การเขียนวัตถุประสงค์โครงงาน

เมื่อศึกษาข้อมูล และเลือกหัวข้อโครงงานแล้ว  จึงเริ่มเขียนเค้าโครงงาน  โดยต้องคำนึงถึงความสะดวก  กะทัดรัดและเหมาะสมกับลักษณะของโครงงาน  คิดล่วงหน้าว่า   จะทำอะไร  อย่างไร  เพื่อให้มีความเข้าใจในการทำงานอย่างเป็นระบบขั้นตอน  ไม่สับสนวุ่นวาย   โดยช่วยกันคิดไว้ล่วงหน้าว่าจะปฏิบัติการสิ่งใดบ้าง กำหนดกิจกรรมโครงงาน  รวมทั้งระยะเวลา  วัสดุอุปกรณ์หรือสิ่งของต่าง  ๆ  ตามความจำเป็นที่ช่วยให้โครงงานได้รับความสำเร็จ โดยเขียนเป็นโครงร่างหรือเค้าโครง  ก่อนนำเสนอครูที่ปรึกษา   เพื่อขอความเห็นชอบ การวางแผนที่ดีจะนำไปสู่การทำโครงงานที่ราบรื่น ได้ผลงานที่ดี  ใช้เวลาน้อย   มีอุปสรรคน้อย   ช่วยกำหนดทิศทางงานได้ถูกต้อง  เค้าโครงย่อโดยทั่วๆ ไปประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

1.  ชื่อโครงงาน    บอกให้ละเอียดว่าทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร

2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานนี้ อาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้  แต่ก็ไม่ควรเกินกลุ่มละ 5 คนต่อ 1โครงงาน  ประมาณ  3  คนจะเหมาะสม  เพราะถ้าคนมากจะเกี่ยงกันทำงานและความรับผิดชอบงานน้อยเกินไป

3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน จะเป็นครูหรือผู้ที่แนะนำ กำกับ  ดูแล  ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆอาจมากกว่า  1  คนแต่เป็นผู้ที่มีบทบาทดูแลนักเรียนอย่างจริงจัง

4.  หลักการและเหตุผล/แนวคิด/ที่มาและความสำคัญของโครงงาน สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการ  และความคาดหวังที่จะเกิดผล

5.  จุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า สิ่งที่ต้องการให้เกิดเมื่อสิ้นสุดโครงงานในเชิงปริมาณและคุณภาพ

6.  สมมุติฐานของการศึกษาโครงงาน (ถ้ามี….กรณีเป็นโครงงานประเภททดลองหรือโครงงานในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์)   ข้อตกลง   ข้อกำหนด   เงื่อนไข   เป็นแนวทางในการพิสูจน์ให้เป็นไปตามที่กำหนดหรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดเมื่อสิ้นสุดโครงงาน

7.  ขั้นตอนการดำเนินงาน  บอกรายละเอียด การทำงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่

8.  แผนการปฏิบัติโครงงาน  วัน เวลา ที่เริ่มปฏิบัติงาน ขั้นตอนการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้  ตั้งแต่เริ่มลงมือทำจนสำเร็จตามวัตถุประสงค์

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด  ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ

10.     เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม ชื่อเอกสารข้อมูล ที่นำมาใช้ดำเนินงานจากแหล่งต่างๆ

  ขั้นตอนการเขียนเค้าโครงของโครงงาน

1.ชื่อโครงงาน

2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน  

3. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน 

4.หลักการและเหตุผล/แนวคิด/ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

 5. จุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

.6.สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า(ถ้ามี….กรณีเป็นโครงงานประเภททดลองหรือโครงงานในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์)

7.  ขั้นตอน/วิธีดำเนินการ

7.1  วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ 

7.2  แนวการศึกษาค้นคว้า

8.  แผนการปฏิบัติงาน

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.  เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม


ขั้นตอนการเขียนเค้าโครงของโครงงาน

1.  ชื่อโครงงาน ควรเขียนให้ตรงกับเรื่องที่จะทำ  เขียนให้สั้น  กะทัดรัด ชัดเจน กระชับ  ไม่ควรยาวเกินไป และใช้ข้อความที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงว่าจะศึกษาอะไร ระบุให้ชัดเจน สื่อความหมาย ได้ใจความตรงกับเรื่อง ตรงกับงานที่นักเรียนกำลังศึกษา   เมื่ออ่านชื่อเรื่องแล้ว  สามารถบอกได้ว่า    เรื่องนั้นมีลักษณะอย่างไร     เป็นประโยคที่สมบูรณ์ มีประธาน  กริยา  กรรม และไม่ควรเป็นประโยคคำถาม เพราะไม่ใช่คำถามหรือปัญหา ชื่อควรเร้าความสนใจ แต่ต้องไม่ผิดเพี้ยนไปจากเนื้อเรื่องของโครงงาน  

2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน/คณะทำงาน  (ระบุรายชื่อคณะนักเรียนที่ทำโครงงานทุกคน)                                                                                                         

3.  ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน  (ระบุชื่อครูที่ให้คำแนะนำปรึกษา)  อาจจะเป็นครูประจำรายวิชาหรือครูท่านอื่น หรือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาได้

4.  หลักการและเหตุผล/แนวคิด/ที่มา/ความสำคัญของโครงงาน   เขียนอธิบายถึงความเป็นมาเกี่ยวกับปัญหาที่สนใจจะศึกษานี้ว่ามีหลักการความเป็นมา  มีเหตุผลความจำเป็นอย่างไร แรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจ เหตุใดจึงได้เลือกทำโครงงานนี้  มีเหตุจูงใจอะไรที่ทำให้สนใจเป็นกรณีพิเศษ  โครงงานนี้มีคุณค่า    มีความสำคัญอย่างไร  ประโยชน์ที่จะได้จากการจัดทำโครงงานนี้   ดีอย่างไร   ทำไมจึงต้องทำ  มีข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีหรือหลักวิชาการหรือตัวเลขสถิติที่มีความเกี่ยวข้องปรากฏเด่นชัด ควรจัดระบบเพิ่มเติมลงไปด้วย เพื่อแสดงว่าโครงงานนี้มีความสำคัญ  เป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าไว้บ้างแล้วเพื่อขยายปรับปรุงหรือทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล 

5.  วัตถุประสงค์ / จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า เป็นการระบุความต้องการในการศึกษา  ซึ่งอาจเขียนเป็นข้อๆ โดยเขียนให้ผู้อื่นทราบว่าเราจะทำการศึกษาอะไร อย่างไร  แต่ไม่ใช่นำเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานมาเขียนเป็นจุดมุ่งหมาย  ส่วนการระบุวัตถุประสงค์ของโครงงานนั้น จัดว่าเป็นการเขียนวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า หรือเป็นวัตถุประสงค์ของการทดลอง  วัตถุประสงค์ที่ดี ควรมีความเฉพาะเจาะจง   เป็นสิ่งที่สามารถวัดได้  บอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจน และไม่เขียนอยู่ในรูปของประโยคคำถาม  ที่สำคัญคือต้องสอดคล้องกับชื่อของโครงงาน  (กำหนดเป็นหัวข้อสำคัญ ๆ ว่าในการจัดทำโครงงานนั้นต้องการให้เกิดผลอะไร เป็นชิ้นงานมีปริมาณเท่าใด) หรือเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลอย่างไร และเพื่อให้ประโยชน์แก่ใคร เป็นต้น มีหลักการเขียนดังนี้

5.1    มีความสำคัญหรือมีคุณค่าเพียงพอ

5.2    ควรเขียนเป็นข้อๆเพื่อให้มองเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล

5.3    สามารถหาข้อมูลได้หรือทดสอบได้

5.4    ต้องมีแนวทางในการสร้างสมมุติฐานจากวัตถุประสงค์ของการศึกษา

5.5    ใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย

6.  สมมุติฐานของการศึกษา (ถ้ามี……..กรณีเป็นโครงงานประเภททดลอง หรือโครงงานกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์)  สมมุติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องคำนึงไว้ด้วยว่าการเขียนสมมุติฐานนั้นควรมีเหตุผล คือมีทฤษฎีหรือหลักทางวิทยาศาสตร์มารองรับ  มักเขียนเป็นข้อความที่สามารถมองเห็นแนวทางในการดำเนินงานทดลอง  ทดสอบหรือตรวจสอบได้

7.  วิธีการดำเนินงาน  ให้ระบุขั้นตอนสำคัญ ๆ ตั้งแต่วันที่เริ่มทำโครงงาน รวมระยะเวลาดำเนินงาน  ขั้นตอนการปฏิบัติ ค่าใช้จ่าย ผู้รับผิดชอบ  หรืออธิบายการเริ่มงาน การจัดทำ การจัดรูปแบบ  ออกแบบ ทดลองอะไร เก็บข้อมูลอะไรบ้าง อย่างไร และเมื่อใด ขั้นตอนการดำเนินงานเป็นอย่างไรประกอบด้วยประชากรและกลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างไร เครื่องมือมีอะไรบ้างการรวบรวมข้อมูลทำอย่างไร มีขั้นตอน วิธีรวบรวมและมีวิธีการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนอย่างไร การวิเคราะห์ และการใช้สถิติในการวิเคราะห์บอกว่าใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหรือไม่   ถ้าใช้ต้องบอกวิธีคำนวณ                         

7.1     วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุว่าอุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง  มีขนาดเท่าใด วัสดุอุปกรณ์มาจากไหน  สิ่งใดที่ต้องซื้อและสิ่งใดที่ต้องขอยืม  สิ่งที่ต้องจัดทำเองมีอะไรบ้าง

7.2     แนวการศึกษาค้นคว้า  ให้อธิบายว่าจะออกแบบทดลอง   อะไร ทำอย่างไร  จะดำเนินการสร้างหรือประดิษฐ์อะไร  อย่างไร  จะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง  เก็บข้อมูลเพื่อศึกษาค้นคว้าอะไรบ้าง อย่างไร กี่ครั้ง  มากหรือน้อยเพียงใด  ที่ไหน  เมื่อใด  ( เขียนข้อความที่มองเห็นแนวการดำเนินงาน  เป็นหลักทฤษฎีหรือหลักวิชาการ  หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่าง ๆ  )

8.  แผนการปฏิบัติ  อธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมและกำหนดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติ  ทำโครงงานเรื่อยไป  จนเสร็จสิ้นการดำเนินในแต่ละขั้นตอน เป็นการกำหนดโครงงานแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ   จึงควรเขียนเป็นแผนภูมิแสดงขั้นตอนในการทำกิจกรรม      (ให้ระบุรายละเอียดลงไปว่าในแต่ละสัปดาห์จะทำอะไร  หรือมีการวางแผนการทำกิจกรรมอะไร  จะใช้เวลานานเท่าใด  จัดทำสถานที่ใดและใครเป็นผู้รับผิดชอบ)

ตัวอย่างการเขียนแผนปฏิบัติงาน

ลำดับ

กิจกรรม

ระยะเวลา

สถานที่

ทรัพยากร/ปัจจัย

ผู้รับผิดชอบ

1

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

7 พ.ค.  2552

บ้าน

ไม้  ตะปู

เครื่องมือช่าง

สมาชิกกลุ่ม

2

การปฏิบัติงาน

8-9  พ.ค.  2552

บ้าน

ไม้/ เครื่องมือ

สมาชิกกลุ่ม

3

การตรวจสอบผลงาน

8-9 พ.ค.  2552

บ้าน

ทำการทดลองใช้

สมาชิกกลุ่ม

4

การปรับปรุงแก้ไข

8-9  พ.ค.  2552

บ้าน

ผลงานที่บกพร่อง

สมาชิกกลุ่ม

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ    เป็นการกล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโครงงาน    จะมีอะไรเกิดขึ้น มีปริมาณมากน้อยเพียงใด มีประสิทธิภาพหรือคุณภาพอย่างไร จะได้รับประโยชน์หลายลักษณะหรือลักษณะใดลักษณะหนึ่งจากการทำโครงงานครั้งนี้อย่างไร  ทั้งกับตนเอง  เพื่อนๆ  และบุคคลทั่วไป

10.     เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม เป็นการอ้างอิงถึงหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพื่อศึกษาหาข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการทำโครงงาน เป็นการบอกให้ผู้อื่นทราบว่า         นักเรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลมาจากแหล่งใดบ้าง

การเขียนต้องระบุหนังสือ  เอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้อ้างอิงทางวิชาการ 

1.การเขียนเค้าโครงงานอีกรูปแบบหนึ่ง  (โครงงานงานช่าง)

1.  ชื่อโครงงาน   (กำหนดชื่อให้ชัดเจน   สั้น   กะทัดรัด)

2.  ชื่อผู้จัดทำโครงงาน   (ให้ระบุชื่อสมาชิกในกลุ่มทุกคน)

3.  ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน  (ให้ระบุชื่อครูที่ปรึกษา)

4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน (ให้อธิบายหลักการเหตุผลและความจำเป็นในการทำโครงงาน)

5.  วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน  (ให้กำหนดเป็นหัวข้อว่าต้องการให้เกิดผลอะไรจากการที่ผู้เรียนทำโครงงานนี้)

6.  การศึกษาข้อมูลของโครงงาน (ให้ผู้เรียนบอกข้อมูลที่มีความสำคัญในการทำโครงงาน)

7.  ประโยชน์ของโครงงาน (บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน   ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน)

8.  รูปแบบ (แบบหรือภาพที่แสดงรูปร่าง  ขนาด  สัดส่วนของชิ้นงาน)

9.  วิธีดำเนินการ  (ระบุขั้นตอนสำคัญตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้ายของการปฏิบัติงาน)

10.     ระยะเวลาดำเนินงาน  (กำหนดระยะเวลาในการทำโครงงาน  เป็นวันหรือสัปดาห์ก็ได้)

11.     สถานที่ (กำหนดสถานที่ที่ปฏิบัติงาน)

12.     งบประมาณ  (ให้ระบุค่าใช้จ่ายในการทำโครงงาน)

13.     แหล่งการเรียนรู้ (บอกแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ เช่น ห้องสมุด สถานประกอบการในท้องถิ่น)

2. แบบเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์

1.  ชื่อโครงงาน………………………………………………………………………………

2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน…………………………………………………………………………

3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน……………………………………………………………………

4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน………………………………………………………

5.  จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า………………………………………………..……..

6.  สมมุติฐาน/ความคาดหวังของการศึกษาค้นคว้า……………………………….………..

7.  วิธีดำเนินงาน…………………………………………………………………..………..

7.1    วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้………………………………………………..…..………..

7.2    แนวการศึกษาค้นคว้า……………………………………………………………..

7.3    นิยามเชิงปฏิบัติการ(ถ้ามี) ………………………………………………………..

8.  แผนปฏิบัติงาน…………………………………………………………………………..

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ………………………………………………………………………    

10.     เอกสารอ้างอิง…………………………………………………………………….……

1.  ชื่อโครงงาน การเขียนชื่อ/หัวข้อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่จัดทำ ควรเขียนให้กะทัดรัด  ชัดเจน  และเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน   เขียนชื่อและคณะของผู้ทำโครงงานทุกคน

3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน เขียนชื่อครูที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน  เขียนอธิบายที่มา   แรงบันดาลใจ  หรือแรงจูงใจที่ทำให้เหตุผลและความจำเป็น    โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร  มีหลักการ   หรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง   เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่ หรือมีผู้อื่นเคยทำหรือศึกษาเรื่องทำนองนี้มาบ้างแล้ว   มีผลอย่างไร  เรื่องนี้ได้ขยาย  พัฒนา   แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไรหรือเป็นการทำซ้ำเพื่อเป็นการตรวจสอบผลว่า

ว่าเป็นอย่างไร

5.  จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า   เขียนจุดมุ่งหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง  และสามารถวัดบอกได้ว่าสิ่งที่ทำ  หรือศึกษาค้นคว้านั้น  บรรลุจุดมุ่งหมายหรือไม่เพียงใด

6.  สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) เขียนในลักษณะคำตอบ หรือการคาดคะเนหรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า    เกี่ยวกับสิ่งที่จะศึกษาค้นคว้าอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ การเขียนสมมุติฐาน  ควรมีเหตุผลรองรับ  คือมีทฤษฎี   หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ    เป็นข้อความที่ให้เห็นแนวทางในการดำเนินการทดลอง  หรือสามารถทดสอบได้

7.  วิธีดำเนินการ

7.1    วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้  ให้เขียนระบุว่า วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง ได้มาจากแหล่งใด   มีอุปกรณ์อะไรบ้างที่ต้องจัดซื้อ  มีอุปกรณ์ใดที่ต้องยืม

7.2    แนวการศึกษาค้นคว้า   การเขียนต้องเขียนอธิบายโดยให้รายละเอียดว่า จะออกแบบการทดลองอะไรและอย่างไร หรือประดิษฐ์อะไร อย่างไร  จะเก็บข้อมูลเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าอะไรบ้าง  กี่ครั้งและมากน้อยเพียงใด

7.3    นิยามเชิงปฏิบัติการ  การเขียนต้องกำหนดความหมาย   และขอบเขตของคำต่างๆ     ที่ศึกษาให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกัน  ส่วนใหญ่นิยามเชิงปฏิบัติการมักจะกำหนดคำที่อยู่ในตัวแปรต่างๆ   หรือคำอื่นๆที่อยู่ในสมมุติฐาน

8.  แผนปฏิบัติงาน   การเขียนต้องเขียนอธิบายกิจกรรมและกำหนดระยะเวลาที่จะปฏิบัติตั้งแต่การเริ่มลงมือเรื่อยไปจนกระทั่งเสร็จสิ้นการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ การเขียนต้องเขียนอธิบายถึงผลที่คาดว่าจะได้อะไรจากการศึกษาค้นคว้าหรือจะมีอะไรเกิดขึ้น  มากน้อยเพียงใด  มีประสิทธิภาพ  หรือคุณภาพอย่างไร

10.     เอกสารอ้างอิง  การเขียนต้องเขียนให้ถูกต้องตามแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง

ตัวอย่างเค้าโครงของโครงงาน (อีกรูปแบบหนึ่ง)

โรงเรียน............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

วิธี การ เขียน วัตถุประสงค์ โครง งาน มี วิธี อย่างไร

วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความ ...

วัตถุประสงค์ของโครงงานมีอะไรบ้าง

1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ 2. เพื่อรู้จักการวางแผนทำงานอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน ทำให้รู้จักวิธีการแก้ปัญหาหลายวิธี 3. เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกัน 4. เพื่อฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง ได้รับประสบการณ์ตรง

วัตถุประสงค์การนำเสนอโครงงานคืออะไร

การนำเสนอโครงงานหรือการจัดแสดงผลงานเป็นงานขั้นสุดท้าย และมีความสำคัญ เพราะเป็นการแสดงผลิตผลของงานเป็นการแสดงความคิด และความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไป เป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น ๆ การจัดแสดงผลงานถ้าทำได้ไม่ดี ก็เท่ากับไม่ได้แสดงความดีความยอดเยี่ยมของผลงานนั่นเอง การนำเสนอผล ...

การเขียนเค้าโครงงานมีประโยชน์อย่างไร

1. ประโยชน์ของการเขียนเค้าโครง หรือวางแผนในการทาโครงงานวิทยาศาสตร์ ก. เพื่อวางแผนไว้ในการสรุปผลงาน ข. เพื่อวางแผนไว้ให้ครูรับทราบและให้คะแนน ค. เพื่อวางแผนไว้สาหรับเขียนรายงานตามลาดับ ง. เพื่อวางแผนการทาโครงงานอย่างมีลาดับขั้นตอนและมีเหตุผล

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก