ใบประกอบโรคศิลป์ อยู่ได้กี่ปี

เป็นที่ทราบกันดีว่า ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2545 กฎหมายกำหนดให้ รังสีเทคนิคเป็นวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ หรือต้องมี license (กฤษฎีกากำหนดให้รังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ) ซึ่งได้มีการยกเลิกกฤษฎีกาฉบับนี้แล้ว แต่ได้ยกเนื้อหาทั้งหมดพร้อมมีการปรับปรุงเพิ่มเติมไปไว้ใน พรบ.ประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่4)พ.ศ. 2556 

หลังจากที่ได้กำหนดให้ต้องมี license เมื่อ 2545 เป็นต้นมาแล้วนั้น ก็มีการสอบเพื่อขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ครั้งแรกเมื่อ 2547 และประกาศเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 ให้นักรังสีเทคนิคจำนวน 56 คน ซึ่งล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 25 ปี เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคกลุ่มแรก โดยการสอบคราวนั้นไม่ต้องสอบข้อเขียน

ตั้งแต่ พฤษภาคม 2547 จนสิ้นปี 2547 มีกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวหลายฉบับออกมาบังคับใช้ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนถึงนี้ ได้แก่

🔻ระเบียบกระทรวงสาธารณาสุขว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค (10 สิงหาคม 2547)ซึ่งต่อมาได้ยกเลิก โดยใช้จรรยาบรรณากลาง พ.ศ. 2559 แทน 

🔻กฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2547 มีสาระสำคัญตามชื่อของกฎกระทรวง มีรายละเอียดทั้งหมด 13 ข้อ แต่ไม่มีการกำหนดอายุของ license

ต่อมาวันที่ 12 ธันวาคม 2547 นักรังสีเทคนิค 1,256 คน เข้าสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค นั่นเป็นจำนวนมากที่สุดที่นักรังสีเทคนิคเข้าสอบ แล้วก็มีการสอบเรื่อยมาทุกปี จนปัจจุบันมีนักรังสีเทคนิคขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 4,673 คน ทุกคนมี license รังสีเทคนิคที่ไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ ภายใต้บังคับของกฎกระทรวง พ.ศ. 2547

บรรยากาศการสอบ License เมื่อ 12 ธค 2547

ล่าสุด ได้มีกฎกระทรวงออกมาใหม่ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562 ว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2 )  เป็นการเพิ่มรายละเอียดกฎกระทรวงที่ใช้ในปี 2547 เพิ่มเรื่องอายุของ license กำหนดให้มีอายุ 5 ปี เข้าไปในกฎกระทรวงนี้ 

ดังนั้น บัณฑิตรังสีเทคนิคทั้งที่เพิ่งจบและที่ยังตกค้างสอบไม่ผ่าน ที่จะเข้าสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนฯ ในเดือนกรกฎาคม 2562 นี้ หากสอบผ่าน จะได้ license ที่มีอายุ 5 ปี และต่ออายุได้ตามเงื่อนไขที่กรรมการวิชาชีพฯกำหนด

ประเด็นน่าสนใจ คือ กฎใหม่นี้บังคับใช้กับผู้ที่มี license อยู่เดิมก่อนกฏกระทรวง 2562 จะบังคับใช้หรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากยังต้องมีการตีความกฎกระทรวงอันใหม่นี้ ซึ่งคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคกำลังดำเนินการเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อไปโดยเร็ว

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ คือใบอนุญาตให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีสิทธิประกอบวิชาชีพที่เรียกว่า การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ได้ตามกฎหมาย บุคคลใดก็ตามที่ศึกษาสำเร็จหลักสูตรวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์แล้วจะต้องผ่านการสอบวัดความรู้ต่างๆ ตามที่สภาการพยาบาลกำหนดก่อน จึงจะได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่ง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ทุกฉบับมีอายุ 5 ปี และต้องมาดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตใหม่ ซึ่งสามารถยื่นได้ล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุในใบอนุญาต 180 วัน โดยสมาชิกที่จะต่ออายุใบอนุญาต ให้ดำเนินการยื่นคำร้องต่ออายุใบอนุญาต ผ่านระบบ Web Application

 

คำแนะนำในการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ Web Application งานทะเบียนสมาชิก  คลิก

หลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการต่ออายุใบอนุญาต

  1. แบบคำขอ ทญ.6 และ สพ 4 (พิมพ์หลังจากยื่นคำร้องผ่าน Web Application)

  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรที่ทางราชการออกให้ หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้ไม่มีสัญชาติไทย)

  3. สำเนาทะเบียนบ้าน

  4. รูปถ่ายปัจจุบันไม่เกิน 1 ปี หน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดำ ไม่สวมเสื้อยืด ไม่สวมครุย ไม่ยิ้มเห็นฟัน ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป เขียนชื่อด้านหลัง ตัวอย่างรูปถ่ายสำหรับติดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

  5. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

  6. สำเนาบัตรสมาชิกสภาการพยาบาล

  7. หากเปลี่ยนคำนำหน้า / ชื่อตัว / ชื่อสกุล / ยศ ต้องใช้สำเนาทะเบียนสมรส และ/หรือ สำเนาใบเปลี่ยนคำนำหน้า / ชื่อตัว ชื่อสกุล / คำสั่งแต่งตั้งยศ

    ตอบ ยังใม่ได้จำกัดจำนวนครั้ง แต่ต้องสอบขั้นตอนที่ 1 และ 2 ให้ผ่านก่อนถึงจะมีสิทธิ์สมัครสอบขั้นตอนที่ 3 ได้

    3. สมัครสอบ ศ.ร.ว. ได้อย่างไร

    ตอบ สมัครผ่านระบบ online เท่านั้น โดยเมื่อกระบวนการสมัครสอบเสร็จสิ้น ระบบจะให้พิมพ์แบบฟอร์มสำหรับนำไปชำระเงินได้ที่ธนาคารตามที่ระบุ

    4. ผู้สมัครสอบสามารถชำระเงินค่าสมัครสอบด้วยทางใด

    ตอบ ชำระผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคารตามที่ระบุโดยพิมพ์ใบชำระเงินจากระบบการสมัคร และนำใบชำระเงินไปยื่นกับทางเคาน์เตอร์ธนาคาร เพื่อทำการชำระเงิน ภายในวัน/เวลาที่กำหนดของการสมัครสอบแต่ละครั้ง

    5. สามารถเก็บผลการสอบไว้ได้กี่ปี

    ตอบ ผลการสอบขั้นตอนที่ 1 และ 2 แต่ละขั้นตอนสามารถเก็บไว้ได้ 7 ปี นับจากวันที่แพทยสภาอนุมัติผลการสอบนั้นๆ จนถึงวันยื่นสมัครสอบขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่ 3 สามารถเก็บไว้ได้ 3 ปี นับจากวันที่แพทยสภารับรองผลการสอบ

    6. วิธีการเข้าสู่ระบบเพื่อตรวจสอบข้อมูลการสมัครสอบ และสั่งพิมพ์เอกสารการสอบทำอย่างไร

    ตอบ

    • กรณี Login ครั้งแรก ท่านสามารถ เข้าสู่ระบบได้โดยการกรอก เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน หรือเลขที่หนังสือเดินทาง (ตามที่ท่านได้ระบุไว้ในขั้นตอนการสมัครสอบ) ลงในช่อง "ชื่อผู้ใช้" และ "รหัสผ่าน"
    • กรณีที่ท่านเคยเข้าใช้งาน และเปลี่ยนรหัสผ่านแล้ว ขอให้ท่านใช้รหัสผ่านใหม่ ตามที่ท่านได้ทำการแก้ไข เพื่อเข้าสู่ระบบ
    • กรณีลืมรหัสผ่าน ท่านสามารถคลิก "ลืมรหัสผ่าน ?" เพื่อขอรับรหัสผ่านโดยระบบจะทำการสร้างรหัสผ่านใหม่ให้กับท่าน และจะทำการส่งรหัสผ่านดังกล่าว ไปยังอีเมล์ที่ท่านได้กรอกไว้ในใบสมัคร

    7. กรณีคลิกลืมรหัสผ่าน แล้วไม่ได้รับรหัสผ่านใหม่จะทำอย่างไร

    ตอบ อาจมีความผิดพลาดตั้งแต่ครั้งแรกในการกรอกข้อมูลสมัครสอบ เนื่องจากผู้สมัครกรอกอีเมล์ผิด ขอให้ผู้สมัครแจ้งปัญหาที่พบต่อ ศ.ร.ว. หรือส่งข้อมูลมาทางอีเมล์ที่ cma@cmathai.org เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการแก้ไขให้

    8. ผู้สมัครสอบต้องการเปลี่ยนแปลง/แก้ไขข้อมูลต่างๆในระบบต้องทำอย่างไร

    ตอบ ให้ระบุชื่อ – สกุล และเลขประจำตัวประชาชนพร้อมข้อมูลที่ต้องการแก้ไข ส่งข้อมูลมาทางอีเมล์ที่ cma@cmathai.org เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการแก้ไขให้

    9. หลักฐานแสดงตนเองที่ต้องใช้ในวันสอบเพื่อเข้าห้องสอบมีอะไรบ้าง

    ตอบ ในการสอบทุกครั้งจะต้องนำบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ และบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ แสดงต่อกรรมการคุมสอบก่อนเข้าห้องสอบ (ผู้ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ให้ใช้หนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ แทนบัตรประจำตัวประชาชน) และวางบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบไว้บนโต๊ะที่นั่งสอบตลอดเวลาของการสอบ บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบที่มีการขีดเขียนข้อความใดๆ ไว้จะถือว่าเป็นการทุจริตในการสอบ

    10. สามารถตรวจสอบสถานที่สอบได้อย่างไร?

    ตอบ ในการสอบทุกครั้งจะต้องนำบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ และบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ แสดงต่อกรรมการคุมสอบก่อนเข้าห้องสอบ (ผู้ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ให้ใช้หนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ แทนบัตรประจำตัวประชาชน) และวางบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบไว้บนโต๊ะที่นั่งสอบตลอดเวลาของการสอบ บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบที่มีการขีดเขียนข้อความใดๆ ไว้จะถือว่าเป็นการทุจริตในการสอบ

    11. ในวันสอบควรแต่งกายอย่างไร

    ตอบ ในการเข้าสอบผู้เข้าสอบจะต้องแต่งกายด้วยเครื่องแบบนักศึกษา หรือแต่งกายสุภาพ ห้ามสวมเสื้อยืดหรือปล่อยชายเสื้อ และให้สวมรองเท้าหุ้มส้น หากไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัตินี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบ

    12. ในวันสอบต้องนำอะไรติดตัวไปบ้าง

    ตอบ

    1. หลักฐานแสดงตัวบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางฉบับจริง
    2. ศ.ร.ว. จะเป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนให้ผู้เข้าสอบ ได้แก่ ดินสอดำ 2B และยางลบจึงไม่อนุญาตให้นำอุปกรณ์ใดๆ เข้าห้องสอบยกเว้นนาฬิกาที่ไม่เป็นอุปกรณ์ในการสื่อสารหรือใช้ในการคิดคำนวณ สิ่งของอื่นๆ รวมทั้งกระเป๋าเงิน โทรศัพท์มือถือ (ให้ปิดเครื่องด้วย) ให้วางไว้ในพื้นที่ที่กรรมการกำหนดไว้ ศ.ร.ว. จะไม่รับผิดชอบหากเกิดการสูญหาย ดังนั้นจึงไม่ควรนำสิ่งของมีค่าไปยังสนามสอบ

    13. ประกาศผลสอบเมื่อใด

    ตอบ ผลการสอบจะออกประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากวันที่สอบ หรือยึดตามประกาศรับสมัครสอบในแต่ละครั้ง

    14. ผลการสอบมีวันหมดอายุหรือไม่

    ตอบ ผลการสอบขั้นตอนที่ 1 และ 2 แต่ละขั้นตอนมีอายุ 7 มีนับจากวันที่แพทยสภาอนุมัติผลการสอบนั้นๆ จนถึงวันยื่นสมัครสอบขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่ 3 มีอายุ 3 ปี นับจากวันที่แพทยสภาอนุมัติผลการสอบ

    15. การกำหนดการสอบขั้นตอนที่ 3 ที่มีการแบ่งสอบเป็นรอบๆ นั้น จะทำให้ผู้สมัครสอบรอบแรกได้เปรียบมากว่าผู้สมัครสอบรอบอื่นๆ คือ มีโอกาสได้สอบอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม ดังนั้นถ้าเป็นผู้สมัครสอบรอบอื่นๆ จะเสียเปรียบหรือไม่

    ตอบ ศ.ร.ว.จะจัดสอบให้ผู้สมัครสอบขั้นตอนที่ 3 ทั้งหมดได้สอบอย่างน้อย 1ครั้งในการสอบที่จัด 3รอบ และจะจัดสอบรอบที่ 4 เพิ่มเติมอีกสำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่าน และผู้ที่เพิ่งมีคุณสมบัติครบในการสอบขั้นตอนที่ 3 ดังนั้นแทบทุกคนจะมีโอกาสได้สอบ 2 ครั้ง ไม่น่าจะเป็นการเสียเปรียบ

    16. หากมีการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล หลังจากที่ได้สมัครสอบไปแล้วจะยื่นคำร้องขอแก้ไขได้หรือไม่

    ตอบ ในกรณีที่มีการเปลี่ยน ชื่อ หรือนามสกุล หลังจากที่ได้สมัครสอบไปแล้ว ให้ระบุชื่อ – สกุล และเลขประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ส่งข้อมูลมาทางอีเมล์ที่ cma@cmathai.org เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการแก้ไขให้

    17. ข้อสอบเป็นภาษาใด

    ตอบ สำหรับขั้นตอนที่ 1 และ 2 ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดยกเว้นข้อสอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์เฉพาะทางด้านกฎหมายไทยหรือนิติเวชศาสตร์ อนุโลมให้ใช้เป็นภาษาไทย สำหรับขั้นตอนที่ 3 เป็นการสอบภาคปฏิบัติ จึงต้องใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร

    18. ถ้ากำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ในสถาบันต่างประเทศสามารถสมัครสอบขั้นตอนที่ 1 ได้หรือไม่

    ตอบ ถ้ามีคุณสมบัติและมีใบรับรองจากสถาบันการศึกษาว่า ได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (ระดับปรีคลินิก) หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษานับถึงวันกำหนดสอบฯ โดยได้ศึกษาครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรระดับปรีคลินิกของสถาบันการศึกษาที่แพทยสภารับรองก็สามารถสมัครสอบได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก