ใบงาน หน่วยการเรียน รู้ที่ 1 เวลาและยุค สมัย ทางประวัติศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส ๒๑๑๐๒  

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๕ ชั่วโมง

๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

        สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์

         มาตรฐานการเรียนรู้ ส ๔. เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ

                        ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ม.๑/๑ วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

                       ตัวชี้วัด ส ๔.๑ ม.๑/๒ เทียบศักราชตามระบบต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ 

. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

      เวลา ช่วงเวลา ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ และการเทียบศักราชตามระบบต่างๆ มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ ทำให้เห็นความสัมพันธ์และความสำคัญของอดีตที่มีต่อปัจจุบันและอนาคต

 . สาระการเรียนรู้

         ด้านความรู้

          . เวลากับประวัติศาสตร์

               - ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับประวัติศาสตร์

               - ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

          . การแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล

          . การแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย

          . ที่มาของศักราช ได้แก่ จ.ศ. / ม.ศ. / ร.ศ. / พ.ศ. / ค.ศ. / ฮ.ศ.

          ๕. วิธีการเทียบศักราชในระบบต่างๆ

          ๖. ตัวอย่างการใช้ศักราชในระบบต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย.

          ด้านทักษะ/กระบวนการ

               - กระบวนการคิดวิเคราะห์

               - กระบวนการสร้างองค์ความรู้

               - ทักษะการนำเสนองาน

               - กระบวนการปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม

          ด้านเจตคติ

      - เห็นความสำคัญของเรื่องเวลา

               - เห็นความสำคัญและตระหนักในคุณค่าของประวัติศาสตร์

 . สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

         ความสามารถในการสื่อสาร

          ความสามารถในการคิด

          ความสามารถในการแก้ปัญหา

          ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

          ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี

 . คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          - ซื่อสัตย์  สุจริต

          - ใฝ่เรียนรู้

          - มุ่งมั่นในการทำงาน

         - รักความเป็นไทย

 . ชิ้นงาน/ภาระงาน

          - เขียนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ “ความสำคัญของเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์”

         - แผ่นป้ายบัตรคำศักราชและ ตารางหลักการเทียบศักราช

 . การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ส ๔.๑ ม.๑/๑

ประเมินการเขียนผังมโนทัศน์

แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ ความสำคัญของเวลาและการแบ่งยุคสมัยในการศึกษาประวัติศาสตร์

ผ่านการประเมินระดับคุณภาพ

 ๓ ขึ้นไป

ประเมินชิ้นงาน

แบบประเมินผลงานการทำแผ่นป้ายศักราชและตารางการเทียบศักราช

ผ่านการประเมินระดับคุณภาพ

๒ ขึ้นไป

ประเมินการทำใบงาน

แบบประเมินการทำใบงานเรื่อง

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

ผ่านการประเมินระดับคุณภาพ

๒ ขึ้นไป

ส. ๔.๑ ม.๑/๒

ประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์

แบบทดสอบเกมส์การแข่งขัน

ได้คะแนนในการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการตอบคำถามได้คะแนนร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

ได้ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป

สังเกตทักษะกระบวนการกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ได้คะแนนระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป

ประเมินทักษะการนำเสนองาน

แบบประเมินการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

ได้คะแนนระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป

 . กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ ๑ (การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม)

จุดประสงค์การเรียนรู้

         ๑. วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาและความสัมพันธ์ของช่วงเวลาจากอดีต ปัจจุบันและอนาคตได้

         ๒. เห็นความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

         การศึกษาประวัติศาสตร์สิ่งสำคัญจะต้องกำหนดเวลา มีการนับย้อนอดีตว่ามีวิวัฒนาการมานานเท่าใด ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของประวัติศาสตร์จึงมักควบคู่ไปกับการนับเวลาเสมอ

 กิจกรรมการเรียนรู้

         ๑. ครูให้นักเรียนดูภาพนาฬิกาแล้วซักถามนักเรียนว่า นาฬิกามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใด และมีความสำคัญอย่างไรกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ (แนวคำตอบเกี่ยวข้องกับเรื่องของเวลา ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการทำกิจกรรมต่างๆ)

         ๒. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

         ๓. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ ๕-๖ คน คละกันตามความสามารถ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่ ๑ ใช้เวลา ๒๐ นาที ดังนี้

           ๓.๑ ครูแจกใบงานที่ ๑ โดยมีคำชี้แจงการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม และแจกใบความรู้ที่ ๑ ประกอบด้วยภาพเหตุการณ์และบัตรข้อความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้กับนักเรียนทุกกลุ่มประกอบด้วย

                ภาพเหตุการณ์ การเลิกทาส

                ภาพเหตุการณ์ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

                ภาพเหตุการณ์ ๑๔  ตุลาคม  ๒๕๑๖

                ภาพเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ ๒

                ภาพเหตุการณ์ วินาศกรรม ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔

               ๓.๒ สมาชิกในกลุ่มช่วยกันจับคู่ภาพและบัตรข้อความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ตรงกัน

โดยกำหนดให้นักเรียนทุกกลุ่มเลือกภาพกลุ่มละ ๑ ภาพ เลือกบัตรข้อความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ กลุ่มละ ๑ บัตร โดยให้นักเรียนในกลุ่มอภิปรายเกี่ยวกับภาพและบัตรข้อความ ที่สมาชิกในกลุ่มเลือกและให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันตอบคำถาม พร้อมทั้งเตรียมนำเสนอทีละกลุ่มดังประเด็นคำถามต่อไปนี้

               ๓.๒.๑  ภาพที่กลุ่มเลือกตอบ คือภาพเหตุการณ์ใด

               ๓.๒.๒ เป็นภาพที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

               ๓.๒.๓ เหตุการณ์ภาพในอดีตที่เกิดขึ้นนั้นมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กับปัจจุบันและอนาคตอย่างไร

               ๓.๓. ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันเสนอแนะและเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์ (ใช้เวลา ๑๐ นาที )

         ๔. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์

         ๕. ครูมอบหมายการบ้านให้นักเรียนทุกคน เขียนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ “ความสำคัญของเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อนำมาศึกษากันในชั่วโมงที่ ๒

 สื่อและแหล่งเรียนรู้

         ๑. ภาพนาฬิกา

         ๒. ภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

         ๓. บัตรข้อความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์    

การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ประเมินการเขียนผังมโนทัศน์

แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์ในหัวข้อ “ความสำคัญของเวลากับการศึกษาประวัติศาสตร์”

ได้คะแนนการประเมินระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไป

ประเมินกระบวนการกลุ่ม

แบบประเมินการปฏิบัติงานและ

การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

ร่วมปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มและนำเสนองานหน้าชั้นเรียนได้คะแนนระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไป

ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป

ชั่วโมงที่ ๒ (วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา )

 จุดประสงค์การเรียนรู้

         อธิบายการแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์สากลได้

 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ทำให้มนุษย์เข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับ

อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตระหนักถึงความสำคัญในความต่อเนื่องของเวลา 

 กิจกรรมการเรียนรู้

. ครูฉายภาพ (หรือนำภาพ) การดำรงชีวิตและเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคหินและมนุษย์ยุค

ปัจจุบันให้นักเรียนดู แล้วถามนักเรียนว่านักเรียนเคยเห็นภาพนี้หรือไม่ เป็นภาพเกี่ยวกับอะไร และเป็นมนุษย์ยุคใดภาพทั้งสองภาพมีความเหมือนกัน และแตกต่างกันอย่างไร

         ๒. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น (ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่าภาพทั้งสองภาพมีความเหมือนกัน คือ เป็นภาพการดำรงชีวิตและภาพเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์เหมือนกัน แต่ส่วนที่แตกต่างกัน คือช่วงของเวลาและพัฒนาการของเครื่องมือเครื่องใช้และวิถีการดำรงชีวิต ใช้เวลา ๑๐ นาที)

         ๓. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

         ๔. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ ๕-๖ คนตามความเหมาะสมของจำนวนนักเรียน คละกันตามความสามารถ และแจกใบงานที่ ๒ โดยใช้เวลา ๒๐ นาที โดยมีกิจกรรมดังนี้

               ๔.๑ ให้นักเรียนทุกคนศึกษาใบความรู้ที่ ๒.๑ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล พร้อมทั้งให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ ถึงยุคสมัยต่างๆ และเขียนคำตอบลงในใบงานของแต่ละคน

                ๔.๒ นักเรียนแต่ละกลุ่มมอบหมายให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการอภิปราย การคิดวิเคราะห์ตามที่ได้สรุปลงในใบงานที่ ๒ จนครบทุกกลุ่ม (โดยใช้เวลา ๑๐ นาที)

         ๕. นักเรียนและครูร่วมกัน ถึงสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาใบความรู้และจากผลการสรุปของแต่ละกลุ่มสมัยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์สากล นักเรียนทุกกลุ่มนำผลงานของตนเองไปติดที่หน้าห้องเพื่อให้เพื่อนๆได้ศึกษาอีกครั้ง และนำไปสู่การเรียนรู้ในชั่วโมงที่ ๓ (ใช้เวลา ๑๐ นาที)

สื่อและแหล่งเรียนรู้

         ๑. รูปภาพมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และมนุษย์ยุคปัจจุบัน

๒. รูปภาพเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และมนุษย์ยุคปัจจุบัน

๓. ผังการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล

๔. ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง เกณฑ์การยุคสมัยช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล

๕. ใบงานที่ ๒ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

 การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ทดสอบ

คำถามตามใบงานที่ ๒

เรื่องการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

ได้คะแนนการประเมิน ระดับคุณภาพ ๓  ขึ้นไป 

สังเกตการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรม

กระบวนการทำงานกลุ่ม

ได้คะแนนระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไป

ประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

ได้คะแนนจากการประเมินระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินสมรรถนะ

สำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

ได้คะแนนจากการประเมินระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป

 ชั่วโมงที่ ๓ (วิธีการสอน กระบวนการกลุ่ม)

จุดประสงค์การเรียนรู้

         ๑. อธิบายการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยได้

. วิเคราะห์ความสำคัญของการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทยได้

 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ไทยใช้เกณฑ์การแบ่งทั้งสอดคล้องกับหลักสากลและแบบไทย

 กิจกรรมการเรียนรู้

         ๑. ครูทบทวนเนื้อหาการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล โดยตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่า การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากลมีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ มีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย เพราะช่วยให้ทราบช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์

ในประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากลที่ตรงกัน)

. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้นักเรียนทราบ

. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังเกี่ยวกับการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทยว่ามีการแบ่งทั้งสอดคล้องและแตกต่างจากช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากล โดยมีการแบ่งเป็น ๒ ยุค กว้างๆ เหมือนกัน คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ ในส่วนของยุคก่อนประวัติศาสตร์ใช้เกณฑ์เดียวกันกับแบบสากล แต่ที่แตกต่างจากแบบสากลคือ การแบ่งช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ของไทยจะมีการแบ่งเป็นหลายแบบ

(นำเข้าสู่บทเรียนใช้เวลา  ๑๐ นาที)

. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ ๕-๖ คน โดยใช้กลุ่มเดิมจากชั่วโมงที่ ๒ และแจกใบงานที่ ๓ และใบความรู้ที่ ๓  โดยใช้เวลา ๓๐ นาที โดยมีกิจกรรมดังนี้

            ๔.๑ ครูแจกใบความรู้ที่ ๓ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย โดยให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มร่วมกันศึกษาและอภิปราย พร้อมทั้งร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่องการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทยให้ออกมาในรูปของผังมโนทัศน์ โดยเขียนลงในใบงานที่ ๓  พร้อมทั้งส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผังมโนทัศน์ตามที่สรุปในใบงานที่ ๓ พร้อมทั้งติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง

             ๔.๒ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาให้สมบูรณ์ ตามผังมโนทัศน์ที่ทุกกลุ่มนำเสนอ

. นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย (โดยใช้เวลา ๑๐ นาที)

๖. ครูนัดหมายการเตรียมเนื้อหาสำหรับการเรียนในชั่วโมงที่ ๔

 สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑.ใบความรู้ที่ ๓ เรื่องการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย

๒. แบบทดสอบเรื่องการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย

 ๕. วัดและประเมินผล    

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ทดสอบ

แบบทดสอบ เรื่อง การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย

คะแนนร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

สังเกตทักษะการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไป  

ชิ้นงานผังมโนทัศน์

แบบประเมินผังมโนทัศน์

ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป 

สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์

สังเกตสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์

                                      ชั่วโมง ๔ (เทคนิคการสอนแบบจิกซอร์ )                                 

จุดประสงค์การเรียนรู้

. บอกที่มาของศักราชในระบบต่างๆได้

. อธิบายวิธีการเทียบศักราชในระบบต่างๆได้อย่างถูกต้อง

 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

         การทราบที่มาของศักราชมีความสำคัญในการเทียบศักราช เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมการเรียนรู้ 

. ครูกระตุ้นนักเรียนด้วยการสนทนาซักถามดังนี้

               - นักเรียนคิดว่าปฏิทินมีความสำคัญอย่างไรกับมนุษย์

               - นักเรียนคิดว่าประเทศไทยรับวิธีการนับศักราชมาจากที่ใด

(แนวคำตอบ ปฏิทินมีความสำคัญต่อมนุษย์ในการดำเนินชีวิตประจำวันและมีประโยชน์มากมาย เราทุกคนจำเป็นต้องดูปฏิทินเพื่อให้รู้ว่าวันนั้นเป็นวันอะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง เพื่อให้รู้เวลาในแต่ละวันในหนึ่งปีในการกำหนดกิจกรรมต่างๆ ของตนเอง ประเทศไทยรับเอาวิธีการนับศักราชมาทั้งจากสากลและที่คนไทยคิดขึ้นมาเอง)

. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ นำเข้าสู่บทเรียนใช้เวลา ๑๐ นาที

. นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ ๔ – ๕ คน คละกันตามความสามารถ พร้อมทั้งแจกใบงานที่ ๔ โดยใช้เวลาในทำกิจกรรมทั้งหมด ๓๐ นาที ดังนี้

               ๓.๑ ใบงานที่ ๔ มีคำชี้แจงว่า ให้สมาชิกในกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม รองประธาน และเลขานุการเลือกหมายเลขประจำตัวสมาชิก เรียกว่ากลุ่มบ้าน

               ๓.๒ ให้สมาชิกในกลุ่มทุกคน แยกย้ายกันไปเข้ากลุ่มใหม่ที่มีหมายเลขตรงกับหมายเลขตนเอง เรียกว่ากลุ่มเชี่ยวชาญ

               ๓.๓ ให้สมาชิกกลุ่มเชี่ยวชาญทุกคนตั้งใจศึกษาหัวข้อย่อยในใบความรู้ที่ ๔ ตามหัวข้อย่อยที่ตนเองได้รับผิดชอบ โดยใช้เวลา ๑๐ นาที ดังนี้

                            หมายเลข ๑ คริสต์ศักราชและฮิจเราะห์ศักราช

                            หมายเลข ๒ มหาศักราชและจุลศักราช

                            หมายเลข ๓ พุทธศักราช

                            หมายเลข ๔ รัตนโกสินทร์ศก

               ๓.๔ สมาชิกกลุ่มเชี่ยวชาญศึกษาใบความรู้ตามหัวข้อย่อยที่ตนเองได้รับ จนเกิดความเข้าใจพร้อมที่จะกลับไปอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มบ้านฟัง ก็เชิญสมาชิกทุกคนกลับเข้ากลุ่มบ้านของตนเอง นำเสนอข้อมูลให้เพื่อนๆสมาชิกทุกคนฟังพร้อมกัน  โดยใช้เวลาอธิบาย ๑๐ นาที

               ๓.๕. ให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันสรุปองค์ความรู้เรื่องที่มาของศักราชและวิธีการเทียบศักราชในระบบต่างๆ พร้อมทั้งตอบคำถามลงในใบงานที่ ๔ ของทุกคน ใช้เวลา ๑๐ นาที

               ๓.๖ ครูเฉลยคำตอบในใบงาน แล้วนำคะแนนที่ได้ของสมาชิกทุกคนมาหาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มใดมีคะแนนสูงสุด ครูและนักเรียนร่วมกันชมเชย

         ๔. ครูมอบหมายงานให้นักเรียนทุกกลุ่มไปทำป้ายข้อความศักราช และตารางการเทียบศักราช ไปติดตามบริเวณโรงเรียน โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. บัตรคำ คำย่อศักราช จ.ศ. ม.ศ. ร.ศ. พ.ศ. ค.ศ. ฮ.ศ.

๒. ใบความรู้ที่ ๔ เรื่องที่มาของศักราช

๓. ใบงานที่ ๔ และแบบทดสอบเรื่องที่มาของศักราชและวิธีการเทียบศักราช

   วัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ทดสอบ

แบบทดสอบเรื่องที่มาของศักราช ตามใบงานที่ ๔

ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบ ๖ ข้อขึ้นไป

ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

ได้คะแนนจากการประเมิน ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะ

สำคัญผู้เรียน

ได้คะแนนจากการประเมิน ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป

ชั่วโมง ๕ (ใช้วิธีการสอนแบบ ที.จี.ที )

จุดประสงค์การเรียนรู้

         สามารถเทียบศักราชในตัวอย่างการใช้ศักราชในระบบต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย.

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การนำวิธีการเทียบศักราชมาใช้ในการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในเหตุการณ์และความเชื่อมโยงของอดีต ปัจจุบันและอนาคต

กิจกรรมการเรียนรู้

๑. ครูทบทวนความรู้เรื่องการเทียบศักราชด้วยการถามนักเรียนว่าวิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒

เป็นวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.ใด  นักเรียนใช้ตัวเลขใดในการเทียบศักราช (แนวคำตอบ เป็นเหตุการณที่เกิดขี้นใน พ.ศ. ๒๔๓๖. สมัยรัชกาลที่ ๕ใช้วิธีการเทียบโดย นำ ตัวเลข ๒๓๒๔ + ๑๑๒ = ๒๔๓๖ )

. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ (นำเข้าสู่บทเรียนและทบทวนความรู้เดิมใช้เวลา ๑๐ นาที )

. ครูจัดนักเรียนเข้ากลุ่มเดิมในชั่วโมงที่แล้ว เรียกว่ากลุ่มบ้านของเรา

. ครูทำหน้าที่เป็นผู้จัดการห้องเรียน โดยให้สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายกันเป็นตัวแทนกลุ่มไปแข่งขันกับกลุ่มอื่น กลุ่มใหม่ที่รวมกันเรียกว่ากลุ่มแข่งขัน โดยมีขั้นตอนและกติกา ดังนี้

               ๔.๑ ครูแจกใบงานที่  ๕  ให้สมาชิกในกลุ่มแข่งขัน แข่งกันตอบคำถาม ๑๐ คำถาม (เป็นคำถามเหมือนกัน) โดยกำหนดให้สมาชิกคนที่ ๑ เป็นคนอ่านคำถาม จับคำถามขึ้นมา และอ่านคำถามให้กลุ่มฟัง ให้สมาชิกที่เหลือ จำนวน ๓๔ คน เขียนคำตอบลงในใบงานที่ ๕  (ใช้เวลาทำกิจกรรม ๒๐ นาที)

               ๔.๒ เมื่อผู้อ่าน อ่านคำถามครบทั้ง ๑๐ คำถามแล้ว ให้ผู้อ่านคำถามเปิดคำตอบแล้วอ่านเฉลยคำตอบที่ถูกให้กลุ่มฟัง โดยให้สมาชิกตรวจคำตอบในใบงาน พร้อมยกมือตอบโดยมีเกณฑ์ให้คะแนนคำตอบ ดังนี้

                   ผู้ยกมือตอบถูกเป็นคนแรกได้ ๒   คะแนน

                   ผู้ยกมือตอบถูกคนต่อไปได้    ๑   คะแนน

                   ผู้ยกมือแต่คำตอบผิดได้       ๐    คะแนน

               ๔.๓ ให้ผู้อ่านปฏิบัติตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ จนครบทั้ง ๑๐ ข้อ ใช้เวลา ๑๐ นาที แล้วให้ทุกคนรวมคะแนนของตนเองจัดลำดับคะแนนที่ได้

                   ผู้ได้คะแนนรวมอันดับ ๑  ได้โบนัส          ๑๐  คะแนน

                   ผู้ได้คะแนนรวมอันดับ ๒  ได้โบนัส          ๘    คะแนน

                   ผู้ได้คะแนนรวมอันดับ ๓  ได้โบนัส          ๕    คะแนน

                   ผู้ได้คะแนนรวมน้อยที่สุด  ได้โบนัส          ๔    คะแนน

. เมื่อการแข่งขันเสร็จแล้วได้คะแนนเรียบร้อย ได้รับโบนัสจากกลุ่ม สมาชิกกลับไปกลุ่มบ้านของเรา รวมแต้มโบนัสของทุกคน ทีมใดที่มีแต้มโบนัสสูงสุดจะได้รับรางวัลและติดประกาศ

. ครูและนักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการแข่งขันตอบคำถามในเกมส์การแข่งขัน เพื่อสร้างความคิดรวบยอดร่วมกันเรื่อง การนำวิธีการเทียบศักราชมาใช้ในการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทย ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในเหตุการณ์และความเชื่อมโยงของอดีต ปัจจุบันและอนาคต

สื่อและแหล่งเรียนรู้

๑. ใบงานที่ ๕ เรื่อง เกมส์การแข่งขันการเทียบศักราชในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย

๒. แบบคำถามเพื่อใช้ในการแข่งขัน เรื่อง การเทียบศักราชในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย

การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ทดสอบ

แบบทดสอบเกมส์การแข่งขัน

ได้คะแนนรวมของกลุ่มร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

กระบวนการกลุ่ม

แบบประเมินกระบวนการกลุ่ม

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แบบประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป 

ประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

แบบประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียน

ระดับคุณภาพ ๒ขึ้นไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก