โปรเจค เครื่องตรวจจับแก๊สรั่ว

ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-

• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ : สิ่งประดิษฐ์ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต ปี 2563

การจัดทำโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาการทำงานและการใช้งานของไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) เพื่อนำมาควบคุมการทำงานของเครื่องตรวจจับแก๊สรั่วผ่าน Application Line และสร้างเครื่องตรวจจับแก๊สรั่วแจ้งเตือนผ่าน Application Line ซึ่งมีประโยชน์ทำให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขปัญหาแก๊สหุงต้มรั่วได้ทันท่วงที ทั้งยังสร้างความปลอดภัยและลดปัญหาแก๊สหุงต้มรั่ว ในขณะที่อยู่บ้านหรือไม่อยู่บ้าน โดยที่เครื่องตรวจจับแก๊สรั่วผ่าน Application Line ใช้แหล่งจ่ายไฟ 5 โวลต์ โดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับแก๊ส MQ2 ในการตรวจจับปริมาณแก๊สที่รั่วไหลออกมา ใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ ESP32 เป็นตัวสั่งการ และรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตส่งข้อความเข้าแอปพลิเคชั่นไลน์เพื่อแจ้งเตือนขณะไม่อยู่ในบ้าน

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. นาย ธนูศักดิ์ อรุณไพร
2. ว่าที่ ร.ต. อนุกูล เชื้อน้อย
3. นาย ประเสริฐศักดิ์ ศิริภาพ
4. นาง ณัฐสิมา ตามสายลม
5. นาง วิไลวรรณ์ จันทร์จิตร

ผู้ประดิษฐ์
1. นางสาว สายธาร จันคล้าย
2. นางสาว สุรดา ทองอ่อน

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• วันที่เผยแพร่ผลงาน :

15 กันยายน 2564

• ระดับความพร้อมของนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

• ราคาของผลงานนวัตกรรม :

ยังไม่ได้กำหนดราคา

สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+

ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+

รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+

เครื่องตรวจจับแก๊สรั่วแจ้งเตือนผ่าน Application Line

• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา

• จุดเด่นของผลงานนวัตกรรม :

เครื่องสามารถตรวจจับแก๊สรั่วและแจ้งเตือนผ่าน Application line ได้ และสามารถลดความสุ่มเสี่ยงในการเกิดเหตุเพลงไหม้ ตรวจจับแก๊สรั่วและแจ้งเตือนผ่าน Application line ได้ และสามารถลดความสุ่มเสี่ยงในการเกิดเหตุเพลงไหม้

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา

• ประเภทผลงานนวัตกรรม :

ผลงานนวัตกรรม

• หมวดหมู่นวัตกรรม :

ชุมชน/สังคม

• ระดับนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• ความต้องการจำหน่าย :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

วันที่เผยแพร่: 15 กันยายน 2564

|

ผู้เยี่ยมชม: 382

๑. ชื่อโครงการ   เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล               

๒. ผู้รับผิดชอบโครงการ

๑. นายสาธิต    พันธ์ชาลี                           ระดับชั้น ปวส.๒ กลุ่ม E.๕         

๒. นายอานนท์  อ่อนสกุล                          ระดับชั้น ปวส.๒ กลุ่ม E.๕                                              

ที่ปรึกษาโครงการ

          ๑. อาจารย์สุขสรรค์  พรธิอั้ว

          ๒. อาจารย์สุพจน์  แก่นกลาง

๓. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ

          เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล ในปัจจุบันระบบรักษาความปลอดภัยได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดเพื่อลดความเสี่ยงความสูญเสียที่อาจจะขึ้น จากปัญหาแก๊สรั่วไหลซึ่งนำมาสู่การเกิดเพลิงไหม้ทำให้เกิดแนวคิดในการจัดทำเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล ที่สามารถเลือกระดับปริมาณแก๊สที่จะทำการแจ้งเตือนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบ และสามารถทำการแก้ปัญหาการรั่วไหลของแก๊สไวไฟก่อนจะทำให้เกิดเพลิงไหม้

          ดังนั้น จึงมีการเสนอโครงงานเรื่อง “เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล” เนื่องจากผู้เสนอโครงงานนี้มีแนวคิดที่ว่าเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหลนี้สามารถตรวจจับปริมานแก๊สที่อยู่ในอากาศได้ มีการแสดงผลทางจอ LCD และมีการแจ้งเตือนทางลำโพง ซึ่งโครงงานของคณะผู้จัดทำที่ได้จัดทำขึ้นมานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการระดมสมองในการคิดต่อยอด ให้ชิ้นงานที่ทำมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

๔. วัตถุประสงค์ของโครงการ     

          ๑. เพื่อสร้างเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล

๒. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล

๓. เพื่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล

๕. ขอบเขตของโครงการ

๕.๑ เป้าหมายของโครงการ

๕.๑.๒ เชิงคุณภาพ

๑. เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล ที่สามารถตรวจจับและแจ้งเตือนได้ โดยใช้จอ LCD ในการแสดงผลปริมาณของแก๊สในอากาศและใช้ลำโพงในการแจ้งเตือนเมื่อมีแก๊สรั่วไหล

๒. เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล ที่สามารถช่วยลดการเกิดอัคคีภัยในครัวเรือน

๕.๑.๑ เชิงปริมาณ

- เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล ๑ เครื่อง

๕.๒ ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ     

๕.๒.๑ ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐

๕.๒.๒ สถานที่ดำเนินการ แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ       

๖. โปรแกรมที่ใช้

          - โปรแกรม Arduino

๗. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน

กิจกรรม

เดือนตุลาคม

เดือนพฤศจิกายน

เดือนธันวาคม

เดือนมกราคม

เดือนกุมภาพันธ์

๑. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๒. เสนอโครงการ

๓. จัดทำโครงการ

๔. สร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล

๕. ทดลองใช้เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล

๖. แก้ไขปรับปรุงเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล

๗. รวบรวมข้อมูล

๘. วิเคราะห์ข้อมูล

๙. นำเสนอโครงการ

๘. งบประมาณและทรัพยากร

๑. งบประมาณ      ,๓๕๐       บาท

ลำดับ 

รายการ

จำนวน

จำนวนเงิน

๑.

บอร์ด STM32F401VG

๑ บอร์ด

๘๐๐ บาท

๒.

เซนเซอร์ตรวจวัดแก๊สไวไฟ เบอร์ MQ-2

๑ ตัว

๑๐๐ บาท

๓.

ลำโพงขนาดเล็ก

๑ ตัว

๑๐๐ บาท

๔.

สวิตช์กดติด-ปล่อยดับ

๒ ตัว

๕๐ บาท

๕.

จอ LCD ขนาด 16X2

๑ ตัว

๑๐๐ บาท

๖.

แหล่งจ่ายไฟ +5 VDC

๑ ชุด

๒๐๐ บาท

๗.

อื่น ๆ

-

,๐๐๐ บาท

รวมเงิน

,๓๕๐ บาท

๙. การติดตามประเมินผล

          ทุกสัปดาห์ผู้ร่วมโครงการจะนำเสนอโครงการ เพื่อให้ทราบความคืบหน้าทุก ๆสัปดาห์และตรวจสอบเอกสาร บันทึกข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

๑๐. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          ๑๐.๑ ได้เครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหลที่สามารถใช้งานได้จริง

๑๐.๒ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัยในครัวเรือน เนื่องมาจากเหตุแก๊สหุงต้มรั่วไหล

๑๐.๓ ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม

การต่อวงจรภายในเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล

          ส่วนประกอบหลังคือ บอรด์ STM32F4 ซึ่งใช้เป็นตัวประมวลผลกลางสำหรับเครื่องโดยคุณสมบัติของบอรด์นี้ สามารถประมวลผลที่ความเร็วสูงสุดถึง 184 MHz มี ADC และ DAC ขนาด 12 bit ให้แรงดันไปเลี้ยงสูงสุดไม่เกิน 5V DC ทำงานจริงที่แรงดัน 3.3 V DC ส่วนต่อมาคือ POWER SUPPLY ขนาดแรงดันใช้งานที่ 5 V DC ซึ่งให้เป็นแหล่งจ่ายให้กับ ทั้งวงจร
ส่วนต่อมา คือ เซนเซอร์ตรวจจับแก๊สไวไฟเบอร์ MQ-2 มีคุณสมบัติในการตรวจจับแก๊สไวไฟทุกชนิดโดยให้สัญญาณ OUTPUT เป็นความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อปริมาณแก๊สไวไฟมีปริมาณเปลี่ยนแปลงเราจึงสามารถทำการวัดเทียบเพื่อหาเปอร์เซ็นต์ของแก๊สไวไฟในอากาศได้ ส่วนต่อมาคือ BUZZER หรือสำโพงขนาดเล็กมีหน้าที่สร้างสัญญาณเสียงเพื่อเตือนในกรณีที่ตรวจพบว่าแก๊สไวไฟในบริเวณนั้นมีปริมาณที่มากกว่าที่ได้ตั้งกำหนดค่าใว้ ต่อมาเป็น สวิตช์ขนาดเล็กแบบกดติดปล่อยดับ 2 ตัว เพื่อใช้ในการกำหนดค่าของเปอร์เซ็นต์ในการแจ้งเตือนว่าจะแจ้งเตือนเมื่อตรวจวัดแก๊สได้กี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนสุดท้ายเป็นจอแสดงผลขนาด 16X2 ตัวอักษรเพื่อใช้ในการแสดงผลเปอร์เซ็นต์แก๊สที่สามารถตรวจวัดได้จากเซนเซอร์และเปอร์เซ็นต์ที่ทำการตั้งใว้เพื่อให้ทำการแจ้งเตือนออกทางลำโพงขนาดเล็ก

การต่อวงจรสำหรับเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล

ส่วนประกอบวงจรประกอบไปด้วย

  1. บอร์ด STM32F401VG จำนวน 1 บอร์ด
  2. เซนเซอร์ตรวจวัดแก๊สไวไฟเบอร์ MQ-2 จำนวน 1 ตัว
  3. สำโพงขนาดเล็ก จำนวน 1 ตัว
  4. สวิตช์กดติดปล่อยตับ จำนวน 2 ตัว
  5. จอ LCD ขนาด 16X2 จำนวน 1 ตัว
  6. แหล่งจ่ายไฟขนาด +5 V DC จำนวน 1 ชุด

รูปภาพอุปกรณ์

อ้างอิง
     - ArduinoAll
     - Amagin




Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก