Project Feasibility ตัวอย่าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Feasibility Study หรือแปลตรงๆว่า "การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ" แต่จริงๆแล้วการศึกษานั้นต้องศึกษาอะไรบ้าง และต้องศึกษาตอนไหน วันนี้ NEO Academy จะพาไปสรุปหัวใจของการทำ Feasibility Study และความสำคัญของมันให้เข้าใจด้วยกัน

1. Feasibility คือ "การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ" ดังนั้นการที่เราจะทำ Feasibility Study ได้นั้นเราต้องมี "โครงการ" ก่อน แต่ในที่นี้คำว่าโครงการอาจจะเป็นแค่เพียง ความฝัน หรือไอเดีย คร่าวๆก็ได้ แต่เราไม่สามารถที่จะทำ Feasibility Study ได้ ถ้าเราไม่มีไอเดียใดๆ ทางธุรกิจ เพราะเราจะไม่สามารถหาข้อมูลมาประกอบได้

2. ความเป็นไปได้ของโครงการมาจากอะไรบ้าง? หลายคนอาจจะคิดว่าจริงๆแล้ว คำว่า Feasibility ของโครงการนั้นเป็นแค่เรื่องของการเงินเท่านั้น ซึึ่งไม่จริง การประเมิน "ความเป็นไปได้" ของโครงการนั้น นักธุรกิจหรือนักลงทุนจำเป็นต้องมองความเป็นไปได้ในหลายๆด้านประกอบกัน ได้แก่

Market Feasibility - ความเป็นไปได้ในแง่การตลาดว่าสินค้าหรือบริการที่เราทำนั้น มีความต้องการในตลาดและเป็นความต้องการที่มีปริมาณมากเพียงพอที่เราจะสร้างธุรกิจได้

Production Feasibility - ความเป็นไปได้ในเชิงการผลิต ดูว่าจริงๆแล้ว สินค้าหรือบริการนั้นๆที่เราจะทำ เราสามารถที่จะ 'ผลิต' ได้จริงไหม ในเชิงคุณภาพ ราคา ปริมาณ และเวลา

Law & Regulation Feasibility - ความเป็นไปได้ในเชิงกฏหมาย ข้อบังคับต่างๆ หลายครั้งที่นักธุรกิจหลายคนตกม้าตายเพราะสินค้าและบริการหลายอย่างที่เราทำนั้นไม่ผ่านกฏข้อบังคับ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น นักพัฒนาที่ดินต้องเข้าใจประเภทของสีที่ดินต่างๆว่ามีบทบังคับในการสร้างอาคารประเทภต่างๆอย่างไร

Business Model Feasibility - ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของรูปแบบ Business Model คือรูปแบบการสร้างรายได้ และกำไรที่เหมาะสมที่ธุรกิจทำได้ นักธุรกิจต้องดูความเป็นไปได้ในการใช้ Business Model ให้เหมาะกับประเภทธุรกิจ และดูว่าธุรกิจที่เราทำนั้นมีกำไรที่เหมาะสมที่สามารถทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้

Financial Feasibility - ความเป็นไปได้ในทางการเงิน ทุกธุรกิจต้องจบด้วยตัวเลข ดังนั้นนักธุรกิจต้องเข้าใจความเป็นไปได้ของตัวเลขในแง่มุมต่างๆ เช่น ความเป็นไปได้ของจำนวนเงินลงทุนที่สามารถจัดหามาได้ หรือความเป็นไปได้ในการบริหารกระแสเงินสดของธุรกิจ หรือแม้แต่ความเป็นไปได้ในแง่ของความคุ้มทุนในการลงทุนต่างๆของโครงการ

3. ทุกธุรกิจควรทำ Feasibility Study ไหม และควรทำเมื่อไร? แม้จะมีคำกล่าวที่ชอบพูดกันในวงการธุรกิจว่า "คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด" แต่อย่างน้อยที่สุดการได้คิดก่อนทำ ก็น่าจะดีกว่าทำไปโดยที่ไม่ได้คิดอะไร การทำ Feasibility Analysis จะช่วยให้ผู้ทำสามารถเก็บข้อมูลต่างๆเพื่อเอามาใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล

4. ทุกการทำ Feasibility ไม่จำเป็นต้องจบด้วย "ความเป็นไปได้" ถ้ามัน "เป็นไปไม่ได้" ก็ยังไม่ต้องทำ

หลายคนอาจจะคิดว่าการศึกษาความเป็นได้ของโครงการต้องมีจุดจบ Happy Ending เสมอไปด้วยการสร้างโครงการ แต่จริงๆแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น ตอนจบของ Feasibility Analysis ก็แค่จบว่า ทำ หรือไม่ทำ หรือยังไม่ทำ แค่นั้นเอง

5. Feasibility (การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ) คือ หัวใจของการทำ Business Plan (แผนธุรกิจ) หลายคนอาจยังสงสัยบ้างว่าจริงๆ Feasibility Study กับ Business Plan เป็นเรื่องเดียวกันไหมและเกี่ยวข้องกันอย่างไร จริงๆการทำ Feasibility Study ที่ดี ในการศึกษาความเป็นไปได้ในทุกแง่มุม แล้วนั้นก็ย่อมทำให้นักธุรกิจสามารถที่จะวางแผนธุรกิจได้แม่นยำและดีขึ้นนั่นเอง และถ้าแผนธุรกิจนั้นมีรายละเอียดที่ดีที่สอดรับกับข้อมูลจากการศึกษาความเป็นไปได้แล้วนั้น ก็ย่อมที่จะทำให้นักธุรกิจสามารถนำแผนธุรกิจที่เขียนไปประยุกต์ใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเอาไปใช้เป็นเอกสารต่างๆในการยื่นกู้กับสถาบันการเงิน หรือแม้แต่เอาไปใช้เป็นพิมพ์เขียวหรือแผนที่ในการดำเนินธุรกิจนั้นเอง

------

หากผู้อ่านสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมและทำ Workshop แผนธุรกิจไปพร้อมกับคณาจารย์จาก NEO Academy วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครแล้ววันนี้

Mini MBA - New Business Creation & Feasibility Analysis หลักสูตรการสร้างสรรค์และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจใหม่ //www.neobycmmu.com/mini-mba-new-business-creation

#NEOBYCMMU #BUSINESSCREATION #MiniMBA

แฟ้มนี้เป็นแฟ้มสุดท้ายที่ผมสร้างขึ้นสมัยที่ยังไม่ได้หันเหชีวิตมาเป็นอาจารย์อย่างเต็มตัว แฟ้มนี้ต้องใช้ความรู้ทั้งบัญชี การเงิน และภาษีเพื่อวิเคราะห์การลงทุนในงานอสังหาริมทรัพย์โครงการบ้านจัดสรร ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมได้เห็นแฟ้มวิเคราะห์โครงการลงทุนหรือที่เรียกกันว่า Feasibility Study เรียกย่อว่า ทำฟีส จากการลงทุนแค่ไม่กี่ล้านในโครงการเล็กๆจนถึงโครงการลงทุนระดับประเทศที่ใช้เงินเป็นแสนล้านบาทมาแล้ว ได้เห็นแฟ้มที่ทำกันมาเยอะแยะซึ่งพบว่าน้อยคนนักที่จะทำฟีสเป็นจริงๆ ใครก็ตามที่คุ้นเคยกับการทำฟีสมาก่อนพอเห็นแฟ้มนี้รับรองว่า จะได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน 

สิ่งที่ยากที่สุด คือ วิธีการหา Cash Flow on Equity Financing เพื่อนำมาหาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน สำหรับเจ้าของกิจการ ส่วนวิธีคำนวณหาผลตอบแทนนั้นน่ะง่ายมาก แค่รู้จักการใช้สูตรของ Excel ก็ได้แล้ว 

โดยทั่วไปเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุน จะดูจากตัวเลข IRR หรือ NPV ที่คำนวณได้เท่านั้น ซึ่งผมนำความรู้สมัยที่ยังทำงานให้กับบริษัททรูมาใช้ โดยอาจารย์ ดร.วีรวัฒน์ กาญจนดุล ผู้บริหารของซีพีได้สอนให้ผมวิเคราะห์ให้ละเอียดขึ้น ให้คำนวณหา Cumulative IRR และ Cumulative NPV เพื่อใช้หา Break-even on IRR และ Break-even on NPV อีกด้วย จะได้ทราบว่าเมื่อใดที่จะคุ้มทุนโดยไม่ต้องรอให้หมดระยะเวลาในโครงการ 

ในแง่ของการออกแบบแฟ้ม แต่ละแฟ้มมีขนาดเล็ก แยกคำนวณค่าใช้จ่ายและรายรับแต่ละเรื่อง จากนั้นจึงลิงก์ผลการคำนวณมาออกเป็นรายงานรายเดือนและลิงก์ยอดสรุปออกมาเป็น Management Report หน้าเดียวในที่สุด 

เมื่อสั่ง Change Sources จะสามารถดึงข้อมูลต้นทุนและรายได้ที่มีเงื่อนไขต่างไปจากเดิม ทำให้สามารถใช้แฟ้มคำนวณเดิมสำหรับโครงการอื่นต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสร้างแฟ้มคำนวณสำหรับแต่ละโครงการใหม่ให้เสียเวลา 

เดิมที่แฟ้มทั้งหมดจะทำงานโดยอัตโนมัติโดยใช้ VBA ควบคุมการเปิดแฟ้มเพื่อส่งต่อผลลัพธ์ที่คำนวณได้จากแฟ้มต้นทางไปแฟ้มปลายทางทีละคู่ ทำให้เวลาใช้งานไม่ต้องเปิดแฟ้มทั้งหมดทุกแฟ้มพร้อมกัน ซึ่งในตัวอย่างนี้ไม่ได้นำรหัส VBA ติดมาด้วย

Download ตัวอย่างได้จาก

//excelexperttraining.com/download/FS-Model.zip

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก