รายงานวิธีการทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ มีความหมายแบบกว้างๆ หมายถึง เหตุการณ์ในเกิดขึ้นในอดีต ซึ่งบางเหตุการณ์อาจไม่มีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน ทำให้นักประวัติศาสตร์ ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "วิธีการทางประวัติศาสตร์" โดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร วัตถุ สถานที่ ฯลฯ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเพื่อประกอบการศึกษาวิเคราะห์ 

วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง?

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ และตีความจากร่องรอยหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักเหตุผลอธิบายเหตุการณ์ และความเป็นมาต่างๆ ในอดีต ให้มีความใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด 

การศึกษาประวัติศาสตร์ ช่วยให้เราเข้าใจปัจจุบันมากยิ่งขึ้น วิธีการทางประวัติศาสตร์ จึงถูกใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยภูมิหลังในอดีต เพื่อให้ผู้ศึกษาพิจารณาหลักฐานอย่างรอบด้านก่อนสรุปผล อีกทั้งยังเป็นกระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับชุดข้อมูลด้วย สำหรับวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน มีดังนี้

1. การกำหนดหัวข้อ
ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน ว่าต้องการศึกษาเรื่องอะไร เพราะเหตุใด อยู่ในความสนใจหรือไม่ แล้วจึงตั้งคำถามต่อสิ่งที่ต้องการศึกษา รวมถึงการประเมินเรื่องเวลา และทุนสำหรับวิจัย 

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ตั้งสมมติฐานไว้สำหรับหัวข้อที่ต้องการศึกษา แล้วเริ่มค้นคว้าข้อมูล ความแตกต่างของการสืบค้นทางประวัติศาสตร์ ไม่สามารถใช้ชุดแบบสอบถามได้ แต่ต้องลงมือศึกษาหลักฐานต่างๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้น และชั้นรอง เพื่อรวบรวมข้อมูลให้รอบด้าน และตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. ประเมินคุณค่าหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์จะใช้วิธีการประเมินคุณค่าของหลักฐานที่เรียกว่า การวิพากษ์ โดยพิจารณาว่าหลักฐานแต่ละชิ้นน่าเชื่อถือหรือไม่ สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้หรือไม่ ตรวจสอบความแท้-เทียม อายุความเก่าแก่ ซึ่งบางครั้งอาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี หรือใช้การพิสูจน์หลักฐานด้วยวิทยาศาสตร์

4. การตีความวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคัดเลือกหลักฐานได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการตีความเจตนาที่แท้จริงของหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่ใช้ ขนาด รูปร่าง ลักษณะทางศิลปะ สภาพสังคม ฯลฯ วิเคราะห์ว่าหลักฐานและข้อมูลที่ได้รับแฝงคติความเชื่ออย่างไรบ้าง

5. การเรียบเรียงนำเสนอ
ขั้นตอนสุดท้ายของวิธีทางประวัติศาสตร์ เมื่อสรุปผลการศึกษาวิจัยได้แล้ว แบ่งออกเป็นการนำเสนอระดับพื้นฐาน เชิงบรรยาย งานเขียน และการนำเสนอระดับวิเคราะห์ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

ประวัติศาสตร์ทั้งกระแสหลักและกระแสรอง สามารถถูกปรับเปลี่ยนหรือถูกหักล้างลงได้ หากมีหลักฐานหรือชุดข้อมูลที่ใหม่กว่า น่าเชื่อถือกว่าปรากฏขึ้นมาสนับสนุน 

ทุกเรื่องราวประวัติศาสตร์ย่อมมีความเป็นมา และนัยที่ซ่อนไว้ในแต่ละยุคสมัย ทำให้การเขียนประวัติศาสตร์แต่ละฉบับ ย่อมมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการศึกษาวิจัยที่ช่วยให้เราเข้าสู่กระบวนการที่ "เข้าใกล้" ความจริงที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมากที่สุดนั่นเอง

วิธีการทางประวัติศาสตร์

           คือกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร  ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐาน  และนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร  ์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริง ที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

การศึกษาประวัติศาสตร์

การศึกษาประวัติศาสตร์

เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 W 1 H คำถาม คือ 

"เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What) 

"เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When) 

"เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where)      

"ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why)

"เกิดขึ้นกับ ใคร มีใครเกี่ยวข้อง" (Who)

"เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) 

คุณสมบัติผู้ศึกษาประวัติศาสตร์

    ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้น จะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย

  1. มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  2. มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
  4. มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  5. มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  6. มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  7. มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  8. มีจินตนาการ (Historical imagination)


การศึกษาประวัติศาสตร์

เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม                            คือ 

"เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), 

"เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), 

"เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where),            

"ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), 

และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) 

วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วย

ขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

การรวบรวมหลักฐาน วัดมหาธาตุ  สุโขทัย

การคัดเลือกหลักฐาน

การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน

การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน

การนำเสนอข้อเท็จจริง

        ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์  จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้า  และสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยม  ในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม     ที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีต  เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา

        ประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา   สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์   ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบาย  ให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิเคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคม   ที่เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง

วิธีการทางประวัติศาสตร์

        การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กาลเวลาและนักประวัติศาสตร์ ดังนั้นจำเป็นต้องมีวิธีการในการรวบรวมค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผล และข้อสรุป ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

        ขั้นตอนที่ 1  การตั้งประเด็นที่จะศึกษา นับว่าเป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ นักประวัติศาสตร์ หรือผู้สนใจทางประวัติศาสตร์มีความสนใจอยากรู้ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง โดยตั้งประเด็นคำถามว่า ศึกษาเรื่องอะไรในช่วงเวลาใด ทำไมจึงต้องศึกษา

        ขั้นตอนที่ 2  สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสอบสวนเข้าไปให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ประกอบด้วยหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ คำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์ และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ศิลาจารึก จดหมายเหตุ บันทึกและเอกสารต่างๆ ในการสะสม และรวบรวมข้อมูล ต่าง ๆ เหล่านี้ นักประวัติศาสตร์จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณของตนสำรวจ เนื่องจากข้อมูลแต่ละประเภทเป็นผลิตผลที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องค้นหาต้นตอหรือสาเหตุของข้อมูลอย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันมิให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน

        ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้ว นำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่ง นักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง

        ขั้นตอนที่ 4  การคัดเลือกและประเมินข้อมูล นักประวัติศาสตร์จะต้องนำข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้มาคัดเลือก และประเมินเพื่อค้นหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ต้องการทราบ

        ขั้นตอนที่ 5  การเรียบเรียงรายงานข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับอันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล  หรืออธิบายข้อสงสัย  เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบ ตลอดจนความรู้  ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบการรายงานอย่างมีเหตุผล

        วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง  ขั้นตอน หรือวิธีการที่นักประวัติศาสตร์หรือผู้ศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ใช้เพื่อการศึกษา  ค้นคว้า และเรียบเรียงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและชัดเจนมากที่สุด

        วิธีการทางประวัติศาสตร์มีความสำคัญ คือ สามารถใช้ในการสืบค้นเรื่องราวต่าง ๆที่สนใจได้ เช่น การหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียน วัด ชุมชน จังหวัด หรือภูมิภาคของตน ซึ่งเป็นเรื่องราวใกล้ตัวและเราสามารถหาหลักฐานได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น วัด พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำคัญในท้องถิ่น เป็นต้น

การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

ถ้านักเรียนสนใจอยากทราบว่าภูมิภาคของตนมีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีเรื่องราวใดที่น่าสนใจน่ารู้บ้าง นักเรียนสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาค้นคว้าได้ตาม

ขั้นตอน 5 ขั้น ดังนี้

1. การกำหนดหัวเรื่องที่ศึกษา

2. การรวบรวมหลักฐาน

3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล

5. การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ

1. การกำหนดหัวเรื่องที่ศึกษา

        เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์หรือผู้สนใจทางประวัติศาสตร์มีความสนใจ อยากรู้ สงสัย จึงตั้งประเด็นหรือหัวข้อที่ต้องการศึกษาขึ้นมา

ตัวอย่าง  ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขตการศึกษาออกไปเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น

ประวัติวัดสำคัญในชุมชน / อำเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค

สถานที่สำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค

บุคคลสำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค

2. การรวบรวมหลักฐาน

ขั้นรวบรวมหลักฐานต่างๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง  คือ เอกสารหรือหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้หรือสนใจ

        ในการรวบรวมหลักฐาน  ควรเริ่มด้วยการศึกษาหลักฐานชั้นรองโดยตรงก่อน เพื่อให้เข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา  และรวบรวมความคิดของผู้ที่ศึกษาเรื่องดังกล่าวมาก่อน  แล้วจึงไปค้นคว้าจากหลักฐานชั้นต้น  ซึ่งจะทำให้ได้รายละเอียดมากขึ้นและอาจมีแนวคิดเพิ่มเติมขึ้นจากผู้ศึกษาไว้แต่เดิม

3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

เป็นการประเมินความถูกต้องและความสำคัญของหลักฐาน เพระาหลักฐานบางอย่างอาจเป็นของปลอม หรือเลียนแบบของเก่า  หรือเขียนโดยบุคคลที่ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง  แล้วมาบันทึกไว้เสมือนได้รู้เห็นเอง  หรือแม้จะรู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง  แต่อาจมีความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  ไม่วางตัวเป็นกลาง

การวิเคราะห์หลักฐานแบ่งเป็น  2  วิธี  ดังนี้

        1.  การประเมินภายนอก  เป็นการประเมินหลักฐานจากสภาพที่ปรากฏภายนอกว่าเป็นของแท้  ถูกต้องตามยุคสมัยหรือไม่  เช่น  กระดาษที่บันทึกเป็นของเก่าจริงหรือไม่  สมัยนั้นมีกระดาษแบบนี้ใช้หรือยัง  วัสดุที่ใช้เขียนเป็นของร่วมสมัยหรือไม่

2.  การประเมินภายใน  เป็นการประเมินหลักฐานว่าถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ เช่น  การกล่าวถึงตัวบุคคล  สถานที่  เหตุการณ์ว่าถูกต้อง  มีจริงในยุคสมัยของหลักฐานนั้นหรือไม่  หรือแม้แต่สำนวนภาษาว่าในสมัยนั้นใช้กันหรือยัง

4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล

เป็นขั้นตอนต่อจากที่ได้รวบรวมหลักฐาน  และวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือนั้นๆแล้ว ข้อมูล คือเรื่องราวต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในหลักฐานที่รวบรวมและวิเคราะห์แล้วจากหลักฐานที่เชื่อถือได้  จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์  คือ แยกประเภท โดยเรียงเหตุการณ์ ตามลำดับเวลาก่อนหลัง เพราะความสำคัญของข้อมูล แล้วทำการสังเคราะห์ คือจัดเหตุการณ์  เรื่องเดียวกัน  และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน  และศึกษาความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อเหตุการณ์

5. การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ

เป็นการเรียบเรียงข้อมูลที่ได้ค้นคว้า  วิเคราะห์ และสังเคราะห์มาแล้ว เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้  ข้อสงสัย  ตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น ในรูปแบบการเขียนรายงานอย่างมีเหตุผล

วิธีการทางประวัติศาสตร์

        วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย

1. การกำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน (เรื่องอะไร ช่วงเวลาใด ที่ไหน)

            2. รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ครบถ้วน ครอบคลุม

            3.  ตรวจสอบความจริงจากหลักฐาน ที่เรียกว่า การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์

            4.  วิเคราะห์ข้อมูลและตีความเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

            5.  นำเสนอผลงานความรู้ที่ค้นพบ โดยปราศจากอคติและความลำเอียง

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และมีบทส่วนแตกต่างกันดังนี้

1. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีการกำหนดประเด็นปัญหา เพื่อสืบค้นหาคำตอบ เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสร้างสมมติฐานขึ้นแล้วทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้น

2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ใหม่ หรือ ทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถสร้างสถานการณ์ขึ้นใหม่ให้เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตได้  เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นครั้งเดียว มีลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถสร้างซ้ำได้อีก แต่นักประวัติศาสตร์จะรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานอย่างหลากหลาย ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน จนกระทั่งได้ข้อมูลที่จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายและสรุปเป็นหลักการได้ ดังนั้นแม้นักประวัติศาสตร์จะมิได้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่พยายามหาข้อมูลให้มาก เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงที่น่าเป็นไปได้ แต่นักวิทยาศาสตร์จะทดสอบหรือทดลองให้ได้ผลสรุปด้วยตนเอง

3. การนำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็อาศัยหลักการความเป็นไปได้มาคาดคะเน และสรุปผลเช่นกัน แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถนำไปทดลองซ้ำๆ ก็จะได้ผลเช่นนั้นทุกครั้ง แต่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปทดลองได้ และมีความแตกต่างที่เป็น “มิติของเวลา” เช่นเดียวกับศาสตร์ทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวแปรได้ทั้งหมด

4. ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถนิยามคำเฉพาะ เพราะความหมายจะไม่ชัดเจนตายตัวในทุกกาลและเทศะ เช่น ประชาธิปไตยของท้องถิ่นหนึ่ง กับอีกท้องถิ่นหนึ่งจะมีนัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้หรือผู้นิยาม  ซึ่งแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้นิยามคำเฉพาะที่มีความหมายตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา และสถานที่

คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์

คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ได้แก่

1.  วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการวิจัยเอกสารและหลักฐานอื่นๆ ที่เป็นร่องรอยจากอดีตอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาอย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผล

2.  ขั้นตอนการวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์หรือการตรวจสอบความจริงจากข้อมูลและหลักฐาน ซึ่งเป็นขั้นตอนของการค้นหาความหมายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลักฐานจะทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ระมัดระวัง และคิดพิจารณาข้อเท็จ และข้อจริงที่แฝงอยู่ในหลักฐานให้ชัดเจน

3. วิธีการทางประวัติศาสตร์เน้นการเข้าใจอดีต  คือ การให้ผู้ศึกษาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ต้องทำความเข้าใจยุคสมัยที่ตนศึกษา เพื่อให้เข้าถึงความคิดของผู้คนในยุคนั้น โดยไม่นำความคิดของปัจจุบันไปตัดสินอดีต

อย่างไรก็ตาม เมื่อประวัติศาสตร์คือการสืบค้นอดีตของสังคมมนุษย์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่ง เป็นวิธีการในการสืบสวนและค้นคว้า จึงนับเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบหนึ่งที่มีเหตุผลประกอบผลสรุปนั่นเอง


วิธีการทางประวัติศาสตร์

        วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคม

มนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวน

ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมา

ถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใด

เล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมี

ประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทาง

ประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ 

ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุก

ชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป

 แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้

ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย

1. การกำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน (เรื่องอะไร ช่วงเวลาใด ที่ไหน)

2. รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ครบถ้วน ครอบคลุม

3. ตรวจสอบความจริงจากหลักฐาน ที่เรียกว่า การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์

4. วิเคราะห์ข้อมูลและตีความเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

5. นำเสนอผลงานความรู้ที่ค้นพบ โดยปราศจากอคติและความลำเอียง

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และมีบทส่วนแตกต่างกันดังนี้

1. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีการกำหนดประเด็นปัญหา เพื่อสืบค้นหาคำตอบ เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสร้างสมมติฐานขึ้นแล้วทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้น

2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ใหม่ หรือ ทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถสร้างสถานการณ์ขึ้นใหม่ให้เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นครั้งเดียว มีลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถสร้างซ้ำได้อีก แต่นักประวัติศาสตร์จะรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานอย่างหลากหลาย ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน จนกระทั่งได้ข้อมูลที่จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายและสรุปเป็นหลักการได้ ดังนั้นแม้นักประวัติศาสตร์จะมิได้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่พยายามหาข้อมูลให้มาก เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงที่น่าเป็นไปได้ แต่นักวิทยาศาสตร์จะทดสอบหรือทดลองให้ได้ผลสรุปด้วยตนเอง

3. การนำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็อาศัยหลักการความเป็นไปได้มาคาดคะเน และสรุปผลเช่นกัน แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถนำไปทดลองซ้ำๆ ก็จะได้ผลเช่นนั้นทุกครั้ง แต่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปทดลองได้ และมีความแตกต่างที่เป็น มิติของเวลา เช่นเดียวกับศาสตร์ทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวแปรได้ทั้งหมด

4. ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถนิยามคำเฉพาะ เพราะความหมายจะไม่ชัดเจนตายตัวในทุกกาลและเทศะ เช่น ประชาธิปไตยของท้องถิ่นหนึ่ง กับอีกท้องถิ่นหนึ่งจะมีนัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้หรือผู้นิยาม ซึ่งแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้นิยามคำเฉพาะที่มีความหมายตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา และสถานที่

คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์

คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ได้แก่

1. วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการวิจัยเอกสารและหลักฐานอื่นๆ ที่เป็นร่องรอยจากอดีตอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาอย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผล

 2. ขั้นตอนการวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์หรือการตรวจสอบความจริงจากข้อมูลและหลักฐาน ซึ่งเป็นขั้นตอนของการค้นหาความหมายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลักฐานจะทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ระมัดระวัง และคิดพิจารณาข้อเท็จ และข้อจริงที่แฝงอยู่ในหลักฐานให้ชัดเจน

3. วิธีการทางประวัติศาสตร์เน้นการเข้าใจอดีต คือ การให้ผู้ศึกษาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ต้องทำความเข้าใจยุคสมัยที่ตนศึกษา เพื่อให้เข้าถึงความคิดของผู้คนในยุคนั้น โดยไม่นำความคิดของปัจจุบันไปตัดสินอดีต

อย่างไรก็ตาม เมื่อประวัติศาสตร์คือการสืบค้นอดีตของสังคมมนุษย์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่ง เป็นวิธีการในการสืบสวนและค้นคว้า จึงนับเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบหนึ่งที่มีเหตุผลประกอบผลสรุปนั่นเอง

1. กำหนดเรื่องที่จะศึกษา



เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการศึกษาหาความรู้ โดยตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา



ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขต
การศึกษาออกไปเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น

ประวัติวัดสำคัญในชุมชน / อำเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค 

สถานที่สำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค 

บุคคลสำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค 


.. 
..  .... .. ..

2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล


 
เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ขั้นต่อมาคือ การค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูล
ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็น 
ลายลักษณ์อักษร 

หลักฐานชั้นต้น



ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เป็นของร่วมสมัยหรือเกี่ยวข้อง
กับเหตุการณ์โดยตรง




ตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์
บันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ 

ภาพถ่าย วีดิโอเทป สิ่งของเครื่องใช้ สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

หลักฐานชั้นรอง



ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เขียนหรือรวบรวมไว้ภายห
ลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น



ตัวอย่างได้แก่ บทความทางวิชาการ หนังสือต่าง ๆ 



หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร



ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ

ตัวอย่างได้แก่ จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์
จดหมาย บันทึก 

เอกสารทางราชการ เป็นต้น

........ ........

.. .... ..หนังสือพิมพ์........


หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร



ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่่เป็นตัวหนังสือ

ตัวอย่างได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนในสมัยต่าง ๆ
วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์ เครื่องประดับ 

อาคารบ้านเรือน เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

....... .... .....

.... .... พระบรมราชานุสาวรีย์พระสุริโยทัย...........พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี

 ............ .....จ.พระนครศรีอยุธยา

3. ตรวจสอบหลักฐาน



ขั้นตอนนี้คือ การตรวจสอบข้อมูลหลักฐานที่เรารวบรวมมาว่ามีความถูกต้อง
น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด



วิธีการตรวจสอบหลักฐาน ได้แก่ เปรียบเทียบจากข้อมูลหลาย ๆ
ฉบับว่า
เหมือนหรือ
ต่างกันอย่างไร พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่หรือว่าหลักฐานดังกล่าวผ่าน
การตรวจสอบความถูกต้อง

จากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว

4. การเลือกและจัดลำดับข้อมูล



เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือแล้ว นักเรียนต้องนำข้อมูลมาแยกประเภท
โดยเรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลัง จัดเหตุการณ์เรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกัน
เพื่อความสะดวกในการเรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล

.. .... ..... ... .... .... ..

5. การนำเสนอ



เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยผู้ศึกษาต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบ
และเลือกสรรแล้ว มาเรียบเรียงเพื่อตอบคำถามหรืออธิบายข้อสงสัยตามประเด็นที่ต้องการศึกษา
โดยใช้หลักฐานข้อมูลต่าง ๆ มาอ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล

การนำเสนอมีหลายวิธี เช่น การเขียนเรียงความ รายงาน จัดนิทรรศการ เป็นต้น


.................. 

................ .. ................การเขียนเรียงความ...............................รายงาน.............

 ..................

การจัดนิทรรศการ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก