เพราะเหตุใดพ่อขุนรามคำแหงต้องแขวนกระดิ่งไว้ที่ประตู

Post Views: 640

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม ของทุกปี พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระ

[quote arrow=”yes”]ปรีชาสามารถที่ได้ทรงริเริ่มประดิษฐ์อักษรไทย[/quote]

นับเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงอานุภาพ และทรงพระปรีชาสามารถสมควรเทิดทูนพระเกียรติเป็นพระมหาราชมาทุกยุคทุกสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยสุโขทัยนั้น ประชาชนชาวไทยแทบทุกคนจะรู้จักพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่สมควรเทิดพระเกียรติให้เป็นพระมาหาราชโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทางเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 ของกรุงสุโขทัย ที่ได้ทรงปกครองและจรรโลงประเทศให้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดในสมัยสุโขทัย จะเทียบเทียมได้

[quote arrow=”yes”]พระราชประวัติ[/quote] พ่อขุนรามคำแหง เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในพระราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ.1822 ถึงประมาณ พ.ศ.1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการย่อย่องเป็น “มหาราช” เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังทรงได้ประดิษฐ์อักษรไทย ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี

พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย หรืออีกพระนามที่ไม่ค่อยมีใครทราบ คือ พ่อขุนรามราช ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้เสด็จเข้าร่วมกองทัพกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้เป็นบิดา ไปป้องกันเมืองตากและได้สู้รบกับขุนสามชน จนได้รับชัยชนะ ด้วยความกล้าหาญในครั้งนั้นทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานนามให้ว่า รามคำแหง ที่มีความหมายว่า รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ ภายหลังพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็ได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา

นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถือว่าเป็นช่วงสมัยที่สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เพราะตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคม ที่สามารถค้าขายติดต่อกับบ้านเมืองต่าง ๆ ได้โดยรอบ และยังยอมเป็นเมืองผ่านทางการค้า โดยอนุญาตให้พ่อค้าเอาสินค้าไปค้าขายได้โดยไม่เก็บภาษี ทำให้มีคนมาค้าขายที่สุโขทัยเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐานแห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากว่า 718 ปี

นอกจากพระราชกรณียกิจดูแลปกป้องบ้านเมือง การค้า และการรวบรวมแคว้นต่าง ๆ แล้ว พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมา เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของมรดกอันล้ำค่าที่คนไทยทุกคนรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นเอกลักษณ์ และความสละสลวย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านในหลาย ๆ ด้าน ดังเช่นที่ได้กล่าวถึง ปวงชนชาวไทยทุกคนจึงได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านเป็น  มหาราช พระองค์แรกของชาติไทย

ด้านการปกครอง ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1.การปกครองพลเมืองยังถือตามคติของคนไทยแต่เดิมอยู่ กล่าวคือ ปกครองอย่างพ่อปกครองลูก หรือปิตุรักษ์ (Paternalism) ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยินถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ดังข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า

“ในปากประตูมีกระดิ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจมักจักกล่าวถึงขุนบ่ไร่ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน เรียกมือถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม”

2.การปกครองแบบกระจายอำนาจแบ่งการปกครองเป็น 3 ระดับ คือ ระดับศูนย์กลาง ระดับปฏิบัติตามนโยบาย และระดับส่งเครื่องราชบรรณาการ ดังนี้
กรุงสุโขทัย เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง โดยให้มีลูกหลวงเป็นเมืองรองจากเมืองหลวง และเป็นเมืองชั้นในตั้งอยู่สีทิศ มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ มีความใกล้ชิดกับเมืองหลวงมากที่สุด โดยที่เมืองหลวงเป็นผู้กำกับนโยบายในการบริหาร

เมืองลูกหลวง หมายถึง เมืองชั้นในที่รับนโยบายจากเมืองหลวงไปปฏิบัติ อำนาจเป็นอำนาจของผู้ครองเมือง บทบาทสำคัญของเมืองลูกหลวงคือ การป้องกันการรุกรานจากภายนอก จึงได้กำหนดเมืองในลักษณะนี้ไว้ทั้งสี่ทิศ ผู้ที่จะมาครองเมืองลูกหลวงจะเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระทัยมากที่สุด ทิศทั้งสี่ประกอบไปด้วย ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย ทิศตะวันออก คือ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) ทิศใต้ คือ เมืองพระบาง (นครสวรรค์) ทิศตะวันตก คือ  เมืองชากังราว (กำแพงเพชร)  ผู้ครองเมืองจะมีเชื้อสายราชวงศ์เดิมของเมืองนั้น ๆ  มีบรรดาศักดิ์เป็น “ขุน”   มีอำนาจในการปกครองตนเองแต่ก็ยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของสุโขทัย
เมืองประเทศราช บางครั้งเรียกว่า “เมืองออก” หรือเมืองขึ้น” ได้แก่ เมืองหรือแค้วนต่าง ๆ ที่เข้ามาสวามิภักดิ์เอง หรือเป็นเมืองที่ยกทับไปสู้รบจนยึดครองไว้ได้ เมืองเหล่านั้นอยู่ห่างไกลกับสุโขทัยยากแก่การปกครอง จึงมีการมอบอำนาจทั้งหมดให้แก่เจ้าเมืองหรือผู้นำแคว้น เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเป็นประจำปี เมืองประเทศราชได้แก่ เมืองในภาคกลาง ตลอดไปจนถึงแหลมาลายูทั้งหมด และทางภาคเหนือ เช่น แพร่ น่าน พลั่ว เป็นตัน

ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช การปกครองคล้ายระบบประชาธิปไตย แต่ไม่ถึงกับเป็นรูปแบบนัก เป็นแต่เพียงประชาชนมีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเท่านั้น เช่น มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ทรัพย์สินบ้านเรือน การเดินทางไปต่างถิ่น การแสงหาความยุติธรรม ดังปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกที่ 1 ว่า

“เมืองสุโขทัยนี้ดี เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้าใครจักใคร่ค่าเงือนค้าทองคำ”

กฎหมายพื้นฐาน ของกรุงสุโขทัยมีอยู่ 2 เรื่อง คือ กฎหมายเกี่ยวกับมรดก และกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งปรากฏอยู่บนศิลาจารึกเขากบ ของพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ.1835 มีสาระถอดความดังนี้

กฎหมายเกี่ยวกับมรดก ได้กล่าวว่า “ทรัพย์สมบัติทุกชนิดของบิดานั้น เมือบิดาเสียชีวิตลงแล้วจะต้องตกเป็นของบุตรทั้งสิ้น” ดังข้อความในศิลาจารึกว่า

“ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดเล้ ล้มตายหายกว่า เย้าเรือนพ่อ เชื้อเสื้อคำมัน ช้างของลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าค่าไท ปลามาปลากู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น”

กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิที่ดิน ได้กล่าวว่า

“หากมีความขันแข็งที่จะขยายที่ดินเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป ก็ให้ที่ดินตกเป็นของผู้นั้น”

นับว่าเป็นนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรม และเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจด้วย ดังข้อความในศิลาจารึกดังนี้

“สร้างป่ามา ป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าสางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน”

การพัฒนาบ้านเมือง พ่อขุนรามคำแหงทางเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมากพระองค์หนึ่ง ได้ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรื่องในทุกด้าน ดังนี้
[dropcap font=”Arial”]1[/dropcap]การปกครองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ปรับปรุงรูปแบบในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ
[dropcap font=”Arial” color=”#dd3333″]2[/dropcap]นโยบายทางการเมืองระหว่างอาณาจักรและต่างประเทศ มุ่งเน้นความมั่นคง
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]3[/dropcap]เศรษฐกิจ ส่งเสริมให้มีการค้าขายอย่างเสรีในเมืองสุโขทัย และอาณาจักรอื่น ๆ
[dropcap font=”Arial” color=”#e67e22″]4[/dropcap]ด้านสังคม ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขบนพื้นฐานคำสอนของศาสนา
[dropcap font=”Arial”]5[/dropcap]ด้านความเชื่อ ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
[dropcap font=”Arial” color=”#9cad2e”]6[/dropcap]ศิลปวัฒนธรรม สุโขทัยมีศิลปวัฒนธรรมหลายอย่างสืบทอดกันจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยในปัจจุบัน

17 มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ด้านการต่างประเทศกับราชอาณาจักร

[quote arrow=”yes”]อาณาจักรล้านนา[/quote]

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาได้แก่ พญามังราย เป็นพระสหายสนิทกันรวมทั้งพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา ได้ผูกมิตรไมตรีกันอย่างแน่นแฟ้น เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล นอกจากนั้นพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพญาง่ำเมือง ยังเสด็จไปช่วย พญามังรายเลือกชัยภูมิที่เหมาะสมและวางผังเมืองแห่งใหม่ของอาญาจักรล้านนา คือ เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

[quote arrow=”yes”]แค้วนนครศรีธรรมราช[/quote]

แคว้นนครศรีธรรมราช เป็นแคว้นใหญ่ในภาคใต้ได้มีความสัมพันธ์กับอาณาจักร สุโขทัย อย่างใกล้ชิด ทางด้านวัฒนธรรม โดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงผูกมิตรไมตรีกับกษัตริย์ เมืองนครศรีธรรมราชาให้ช่วยติดต่อขอพระพุทธสิหิงค์ จากลังกากลับมา ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย และสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงนิมนต์พระสงฆ์ ลัทธิลังกาวงศ์ มาจากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมาเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ที่กรุงสุโขทัยทุกๆวันธรรมสวนะ

[quote arrow=”yes”]อาณาจักรมอญ[/quote]

ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับหัวเมืองมอญ เป็นความสัมพันธ์ทาง เครือญาติ โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงยกพระนางสุดาสร้อยดาว พระราชธิดาให้เป็นพระมเหสีของเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท) กษัตริย์มอญ ทำให้อาณาจักร สุโขทัยได้รับประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ได้อาศัยเมืองท่าที่เมืองเมาะตะมะ แลก เปลี่ยนสินค้ากับอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ

[quote arrow=”yes”]ความสัมพันธ์กับจีน[/quote]

ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน มีความสัมพันธ์ในลักษณะการค้า ระบบรัฐบรรณาการ โดยเริ่มในสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สุโขทัยได้ส่ง คณะทูตพร้อมกับเครื่องราชบรรณาการไปจีน จากการที่สุโขทัยมีความสัมพันธ์ กับจีน ทำให้สุโขทัยได้รับประโยชน์จากจีนหลายอย่าง เช่น ทางการค้า ความรู้เรื่องการเดินทะเล เรียนรู้เรื่องเทคนิคการทำเครื่องปั้นดินเผา (การทำสังคโลก) จนสามารถส่งขายเป็นสินค้าออก นอกจากนั้นพ่อค้าจากสุโขทัย ที่ไปค้าขายยังเมืองจีน จะได้รับความสะดวก และสิทธิพิเศษในเรื่อง การซื้อการขาย ทำให้การค้าระหว่างไทยกับจีนระยะต่อมา มีความเจริญเป็นลำดับ

[quote arrow=”yes”]การประดิษฐ์อักษรไทย[/quote]

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า

“เมื่อก่อนลายสือไทนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีเมื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้” แปลเป็นความได้ว่า “แต่ก่อนนี้อักษรภาษาไทยยังไม่มี เมื่อ พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงได้มีความสนใจ ประดิษฐ์อักษรภาษาไทย อักษรภาษาไทยจึงเกิดขึ้น แล้วพ่อขุนรามคำแหงทรงให้จัดทำอักษรไทย)ใส่ไว้ในศิลาจารึกนี้” (ปัจจุบันศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 นี้ เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ)

17 มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

[quote arrow=”yes”]

เอกสารอ้างอิง

[/quote]

  • กระทรวงวัฒนธรรม. (2559, 4 มกราคม).  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช.  เข้าถึงได้จาก //www.m-culture.go.th/yong/ewt_new.php?nid=622
  • สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.  (2531).  นวมหาราช.  กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  • สังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย การประดิษฐ์อักษรไทย.  (ม.ป.ป.).  เข้าถึงได้จาก //sites.google.com/site/xanacakrsukhothay/sangkhm-laea-wathnthrrm-smay-sukhothay/kar-pradisth-xaksr-thiy

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:

  • วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม
  • ตะเลงพ่าย
  • ๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ
  • วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • วันจักรี 6 เมษายน
  • 26 มิถุนายน วันสุนทรภู่
  • 25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • วันสถาปนากรุงเทพมหานคร 21 เมษายน
  • วันกองทัพไทย 18 มกราคม
  • Thailand Tourism : The Early Day
  • วันรัฐธรรมนูญ
  • วันประชาธิปไตยไทย 14 ตุลาคม

การที่พ่อขุนรามคำแหงแขวนกระดิ่งไว้ให้ราษฎรมาร้องทุกข์ทำให้เกิดผลดีอย่างไร

การปกครองของอาณาจักรสุโขทัยในยุคเริ่มแรกเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร จึงเป็นแบบพ่อกับลูก มีความห่างเหินกันน้อยมาก ซึ่งเห็นได้จากการที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดให้แขวนกระดิ่งไว้หน้าประตูวังเพื่อให้ราษฎรที่มีเรื่องเดือดร้อนไปสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ได้ แล้วพระองค์จะมาตัดสินคดี ...

ใครเป็นผู้รับเรื่องร้องทุกข์จากการ "สั่นกระดิ่ง"

พ่อขุนรามคำแหงทรงขึ้นนั่งประทับว่าราชการงานเมื่องและตัดสินคดีความที่ไพร่ฟ้าหน้าปกมาร้องทุกข์ ์ทรงโปรดแขวนกระดิ่งไว้เพื่อให้ผู้มีความทุกข์ร้อนมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์

เพราะเหตุใดพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีคำนำหน้าพระนามว่า "พ่อขุน"

1. รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย 2. พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน

กระดิ่ง ระฆัง ต่างกันอย่างไร

ทั้ง “กระดิ่ง” “กระดึง” และ “กระพรวน” สร้างเสียงจากภายใน คือจะมีไม้ หรือสายเคาะอยู่ภายในครอบกระดิ่ง ต่างไปจาก “ระฆัง” ที่จะใช้ไม้ตีจากพื้นผิวภายนอกให้เกิดเสียง ฝรั่งจึงไม่เรียก “ระฆัง” หรือ “ฆ้อง” คือเครื่องโลหะที่ใช้ตีจากภายนอกของอุษาคเนย์ว่า “bell” แต่เรียกทับศัพท์ไปเลยว่า “Gong” (ซึ่งก็คือ ฆ้อง นั่นแหละ)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก