วิธีป้องกัน ไฟไหม้ โรงงาน กิ่ง แก้ว

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างมากบนโลกออนไลน์ หลังเกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้ที่โรงงานผลิตโฟม ซอยกิ่งแก้ว 21 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทำให้ควันพิษและสารเคมีปกคลุมไปทั่ว 243 ชุมชนรอบโรงงาน และต้องประกาศอพยพคนในพื้นที่อย่างฉุกละหุกกลางดึก โดยเฉพาะในประเด็นที่เหตุใดโรงงานผลิตโฟมที่เต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายจึงรายล้อมด้วยชุมชนจำนวนมาก

เหตุการณ์ #ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่ทำให้ประชาชนเริ่มเห็นถึงความสำคัญของการจัดการผังเมือง เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันจากกรณีไฟไหม้โรงงานพลาสติกย่านสุขาภิบาล 5 เขตสายไหม ที่ชาวบ้านในพื้นที่หวั่นว่าเพลิงจะลามไปยังปั๊มน้ำมันในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ในอนาคตไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นซ้ำอีกหรือไม่

THE STANDARD ชวนคุยกับ ผศ.ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์สถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการจัดการผังเมืองของประเทศไทยว่ามีปัญหาอย่างไร ต้องแก้ไขแบบไหน และปัญหาผังเมืองนี้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งใด

การวางผังเมืองที่ดีเป็นอย่างไร

  • ตามหลักการของการวางผังเมืองจะต้องตอบรับเป้าหมายการพัฒนา เช่น ในเมืองอุตสาหกรรมต้องมีการวางพื้นที่เป็นโซน เขต หรือนิคมอุตสาหกรรมที่มีการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่อาศัยจะต้องปลอดภัยจากผลกระทบของอุตสาหกรรม โดยที่คนจะต้องสามารถเดินทางจากแหล่งที่อยู่ไปทำงานได้โดยไม่ไกลเกินไป 

ปัญหาของโรงงานในพื้นที่ชุมชนกรณี #ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว เกิดจากอะไร

  • โรงงานหมิงตี้เคมีคอลตั้งอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ก่อนหน้ากฎหมายการจัดการผังเมืองของโรงงานอุตสาหกรรมจะถูกบังคับใช้ แล้วภายหลังจึงมีชุมชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานรอบโรงงาน
  • ผศ.ดร.นพนันท์ ให้ความเห็นว่า ผังเมืองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าโรงงานอุตสาหกรรมตั้งตรงไหนแล้วจะต้องอยู่ตรงนั้นตลอดไป แต่เราก็ไม่ได้อยากให้เกิดการย้ายทุกๆ กี่ปี เพราะต้องเสียโอกาส เวลา และการลงทุนเป็นมูลค่ามหาศาล
  • เมืองมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา โซนของโรงงานจึงอาจจะอยู่ในทิศทางการขยายตัวของชุมชน ซึ่งปกติจะมีการจัดผังเมือง
  • สิ่งที่ควรทำคือการดูว่าบริเวณดังกล่าวควรเป็นย่านอุตสาหกรรมหรือควรพัฒนาที่อยู่อาศัย หากควรเป็นอย่างแรกก็ต้องปรับที่อยู่อาศัยให้ไปในทิศทางอื่น แต่หากพิจารณาแล้วว่าควรเป็นบริเวณการขยายตัวของเมืองและชุมชน หากเป็นอุตสาหกรรมเบา ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ก็อาจจะอยู่กับชุมชนได้ ถ้าหากไม่ใช่ ต้องขยายไปยังนิคมที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติอย่างเข้มงวด

เหตุการณ์ #ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ใครต้องรับผิชอบ

  • หากโรงงานตั้งเมื่อ พ.ศ. 2532 ต้องย้อนดูว่าผังเมืองบริเวณนั้นขณะนั้นกำหนดไว้เป็นอะไร หากเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม โรงงานจะไม่ถือว่าผิดในเวลานั้น
  • ต่อมาภายหลังการตั้งสนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่โดยรอบของกิ่งแก้วถูกเปลี่ยนเป็นย่านพาณิชยกรรมที่ส่งเสริมด้านธุรกิจตามนโยบายการพัฒนาของรัฐบาล 
  • เมื่อเปลี่ยนจากพื้นที่อุตสาหกรรมเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม กฎหมายผังเมืองฉบับ พ.ศ. 2558 มาตรา 27 วรรค 2 มีการกำหนดให้คณะกรรมการผังเมืองสั่งการ ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลง เช่น มีการจัดการโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงออก
  • แต่ประเทศไทยไม่เคยมีการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวเลย 
  • ปัญหาในครั้งนี้จึงถือว่ามีความผิดกันทั้งหมดที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ผังเมือง และจะเกิดขึ้นซ้ำอีกหากไม่ดำเนินการตามกฎหมาย

นอกจากกิ่งแก้ว มีจุดเสี่ยงจุดอื่นอีกหรือไม่

  • “เรามีจุดเสี่ยงเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมรุ่นแรกๆ ที่มีมลพิศษ สารเคมี และคลังน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะฉะนั้นเรายังมีสิ่งนี้เยอะแยะไปหมด ไม่ได้บอกให้กลัว แต่ต้องมีการจัดการดำเนินการเรื่องเหล่านี้” ผศ.ดร.นพนันท์ กล่าว

วิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องคืออะไร

  • ศึกษาและสำรวจข้อกำหนด ความขัดแย้งต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน และประเมินว่าข้อกำหนดเหล่านั้นจะเป็นปัญหาในอนาคตหรือไม่
  • ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ผังเมือง ดังกล่าว ว่าจะให้โรงงานอยู่ต่อหรือพิจารณาย้ายไปที่อื่น โดยต้องทำตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ถูกต้อง

ปัญหาที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงอะไร

  • “ความล้มเหลวของระบบประเทศ มันคือความล้มเหลวของระบบการวางแผน ระบบการดำเนินการด้านผังเมือง” 
  • ผศ.ดร.นพนันท์ ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยปล่อยโอกาสดีๆ ในการปรับผังเมืองของประเทศไปหลายครั้ง หากเทียบกับต่างประเทศอย่างอังกฤษที่เคยพัฒนา London Dockland ท่าเรือที่เคยสกปรกและเต็มไปด้วยขยะ แต่กลับพัฒนาให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยที่สวยงามได้
  • โลกทัศน์คนไทยแคบไป การศึกษาไม่ได้ทำให้โลกของคนไทยกว้างขึ้น เราสร้างสนามบินในพื้นที่ทางระบายน้ำ เราทำท่าเรือขนส่งใจกลางกรุงเทพฯ ที่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาขนส่งได้ เราเสียโอกาสไปมากมายมหาศาลให้กับความไม่รู้ ความไม่รู้จึงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศนี้

TAGS:  

โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้: สารเคมีตกค้าง ปัญหาใหม่หลังเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมี จ.สมุทรปราการ

5 กรกฎาคม 2021

ปรับปรุงแล้ว 7 กรกฎาคม 2021

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

เหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 03.00 น.ของวันที่ 5 ก.ค. แต่หลังจากผ่านไป 20 ชม. เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถดับไฟได้เพราะเป็นไฟไหม้สารเคมีที่ไม่สามารถใช้น้ำดับได้

เหตุเพลิงไหม้รุนแรงที่โรงงานสารเคมีใน ซ.กิ่งแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ช่วงเช้ามืดของวันที่ 5 ก.ค. เป็นหนึ่งในไม่กี่เหตุการณ์ที่ดึงความสนใจของสังคมไปจากการระบาดของโควิด-19 ในสัปดาห์นี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระดับความรุนแรงและผลกระทบจากอัคคีภัยครั้งนี้ที่มีทั้งผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บและประชาชนที่ต้องอพยพจากพื้นที่นับพันคน

หลังจากใช้เวลากว่า 24 ชั่วโมงในการควบคุมเพลิงและการระเบิดของที่บรรจุสารเคมีอันตราย โดยมีการระดมทั้งรถดับเพลิงและเฮลิคอปเตอร์จากหลายหน่วยงานมาช่วย ในที่สุดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ซึ่งมีนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการเป็นประธานก็แจ้งว่าควบคุมเหตุเพลิงไหม้ที่โรงงานสารเคมี บริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จำกัดได้แล้วเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. ของวันที่ 6 ก.ค. แต่ยังคงเฝ้าระวังการปะทุของไฟอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังต้องเร่งวางแนวทางเพื่อจัดการสารเคมีตกค้างในพื้นที่

  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแอมโมเนียมไนเตรทในไทยหลังโศกนาฏกรรมกรุงเบรุต
  • ภาพเหตุการณ์เหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่ท่าเรือกรุงเบรุตของเลบานอน
  • ชาวบ้านโกรธแค้นรัฐบาล ละเลยการดูแลสารเคมีอันตราย จนกลายเป็นโศกนาฏกรรม

คำบรรยายวิดีโอ,

โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ : นาทีระเบิดและภาพความเสียหาย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปว่าเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 รายเป็นพนักงานดับเพลิงวัย 18 ปี และมีผู้บาดเจ็บ 40 ราย นอกจากนี้ไฟไหม้และแรงระเบิดยังทำให้บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 100 หลัง มีประชาชนในรัศมี 5 กม. จากโรงงานที่เกิดเหตุอพยพมาอยู่ในที่พักพิงที่ทางการเตรียมไว้ทั้งหมด 9 แห่งจำนวนเกือบ 2,000 คน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทานเพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่

ล่าสุดวันนี้ (7 ก.ค.) สถานการณ์คลี่คลายลงอีกระดับหนึ่งเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการประกาศให้ประชาชนที่พักอาศัยในรัศมี 2-5 กม. จากโรงงานที่เกิดเหตุกลับเข้าที่พักได้ ส่วนพื้นที่ในรัศมี 1 กม. ยังเป็นพื้นที่ควบคุมต่อไปเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ประชาชนที่พักอาศัยใกล้โรงงานต้องอยู่ที่ศูนย์พักพิงที่ทางการจัดไว้ให้ต่อไป

เกิดอะไรขึ้น

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

5 ก.ค.

อัคคีภัยครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 03.20 น. เฟซบุ๊กเพจของกลุ่มกู้ภัยป่อเต็กตึ๊งจุด สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สภ.บางแก้ว รายงานว่าเบื้องต้นพบผู้บาดเจ็บที่เกิดเหตุประมาณ 10 ราย สาหัส 2 ราย ต่อมาได้เกิดระเบิดขึ้น คาดว่าเป็นถังบรรจุสารเคมีภายในโรงงาน แรงระเบิดทำให้บ้านเรือน โรงงาน โรงเเรม อะพาร์ตเมนท์ในรัศมี 1-2 กม. ได้รับความเสียหายนับร้อยหลังคาเรือน และยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคนจากวัสดุที่พังลงมาจากแรงสั่นสะเทือน

09.00 น. นายสมศักดิ์ แก้วเสนา นายอำเภอบางพลี ได้ออกประกาศเตือนให้ประชาชนในรัศมี 5 กม. อพยพออกจากพื้นที่เนื่องจากกลัวว่าเพลิงจะลุกลาม และเกรงว่าเพลิงจะลุกลามไปติดถังสารเคมีในพื้นที่ใกล้เคียง ประมาณ 20,000 ลิตร อาจเกิดการระเบิดของสารเคมี และยังมีข้อกังวลถึงผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ

12.00 น. ได้เกิดระเบิดระลอกที่สอง หลังจากมีสารเคมีรั่วไหลออกมา ทำให้ไฟลุกโหมขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงถูกไฟคลอกได้รับบาดเจ็บ 3 นาย และเสียชีวิตอีก 1 นาย

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าได้สั่งการให้กรมควบคุมมลพิษร่วมสืบสวนหาสาเหตุและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการระงับเหตุ พร้อมทั้งวางมาตรการเพื่อป้องกันประชาชนจากมลพิษจากไฟไหม้สารเคมี ขณะที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ KA-32 จำนวน 2 ลำเข้าระงับเหตุ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

นอกจากนี้มีการส่งกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมด้วยเครื่องจักรกลสาธารณภัยสนับสนุนการดับเพลิงฯ ประกอบด้วย รถหอน้ำ 37 เมตร, รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว, รถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง และรถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยเพื่อขนโฟมดับเพลิง ซึ่งขณะนี้อยู่ในพื้นที่และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานและอาสาสมัครที่เกี่ยวข้องในพื้นที่แล้ว รวมถึงเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต 10 นาย

15.10 น. เจ้าหน้าที่เริ่มใช้เฮลิคอปเตอร์ เทโฟม 3 รอบ โดยใช้น้ำ 3,000 ลิตร ผสมโฟม แต่ไม่เป็นผล

15.19 น. เริ่มใช้รถฉีดละอองฝอยผสมโฟมจาก สำนักป้องกันสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.

18.00 น. เฮลิคอปเตอร์ดับเพลิงบินโปรยสารเคมีอีกครั้ง แต่ยังไม่ประสบควาสำเร็จ

18.30 น. เจ้าหน้าที่ยังใช้น้ำฉีดเลี้ยงไฟไม่ให้กระจายวงกว้างออกไป

22.45 น. เจ้าหน้าที่ปิดวาล์วถังบรรจุสารเคมีขนาด 20,000 ลิตรเพื่อควบคุมเพลิงได้สำเร็จ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

6 ก.ค.

00.15 น. นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการเปิดเผยว่า หลังจากใช้โฟมฉีดป้องกันคลังเก็บสารเคมีอันตราย เจ้าหน้าที่สามารถปิดวาล์วที่บรรจุสารเคมีได้ครบทั้ง 3 จุด ทำให้เพลิงสงบและควันลดลง แต่ต่อมาไม่นานก็เกิดการปะทุขึ้นอีกครั้ง ไฟกลับมาลุกไหม้รุนแรงอีกครั้ง

00.55 น. เจ้าหน้าที่แจ้งให้สื่อมวลชนออกจากพื้นที่เสี่ยงโดยด่วน เพื่อความสะดวกในการควบคุมเหตุ

03.10 น. ครบ 24 ชม. นับจากเกิดเหตุ แม้เจ้าหน้าที่จะเข้าปิดวาล์วถังเก็บสารเคมีได้แล้ว แต่ยังคงมีไฟคุขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ก่อให้เกิดกลุ่มควันดำหนา เจ้าหน้าที่นำหัวหน้าคนงานของโรงงานเข้ามาชี้จุดและอธิบายผังโรงงาน

05.20 เจ้าหน้าที่รายงานว่าควบคุมเพลิงไว้ได้แล้ว แต่ยังคงต้องฉีดน้ำลดอุณหภูมิต่อไปและโฟมเพื่อป้องกันการปะทุอย่างต่อเนื่อง

17.00 น. เพลิงลุกไหม้ขึ้นมาอีกครั้ง

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

สภาพโรงงานหลังเจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงไว้ได้ช่วงเช้าวันที่ 6 ก.ค.

7 ก.ค.

หลังจากที่เพลิงจากการปะทุครั้งล่าสุดช่วงเย็นวันที่ 6 ก.ค. สงบลง วันนี้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรมควบคุมมลพิษและผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมีจากบริษัทเอกชนที่ประกอบการด้านสารเคมี เช่น ปตท. และกลุ่มดาวเคมิคอล เพื่อหาแนวทางจัดการกับสารเคมีที่ไหลออกมาจากถังบรรจุตกค้างในพื้นที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ

ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปประเมินและวางแนวทางควบคุม เพื่อไม่ให้เกิดการลุกไหม้จากสารเคมีอีก โดยแยกการจัดการเป็น 2 ส่วน คือ การจัดการสารเคมีที่ตกค้างในที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ จะใช้สารเคมีชนิดอื่นเพื่อปรับสภาพไม่ให้เป็นเชื้อเพลิงได้ต่อไป ส่วนสารเคมีที่อยู่ในถังจัดเก็บ จะได้วางแผนจัดการตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญต่อไป

นายวันชัยให้ข้อมูลว่าถังจัดเก็บสารเคมีที่อยู่ในโรงงานมีขนาดบรรจุกว่า 2,000 ตัน ก่อนเกิดเหตุมีปริมาณสารสไตรีนโมโนเมอร์อยู่ราว 600 ตัน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ สารเคมีส่วนหนึ่งก็ไหลออกมาเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิง ขณะนี้ยังไม่ทราบจำนวนที่เหลือในถังบรรจุแน่ชัด

17.00 น. เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในรัศมี 2-5 กม. จากจุดเกิดเหตุกลับเข้าที่พักอาศัยได้ ส่วนระยะรัศมี 1 กิโลเมตรจากจุดเกิดเหตุ คือ ถนนกิ่งแก้วด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่ซอยกิ่งแก้ว 19-25 เป็นพื้นที่ควบคุมจึงยังไม่อนุญาตให้เข้าพื้นที่ และขอให้ประชาชนได้ติดตามประกาศของจังหวัดเป็นระยะ ๆ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

แม้จะควบคุมเพลิงไว้ได้แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังคงฉีดโฟมในพื้นที่โดยรอบถังบรรจุสารเคมีในโรงงานที่เกิดเหตุ เนื่องจากอาจเกิดความร้อนและไฟปะทุขึ้นมาอีก (ภาพเหตุการณ์วันที่ 6 ก.ค.)

อาลัยนักดับเพลิงวัย 18 ปี

นายกรสิทธิ์ ลาวพันธ์ หรือ พอส นักดับเพลิงวัย 18 ปี คือผู้เสียชีวิต 1 รายในเหตุการณ์ครั้งนี้

สื่อหลายสำนักรายงานว่านายกรสิทธิ์เป็นอาสาสมัครสังกัดหน่วยกู้ภัยสมเด็จเจ้าพระยา รหัส ธน 28-78 ที่เข้าร่วมระงับเหตุเพลิงไหม้ที่โรงงานหมิงตี้ เคมิคอล เฟซบุ๊กเพจของหน่วยกู้ภัยต่าง ๆ ได้ร่วมโพสต์ข้อความแสดงความอาลัย และชื่นชมความกล้าหาญของอาสาดับเพลิงผู้เสียชีวิต

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีซึ่งอยู่ระหว่างการกักตัวหลังจากใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิดที่ จ.ภูเก็ต ก็ร่วมยกย่องนายกรสิทธิ์ด้วยโดยโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า "จากกรณีเพลิงไหม้โรงงานสารเคมีที่ ซ.กิ่งแก้ว 21 จนมีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิต 1 นาย และผู้มีบาดเจ็บจำนวนมาก ผมขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต คือนายกรสิทธิ์ ลาวพันธ์ และขอสดุดีวีรกรรมของอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ทุกท่านในการเสี่ยงอันตรายเพื่อป้องกันภัยให้กับผู้อื่นในอุบัติเหตุครั้งนี้"

ผลกระทบต่อสุขภาพ

หลังเกิดเหตุ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ ได้ขอความร่วมมือประชาชนอพยพออกจากพื้นที่อย่างน้อย 5 กิโลเมตร เพื่อลดความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากสารเคมีเป็นสไตรีนโมโนเมอร์ที่เป็นของเหลว ไวไฟ เมื่อติดไฟจะให้ควันหรือก๊าซที่ระคายเคืองหรือเป็นพิษ จึงห้ามอยู่ใกล้ เปลวไฟและประกายไฟ และห้ามสูบบุหรี่

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าเบื้องต้นโรงงานมีสารเคมีอันตรายอย่างน้อย 2 ชนิด คือ เพนเทน และสไตรีนโมโนเมอร์ ซึ่งเจ้าหน้าทีฉีดน้ำและโฟมหล่อเลี้ยงไว้ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ถังบรรจุสารเคมีมีอุณหภูมิสูงเกินไป

สไตรีนโมโนเมอร์ เป็นสารเคมีที่มีอันตรายต่อระบบอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทั้งระบบ ทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบสร้างเลือด ตับ และระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อได้รับไอระเหยของสารนี้ทางการสูดดมส่งผลให้เวียนศีรษะ ง่วงซึม ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หมดสติ จะต้องย้ายผู้ป่วยไปบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ทันที หากได้รับทางผิวหนังจะมีอาการผิวหนังแดง ปวด ให้ใช้วิธีล้างผิวหนังทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก ๆ หากสัมผัสสารทางดวงตาจะทำให้ระคายเคืองตา ตาแดง ปวดตา จึงควรล้างตาด้วยน้ำ ในปริมาณมาก ๆ เช่นกัน เพื่อเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

ด้าน รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์ว่า สารเคมีที่โรงงานนี้มีสารตั้งต้นหลายตัว ซึ่งสารประกอบหลัก ๆ คือ สไตรีน (styrene) เพราะเป็นโรงงานที่ทำ ฟองน้ำ โฟม นอกจากนี้ ยังมีสาร พอลิสไตรีน (polystyrene) โดยมีสไตรีนเป็นสารตั้งต้น และยังมีสารที่อยู่ในกลุ่มตัวทำละลาย เช่น คาร์บอน เตตระคลอไรด์ (carbon tetrachloride) โทลูอีน (toluene) สารเคมีที่เป็นตัวชะล้างทำความสะอาด ซึ่งเป็นสารประกอบ ฮาโลเจน (halogen) ซึ่งโดยรวมแล้ว จะเรียกว่าเป็นสารเคมีที่ไม่เป็นมิตรต่อมนุษย์ คือ สารที่เหนี่ยวนำที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงใช้งานในอุตสาหกรรมระบบปิด ไม่ค่อยจะหลุดรอดออกมาสู่ชุมชน

ในการให้สัมภาษณ์กับเวิร์คพอยท์ทูเดย์ รศ.วีรชัย อธิบายว่า สารเคมีเหล่านี้ โดยเฉพาะ สารสไตรีน มีสารประกอบอื่น ๆ เช่น เบนซิน เป็นสารไวไฟที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เมื่อสารเหล่านี้เจอกับไฟก็เกิดการระเบิดปะทุขึ้นมา

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในอากาศที่มาจากการเผาไหม้ คือ ฝุ่น PM 2.5 พร้อมกับสารปนเปื้อนสารเคมี เป็นกลุ่มหมอกควัน กระทบต่อประชาชนที่อาศัยโดยรอบ และยังเป็นผลต่อสุขภาพในระยะยาว

เขากล่าวว่ามลพิษที่เกิดขึ้น "ไม่ได้มีพิษเฉียบพลัน แต่เป็นกลุ่มหมอกควันที่มีสารเคมีเจือปนมีผลต่อร่างกายในระยะยาว ถ้าสูดหายใจเข้าไปจะมีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะเป็นมะเร็งกันทั้งหมด เพราะสารกลุ่มนี้เป็นสารที่สงสัยให้ก่อมะเร็ง แต่การรับเข้าไปเยอะ ๆ ก็มีผลต่อร่างกาย ในส่วนของกลุ่มผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแออยู่แล้วเมื่อต้องสูดดมสารพิษก็อาจทำให้ร่างกายแย่ลง แนะนำว่าประชาชนควรใส่หน้ากากแบบเต็มใบหน้า หรือหน้ากากที่ป้องกัน PM 2.5 ได้"

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มีไอระเหยของสารสไตรีน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ กระจายออกไปโดยรอบในรัศมีประมาณ 5 กิโลเมตร โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงงาน ซึ่งเป็นด้านท้ายลมในช่วงเช้า บริเวณแถบถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก แขวงดอกไม้ เขตประเวศ ทิศทางลมมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา

ขณะเดียวกัน ผลการตรวจของกรมควบคุมมลพิษพบว่า เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ก่อให้เกิดมลพิษไกลถึง 9 กม.

โดยผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่โดยรอบในระยะ 500 เมตร ถึง 9 กิโลเมตร โดยตรวจวัดระดับขีดจำกัดการติดไฟ (LEL) ปริมาณสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) พบว่าอยู่ในเกณฑ์ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน

นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงความกังวลว่าอาจมีฝนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ซึ่งฝนจะไปชะล้างกลุ่มควันจากเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นสารพิษแล้วตกลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง หรือบ่อน้ำ อาจส่งผลต่อประชาชนในการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้น้ำช่วงนี้ โดยในช่วง 1-2 วันนี้ ต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ขณะเดียวกัน โลกออนไลน์ต่างแชร์ภาพและคลิปกลุ่มควันจากเหตุไฟไหม้ที่ได้ลอยเข้าปกคลุมหลายพื้นที่ของ กทม. เช่น ย่านบางนา ลาดกระบัง หัวหมาก บางกะปิ รวมถึงบริเวณแยกรัชโยธิน และประชาชื่น

รศ.วีรชัย บอกกับเวิร์คพอยท์ทูเดย์ว่า การกำจัดหมอกควันที่มีสารพิษเหล่านี้ มีระยะเวลาสลายตัวตามธรรมชาตินานเป็นปี แต่ก็จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยอย่างอื่นด้วย เช่น น้ำ ความชื้น ฝน ก็จะทำให้สลายตัวได้เร็ว และน้ำจะทำปฏิกิริยาทำให้กลายเป็นสารประกอบตัวอื่นที่สลายตัวได้ง่ายขึ้น และลงสู่พื้นดินซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวนกลับมาสู่มนุษย์ได้อีก

นักวิชาการเคมีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งข้อสงสัยว่าที่ตั้งโรงงานดังกล่าว อยู่ในพื้นที่สีแดงของผังเมืองสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับอาคารพาณิชย์และแหล่งชุมชน ทั้งที่โรงงานขนาดใหญ่แบบนี้ควรจะเป็นพื้นที่สีม่วง จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบต่อไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก