ตัวอย่างธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง

กว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาที่สังคมไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ไม่แตกต่างจากวิถีการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์การเมือง รวมไปจนถึงล่าสุดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน รวมทั้งภาคธุรกิจในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมให้ได้รับความเสียหายมูลค่ามหาศาล และนำไปสู่การต้องเร่งปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงให้ยิ่งรวดเร็วขึ้นและยิ่งรอบด้านขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน

นั่นหมายความว่า องค์กรอย่าง PwC เองก็ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีการทำงาน และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อช่วยให้ลูกค้าและสังคมส่วนรวมสามารถก้าวข้ามความท้าทายใหม่ ๆ เหล่านี้ไปพร้อมกันให้ได้ ซึ่งจากการที่เราได้มีโอกาสพูดคุยกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถึงความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้เราพบว่า การสร้างความไว้วางใจ และการส่งมอบผลลัพธ์ที่ยั่งยืน (Building trust and delivering sustained outcomes) กลายเป็น 2 ความต้องการพื้นฐานที่มีความเชื่อมโยงและกำลังเป็นที่ต้องการของทุก ๆ ธุรกิจในวันนี้ 

ความไว้วางใจ กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องสร้างและรักษาไว้ได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะวันนี้ลูกค้าต้องการคู่คิดหรือที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้ (Trusted business advisor) เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงและมีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ขยายวงกว้างขึ้นกว่าในอดีต เช่นเดียวกันกับบุคลากรที่ต้องพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีทัศนคติที่เปิดกว้างและเข้าใจความต้องการของตลาดมากขึ้น (Commercial views) เพื่อช่วยสร้างคุณค่าระยะยาวให้กับองค์กรภายใต้การบริหารและวัฒนธรรมองค์กรที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้างความไว้วางใจต่อกันเป็นหลัก                                                                                                                                                                                             

นอกจากนี้ แรงกดดันในการส่งมอบคุณค่าทางธุรกิจที่ยั่งยืนและผลตอบแทนที่ไม่ใช่เพียงแต่ตัวเลขทางการเงิน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของการแข่งขันที่รุนแรงและผลกระทบจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจะกลายมาเป็นกระแสที่ทั้งลูกค้า คู่ค้า หน่วยงานกำกับ และสังคมส่วนรวมต่างคาดหวังจากธุรกิจมากขึ้นในอนาคต

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเชื่อมั่นว่า PwC มีศักยภาพและความพร้อมในการช่วยเหลือลูกค้าตอบโจทย์ความต้องการที่สำคัญนี้ผ่านการเป็นศูนย์รวมทีมผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในหลากหลายสาขาตั้งแต่การดำเนินธุรกิจตามกรอบ ESG การตรวจสอบบัญชี ไปจนถึงการสร้างมูลค่า และการเปลี่ยนแปลงด้านภาษี เพื่อช่วยลูกค้าให้สามารถตอบโจทย์ความคาดหวังทั้งของผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคมได้ ซึ่งนี่คือหัวใจของกลยุทธ์ใหม่ของเรา ที่เรียกว่า “สมการใหม่” หรือ “The New Equation”

ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินงานเพื่อให้กลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จ เครือข่าย PwC ทั่วโลก ได้วางแผนที่จะลงทุนกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 5 ปีข้างหน้า และจ้างงานในตำแหน่งใหม่ ๆ เพิ่มอีก 1 แสนตำแหน่ง

สำหรับ PwC ประเทศไทย เราได้มีการกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเครือข่ายทั่วโลกเช่นกัน โดยจะโฟกัสไปที่การลงทุนในธุรกิจใหม่ (Big Bets) เพื่อต่อยอดธุรกิจเดิมที่มีความแข็งแกร่งและขยายโอกาสรองรับการเติบโตในอนาคตใน 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ 

  1. การเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยมุ่งเน้นไปที่บริการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ในการเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัลแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Data Analytics) การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) และการเปลี่ยนระบบไปสู่คลาวด์คอมพิวติ้ง ตั้งแต่การวางกลยุทธ์ไปจนถึงวิธีการนำมาปฏิบัติใช้งานจริงให้ประสบผลสำเร็จ 

  2. กลยุทธ์ทางด้านดีลส์และการปฎิบัติการ (Deals strategy and operations) ด้วยแนวโน้มที่ธุรกิจมีการขยายการเติบโตผ่านการควบรวมกิจการมากขึ้น ดังนั้น เราจะมุ่งเน้นการให้บริการงานทางด้านดีลส์แบบครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษาและหาธุรกิจหรือพันธมิตรที่น่าสนใจ (Pre-deal) การวางกลยุทธ์ การทำ Due Diligence และ valuations ไปจนถึงการหลอมรวมสองกิจการให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในทุกด้านหลังการควบรวมเสร็จสิ้น (Post-merger integration)

  3. การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) ในระยะต่อไป บริษัทไทยจะไม่สามารถต้านทานกระแสโลกที่กำลังตื่นตัวในเรื่องนี้และในที่สุดต้องหันมาให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานกำกับฯ ในการผลักดันให้เกิดข้อบังคับ และให้คำปรึกษาในการจัดทำรายงานความยั่งยืน การนำหลัก ESG มาปฏิบัติจริง รวมถึงการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานสากลด้วย

  4. บุคลากรและองค์กร (People and organisation) ที่ผ่านมา เราได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากโดยนำเทคโนโลยีและเครื่องมือในการทำงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานของพนักงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในระยะข้างหน้า เราเห็นถึงความจำเป็นในการยกระดับทักษะใหม่ด้านดิจิทัล (Digital upskilling) และเสริมทักษะเดิมที่มีอยู่ (Reskilling) ของพนักงาน เช่น ทักษะด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง การวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงทักษะทางสังคม (Soft Skills) อื่น ๆ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นมากในอนาคต รวมถึงมีแผนที่จะจ้างบุคลากรมากความสามารถ (Talent) จากภายนอก แรงงานชั่วคราวที่มีทักษะเฉพาะด้าน (Contingent workforce) หรือมีทักษะที่เราไม่เชี่ยวชาญมาช่วยแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ให้กับลูกค้าและขับเคลื่อนองค์กร 

ที่สำคัญที่สุด เราจะยังคงยึดมั่นในเรื่องของคุณภาพ (Quality) โดยในส่วนของหน่วยงานตรวจสอบบัญชีและภาษี ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักของ PwC เราจะยังคงส่งมอบงานที่มีคุณภาพ มีความเป็นมืออาชีพ และมีความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าของเราอย่างไม่ลดละต่อไป

สุดท้าย เราตื่นเต้นกับอนาคตข้างหน้า และมีความยินดีที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจไปด้วยกันผ่านการสร้างความไว้วางใจและส่งมอบผลลัพธ์ที่ยั่งยืน หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ The New Equation กรุณา คลิก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก