โรคจากการประกอบอาชีพตามกฎหมาย

จากสถานการณ์ในปัจจุบัน โรคจากการประกอบอาชีพ และโรคจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดโรคและมีความรุนแรงมากขึ้น และยังไม่มีกลไกการควบคุมป้องกัน และเฝ้าระวังที่ไม่เพียงพอ โดยเป็นการสมควร จึงมีการกำหนด กฎหมายควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ เรียกว่า พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒ ขึ้น เพื่อบังคับใช้

ชื่อกฎหมาย

พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ ๒๕๖๒

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ มีผลบังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด ๑๒๐ วันนับแต่วันประกาศฯ

 

วัตถุประสงค์ของกฎหมาย

เพื่อกำหนดกลไกการเฝ้าระวัง การป้องกัน และควบคุมโรค โดยใช้ระบบการแจ้งข้อมูล

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันสถานการณ์ของโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพและโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มจะมีความรุนแรงมากขึ้น และยังไม่มีกลไกในการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ สมควรกำหนดให้มีแนวทางในการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยับยั้งมิให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

ความหมายของ โรคจากการประกอบอาชีพ

โรคจากการประกอบอาชีพ หมายความว่า โรคหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากการทำงานหรือการประกอบอาชีพ

โรคจากสิ่งแวดล้อม หมายความว่า โรคหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องจากมลพิษ

“มลพิษ” หมายความว่า ของเสีย วัตถุอันตราย สิ่งปนเปื้อน และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และให้หมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย

“แหล่งกำเนิดมลพิษ” หมายความว่า โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร สิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ และสถานที่ประกอบกิจการใด ๆ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของมลพิษ

"นายจ้าง" และ "ลูกจ้าง"  ให้หมายความตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน, กฎหมายความปลอดภัยฯ และกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน

“แรงงานนอกระบบ” หมายความว่า บุคคลที่มีงานทำ แต่ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งเป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และผู้รับงานไปทำที่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน

 

หมวดที่ ๑ บททั่วไป

กรณีมีกฎหมายการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคฯ ในเรื่องใดไว้แล้ว ให้บังคับตามกฎหมายนั้น

ให้นายจ้าง เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ แจ้งข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคฯ แก่ลูกจ้าง หรือประชาชน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด

 

หมวดที่ ๒ คณะกรรมการควบคุมโรคฯ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ

 

หมวดที่ ๓ คณะกรรมการควบคุมโรคฯ จังหวัด และ กรุงเทพฯ

ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ

 

หมวดที่ ๔ อาชีวเวชกรรมและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานให้บริการอาชีวเวชกรรมและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมควบคุมโรค หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ

 

หมวดที่ ๕ การเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม

-จัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง โดยหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียน

-แรงงานนอกระบบ มีสิทธิได้รับการตรวจสุขภาพ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

-ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ จัดให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชน

-ให้หน่วยบริการ แจ้งข้อมูลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างหรือแรงงานนอกระบบ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

-ให้นายจ้าง แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีพบลูกจ้างเป็นโรคหรือสงสัยว่าเป็นโรคจากการรประกอบอาชีพ

-ให้ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีพบลูกจ้าง แรงงานนอกระบบ หรือประชาชน  ซึ่งเป็นโรคหรือสงสัยว่าเป็นโรคจากการรปะกอบอาชีพ หรือโรคจากสิ่งแวดล้อม

-และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ รายงานต่อกรมควบคุมโรค และคณะกรรมการฯ จังหวัด

 

หมวดที่ ๖ การป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม

-ในกรณีที่พบลูกจ้างซึ่งเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคจากการประกอบอาชีพ หรือพบประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่นั้นทำการสอบสวนโรค

 

หมวดที่ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่

- พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจ เข้าไปในสถานประกอบกิจการของนายจ้าง แหล่งกำเนิดมลพิษ ยานพาหนะ หรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก เพื่อควบคุม ตรวจสอบ ตรวจวัด หรือเก็บตัวอย่างซึ่งวัตถุ สารเคมี หรือ ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง การป้องกันการควบคุม และการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม และหากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จในเวลาดังกล่าวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ

 

หมวดที่ ๘ บทกำหนดโทษ

 

กฎหมายควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม

๑. กระทรวงที่รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข

๒. ประกาศในรากิจจานุเบกษา : วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒

๓. มีผลบังคับใช้ : เมื่อพ้น ๑๒๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

คำค้นหา : กฎหมายควบคุมโรคจากอาชีพ สรุปโดย จอปอหน่อย, กฎหมายควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อม สรุปโดย จอปอหน่อย, โรคจากการประกอบอาชีพ

โรคจากอาชีพ มีอะไรบ้าง

7 โรคฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน.
1) โรคปลอกประสาทอักเสบ ... .
2) โรคเครียดลงกระเพาะ ... .
3) โรคความดันโลหิตสูง ... .
4) ออฟฟิศซินโดรม ... .
5) โรคหัวใจ ... .
6) โรคกรดไหลย้อน ... .
7) โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ.

สิ่งคุกคามในการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

สิ่งคุกคามจากสถานที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมที่คนทำงานเข้าไปทำงาน (Hazard) ซึ่งมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical Hazard) สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (Biological Hazard) สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical Hazard) สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ (Ergonomic Hazard) สิ่งคุกคามทางจิตสังคม (Psychosocial Hazard)

ปัจจัยทางกายภาพทําให้เกิดโรคจากการทํางาน 5 ประการคืออะไร

4.5 สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางกายภาพ (physical health hazards) หมายถึงสิ่งคุกคามหรือตัวเหตุก่อโรคดังนี้ แสง ความร้อน ความเย็น แสงรังสี ความสั่นสะเทือน ความกดอากาศ 4.5.1 เสียงดัง การได้รับเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้คนงานสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรได้ เนื่องจากเสียงที่ดัง

การเจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง

2) กลุมโรคจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรม ไดแก โรคกระดูกและกลามเนื้อ โรคจากพิษโลหะ หนัก โรคซิลิโคสิส โรคที่เกิดจากแรใยหินแอสเบสตอส โรคจากพิษสารทําละลายอินทรีย โรคประสาทหูเสื่อมจาก เสียงดัง และการบาดเจ็บจากการทํางาน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก