กรณี ศึกษา ผลงาน การออกแบบและเทคโนโลยี

      กรณีศึกษาที่ 1 หมวกจักรยานอัจฉริยะ

  ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหา

ในปัจจุบันการปั่นจักรยานได้รับความชื่นชอบจากผู้คนเป็นอย่างมากทำให้ปัญหาหนึ่งได้เพิ่มตามขึ้นเช่นกัน คือ  การเกิดอุบัติเหตุจนการปั่นจักยาน โดยมีสาเหตุมาจากการที่จักรยานนั้นไม่มีสัญญาณไฟเลี้ยวหรือุ้าผู้ปั่นจะใช้ภาษามือในการส่งสัญญาณเพื่อขอทางก็ต้องนำมืออกจากมือจับจักรยานซึ่งอาจทำให้เสียหลักในการทรงตัวและล้มลงได้

ดังนั้น ปัญหาที่ต้องแก้ไข คือ การส่งสัญญาณมือ เพื่อขอทางของผู้ปั่นจักรยานทำให้อาจเกิดอุบัติเหตุได้เนื่องจากผู้ปั่นต้องปล่อยมือออกจากที่จับ ส่งผลให้จักรยานอาจเสียหลักและล้มลงได้

  ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

เพื่อให้เข้าใจปัญหาของการส่งสัญญาณขณะปั่นจักรยาน เราสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้มากขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

เมื่อเข้าใจปัญหาของการปั่นจักรยานแล้ว เราสามารถใช้ "แผนผังความเข้าใจ" (Empathy Map) ในการสรุปความเข้าใจของปัญหาได้ ดังนี้

ก่อนที่จะเริ่มต้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหานั้น เราควรมองปัญหาให้เป็นโอกาสด้วยการตั้งคำถามโดยใช้รูปแบบคำถามดังนี้

ปัญหาคืออะไร??  :: รถจักรยานส่วนใหญ่ไม่มีสัญญาณไฟเลี้ยว ทำให้ผู้ปั่นจักรยานต้องปล่อยมือออกจากที่จับเพื่อส่งสัญญาณมือในการขอทางเพื่อเลี้ยว ส่งผลให้อาจเกิดอุบัติเหตุได้ภ้ารถจักรยานเสียหลักและล้มลง

เราจะ........ได้อย่างไร??

  • เราจะทำให้ผู้ปั่นจักรยานไม่ต้องส่งสัญญาณด้วยมือได้อย่างไร
  • เราจะทำให้การส่งสัญญาณมือปลอดภัยมากขึ้นได้อย่างไร
  • เราจะทำให้การส่งสัญญาณมือสะดวกและชัดเจนมากขึ้นได้อย่างไร

จากการตั้งคำถามดังกล่าว ทำให้เกิดความคิดที่หลากหลาย ซึ่งในนั้นที่นำมาทดลองปฏิบัติ คือ "การสร้างหมวกอัจฉริยะ" จักรยานอัจฉริยะ ที่สามารถส่งสัญญาณเลี้ยวซ้ายและขวาได้โดยผ่านรีโมตควบคุม การสร้างเทคโนโลยีชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำมาแก้ปัญหาดังนี้

  • ส่งเสริมให้ผู้ปั่นจักรยานและผู้สัญจรได้รับความปลอดภัยเพื่มขึ้น
  • ส่งเสริมให้ผู้ปั่นจักรยานได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
  • ส่งเสริมการออกกำลังกาย

  ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา

หลักการสำคัญในการออกแบบวิธีการแก้ปัญหา คือ การสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบความคิด ในกรณีนี้อุปกรณ์ต่างๆถูกนำมาใช้เพื่อสร้างต้นแบบของหมวกจักรยานอัจฉริยะ เช่น ทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทาน สายไฟ LED บล็อกใส่วงจร เป็นต้น หมวกจักรยานอัจฉริยะนี้ สามารถเปิดไฟหน้า  ไฟเลี้ยว  และไฟฉุกเฉินได้โดยการสั่งผ่านรีโมตไร้สาย นอกจากนี้ไฟเลี้ยวของหมวกยังสามารถเปิดได้นานถึง 5 วินาที หมวกจักรยานยนอัจฉริยะมีน้ำหนักรวมทั้งหมด 375 กรัม

  ขั้นตอนที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา

ตารางวางแผนการปฏิบัติงาน หมวกอัจฉริยะ

กิจกรรม ระยะเวลาที่ใช้
คิดเลือกหัวเรื่องและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 15 พ.ค. - 31 พ.ค.
การเจียนเค้าโครงของโครงงาน 1 มิ.ย. - 30 มิ.ย.
การปฏิบัติโครงงาน 1 ก.ค. 31 ส.ค. 
การเขียนรายงาน 1 ก.ย. - 30 ก.ย.
การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน 1 ต.ค. - 15 ต.ค.

ตาราง แผนการดำเนินงาน หมวกอัจฉริยะ

กิจกรรม ระยะเวลาที่ใช้
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
คิดเลือกหัวเรื่องและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
         
การเจียนเค้าโครงของโครงงาน  
       
การปฏิบัติโครงงาน    
   
การเขียนรายงาน        
 
การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน          

  ขั้นตอนที่ 5 ทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

เมื่อได้ต้นแบบของหมวกจักรยานอัจฉริยะแล้ว  ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การทดสอบว่าการทำงานของหมวกนั้นถูกต้องและตอบโจทย์ของผู้ใช้หรือไม้ และมีส่วนใดที่ต้องพัฒนาหรือแก้ไขบ้าง

  ขั้นตอนที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน

เมื่อชิ้นงานและความคิดทั้งหมายได้ผ่านกระบวนการเทคโนโลยีทั้ว 6 ขั้นตอนแล้ว ก็จัต้องนำชิ้นงานที่ได้มานำเสนอโดยหมวกจักรยานอัจฉริยะนี้จะนำเสนอให้เห็นในรูปแบบของ Storyboard เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก