เฉลย ใบงาน นโยบาย การเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

Copyright By :   Sainampeung School
ʧǹ�Ԣ�Է��� 2005
��ҹ����ö��������ª��ҧ����֡���� ��������õ�
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address :
Tel; 089-200-7752 mobile

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง

กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

รายวิชาสังคมศึกษา ส32101 ( เศรษฐศาสตร์ )
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

คำนำ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เล่มนี้ ผู้จัดทำได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อชนิดหนึ่ง
ที่มุ่งหวังจะแก้ปัญหานักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มขึ้น
รวมไปถึงกิจกรรมที่จัดให้กับนักเรียนได้เรียนตามชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เล่มนี้ ได้จัดเนื้อหาและกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้เพื่อปฏิบัติตนได้
อย่างถูกต้องและเหมาะสม นักเรียนจะได้ศึกษาเนื้อหาอย่างเป็นลำดับ
ขึ้นตอน โดยมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกการทำงานด้วยตนเอง มีความ
รับผิดชอบ การเชื่อมโยง การให้เหตุผล และการนำเสนอผลงาน

ผู้จัดทำหวังว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง
กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จะเป็นสื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่เปิดโอกาสในการแสวงหาความรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร มีผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
ทั้ง ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ อันจะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนสูงขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา
สาระเศรษฐศาสตร์

นภาวรรณ ฉิมเรือง

สารบัญ

คำนำ

สารบัญ

คำชี้แจงสำหรับครู 1

บทบาทของครูผู้สอน 2

บทบาทของนักเรียน 3

รายการสื่อและอุปกรณ์ในชุดกิจกรรม 4

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 5

ขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 7

กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน 9

แบบทดสอบก่อนเรียน 10

ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง นโยบายการเงิน 13

หน้าที่ของเงิน 13

ประเภทของเงินความสำคัญและปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ 14

สถาบันการเงิน 17

เงินเฟ้อ เงินฝืด 19

นโยบายการเงิน 20

สารบัญ 24
24
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง นโยบายการคลัง 25
ประเภทของนโยบายการคลัง 28
เครื่องมือของนโยบายการคลัง 29
การคลังท้องถิ่น 30
ใบกิจกรรมที่ 4.1 เรื่อง นโยบายการเงิน 31
เฉลยใบกิจกรรมที่ 4.1 เรื่อง นโยบายการเงิน 32
ใบกิจกรรมที่ 4.2 เรื่อง นโยบายการคลัง 33
เฉลยใบกิจกรรมที่ 4.2 เรื่อง นโยบายการคลัง 37
แบบทดสอบหลังเรียน 38
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน 39
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 40
แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน 41
แบบประเมินผลงานจากใบกิจกรรมที่ 1 และ 2 42
แบบบันทึกคะแนน การทดสอบย่อย
แบบบันทึกสรุปคะแนน
บรรณนานุกรม

องค์ประกอบ
ของชุดกิจกรรม

1. คำช้ีแจงสำหรับครู
2. บทบาทครูผู้สอน
3. บทบาทนักเรียน
4. รายการสื่อ และอุปกรณ์
5. จุดประสงค์ / สาระสำคัญ
6. ใบความรู้ ใบกิจกรรม แนวคำตอบ
7. แบบทดสอบย่อย
8. แบบประเมินผล

...

คำชี้แจงสำหรับครู 1

ข้อปฏิบัติในการใช้ชุดกิจกรรม

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้
บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และมีประสิทธิภาพ เมื่อปฏิบัติตามคำชี้แจงต่อไปนี้
อย่างเคร่งครัด

1. ให้นักเรียนอ่านมาตรฐาน/ตัวชี้วัด จุดประสงค์ และสาระการเรียนรู้
อย่างละเอียดจะได้ทราบว่าเมื่อศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฉบับนี้แล้ว
จะได้รับความรู้เรื่องใดบ้าง

2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ เพื่อวัดความรู้
พื้นฐานของตนเอง แล้วบันทึกผลคะแนนไว้

3. ให้นักเรียนศึกษารายละเอียดเนื้อหาในเล่มนี้ตามลำดับทีละหน้า
4. เมื่อศึกษาเนื้อหาในแต่ละตอนแล้ว ให้นักเรียนตอบคำถามในใบงาน
5. หากนักเรียนมีข้อสงสัย ให้นักเรียนซักถามคุณครู หรือกลับไปศึกษา

ใหม่อีกครั้ง
6. เมื่อศึกษาเอกสารประกอบการเรียนจบแล้ว ให้นักเรียนทำแบบ

ทดสอบหลังเรียน 10 ข้อ เพื่อดูความก้าวหน้า และวัดความรู้ความ
เข้าใจของตนเอง
7. ให้นักเรียนตรวจคำตอบจากแบบเฉลย แล้วนำผลคะแนนที่ได้ ไปเปรียบ
เทียบกับคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน

บทบาทของครูผู้สอน 2

1. ศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 Es กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง นโยบายการเงิน
การคลังกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เข้าใจก่อนที่จะนำไปใช้

2. ครูอธิบาย ชี้แจงเกี่ยวกับการศึกษาและปฏิบตัิตามชุดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง นโยบายการเงิน การคลังกับการพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศ และแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจ

3. ครูดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
4. ครูกำกับติดตามการฝึกปฏิบัติกิจกรรมและให้คำปรึกษาแนะนำนักเรียน
5. ครูทดสอบนักเรียนโดยใช้แบบทดสอบย่อยหลังจากเรียนจบขั้นตอนใน
แผนการจัดการเรียนรู้แต่ละชุดเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจของนักเรียน

...

บทบาทนักเรียน 3

1. รับทราบจุดประสงค์การเรียนรู้จากครูผู้สอน เพื่อให้ทราบว่าเมื่อจบกิจกรรม
การเรียนรู้แล้วนักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง

2. ตั้งใจศึกษาใบความรู้ และปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน หรือคำชี้แจงของ
แต่ละกิจกรรมอย่างจริงจัง ระมัดระวัง ไม่เล่นขณะปฏิบัติกิจกรรม ตรงต่อเวลา และ
ไม่เสียงดังรบกวนผู้อื่น

3. จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ให้เรียบร้อยทุกครั้งหลังปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ หากวัสดุ
อุปกรณ์ชำรุดเสียหายต้อง แจ้งครูผู้สอนทราบทันที

4. ทำแบบทดสอบย่อยหลังเรียนเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง

4

รายการสื่อและอุปกรณ์ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้

อุปกรณ์ในชุดกจิกรรมประกอบด้วย จำนวน 1 ชุด
จำนวน 1 ชุด
ซองที่ 1 ประกอบด้วย จำนวน 1 ชุด
จำนวน 1 ชุด
สาระสำคัญ / จุดประสงค์การเรียนรู้ จำนวน 1 ชุด
ใบความรู้เรื่อง นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง
ใบกิจกรรมที่ 4.1 เรื่อง นโยบายการเงิน
ใบกิจกรรมที่ 4.2 เรื่อง นโยบายการคลัง
แบบทดสอบหลังเรียน

ซองที่ 2 ประกอบด้วย จำนวน 1 ชุด
จำนวน 1 ชุด
แนวคำตอบกิจกรรมที่ 4.1 เรื่อง นโยบายการเงิน จำนวน 1 ชุด
แนวคำตอบกิจกรรมที่ 4.2 เรื่อง นโยบายการคลัง จำนวน 1 ชุด
แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน จำนวน 1 ชุด
เฉลยแบบทดสอบหลลังเรียหลังเรียน จำนวน 1 ชุด
แบบบันทึกคะแนน จำนวน 1 ชุด
แบบประเมินผลงานจากใบกิจกรรมที่ 1 และ 2
แบบบันทึกสรุปคะแนน

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 5

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความ
สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ
ในสังคมโลก

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด ม.4-6/1 อธิบายบทบาทของรัฐบาลด้านนโยบายการเงิน การ
คลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 6

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ (Knowledge)
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบายความสำคัญของนโยบายการ

เงินและการคลังได้
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (Process)

- นักเรียนสามารถวิเคราะห์ แนวทางการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจด้วย
นโยบายการเงินและการคลังได้
3. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude)

- นักเรียนเห็นความสำคัญของการศึกษานโยบายการเงินและการคลัง

สาระสำคัญ

นโยบายทางด้านการเงิน เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลใช้เป็นเครื่องมือในการกระ
ตุ้นหรือชะลอความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่สมดุล เพื่อรักษา
เสถียรภาพ ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ และนโยบายการคลัง
รัฐบาลจะกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการหารายได้เข้ารัฐด้วยการจัดเก็บภาษีอากร
และกำหนดมาตรการรายจ่ายรวมทั้งการก่อหนี้สาธารณะ โดยนโยบายการคลังจะ
ต้องตอบสนองเป้าหมายนโยบายทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด

ขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 7

ศึกษาคำชี้แจง

แบบทดสอบก่อนเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้

แบบทดสอบหลังเรียน

ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ไม่ผ่านเกณฑ์

8

แบบทดสอบก่อนเรียน

เรื่อง

นโยบายการเงิน การคลัง
กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

9

กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง
กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ชื่อ ............................................................ชัน ................ เลขที่ ..............

ข้อที่ ก ข ค ง คะแนนเต็ม 10
1 คะแนนที่ได้
2
3 เกณฑ์การประเมิน
4
5 คะแนนระหว่าง 9-10 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
6 คะแนนระหว่าง 7-8 อยู่ในเกณฑ์ ดี
7 คะแนนระหว่าง 5-6 อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
8 คะแนนระหว่าง 0-4 อยู่ในเกณฑ์ ปรับปรุง

9
10

แบบทดสอบก่อนเรียน 10

เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนา
เศรษฐกิจของประเทศ

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. สถาบันที่เป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินในประเทศไทย คือข้อใด
ก. ธนาคารพานิชย์
ข. ธนาคารกลาง
ค. สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร
ง. สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

2. ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของเงิน
ก. กู้ยืม
ข. ชำระหนี้
ค. เครื่องรักษามูลค่า
ง. สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

3. ข้อใดจัดอยู่ในประเภทของสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร
ก. ธนาคารกลาง
ข. ธนาคารพานิชย์
ค. ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
ง. สหกรณ์ออมทรัพย์

4. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ก. ออกและพิมพ์ธนบัตร
ข. ออกและพิมพ์เหรียญกษาปณ์
ค. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
ง. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์

11

5. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของสถาบันการเงิน
ก. อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงิน
ข. เป็นแหล่งเงินทุน
ค. ให้บริการรับฝากถอนเงิน
ง. เป็นหน่วยงานบริหารเศรษฐกิจ

6. ข้อใดไม่จัดเป็นรายได้ของรัฐบาล
ก. ภาษี
ข. สลากกินแบ่งรัฐบาล
ค. ค่าปรับ
ง. การกู้ยืมเงิน

7. ข้อใดไม่จัดเป็นหน่วยงานเก็บภาษีของรัฐ
ก. กรมสรรพสามิต
ข. กรมสรรพากร
ค. กรมอุทยาน
ง. กรมศุลกากร

8. นโยบายการเงินใดสามารถแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้
ก. เพิ่มอัตราเงินสดสำรอง
ข. สถาบันการเงินให้สินเชื่อมากขึ้น
ค. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ง. ธนาคารกลางลดอัตราเงินสดสำรอง

12

9. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินฝืด
ก. การชะลอการลงทุน การผลิตลดลง
ข. การจ้างงานลดลง
ค. การจ้างงานเพิ่มขึ้น
ง. ประชาชนมีรายได้ลดลง

10. ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืดด้วยนโยบายการคลัง
ก. ลดอัตราภาษีอากร
ข. สถาบันการเงินให้สินเชื่อมากขึ้น
ค. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ง. ธนาคารกลางลดอัตราเงินสดสำรอง

ตั้งใจทำข้อสอบนะ

13

ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง
นโยบายการเงิน

ในระบบเศรษฐกิจที่ยังไม่มีการใช้เงิน เมื่อมีความต้องการอยากได้สิ่งของ
ที่ตนเองไม่มีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่มาแลกเปลี่ยนกัน ต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจ
เติบโตขึ้นจึงมีการใช้ เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ปริมาณเงินที่
หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจะมีผลต่อระดับรายได้ ผลผลิต และการจ้างงาน
โดยมีตลาดการเงินเป็นแหล่งอำนวยความสะดวกในการโอนย้ายเงินออมไปยังผู้
ต้องการลงทุน

หน้าที่ของเงิน

เงินมีหน้าที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงินเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือ
ผู้บริโภคและผู้ผลิต การ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2) เป็นมาตรฐานการวัดค่า เงินเป็นหน่วยในการวัดค่าของสินค้าและบริการ
การที่สินค้าและบริการต่าง ๆ สามารถกำหนดราคาเป็นหน่วยเงินได้ทำให้ผู้ซื้อ
และผู้ขายเปรียบเทียบราคาของ มูลค่าของสิ่งของต่าง ๆ ได้ง่าย ช่วยให้การตัดสิน
ใจซื้อขายเป็นไปได้ง่ายขึ้น

14

3) เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต การใช้เงินชำระหนี้ในอนาคตได้
ทำให้เกิดการซื้อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งในประเทศและระหว่าง
ประเทศ เพราะทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างได้รับความสะดวก ไม่ต้องจ่ายเงินทันทีที่
มีการซื้อขายเกิดขึ้น
4) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า เงินเป็นสินทรัพย์ที่ผู้คนทั่วไปนิยมสะสมไว้
เนื่องจากสามารถนำไปจับจ่ายใช้สอยได้ทันที แต่การสะสมเงินจะไม่ก่อให้เกิด
ดอกผลแก่เจ้าของ ซึ่งต่างจากการสะสมทรัพย์สินในรูปของทรัพย์อื่น เช่น
อสังหาริมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น

ประเภทของเงิน ความสำคัญของเงิน และปริมาณเงิน
ในระบบเศรษฐกิจ

1) ประเภทและความสำคัญของเงิน ในระยะแรกเงินที่นำมาใช้เป็นสื่อกลางใน
การแลกเปลี่ยนได้แก่สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป มักเป็นสิ่งที่หาได้
ยากและมีค่าในตัวของมันเอง เช่น เปลือกหอย ลูกปัด วัว ควาย ขนสัตว์ ใบชา
ยาสูบ เกลือ เป็นต้น แต่สิ่งเหล่านี้มีข้อจักกัดหลายอย่าง อาทิ เช่น ไม่คงทน
ถาวร นำติดตัวไปไม่สะดวก แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ยาก อีกทั้งคุณภาพของอย่าง
เดียวกันก็ไม่เหมือนกัน ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนมาใช้เงินที่ทำด้วยโลหะมีค่า เช่น
เงินและทองคำ และวิวัฒนาการมาเป็นธนบัตรดังเช่นที่ใช้กันในปัจจุบัน
โดยรัฐบาลเป็นผู้มีสิทธิ์ในการออกแต่เพียงผู้เดียว ธนาคารกลางของประเทศจะ
เป็นผู้จัดพิมพ์และรับรองให้ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

15

ในการพิมพ์จะต้องมี ทุนสำรองเงินตรา ซึ่งประกอบไปด้วย ทองคำ และเงินตรา
ต่างประเทศหนุนหลัง
2) ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ปริมาณเงินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบ
เศรษฐกิจ ดังนี้

1. มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ มีผลต่อระดับรายได้ และผลผลิต
ของประเทศ

2. มีผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ คือ มีผลต่อระดับราคา และการจ้างงานใน
ระบบเศรษฐกิจ

ปริมาณเงินหรือที่เรียกกันในภาษาเศรษฐศาสตร์ว่า อุปทานของเงิน
(money supply) กล่าวโดยรวมก็คือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนใช้ในระบบ
เศรษฐกิจ นั่นเอง

ธนาคารพาณิชย์ มีบทบาทสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่ม
ขึ้นหรือลดลงได้ โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศมีหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินให้อยู่
ในระบบที่เหมาะสม หน่วยงานสำคัญที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้ก็ คือ
ธนาคารกลาง ซึ่งธนาคารกลางของประเทศไทยก็ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
รัฐบาลสามารถควบคุมปริมาณเงินได้โดยใช้เครื่องมือสำคัญ คือ นโยบายการเงิน

16

3) ตลาดการเงิน (financial market) หมายถึง ตลาด หรือแหล่งกลางที่
อำความสะดวกในการระดมเงินออมไปยังผู้ลงทุน จำแนกได้ 2 ตลาดคือ

ตลาดเงิน (money market) เป็นตลาดที่มีการระดมเงินทุน และการให้
สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ตลาดเงินประกอบด้วยสถานบันเงินต่าง ๆ ที่จัด
ตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ บริษัทเงินทุน
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ และธนาคารกลาง กิจกรรมในตลาดนี้ ได้แก่
การกู้โดยตรง หรือการเบิกเกินบัญชี การกู้ยืมระหว่างธนาคารด้วยกันเอง
การกู้โดยขายตราสารทางการเงิน ตั๋วเงินคลัง นอกจากนี้ยังมี ตลาดเงิน
นอกระบบ ซึ่งเป็นแหล่งกู้ยืมโดยไม่มีกฎหมายรองรับ เช่น การเล่นแชร์ การให้กู้
และการขายฝาก เป็นต้น

ตลาดทุน (capital market) เป็นตลาดที่ทีการระดมเงินออมระยะยาวและ
ให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ เงินฝากประจำ หุ้นสามัญ หุ้นกู้
และพันธนบัตรทั้งของรัฐบาล และเอกชน ประกอบด้วยตลาดสินเชื่อทั่วไป
ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่มีอยู่มากมาย เช่น
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ ธนาคารต่าง ๆ ที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นเฉพาะ
ตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

17

สถาบันการเงิน

สถาบันการเงิน เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน โดย
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน รวมทั้งให้บริการด้านการ
เงินอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น รับฝากเงิน ปล่อยสินเชื่อ เป็นต้น
สถาบันการเงินมีมากมายทั้งที่เป็นธนาคาร เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง
หรือธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บริษัท
ประกันภัย ตลาดหลักทรัพย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสหกรณ์ออมทรัพย์
เป็นต้น
1) ธนาคารพาณิชย์ การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ธุรกิจดั้งเดิมของธนาคาร
พาณิชย์ คือ การรับฝากเงินประเภทต่าง ๆ และให้การกู้ยืมทั้งภาครัฐ และ
เอกชน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น และจากการที่ปริมาณเงินมีผลต่อ
ระดับราคา การจ้างงาน ผลผลิต และรายได้ของประเทศ ธนาคารพาณิชย์มี
บทบาทสำคัญในการเพิ่มหรือลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ การดำเนินงาน
ของธนาคารพาณิชย์มีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน ดังนั้น
ธนาคารกลางจึงต้องเข้ามากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

18

2) ธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ เป็นธนาคารที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น
ทำหน้าที่ช่วยเหลือด้านการเงิน หรือส่งเสริมการดำเนินงานเฉพาะด้านตาม
นโยบายของรัฐบาล เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักเก็บออม ช่วยเหลือเกษตรกร
ช่วยเหลือประชาชนด้านที่อยู่อาศัยช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและ
ขนาดย่อม และผู้ประกอบธุรกิจกับต่างประเทศ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนา
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและ
นำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น
3) ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่
มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ แต่เป็นองศ์กรอีสระที่ไม่แสวงหากำไร และอยู่
ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีการกระทรวงการคลัง เป็นสถาบันการเงินที่ได้
รับมอบอำนาจจากรัฐบาลให้ควบคุมดูแลเรื่องการเงินของประเทศ มีวัตถุประสงค์
เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
และระบบการชำระเงิน

19

เกร็ดความรู้

เงินเฟ้อ

เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้า และบริการโดยทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างต่อเนื่อง ทำให้อำนาจซื้อของเงินในมือประชาชนลดลง นั่นคือ มีเงิน
จำนวนเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง จะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ
โดยแบ่งได้ 3 ระดับได้แก่
1. ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี
2. ภาวะเงินเฟ้อปานกลาง ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน

ร้อยละ 20 ต่อปี
3. ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง ราคาสินค้าและบริการสูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปีอย่างรวดเร็ว

เงินฝืด

เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้า และบริการโดยทั่วไปลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้อ
ำนาจซื้อของเงินเพิ่มขึ้นในขณะที่ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีน้อย ทำให้
กำลังซื้อของประชาชนในประเทศมีน้อย ถึงแม้ว่าราคาสินค้าจะลดลงมาแต่
ประชาชนก็มีเงินไม่พอในการซื้อสินค้าและบริการ โดยแบ่งได้ 3 ระดับได้แก่
1. เงินฝืดอย่างอ่อน ราคาสินค้าและบริการลดลงไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี
2. เงินฝืดปานกลาง ราคาสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน

ร้อยละ 20 ต่อปี
3. เงินฝืดอย่างรุนแรง ราคาสินค้าและบริการลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 ต่อปี

20

นโยบายการเงิน

นโยบายการเงิน (monetary policy) คือ นโยบายที่ธนาคารกลางใช้เพื่อ
ดูแลปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชน
มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา หรือ เสเถียรภาพของ
อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศ
ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
1) ประเภทของนโยบายการเงิน จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.1) นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (restrictive monetary policy)
เป็น นโยบายที่มีผลทำให้ปริมาณเงินลดลง มักใช้ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจ
เกิดปัญหาสภาวะราคาสิ้นสูงขึ้นหรือเกิดปัญหา เงินเฟ้อ นโยบายการเงินแบบนี้
จะ มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้กิจกรรมต่าง ๆ
ทางเศรษฐกิจลดลง และอัตราเงินเฟ้อลดลง

1.2) นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (easy monetary policy) เป็น
นโยบายที่มีผลทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น มักใช้ในกรณีที่เกิดภาวะเศรษฐกิจ
ซบเซาหรือเกิดปัญหา เงินฝืด นโยบายการเงินแบบนี้จะมีผลทำให้อัตรา
ดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวลดลง จะส่งผลให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ
เพิ่มมากขึ้น และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

21

2) เครื่องมือของนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถดำเนิน
งานโดยอาศัยเครื่องมือนโยบายการเงิน ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภท ได้ดังนี้

2.1) การดำเนินสินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่ เงินสดในมือธนาคารพาณิชย์
เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และหลักทรัพย์ที่ปราศจาก
ภาระผูกพัน ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงเงินสดสำรอง
ตามกฎหมาย หากธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในอัตราสูง จะมีผลให้
ธนาคารมีเงินสำรองส่วนเกินไปปล่อยกู้ได้น้อย ทำให้ปริมาณเงินเพิ่มได้น้อย
หากกำหนดให้อัตราต่ำก็จะมีผลทำให้ปริมาณเงินเพิ่มได้มาก ดังนั้น การดำรง
สินทรัพย์สภาพคล่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดจึงมีผลต่อสภาพคล่อง
ของระบบเศรษฐกิจ

2.2) การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน เป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษา
ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและดูแลสภาพคล่องในเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถทำได้
หลายวิธีเช่น

1. การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี
2. การซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่ คือ พันธบัตร
3. การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
4. การซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศ โดยมีสัญญาว่าจะขาย หรือซื้อคืน ณ
อัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันกำหนดล่วงหน้า โดยมากมักไม่เกิน 3 เดือน

22

2.3) หน้าต่างการตั้งรับ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าต่างปรับสภาพคล่อง
ณ สิ้นวัน ซึ่งเป็นช่องทางที่สถาบันการเงินสามารถกู้หรือให้กู้แก่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยได้ สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องสามารถเข้ามากู้ยืมโดยมี
พันธบัตรเป็นหลักประกัน หรือกรณีที่มีสภาพคล่องส่วนเกินก็เข้ามาลงทุนกับ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดย จะออกตราสารแสดงสิทธิ
3) กลไกการส่งผ่านของนโยบายการเงิน การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้
กรอบเงินเฟ้อจะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาด และในที่สุดจะส่งผลต่อปริ
มาณการผลิตและอัตราเงินเฟ้อผ่านระบบการเงินในช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ช่อง
ทางอัตราดอกเบี้ย ช่องทางสินเชื่อ ช่องทางราคาสินทรัพย์ ช่องทางอัตราแลก
เปลี่ยน และช่องทางการคาดการณ์
ตัวอย่างเช่น เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อน
คลายโดยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผลกระทบที่ผ่านช่องทางอัตราดอกเบี้ย
คือ จะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวลดลง ทำให้ต้นทุนในการบริโภค
และลงทุนต่ำลง จึงมีการบริโภคและการลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตใน
ประเทศสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น

23

หากนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด สามารถทำให้
เงินเฟ้อ ที่เกิดขึ้นจริง อยู่ในกรอบเป้าหมายได้ ก็หมายความว่าระดับราคาสิ้นค้า
โดยรวมจะเปลี่ยนแปลงไม่มาก จึงเกิดการเสถียรภาพด้านราคา จะทำให้
เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และยั่งยืน
4) การดำเนินนโยบายการเงินของไทย ภารกิจของธนาคารของประเทศไทย คือ
การดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และ
ระบบการชำระเงิน โดยประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคง คือ
เงินบาท และจะมีอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้เป็นทางการเทียบกับ
ดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทยจากควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ภายใน
กรอบที่กำหนดเพื่อให้ประชาชนมีอำนาจซื้อสินค้าได้ตามความเหมาะสม

24

ใบความรู้ที่ 2
เรื่อง
นโยบายการคลัง

นโยบายการคลัง (fiscal policy) หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวกับรายรับและ
รายจ่ายของรัฐบาล การก่อหนี้สาธารณะ และการบริหารเงินคงคลัง รัฐบาลดำเนิน
นโยบายการคลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะสร้างความ
เจริญเติบโตและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้

ประเภทของนโยบายการคลัง

นโยบายการคลังจำแนกได้ 2 ประเภท คือ

1) นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) คือ นโยบาย
ที่เพิ่มงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐ และลดภาษี นั้นคือ นโยบายงบประมาณ
แบบขาดดุล การดำเนินนโยบายการคลังดังกล่าว ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว
การจ้างงานและรายได้ประชาชาติจะเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจะใช้นโยบายดังกล่าวใน
ช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

25

2) นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Fiscal Policy) คือ
นโยบายที่ลดงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐ และเพิ่มภาษี นั้นคือ นโยบาย
งบประมาณแบบเกินดุล เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีการใช้จ่ายน้อยลง รัฐบาลใช้
นโยบายนี้ในกรณีที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาเงินเฟ้อ

เครื่องมือของนโยบายการคลัง

เครื่องมือของนโยบายการคลังที่สำคัญ คือ งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นทั้ง
แผนการใช้จ่ายเงินแผ่นดินและแผนการบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล
หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำงบประมาณ คือ สำนักงบประมาณ
ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

งบประมาณแผ่นดินมี 3 ประเภทได้แก่
- งบประมาณแบบสมดุล คือ มีรายได้รวมเท่ากับรายจ่ายรวม
- งบประมาณแบบเกินดุล คือ มีรายได้มากกว่ารายจ่าย
- งบประมาณแบบขาดดุล คือ มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย

26

เครื่องมือของนโยบายการคลัง

1) การใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นการใช้จ่ายในการบริหารตามภาระหน้าที่ของรัฐบาล
เพื่อจัดให้มีสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ได้แก่
- การใช้จ่ายเงินงบประมาณ คือ การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับ
อนุมัติจากรัฐสภาเพื่อการพัฒนาประเทศ เช่น การพัฒนาทางด้านการศึกษา
- การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ คือ เงินต่าง ๆ ที่ส่วนราชการได้รับและ
กฎหมายอนุญาตให้ใช้จ่ายได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น กองทุนหรือเงินหมุนเวียน
สถานพยาบาล
2) การจัดหารายได้ของรัฐบาล งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหารายได้ของ
รัฐบาล คือ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัด 3 กลุ่มหลัก ทำหน้าที่จัด
เก็บภาษี ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร

2.1) รายได้จากภาษีอากร ถือเป็นรายได้หลักของรัฐบาล จำแนกได้ดังนี้
- ภาษีทางตรง ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่าง ๆ ของบุคคล
ธรรมดา และนิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้
- ภาษีทางอ้อม ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภค รัฐบาลจัดเก็บภาษีทางอ้อม
เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างถนน การสนับสนุนการศึกษา

** รัฐบาลไทยมีรายได้จากภาษีทางอ้อมมากกว่าภาษีทางตรง **

27

2.2) รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ เป็นรายได้จากต่อไปนี้
- การขายหลักทรัพย์และทรัพย์สิน เช่น ค่าขายทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์
- การขายบริการ เช่น ค่าบริการ และค่าเช่า

2.3) รายได้จากรัฐพาณิชย์ ประกอบด้วย ผลกำไรขององค์การรัฐบาล
หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินปันผล
จากบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น

2.4) รายได้อื่น ประกอบด้วย ค่าแสตมป์ฤชาและค่าปรับ เงินรับคืน และราย
ได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
3) การก่อหนี้สาธารณะ ในกรณีที่รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณแบบขาดดุล คือ
มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในกรณีเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลต้องการ
กระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการจ้างงาน และเพิ่มปริมาณการบริโภคในประเทศ โดย
รัฐบาลต้องการหาเงินมาชดเชยส่วนขาดดุล ซึ่งอาจทำได้โดยการกู้ยืม หรือการนำ
เงินคงคลังมาใช้
4) การบริหารเงินคงคลัง เงินคงคลัง คือ เงินสดและสินทรัพย์ที่ใกล้เคียงเงินสด
ที่มีไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานของรัฐบาล ประกอบด้วย เงินฝากกระแสรายวัน
ของกระทรวงการคลังที่เปิดไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย การมีเงินคงคลังใน
ระดับที่เหมาะสมจะทำให้การบริหารการใช้จ่ายของรัฐบาลมีประสิทธิภาพ การมี
เงินคงคลังน้อยเกินไปจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็ไม่เกิด
ประโยชน์

28

การคลังท้องถิ่น

การคลังท้องถิ่น เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหารายได้และการใช้จ่าย
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีความสำคัญต่อพื้นที่ในท้องถิ่นด้านต่าง ๆ
การคลังท้องถิ่นช่วยให้ท้องถิ่นมีอิสระในการใช้จ่ายเงิน เพื่อพัฒนาท้องถิ่นได้
เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของตน

ความสำคัญของการคลังท้องถิ่น
- ช่วยสร้างความเจริญสู่ท้องถิ่น
- ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะการคลังดี ย่อมสร้างความเจริญให้แก่
ท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว

โครงสร้างการคลังท้องถิ่น
รายได้ - ภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง เช่น ภาษีสุรา

- จากทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่าจากสาธารณูปโภคและเทศบาลพาณิชย์
- เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาล
รายจ่าย - รายจ่ายประจำเพื่อการดำเนินการของท้องถิ่น เช่น การศึกษา
- รายจ่ายเพื่อการลงทุน เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เพื่อการสะสมทุน เช่น การส่งเสริมทางด้านชีพ

ใบกิจกรรมที่ 4.1 29
เรื่อง นโยบายการเงิน

1. ให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับคำว่า “การเงิน”

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................

2. ให้นักเรียนบอกหน้าที่เงินที่มีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ

...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................

3. ให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการเงิน ดังในตาราง

นโยบายการเงิน ลักษณะสำคัญ ผลที่เกิดขึ้น

นโยบายการเงินแบบ
เข้มงวด

นโยบายการเงินแบบ
ผ่อนคลาย

4. ให้นักเรียนจำแนกประเภทของสถาบันการเงินในประเทศไทย

สถาบันการเงิน

สถาบันการเงินประเภท สถาบันการเงินที่ไม่ใช่
ธนาคาร ธนาคาร

................................... ...................................
................................... ...................................
................................... ...................................
................................... ...................................

เฉลยใบกิจกรรมที่ 4.1 30
เรื่อง นโยบายการเงิน

1. ให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับคำว่า “การเงิน”

ในระบบเศรษฐกิจหนึ่ง ๆ จำเป็นต้องอาศัยเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ใช้ชำระ
เป็นค่าซื้อสินค้าและบริการ หรือชำระเพื่อซื้อสินทรัพย์ที่มีค่า หรือชำระหนี้สิน รัฐบาลแต่ละประเทศ
จึงต้องมีบทบาทในการกำกับตรวจตราการหมุนเวียนของปริมาณเงิน

2. ให้นักเรียนบอกหน้าที่เงินที่มีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ

- เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน - เงินเป็นมาตรฐานในการเทียบค่า
- เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต - เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า

3. ให้นักเรียนอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการเงิน ดังในตาราง

นโยบายการเงิน ลักษณะสำคัญ ผลที่เกิดขึ้น

นโยบายการเงินแบบ ธนาคารกลางจะจำกัด เงินหายากขึ้น
เข้มงวด หรือลดอุปทานของเงิน

นโยบายการเงินแบบ ธนาคารกลางจะเพิ่มเงิน การใช้เงินมีสภาพคล่อง

ผ่อนคลาย ในระบบเศรษฐกิจ มากขึ้น

4. ให้นักเรียนจำแนกประเภทของสถาบันการเงินในประเทศไทย

สถาบันการเงิน

สถาบันการเงินประเภท สถาบันการเงินที่ไม่ใช่
ธนาคาร ธนาคาร

- ธนาคารกลาง - บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
- ธนาคารพานิชย์ - โรงรับจำนำ
- ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ - สหกรณ์ออมทรัพย์

ใบกิจกรรมที่ 4.2 31
เรื่อง นโยบายการคลัง

1. ให้นักเรียนอธิบายความหมาย ความสำคัญ และประเภทของงบประมาณแผ่นดิน

...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................

2. ให้นักเรียนแสดงแผนผังเกี่ยวกับรายได้ของรัฐบาล

รายได้
ของรัฐบาล

3. ให้นักเรียนแสดงแผนผังความคิดเกี่ยวกับรายจ่ายของรัฐบาล

รายจ่าย
ของรัฐบาล

เฉลยใบกิจกรรมที่ 4.2 32
เรื่อง นโยบายการคลัง

1. ให้นักเรียนอธิบายความหมาย ความสำคัญ และประเภทของงบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนการเกี่ยวกับรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล การจัดทำ
งบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล มี 3 ประเภท ได้แก่

1. งบประมาณแบบสมดุล หมายถึง กรณีที่งบประมาณรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลมี
จำนวนเท่ากัน

2. งบประมาณแบบขาดดุล หมายถึง กรณีที่รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
3. งบประมาณแบบเกินดุล หมายถึง กรณีที่รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่าย

2. ให้นักเรียนแสดงแผนผังเกี่ยวกับรายได้ของรัฐบาล

รายได้จากภาษีอากร รายได้ รายได้จากการขายสิ่งของ
รายได้จากรัฐพานิชย์ ของรัฐบาล และบริการ
รายได้อื่น ๆ

3. ให้นักเรียนแสดงแผนผังความคิดเกี่ยวกับรายจ่ายของรัฐบาล

รายจ่ายด้านเศรษฐกิจ รายจ่าย รายจ่ายด้านรักษาความสงบ
ของรัฐบาล ภายใน
รายจ่ายด้านการศึกษา

รายจ่ายด้านสาธารณสุข รายจ่ายด้านการบริหารทั่วไป

รายจ่ายด้านการรักษาความ รายจ่ายด้านบริการสังคม
มั่นคง

รายจ่ายด้านการชำระหนี้

33

แบบทดสอบหลังเรียน

เรื่อง

นโยบายการเงิน การคลัง
กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

แบบทดสอบหลังเรียน 34

เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนา
เศรษฐกิจของประเทศ

1. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของสถาบันการเงิน
ก. อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงิน
ข. เป็นแหล่งเงินทุน
ค. ให้บริการรับฝากถอนเงิน
ง. เป็นหน่วยงานบริหารเศรษฐกิจ

2. ข้อใดไม่จัดเป็นรายได้ของรัฐบาล
ก. ภาษี
ข. สลากกินแบ่งรัฐบาล
ค. ค่าปรับ
ง. การกู้ยืมเงิน

3. นโยบายการเงินใดสามารถแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้
ก. เพิ่มอัตราเงินสดสำรอง
ข. สถาบันการเงินให้สินเชื่อมากขึ้น
ค. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ง. ธนาคารกลางลดอัตราเงินสดสำรอง

4. ข้อใดไม่จัดเป็นหน่วยงานเก็บภาษีของรัฐ
ก. กรมสรรพสามิต
ข. กรมสรรพากร
ค. กรมอุทยาน
ง. กรมศุลกากร

35

5. ข้อใดจัดอยู่ในประเภทของสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร
ก. ธนาคารกลาง
ข. ธนาคารพานิชย์
ค. ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
ง. สหกรณ์ออมทรัพย์

6. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ก. ออกและพิมพ์ธนบัตร
ข. ออกและพิมพ์เหรียญกษาปณ์
ค. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
ง. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์

7. สถาบันที่เป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินในประเทศไทย คือข้อใด
ก. ธนาคารพานิชย์
ข. ธนาคารกลาง
ค. สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร
ง. สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

8. ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของเงิน
ก. กู้ยืม
ข. ชำระหนี้
ค. เครื่องรักษามูลค่า
ง. สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

36

9. ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืดด้วยนโยบายการคลัง
ก. ลดอัตราภาษีอากร
ข. สถาบันการเงินให้สินเชื่อมากขึ้น
ค. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ง. ธนาคารกลางลดอัตราเงินสดสำรอง

10. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินฝืด
ก. การชะลอการลงทุน การผลิตลดลง
ข. การจ้างงานลดลง
ค. การจ้างงานเพิ่มขึ้น
ง. ประชาชนมีรายได้ลดลง

ตั้งใจทำข้อสอบนะ

37

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน

ข้อที่ เฉลย

1ข
2ก
3ง
4ข
5ง

6ง
7ค
8ก
9ค
10 ก

38

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

ข้อที่ เฉลย

1ง
2ง

3ก
4ค
5ง
6ข
7ข
8ก
9ก
10 ค

แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน 39

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง นโยบายการเงิน กับการคลัง

คำชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนน ปฏิบัติได้ระดับดีมาก ให้ 5 คะแนน
ปฏิบัติได้ระดับดี ให้ 4 คะแนน ปฏิบัติได้ระดับดี ให้ 4 คะแนน
ปฏิบัติได้ระดับพอใช้ ให้ 3 คะแนน
ในแต่ละรายการ ปฏิบัติได้ระดับน้อย ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัตไิด้ระดับต้องปรับปรุง ให้ 1 คะแนน

รายการประเมิน

ที ชื่อ-สกุล ความ การมีส่วน ค
วาม การปฏิบัติ
กระตือรือร้น ร่วมแสดง รับผิด
ในการศึกษา ความ ชอบต่องานที่ กิจกรรม รวม สรุป
คิดเห็น ได้รับมอบ ท้ายแผน
ค้นคว้า หมาย

5 5 5 5 20

1

2
3

4

5
6

...

ระดับคุณภาพคะแนน ลงชื่อ ................................. ผู้ประเมิน
(.................................)
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
15 -20 ดีมาก วันที่........เดือน.........................พ.ศ. ........
10 -14 ดี
5 -9 พอใช้
0 -4 ปรับปรุง

แบบประเมินผลงานจากใบกิจกรรม 40

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง นโยบายการเงิน กับการคลัง

คำชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนน ปฏิบัติได้ระดับดีมาก ให้ 5 คะแนน
ปฏิบัติได้ระดับดี ให้ 5 คะแนน ปฏิบัติได้ระดับดี ให้ 4 คะแนน
ปฏิบัติได้ระดับพอใช้ ให้ 3 คะแนน
ในแต่ละรายการ ปฏิบัติได้ระดับน้อย ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัตไิด้ระดับต้องปรับปรุง ให้ 1 คะแนน

รายการประเมิน

ที ชื่อ-สกุล ความ ความถูกต้อง ค
วาม ความสะอาด
กระตือรือร้น ของเนื้อหา รับผิด เป็น
ในการศึกษา ชอบต่องานที่ ระเบียบ รวม สรุป
ได้รับมอบ
ค้นคว้า หมาย เรียบร้อย
ของงาน

5 5 5 5 20

1

2
3

4

5
6

...

ระดับคุณภาพคะแนน ลงชื่อ ................................. ผู้ประเมิน
(.................................)
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
15 -20 ดีมาก วันที่........เดือน.........................พ.ศ. ........
10 -14 ดี
5 -9 พอใช้
0 -4 ปรับปรุง

41

แบบบันทึกคะแนนการทดสอบย่อย ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

นักเรียนเลขที่ คะแนนที่ได้
1
2
3
4
5
6
........

รวม

เฉลี่ย

ร้อยละ

42

สาระการเรียนรู้สังคมศึแกบษบบาบรฯันรณทึกนสารุนปุคกะรแมชั้นนนมัธยมศึกษาปีที่ 5

เรื่อง นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ที่ ชื่อ-สกุล ระหว่างเรียน รวมทั้งสิ้น
พฤติกรรม ผลงาน ทดสอบย่อย

20 20 10 50

1
2
3
4

5
6

7

8
9
......

การสรุปผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

ลงชื่อ ................................................ ผู้ประเมิน
(.....................................................)

ที่......เดือน....................................พ.ศ. .............

43

บรรณนานุกรม

จรินทร์ เทศวานิช.(2250).นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ.(พิมพ์ครั้งที่ 9).สํานักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

Supojj.นโยบายการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ.(sites.google).วันที่สืบค้น
31 สิงหาคม 2565, จาก //shorturl.asia/MFe4u

THANK YOU

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก