การเขียน หมายถึง ราชบัณฑิตยสถาน

พจนานุกรมเขียน : พจนานุกรม ออนไลน์ แปลภาษา คือ อะไร แปลว่า หมายถึง

ค้นหาคำศัพท์ :

  • หน้าหลัก
  • ภาษาน่ารู้
  • พจนานุกรมทั้งหมด
  • เพิ่มคำศัพท์ใหม่

หน้าหลัก > พจนานุกรมทั้งหมด > แปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน > เขียน

เขียน

เขียน

  • เขียน

    ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ วาด แต่งหนังสือ.

    ดูคำอื่นๆในหมวดแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

    เขเขกเขจรเขดาเขตเขตอำนาจศาลเขตเลือกตั้งเขตแดนเขนเขนง

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

เขียนภาษาอังกฤษ

เขียนภาษาไทย เขียนความหมาย Dictionary เขียนแปลว่า เขียนคำแปล

เขียนคืออะไร

เขียน

ก. วาด, ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็น เส้นหรือรูปต่างๆ, แต่งหนังสือ. เขียนทักษา น. วิธีเขียนเลขหมายดวงพระเคราะห์ในช่อง ๙ ช่อง แล้วเอาเกณฑ์พยากรณ์ทั้ง ๘ เข้าจับและทายตามนั้น.... (อ่านต่อ...)

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

เขียน

[v.] write [syn.] จด,เขียนหนังสือ (อ่านต่อ...)

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ LEXiTRON

ความหมายของ เขียน จากพจนานุกรมเล่มอื่นๆ

Tweets by andrewbiggs

ราชบัณฑิตยสถาน

นักเรียน: หนูใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานในการเขียนภาษาไทย ราชบัณฑิตยสถานคืออะไรคะ

ครู

:ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งมา ๗๓ ปีแล้ว  มีอำนาจหน้าที่ในการค้นคว้าวิจัย  แล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชน  ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย

          ที่สำคัญคือ ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น  ผลงานของราชบัณฑิตยสถานที่เป็นที่รู้จักคือ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติศัพท์สาขาวิชาต่าง ๆ ด้วย เช่น คำว่า videoบัญญัติศัพท์ว่า วีดิทัศน์ คำว่า globalizationบัญญัติศัพท์ว่า  โลกาภิวัตน์

ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

   การ กับ การณ์

          บทความนี้ขอนำความหมายของ “การ” กับ “การณ์” มาเสนอต่อท่านผู้อ่าน

          การ ความหมายแรก หมายถึง งาน สิ่งหรือเรื่องที่ทํา มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง ธุระ หน้าที่ เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน ความหมายที่ ๒ หมายถึง ผู้ทำ มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ ความหมายที่ ๓ ใช้เป็นคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือนความหมายแรก เช่น ราชการ พาณิชยการ

          การณ์ หมายถึง เหตุ เค้า มูล เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์

          ต่อไปนี้ มารู้จักคำบางคำที่มีคำว่า “การ” และ “การณ์” ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนได้

          รู้เท่าไม่ถึงการ หมายถึง รู้ไม่ถึงว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ

          รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หมายถึง เขลา คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น เช่น รับฝากของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร

          อุดมการณ์ หมายถึง หลักการที่วางระเบียบไว้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

          เหตุการณ์ หมายถึง เรื่องที่เกิดขึ้น

          สังเกตการณ์ หมายถึง เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง

          รักษาการ หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราว เช่น รองอธิบดีรักษาการแทนอธิบดี

          รักษาการณ์ เป็นกริยา หมายถึง เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น มีทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา เป็นวิเศษณ์ หมายถึง ที่เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น ทหารรักษาการณ์ ยามรักษาการณ์

         สำรวย นักการเรียน

การเขียนหมายถึงอะไร ย่อ

การเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เรา การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ที่อ่าน เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา ...

ความสําคัญของการเขียน มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการเขียน.
1. การเขียนช่วยให้คุณบันทึกสิ่งที่คุณต้องรู้ และ ต้องทำ ... .
2. การเขียนช่วยให้มีจิตใจที่แจ่มใส ... .
3. การเขียนช่วยให้รับรู้อารมณ์ตนเองได้ดีขึ้น ... .
4. การเขียนช่วยพัฒนาการคิด ... .
5. การเขียนช่วยสร้างความรู้สึกขอบคุณ ... .
6. การเขียนช่วยทำให้มีเป้าหมายชัดเจนขึ้น ... .
7. การเขียนช่วยให้มีแรงจูงใจ.

องค์ประกอบสําคัญของการเขียนคือข้อใด

การเขียนเป็นการสื่อสารที่มีองค์ประกอบ 4 ประการคือ 1) ผู้เขียน (ผู้ส่งสาร) 2) ภาษา (สาร) 3) เครื่องมือทำให้เกิดสาร (เช่น อักษร ดินสอ สมุด ฯลฯ

การเขียนทั่วไป มีอะไรบ้าง

และอารมณ์ใส่ลงไปในงานเขียนได้อย่างครบถ้วน หลักการเขียนทั่วไปมีดังนี้ ๑. เขียนรูปคำให้ถูกต้อง ไม่ให้มีคำที่เขียนผิด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ ๒. ใช้คำให้ตรงความหมาย คำในภาษาไทยบางคำมีหลายความหมาย ทั้งความหมายตรงและ ความหมายแอบแฝง ผู้เขียนจะต้องศึกษาเรื่องการใช้คำให้ดีก่อนจะลงมือเขียน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก