วางแผนการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า.
ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามแผนซ่อมบำรุง.
ซ่อมระบบไฟฟ้ากรณีมีการชำรุด.
ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในตู้ควบคุมไฟฟ้า.
อบรมให้ความรู้ทั่วไปกับพนักงาน.

การไฟฟ้าทำงานอะไรบ้าง

1. งานสั่งงานแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง และงานแก้ไขกระแสไฟฟ้าขัดข้อง 2. งานวิเคราะห์วางแผนและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า 3. งานสํารวจ ออกแบบ ปรับปรุงระบบไฟฟ้า 4.งานก่อสร้างระบบจําหน่าย 5. งานตรวจสอบและบํารุงรักษาระบบไฟฟ้า 6. งานฮอทไลน์ 7. งานตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้า 8. งานบริการหลังการขาย 9. งานตรวจสอบมาตรฐานการก่อสร้าง 10.งานระบบผลิตและ ...

จบปวส.ช่างไฟฟ้าทำงานอะไรได้บ้าง

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา.
ช่างเทคนิคติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคาร และโรงงานอุตสาหกรรม.
นักออกแบบระบบไฟฟ้าในอาคาร และเครื่องจักรกลไฟฟ้า.
นักวิเคราะห์ และซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรม.
ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม.
ช่างทดสอบอุปกรณ์ และเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า.

ช่างไฟฟ้าทำหน้าที่อะไร

ช่างไฟฟ้า ใช้ทฤษฎีความรู้หลักการทางไฟฟ้า วิธีทดสอบไฟฟ้า และวิชาการที่เกี่ยวข้องมาผลิต ก่อสร้าง ติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ ใช้งาน ดูแล แก้ไข เปลี่ยนแปลง บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ตรวจหาสาเหตุและแก้ไขระบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าขัดข้องหรือไม่ทำงาน ปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก