พ่อขุนรามคำแหงไปร่วมรบกับพระราชบิดารบกับใคร

สำหรับผู้สูงอายุ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย

     เคยสังเกตกันไหมว่า ภาพด้านหลังธนบัตรไทยชนิดราคา 20 บาท คือ รูปพระบรมราชานุสาวรีย์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งประดิษฐาน ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งวันที่ 17 มกราคมของทุกปีเป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช"

     พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง (พรญาร่วง) หรือ หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย

     พระนามเดิมของพระองค์คือ "ราม"

     เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุสิบเก้าพรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ"

     เมื่อเสวยราชย์แล้วว่าปรากฏพระนาม "พ่อขุนรามราช" เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 รวมประมาณ 19  ปี

     เรื่องราวตามประวัติศาสตร์นั้น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือพ่อขุนรามราช ชื่อ "รามราช" พบในจารึกวัดศรีชุมว่า... "ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้หนึ่ง ชื่อพ่อขุนรามราชปรา(ช)ญ์รู้ธรรม" รวมทั้งพบในจารึกและเอกสารอื่นๆ อีกหลายแห่งว่า "พญารามราช" แต่ชื่อ "รามคำแหง" พบเพียงครั้งเดียวในจารึกพ่อขุนรามคำแหง และไม่พบในที่อื่นๆ อีกเลย ทุกวันนี้ชื่อ "รามคำแหง" เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า "รามราช" จึงขอเรียกตามความนิยมว่า "พ่อขุนรามคำแหง"

     ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า... ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตาก ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพจากเมืองสุโขทัยไปป้องกันเมืองตาก โดยมีพระรามราชโอรสซึ่งมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษาไปด้วย การรบของทั้งสองฝ่ายได้ทำยุทธหัตถี (การรบบนหลังช้าง) ในตอนแรกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นฝ่ายเสียเปรียบ ช้างที่ประทับของพระองค์สู้กำลังข้าศึกไม่ได้ พระรามได้รีบไสช้างเข้าไปช่วยและสู้รบกับขุนสามชนจนได้ชัยชนะ ความกล้าหาญของพระรามในครั้งนี้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงพระราชทานนามให้เป็น "รามคำแหง" ซึ่งหมายถึง รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ หลังจากศึกครั้งนี้เข้าใจว่าฐานะทางการเมืองของสุโขทัยมีความมั่นคงเพิ่มขึ้นและคงมีการทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตสุโขทัยให้กว้างขวางออก ภายหลังที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์ พ่อขุนบานเมืองราชโอรสองค์ใหญ่ได้ขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัยสืบต่อมา ในสมัยนี้ สุโขทัยได้ขยายอำนาจทางการเมืองด้วยการทำสงครามกับเมืองต่างๆ เช่นเดียวกับสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ โดยมีพระอนุชาคือพ่อขุนรามคำแหงเป็นแม่ทัพ ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้าง ได้งวง ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดังบำเรอแก่พ่อกู" เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา การที่พระองค์เป็นกษัตริย์นักรบและนักปกครองที่มีความสามารถ อาณาเขตในสมัยของพระองค์จึงได้แผ่ขยายกว้างไกล จนได้รับการเทิดพระเกียรติด้วยพระนามว่า "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช"

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

     องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร (อพท.๔)

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย

18 พฤศจิกายน 2562

16,417

569

28 มิถุนายน 2562

7,604

482

01 มีนาคม 2563

11,212

594

02 กรกฎาคม 2562

14,406

515

25 พฤศจิกายน 2564

9,942

563

28 มิถุนายน 2562

4,195

505

28 มิถุนายน 2562

5,850

271

28 มิถุนายน 2562

4,076

245

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก