ข้อมูลที่ ให้ เรียกดู ผ่าน เว็บได้ เรียกว่า

         เว็บไซต์ (Website)หมายถึง เว็บเพจหลายๆ หน้ารวมถึงหน้าโฮมเพจด้วยที่แสดงข้อมูลทั้งหมดและเชื่อมโยงกัน โดยนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ ถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิก และเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูล
สื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
(ที่มาภาพ //www.freethailand.com/ )         โดเมนเนม(Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" คั่นด้วย "."โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน 1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

      
         เว็บโฮสติ้ง(Web Hosting) หมายถึง รูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานนั้นมีความต้องที่จะฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้ กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์ ของตนเองนั้น ออนไลน์อยู่่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม.  โดยที่ทางผู้ ให้บริการจะจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ฐานข้อมูล อีเมล์ ฯลฯ ไว้ในเครื่องเซิฟเวอร์หรือที่เรียกกันว่าเว็บเซิฟเวอร์ (Web Server) ซึ่งเว็บเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางที่จะแสดงผลหน้าเว็บไซต์ให้กับผู้ท่องอินเทอร์เน็ตทั่วไป ได้เช้าชมผ่านโดเมนเนมได้ตลอดเวลา


(ที่มาภาพ //www.pathosting.co.th/hosting/whatis )

        เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บ
ในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล
ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
        เว็บบราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีหลากหลายโปรแกรม เช่น Mirosoft Internet Explorer, Mozilla Firefox, Opera,Chrome และ Safari   
  
        ภาษา HTML และ XHTML

        HTML คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ
ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง
ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup หมายถึง
วิธีในการเขียนข้อความ language หมายถึงภาษา ดังนั้น HTML
จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความ แทรกรูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวิดีโอ ลงบนเอกสารที่ต่างก็เชื่อมถึงกัน ใน cyberspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง HTML เริ่มขึ้นเมื่อ ปี 1990 เพื่อตอบสนองความต้องการในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของ นักวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก โดย Tim Berners-Lee นักพัฒนาของ CERN ได้พัฒนาภาษาที่มี รากฐานมาจาก SGML ซึ่งเป็นภาษาที่ซับซ้อนและยากต่อการเรียนรู้ จนมาเป็นภาษาที่ใช้ได้ง่ายและสะดวกในการแลกเปลี่ยนเอกสารทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการเชื่อมโยงกันด้วยลิ้งในหน้าเอกสาร
เมื่อ World Wide Web เป็นที่แแพร่หลาย HTML จึงถูกนำมาใช้จน
เกิดการแพร่หลายออกไปยังทั่วโลก จากความง่ายดายในการใช้งาน
HTML ในปัจจุบันพัฒนามาจนถึง HTML 4.01 และ HTML 5

         XHTML (Extensible Hyper Text Markup Language)
เป็นภาษาประเภท Markup Language ที่เกิดจากการนำ
XML และ HTML มารวมกัน  กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของ
HTML คำสั่งต่างๆนั้นก็ยังเหมือนกับ HTML แต่จะมีความเข้มงวด
ในเรื่องโครงสร้างภาษามากกว่า และมีการตัด tag และ attribute
ที่ไม่นิยมใช้ออกไป และได้เพิ่มกฏเกณฑ์บางอย่าง
เพื่อให้ใช้งานมีความรัดกุมในเรื่องของภาษาและเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น


(ที่มาภาพ //media.rajsima.ac.th/sujittra/unit5_p3.html )

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก