การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศมีกี่รูปแบบ

สาเหตุของการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ

    - การปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ

      - เพื่อป้องกันการขาดดุลการค้า

    - เพื่อรักษาแหล่งภาษีของรัฐบาล

    - เพื่อควบคุมมาตรฐานและคุณภาพสินค้า

วิธีการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ

    - มาตรการด้านภาษีศุลกากร รัฐเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง  เพื่อปกป้องสินค้าภายในประเทศ ไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศ  เข้ามาแข่งขันได้  รัฐเก็บภาษีส่งออกในอัตรา ที่ต่ำหรือไม่เก็บเลย  เพื่อส่งเสริมการส่งออก

    - มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร  มาตรการกึ่งภาษีศุลกากร มาตรการควบคุมด้านราคา มาตรการจำกัดปริมาณ มาตรการกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรการช่วยเหลือโดยตรงจากรัฐบาล

สาเหตุของการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ 

1. ความแตกต่างของปัจจัยการผลิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันของแต่ละประเทศ ส่งผลให้ราคาสินค้าของแต่ละประเทศแตกต่างกัน 

2. การเลือกปฏิบัติที่เป็นลักษณะของข้อจำกัดทางการค้าของแต่ละประเทศที่เกิดจากนโยบายการค้าและการเงินของแต่ละประเทศแตกต่างกัน

 3. ระบบการเงินการธนาคารที่แตกต่างกัน (ผลต่อการชำระเงินระหว่างประเทศ)

 4. พิธีการศุลกากรที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ 

5. การกำหนดแนวนโยบายการค้าระหว่างประเทศของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน 

6. เพื่อให้ประเทศช่วยตนเองได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดสงครามขึ้น อาจไม่มีสินค้าที่จำเป็นบางอย่างใช้ เพราะไม่สามารถนำเข้าตามปกติได้ ในยามปกติจึงเตรียมการผลิตสินค้าที่จำเป็นสำรองไว้

 7. เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ หากรัฐบาลไม่ห้ามสินค้าจากต่างประเทศที่จะเข้ามาตีตลาด อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมภายในต้องล้มเลิกกิจการ 

8. เพื่อป้องกันการทุ่มตลาด

 9. เพื่อป้องกันการแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่นำเข้ามา ทำให้ต้องเสียเงินตราต่างประเทศออกไปจำนวนมาก จึงต้องแก้ไขโดยการจำกัดการนำเข้า และส่งออกให้มากขึ้น

วิธีการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ

1. การตั้งกำแพงภาษี (Tariff Wall) เป็นวิธีการที่เคยมีการใช้กันมาโดยตลอด ประเทศต่างๆ มักตั้งภาษีศุลกากรไว้สูงเพื่อกีดกันสินค้าจากต่างประเทศ โดยทั่วไปจะมีใช้ 2 ลักษณะ คือ – พิกัดอัตราเดี่ยว  เป็นการตั้งภาษีศุลกากรอัตราเดียวไม่ว่าสินค้าชนิดนั้นจะนำเข้ามาจากประเทศใด หรือส่งออกไปยังประเทศใด – พิกัดอัตราซ้อน  เป็นการตั้งภาษีศุลกากร โดยแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันตามข้อตกลงที่มีให้แก่กัน ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติในแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน ผลจากการจัดเก็บภาษีศุลกากร ทำให้ราคาสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการบริโภคของสินค้าชนิดนั้นลดลง โดยผู้บริโภคจะหันมาบริโภคสินค้าในประเทศที่สามารถทดแทนกันได้ ทำให้อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าทดแทนประเภทเดียวกันภายในประเทศมีการขยายตัวขึ้น 

2. การควบคุมสินค้า (Protection Trade Policy) เป็นการควบคุมการส่งออกสินค้าและควบคุมการนำเข้าสินค้าบางชนิด ดังนั้น หากต้องการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าชนิดนั้น จำเป็นต้องขออนุญาตจากทางการก่อน หรืออาจเป็นการกำหนดโควตาการนำเข้าและส่งออกสินค้าบางชนิดไว้ โดยการควบคุมสินค้าเหล่านี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนี้ – การควบคุมสินค้าส่งออก

 8 กลุ่มมาตรการกีดกันการค้าที่ SMEs ต้องรู้ 
       
       หลังจากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบ AEC แล้วคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า อุปสรรคในเรื่องของกำแพงภาษีจะหมดลงไปจากการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง
       
       แต่ในความถูกต้องนั้น กลับมีอุปสรรคใหม่ที่ดูเหมือนว่าจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไม่น้อยทีเดียว หรือบางครั้งอาจส่งผลกระทบมากกว่าเรื่องของภาษีด้วยซ้ำ ใช่แล้วสิ่งที่เรากำลังเอ่ยถึง นั่นคือ “มาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี” ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศในอาเซียน ที่จะมีผลทำให้แนวโน้มการค้าเพิ่มขึ้นได้ไม่เร็วนักอย่างที่คาดไว้
       
       จากบทวิคราะห์ของ SCB EIC ได้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้จะมีการลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีภายใต้ AEC ไปแล้ว แต่อุปสรรคสำคัญที่ยังคงอยู่ คือ มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ซึ่งนอกจากการขจัดและลดรายการได้ค่อนข้างล่าช้าแล้ว หลายประเทศกลับมีการออกมาตรการที่มิใช่ภาษีเพิ่มเติมอยู่ตลอด ส่งผลให้ธุรกิจยังใช้โอกาสและประโยชน์จากตลาดอาเซียนได้ไม่เต็มที่นัก
       
       สำหรับมาตรการที่มิใช่ภาษีนั้น มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและจากความล่าช้าในการค้าขายส่งมอบสินค้า 
       
       ทั้งนี้ อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี (Non-Tariff Barriers: NTB) ได้ถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่ 
       
       1. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD)
       
       ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติ โดยอ้างว่ามีการทุ่มตลาดจากบริษัทผู้ส่งออกมายังประเทศผู้นำเข้า 
       
       2. มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Counter-Vailing Duty : CVD)
       
       ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุนเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติโดยอ้างว่า สินค้านำเข้าได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลประเทศที่ผลิตสินค้านั้นๆ 
       
       3. มาตรการปกป้องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard)
       
       ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรปกป้องเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติได้ โดยอ้างว่ามีการนำเข้าที่ผิดปกติ ทั้งในรูปของการนำเข้ามาของสินค้าในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือมีการนำเข้ามาในราคาที่ต่ำกว่าปกติ 
       
       4. มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary : SPS)
       
       การใช้มาตรฐานเรื่อง SPS ที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคต่อสินค้านำเข้าในเชิงพาณิชย์
       
       5. มาตรการอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barrier to Trade :TBT)
       
       กำหนดมาตรฐานทางการค้า เช่น การกำหนดการติดฉลากและบรรจุภัณฑ์ที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคต่อสินค้านำเข้าในเชิงพาณิชย์ 
       
       6. มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
       
       เช่น นำเรื่อง ปัญหาโลกร้อน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า
       
       7. มาตรการด้านแรงงาน
       
       ตัวอย่างเช่น สินค้านำเข้า ต้องไม่ได้ผลิตโดยเด็กหรือนักโทษ เป็นต้น 
       
       8. NTB รูปแบบอื่นๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก