การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนมีความสำคัญอย่างไร ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวมได้อย่างไร การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์กันอย่างไร การสร้างเสริมสุขภาพมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียนอย่างไร กระบวนการร่วมคิดร่วมทําของประชาชนในชุมชนเพื่อสุขภาพชุมชน มีกิจกรรมในรูปแบบใดบ้าง ใบงานที่ 1.1 เรื่องแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน เครือข่ายสุขภาพ มีความสําคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างไร เครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน มีอะไรบ้าง การดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนเบื้องต้น ควรเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใคร ใบงานการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน

บทบาทและความรับผิดชอบของประชาชนด้วยการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนที่สําคัญ มีอะไรบ้าง

ดาวน์โหลด

ดาวน์โหลดต้นฉบับ ครั้ง

//kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/...

การศึกษานี้มุ่งจะหาแนวทางในการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ ทำการศึกษาโดยการทบทวนวรรณกรรมในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่อบต.๔ แห่ง

ผลการศึกษาพบว่า เดิมทีการส่งเสริมสุขภาพในประเทศไทย มีลักษณะเป็นการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพโดยบุคลากรสาธารณสุข ให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่เป็นโรคมีสุขภาพแข็งแรง เช่น การให้สุขศึกษาให้คนทั่วไปมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ภายหลังการส่งเสริมสุขภาพที่มาจากคำว่า Health Promotion มีความหมาย ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกคือการจัดบริการโดยบุคลากรสาธารณสุขดังที่กล่าวข้างต้น และ ลักษณะที่ ๒ คือกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อทำให้ประชาชนเพิ่มความสามารถในการควบคุมปัจจัยกำหนดสุขภาพและพัฒนาสุขภาพให้ดีขึ้นทั้งในคนปกติทั่วไปและผู้ที่เจ็บป่วย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้สับสนจึงใช้คำว่า “สร้างเสริมสุขภาพ”

การมีส่วนร่วมของภาคส่วนและประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ยุคของการสาธารณสุขมูลฐาน ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ที่นายแพทย์อมร นนทสุต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ผลักดันแนวคิดของการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทยโดยดัดแปลงจากกลยุทธ์และองค์ประกอบการสาธารณสุขมูลฐานขององค์การอนามัยโลก “Health For All” จนมาถึงในปัจจุบันบริบทต่างๆเอื้อต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนและประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่นกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น, การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, การจัดตั้งกองทุนสุขภาพระดับตำบล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, และกระบวนการสมัชชาสุขภาพ โดยที่ท้องถิ่นได้รับภารกิจการสร้างเสริมสุขภาพบางส่วน มาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๓๗ แล้ว

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ส่งผลต่อการขยายบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพชัดเจนคือ เน้นหนักไปในเชิงการจัดการสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน กล่าวคือ การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตลอดจน การป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ แต่กระนั้นก็ยังไม่ครอบคลุมบทบาทตามยุทธวิธี ๕ ประการของการสร้างเสริมสุขภาพในนิยามใหม่ ส่วนแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้อปท.ฉบับที่ ๒ ได้ผูกภารกิจการบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ไปพร้อมงบประมาณ สถานีอนามัยและบุคลากร ให้ถ่ายโอนให้อปท.ที่มีความพร้อมดำเนินการ ซึ่งน่าจะทำให้ภาวะการนำของอปท.ในการสร้างเสริมสุขภาพล่าช้าออกไป เนื่องจากจะต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนในการรับโอนสถานีอนามัย ดังนั้นเพื่อให้มีความชัดเจน ถึงบทบาทของท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพ จึงสมควรกำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการสร้างเสริมสุขภาพให้ชัดเจน ซึ่งชี้ได้ว่ามีกลุ่มภารกิจเดียวที่อาจจำเป็นต้องให้สถานีอนามัยดำเนินการ คือการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนรายบุคคล การมอบภารกิจจากหน่วยงานรัฐส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค ให้ท้องถิ่น อาจอาศัยหลัก ๒ อย่างคือ ๑) ความเสี่ยงต่ำหรือความถี่สูง และ ๒)ใช้ทักษะพื้นฐาน หรือเข้าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง การจัดการที่ส่วนกลาง หน้าที่หลักๆของแต่ละหน่วยงานมี ดังนี้

-  กสธ.เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย และกำหนดมาตรฐานของบริการสาธารณะ
-  สช.สร้างกลไกนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม และประเมินความก้าวหน้าของการสร้างเสริมสุขภาพทั้งระบบ
-  สปสช.เป็นผู้ซื้อบริการสุขภาพ ในส่วนของบริการส่งเสริมสุขภาพของประชากรรายบุคคล และกำหนดมาตรฐานของบริการ
-  สสส. สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน
-  สวรส. วิเคราะห์ประเมินประสิทธิผลงานส่งเสริมสุขภาพเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
-  กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณ และมอบหมายภารกิจด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละระดับ
-  สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ โดยคณะอนุกรรมการด้านสาธารณสุข การกำกับติดตามผลการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละระดับ หลังการกระจายอำนาจ

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ควรใช้โครงข่ายของ สสจ. และ สสอ. ในการจัดระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ระบบรายงานการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยง ที่ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ สสส. ควรรับหน้าที่เป็นแกนในการพัฒนากำลังคน ภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน บันทึกปัญญาในท้องถิ่นให้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ สร้างกระบวนการเรียนรู้ระหว่างท้องถิ่น และ สช.ควรมีคณะกรรมการประเมินความก้าวหน้าด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ประสานการทำงานหน่วยงานส่วนกลางทุกส่วน รวมทั้งกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยด้วย ศักยภาพของอปท.อาจพิจารณาได้เป็น 3 ด้าน คือความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ, ศักยภาพในการจัดกระบวนการพัฒนานโยบาย และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบ กลไก, และ ศักยภาพในการพัฒนาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ซึ่งทั้ง ๓ ด้านนี้ สามารถนำมาสร้างเครื่องมือในการประเมินศักยภาพ และพัฒนาศักยภาพของอปท.ได้อย่างต่อเนื่อง

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) เป็นสิทธิประโยชน์เดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดให้กับประชาชนไทยทุกสิทธิ เป็นบริการสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน

การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างเสริมความตระหนักและขีดความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง

การป้องกันโรค หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีขอบเขตดังนี้

  1. การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียสุขภาพและศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. การสร้างเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้คำปรึกษาแนะนำ การให้ความรู้และการสาธิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  3. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การใช้ยา และการทำหัตถการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเฝ้าระวัง และการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยมีอาการแทรกซ้อนหรือการชะลอความรุนแรงของการป่วย โดยให้ถือว่าบริการดังกล่าวเป็นกิจกรรมด้านการรักษาพยาบาล

เป้าหมาย

ประชาชนไทยทุกสิทธิ ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้มีสิทธิประกันสังคม ผู้มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสิทธิอื่นๆ ย่อมมีสิทธิเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามราชกิจจานุเบกษาเรี่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข พ.ศ.2565 ของประชาชนแต่ละกลุ่มวัย

รายการหรือกิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สิทธิประโยชน์) ที่ประชาชนทุกสิทธิจะได้รับ แยกตามกลุ่มวัยเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กเล็กอายุ 0 - 5 ปี กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6 - 24 ปี กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25 - 59 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งนี้การจัดบริการตามรายการหรือกิจกรรมบริการ หน่วยบริการจะดำเนินการตามแนวทางหรือแนวเวชปฏิบัติ และมาตรฐานบริการที่กำหนดโดยกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขหรือราชวิทยาลัยหรือสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรมบริการที่จะได้รับ

  • กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
  • กลุ่มเด็กเล็กอายุ 0-5 ปี
  • กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี
  • กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี
  • กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

หากมีข้อสงสัยในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330 (ตลอด 24 ชม.)

                                                                                                                                                                 อัปเดต วันที่ 4 สิงหาคม 2565
​                                                                                                                                                                                              1330  Contact Center

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนมีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการออกกกำลังกายเป็นประจำ

ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวมได้อย่างไร

พฤติกรรมในการรับผิดชอบ ต่อสุขภาพของส่วนรวม 1. ปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ10 ประการ 2. ร่วมกันรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน โรงเรียน และชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความตระหนัก Page 8 3. รักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน โรงเรียน และชุมชน

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างเสริมความตระหนักและขีดความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง การป้องกันโรค หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

การสร้างเสริมสุขภาพมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียนอย่างไร

การส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรก มันสามารถช่วยให้พวกเขารักษาสุขภาพร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้พวกเขารักษาสุขภาพจิตด้วย ประการที่สอง สามารถช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ดีและตัดสินใจเลือกที่ดีตลอดชีวิต ประการที่สาม สามารถช่วยหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก