โครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ข้อใดช่วยแก้ปัญหาให้ประชากรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าได้มากที่สุด

ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ป่าไม้ของประเทศไทยถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วตามแรงหนุนเนื่องของประชากรที่เพิ่มขึ้นผนวกกับพลังผลักดันทางเศรษฐกิจระบบทุนนิยมเสรีที่มุ่งค้าขาย โดยใช้ป่าเป็นตัวสำคัญเชิงพาณิชย์ การเช่นนี้ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเนื่องจากต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อยามน้ำหลากก็เกิด้ำท่วมฉับพลันและมีการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จนเป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นทุกข์ร้อนของแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวยิ่งนัก โดยเฉพาะเรื่องป่าไม้เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติเป็นต้นมา

ป่าไม้สาธิต... พระราชดำริเริ่มแรกส่วนพระองค์

ในระยะต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีชันธ์เป็นประจำแทบทุกปี โดยในระยะแรกจะเสด็จฯ ด้วยรถไฟพระที่นั่ง ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมดีขึ้น จึงเสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่ง ประมาณปี พ.ศ. 2503-2504 ขณะเสด็จพระราชดำเนินผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรีและเพชรบุรี เมื่อรถยนต์พระที่นั่งผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีนั้น มีต้นยางขนาดใหญ่ปลูกเรียงรายทั้งสองข้างทาง จึงได้มีพระราชดำริที่จะสงวนบริเวณป่ายางนี้ไว้ให้เป็นส่วนสาธารณะ แต่ในระยะนั้นไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากต้องจ่ายเงินค่าทดแทนในอัตราที่สูง เพราะมีราษฎรมาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นจำนวนมาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มทดลองปลูกต้นยางด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนั้นในแปลงป่าไม้ทดลองในบริเวณแปลงทดลองปลูกต้นยางนาพร้อมข้าราชบริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 จำนวน 1,250 ต้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพันธุ์ไม้ต่างๆ ทั่วประเทศมาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดาในลักษณะป่าไม้สาธิต นอกจากนี้ยังได้สร้างพระตำหนักเรือนต้นในบริเวณป่าไม้สาธิตนั้นเพื่อทรงศึกษาธรรมชาติวิทยาของป่าไม้ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิดและลึกซึ้งในปี พ.ศ. 2508

แนวพระราชดำริด้านป่าไม้: ทรงคิดค้นนานาวิธีที่จะอนุรักษ์ป่าไม้ให้ยืนยง

ทรงสร้างความตระหนักให้มีความรักป่าไม้ด้วยจิตสำนึกร่วมกัน (Awareness and Sharing Participation) มากกว่าวิธีการใช้อำนาจบังคับ

ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ ในปี พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ 3 ชนิด ที่แตกต่างกัน คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ เพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของรัฐและวิถีประชาในชุมชนประการสำคัญนั้นมีพระราชดำริที่ยึดเป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านป่าไม้โดยปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนว่า

...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็พากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...นับเป็นทฤษฎีที่เป็นปรัชญาในด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่โดยแท้

ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฎธรรมชาติ (Natural Reforesrtation)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธี คือ

ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ด้วยวิธีการ 3 วิธี คือ

  • ...ถ้าเลือกได้ที่เหมาะสมแล้ว ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรเลย ป่าจะเจริญเติบโตมาเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้นเดียว..
  • ...ไม่ไปรังแกป่าหรือตอแยต้นไม้เพียงแต่คุ้มครองให้ขึ้นเองได้เท่านั้น..
  • ...ในสภาพป่าเต็งรัง ป่าเสื่อมโทรมไม่ต้องทำอะไรเพราะตอไม้ก็จะแตกกิ่งออกมาอีกถึงแม้ต้นไม่นสวยแต่ก็เป็นไม้ใหญ่ได้..

ปลูกป่าในที่สูงทรงแนะนำวิธีการ ดังนี้

  • ...ใช้ไม้จำพวกที่มีเมล็ดทั้งหลายขึ้นไปปลูกบนยอดที่สูง เมื่อโตแล้วออกฝักออกเมล็ดก็จะลอยตกลงมาแล้วงอกเองในที่ต่ำต่อไป เป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ...

ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร หรือ การปลูกป่าธรรมชาติ ทรงเสนอแนวทางปฏิบัติว่า

ปลูกต้นไม้ที่ขึ้นอยู่เดิม คือ...ศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้าง แล้วปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษาได้...

งดปลูกไม้ผิดแผกจากถิ่นเดิม คือ...ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ชัดเสียก่อน...

การปลูกป่าทดแทน

ในขณะนี้ประเทศไทยเรามีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศประมาณการได้เพียง 80 ล้านไร่เท่านั้น หากจะเพิ่มเนื้องที่ป่าไม้ให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศแล้ว คนไทยจะต้องช่วยกันปลูกป่าถึง 48 ล้านไร่ ดยใช้กล้าไม้ปลูกไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านต้น ใช้เวลาถึง 20 ปี จึงจะเพิ่มป่าไม้ได้ครบเป้าหมายที่กำหนดไว้เท่านั้น

การปลูกป่าทดแทนจึงเป็นแนวทฤษฏีการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมรรควิธีในการปลูกป่าทดแทน เพื่อคืนธรรมชาติสู่แผ่นดินด้วยวิถีทางแบบผสมผสานกันในเชิงปฏิบัติดังพระราชดำริความตอนหนึ่งว่า

...การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผนโดยการดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขาในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมมือกันสำรวจต้นน้ำในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปรับปรุงต้นน้ำและพัฒนาอาชีพได้อย่างถูกต้อง...

วิธีการปลูกป่าทดแทน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำแนะนำให้มีการปลูกป่าทดแทนตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ที่เหมาะสมกล่าวคือ

ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม

...การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เสื่อมโทรมหรือพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกแผ้วถางจนเป็นภูเขาหัวโล้น แล้วจำต้องปลูกป่าทดแทนเร่งด่วนนั้นควรจะทดลองปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วคลุมแนวร่องน้ำเสียก่อน เพื่อทำให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่า เพราะไฟจะเกิดง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น ในปีต่อไปก็ให้ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถัดขึ้นไป ความชุ่มชื้นก็จะแผ่ขยายกว้างต่อไปอีก ต้นไม้จะงอกงามดีตลอดทั้งปี...

การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา

...จะต้องปลูกต้นไม้หลายๆ ชนิด เพื่อให้ได้ประโยชน์อเนกประสงค์ คือ มีทั้งไม้

ผล ไม้สำหรับก่อสร้างและไม้สำหรับทำฟืน ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ ซึ่งเมื่อตัดไม้ใช้แล้ว ก็ปลูกทดแทนหมุนเวียนทันที...

การปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง

...ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎร

สามารถตัดไปใช้ได้ แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย...


4.ให้มีการปลูกป่าที่ยอดเขา เนื่องจากสภาพป่าบนที่เขาสูงทรุดโทรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำตอนล่าง และคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่มีเมล็ดเป็นฝักเพื่อให้เป็นกระบวนการธรรมชาติปลูกต่อไปจนถึงตีนเขา

5.ปลูกป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ หรือเหนืออ่างเก็บน้ำที่ไม่มีความชุ่มชื้นยาวนานพอ

6.ปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำและแหล่งน้ำให้มีน้ำสะอาดบริโภค

7.ปลูกป่าให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่า

8.ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า

บัดนี้ ในหลายโครงการที่เป็นการปลูกป่าทดแทนตามแนวพระราชดำริได้บรรลุผลสัมฤทธิ์น่าพึงพอใจ อาทิเช่น โครงการปลูกป่าชัยพัฒนาแม่ฟ้าหลวง ที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย และที่หนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงการปลูกสร้างสวนป่าศูนย์ศึกษาการพัฒนาต่างๆ โครงการสวนป่าสิริเจริญวรรษ จังหวัดชลบุรี โครงการปลูกป่าห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี โครงการปลูกป่าเสริมธรรมชิตในและนอกเขตภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เป็นต้น

5.การปลูกป่า 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง :การรู้จัดใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยพระปรีชาญาณอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนมากที่สุดยาวนานที่สุดและทั่วถึงกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำการปลูกป่าในเชิงผสมผสาน ทั้งด้านเกษตรวนศาสตร์และเศรษฐกิจสังคมไว้เป็นมรรควิธีปลูกป่าแบบลักษณะเบ็ดเสร็จนั้นไว้ด้วย 

ลักษณะทั่วไปของป่า 3 อย่าง

พระราชดำริปลูกป่า 3 อย่างนั้น มีพระราชดำรัส ความว่า...ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม่หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆใหญ่ๆ การที่จะปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์ดังนี้ ในคำวิเคราะห์ของกรมป่าไม้รู้สึกจะไม่ใช่ป่าไม้ แต่ในความหมายของการช่วยเหลือเพื่อต้นน้ำลำธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวยผลไม้ก็ตามหรือเป็นสวนมฟืนก็ตามนั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะทำหน้าที่เป็นป่า คือ เป็นต้นไม้และทำหน้าที่เป็นทรัพยากรในด้านสำหรับให้ผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้...

ประโยชน์ที่ได้รับ

ในการปลูกป่า 3 อย่างนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชาธิบายถึงประโยชน์ในการปลูกป่าตามพระราชดำริว่า

...การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่แล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย...

และได้มีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า

...การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ...

พระราชดำริเพื่อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ดำเนินการในหลายส่วนราชการ ทั้งกรมป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่ง คือ การปลูกป่าใช้สอย โดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้างและหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์ และสะเดา เป็นต้น

วิธีการปลูกป่าเพื่อทดแทนหมุนเวียน

นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกป่าเพื่อใช้ทำฟ้นว่า

...การปลูกป่าสำหรับใช้เป็นฟืนซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ ในการนี้จะต้องคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้ปลูก เปรียบเทียบกับจำนวนราษฎรตลอดจนการปลูกและตัดต้นไม้ไปใช้ จะต้องใช้ระบบหมุนเวียนและมีการปลูกทดแทน อันจะทำให้มีไม้ฟืนสำหรับใช้ตลอดเวลา

พระราชดำริ ป่าเปียก ทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวป้องกันไฟเปียก (Wet Fire Break)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงคุณค่าอเนกอนันต์ของน้ำเป็นยิ่งนัก ทรงคำนึงว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้นจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ให้ได้ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดำริ ป่าเปียก เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่านั้น จึงเป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้น จากหลักการที่แสนง่ายแต่ได้ประโยชน์มหาศาล กล่าวคือ ยามที่เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นคราใดผู้คนส่วนใหญ่ก็มักคำนึงถึงการแก้ปัญหาด้วยการระดมสรรพกำลังกันดับไฟป่าให้มอดดับอย่างรวดเร็ว แต่แนวทางป้องกันไฟป่าระยะยาวนั้นยังดะเลือนลางในการวางระบบอย่างจริงจังพระราชดำริป่าเปียกจึงเป็นแนวพระราชดำริหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำการศึกษาทดลองจนได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

วิธีการสร้าง ป่าเปียก

วิธีการแรก: ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่างๆ ปลูกตามแนวคลองนี้

วิธีที่สอง: สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทานและน้ำฝน

วิธีที่สาม:โดยการปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟป่าจะเกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น

วิธีที่สี่:โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นหรือที่เรียกว่า Check Dam ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น ป่าเปียก

วิธีที่ห้า : โดยการสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป ภูเขาป่า ให้กลายเป็น ป่าเปียก ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย

วิธีที่หก :ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่นทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก

แนวพระราชดำริป่าเปียก จึงนับเป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลักสำคัญที่จะช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลาไฟป่าจึงเกิดได้ยากการพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่สามารถทำได้ง่ายและได้ผลดียิ่ง

พระราชดำริ ภูเขาป่า: ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความรู้เบื้องต้น

ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นหลักการดำเนินการ

การสร้างภูเขาป่าอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นมรรควิธีหนึ่งที่พระราชทานแนวคิดอันเป็นทฤษฎีการพัฒนา อันเป็นมิติใหม่แก่วงการป่าไม้ 2 ประการ คือ

ประการแรก หากมีน้ำใกล้เคียงบริเวณนั้นโดยมีพระราชดำรัสว่า

...ควรสำรวจแหล่งน้ำเพื่อการพิจารณาสร้างฝายขนาดเล็กปิดกั้นร่องน้ำในเขตต้นน้ำลำธารทั้งนี้เพื่อแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปให้กว้างขวางอันจะช่วยฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณที่สูงให้สมบูรณ์ขึ้น บริเวณดังกล่าวจะได้กลายเป็น ภูเขาป่า ในอนาคตซึ่งหมายความว่ามีต้นไม้นานาชนิด ซึ่งปกคลุมดินในอัตราหนาแน่นที่เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศแต่ละแห่ง ต้นไม้เหล่านั้นจะมีผลช่วยรักษาระดับความชุ่มชื้นในธรรมชาติให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะไม่แห้งแล้งเกินไป และยังช่วยยึดผิวดินอันมีค่าไม่ให้ถูกน้ำเซาะทลายลงมายังพื้นที่ราบอีกด้วย...

ประการที่สองหากไม่มีแหล่งน้ำในพื้นที่เพื่อฟื้นฟูป่าไม้ในบริเวณภูเขาเสื่อมโทรม มีพระราชดำรัสว่า

...ให้พิจารณาส่งน้ำขึ้นไปยังจุดที่สูงที่สุดเท่าที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจ่ายน้ำลงไปหล่อเลี้ยงกล้าไม้อ่อนที่ปลูกทดแทนไว้บนภูเขาได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งซึ่งกล้าไม้มักมีอัตราสูญเสียค่อนข้างสูง เมื่อกล้าไม้เจริญเติบโตพอสมควรจนสามารถทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้แล้วในอนาตคภูเขาในบริเวณดังกล่าวก็จะคืนสภาพเดิมเป็นภูเขาป่าที่จะมีความชุ่มชื้นพอสมควร ตลอดจนจะช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในตอนล่างไม่ให้กลายเป็นดินแดนแห้งแล้ง...

ซึ่งต่อมาได้พระราชทานพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า

....จะต้องพยายามสูบน้ำขึ้นไปทีละชั้นจนถึงระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยพิจารณาใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์กับพลังงานลม ซึ่งมีใช้งานอยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อจะได้มิเปลืองเชื้อเพลิง เมื่อนำน้ำขึ้นไปพัก ณ ระดับสูงสุดได้แล้ว จะสามารถปล่อยน้ำให้ค่อยๆ ไหลซึมลงมา เพื่อช่วยเร่งรัดการปลูกป่าไม้ที่มีทั้งพันธุ์ไม้ป้องกันกับไม้โตเร็ว นอกจากนั้นจยังจะแปรสภาพโครงการภูเขาป่า ให้เป็นป่าเปียกซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย...

ภูเขาป่าที่เขียวขจีจากแนวพระราชดำรินี้สามารถพบเห็นและเข้าศึกษาวิธีการอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายแห่งด้วยกันโดยเฉพาะที่เด่นชัดคือ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

แนวพะราชดำริทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย

สัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด : Check Dam

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่งทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง กล่าวคือ ปัญหาที่สำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น น้ำ คือ สิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำ หรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจะเรียกขานกันว่า ฝายชะลอความชุ่มชื้นก็ได้เช่นกัน

Check Damคือ สิ่งก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลเทลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่างนับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชาธิบายว่า การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้น

...จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อยๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย...

ในส่วนของรูปแบบและลักษณะ Check Damนั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสว่า

...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็วและพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ...

ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงแยกออกเป็น 2 ประเภท ดังพระราชดำรัส คือ

...Check Dam มี 2 อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้นรักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่... 

จึงอาจกล่าวได้ว่า Check Dam นั้น ประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ส่วนประเภทที่สองนั้นเป็นฝายดักตะกอนนั่นเอง การสร้าง Check Dam พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า

...สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทรายลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึก เพราะทรายลงมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ได้ ถ้าเป็น Check Dam สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไรไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไป... 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ

...ให้ดำเนินการสำรวจหาทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน...การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่เลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้...

Check Dam ตามแนวพระราชดำริ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ

1. Check Dam แบบท้องถิ่นเบื้องต้น เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้ และท่อนมั้ล้มขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่ายๆ ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำซึ่งจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบวฝายได้เป็นอย่างดี วิธีการนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลยนอกจากใช้แรงงานเท่านั้น

การก่อสร้าง Check Dam แบบง่ายนี้ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยหิน
  • ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยถุงบรรจะดินหรือทราย
  • ก่อสร้างแบบคอกหมูแกนดินอันขนาบด้วยหิน
  • ก่อสร้างแบบเรียงด้วยหินแบบง่าย
  • ก่อสร้างแบบคอกหมูหินทิ้ง 
  • ก่อสร้างแบบหลักคอนกรีตหินทิ้ง
  • ก่อสร้างแบบถุงทรายซีเมนต์ 
  • ก่อสร้างแบบคันดิน
  • ก่อสร้างแบบคอกหมูถุงทรายซีเมนต์ 
  • ก่อสร้างแบบหลักไม้ไผ่สานขัดกัน อันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน 
  • Check Dam แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนัง

กั้นน้ำก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน

3. Check Dam แบบคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นการก่อสร้างแบบถาวรส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณ 40,000-50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของลำห้วยซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร 

ข้อคำนึงในการสร้าง Check Dam

  1. ควรสำรวจสภาพื้นที่วัสดุก่อสร้างตามธรรมชาติ และรูปแบบ Check Dam ที่เหมาะสมกับภูมิประเทศมากที่สุด
  2. ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงให้มากพอที่จะไม่เกิดการพังทลายเสียหายยามที่ฝนตกหนักและกระแสน้ำไหลแรง
  3. ควรก่อสร้างในพื้นที่ที่ช่องลำห้วยมีความลาดชันต่ำ เพื่อที่จะได้ Check Dam ในขนาดที่ไม่เล็กเกินไป อีกทั้งยังสามารถกักน้ำและตะกอนได้มากพอสมควร และในลำห้วยที่มีความลาดชันสูงก็ควรสร้าง Check Dam ให้ถี่ขึ้น
  4. วัสดุก่อสร้าง Check Damประเภทกิ่งไม้ ท่อนไม้ ที่นำมาใช้ในการสร้างจะต้องระมัดระวังใช้เฉพาะไม้ล้มขอนนอนไพรเป็นลำดับแรกก่อนที่จะใช้กิ่งไม้ ท่อนไม้จากการริดกิ่ง ถ้าจำเป็นให้ใช้น้อยที่สุด
  5. ถ้าสร้าง Check Dam แบบคอกหมูแกนดินอันแน่น ควรมีทางระบายน้ำด้านข้างเพื่อป้องกันน้ำกัดชะสันฝายจากการที่มีฝนตกหนักจนมีน้ำหลากมาก
  6. ควรปลูกยืนต้นยึดดินบนสันฝาย เช่น ไคร้น้ำ หรือไม้ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถขึ้นได้ดีบนที่ชื้น
  7. ควรดำเนินการก่อสร้าง Check Dam หลังฤดูฝนหรือหลังน้ำหลาก และทุกปีควรมีการบำรุงรักษา ขุดลอกตะกอน ซ่อมแซมสันฝายและทางระบายน้ำล้นอยู่เป็นประจำ
  8. แนวทางที่เหมาะสมในการสร้าง Check Dam

ก่อนดำเนินการควรสำรวจร่องน้ำลำห้วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการพังทลายของดิน หรือปัญหาพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น โดยพิจารณาถึงความลาดชันของร่องน้ำและสำรวจหาข้อมูลปริมาณน้ำไหลในร่องน้ำมาใช้ประกอบการเลือกตำแหน่งสร้าง Check Dam ดังนี้

  1. ในพื้นที่ลาดชันสูงในกรณีที่ความกว้างของลำห้วยไม่เกิน 2 เมตร ควรสร้างฝายผสม ใช้วัสดุธรรมชาติ ไม้ท่อน หิน ถุงบรรจุดินหรือทรายแต่ถ้าความกว้างของลำห้วยมากกว่า 2 เมตร หรือในลำห้วยมีน้ำมาก ควรเพิ่มโครงสร้างของ Check Dam เป็นแบบคอกหมูที่มีโครงสร้างหลายระดับมากน้อยตามปริมาณน้ำ
  2. ในพื้นที่ลาดชันปานกลาง ควรสร้าง Check Dam แบบคอกหมูหรือแบบท้องถิ่นของชาวบ้าน ถ้าเป็นแบบคอกหมูให้ใช้หินเรียงหรือกระสอบทรายผสมซีเมนต์ขนาบโครงสร้าง 
  3. ในพื้นที่ลาดชันต่ำในกรณีที่มีน้ำมากควรสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็กแต่ถ้ามีน้ำไม่มากนักและความกว้างไม่เกิน 2 เมตร อาจใช้ถุงทรายผสมซีเมนต์ได้

นานาประโยชน์จาก Check Dam อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

  1. ช่วยลดการพังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีเพิ่มขึ้น และแผ่ขยายกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย
  2. ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
  3. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ จากการที่ความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของพันธุ์พืชก็ย่อมจะมีมากขึ้น
  4. การที่สามารถทำให้เกิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ต่างๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย

Check Dam จึงนับเป็นพระราชดำริที่เป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ที่ยังประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติทั้งมวล 

ทฤษฎีการอนุรักษืและพัฒนา ป่าชายเลน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : แนวทางการสร้างวงจรของระบบนิเวศน์ด้วยการปกปักอนุรักษ์และขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลน

ป่าชายเลน เรียกชื่อกันหลายอย่างว่า ป่าชายเลนน้ำเค็ม และป่าเลน หรือบางแห่งเรียก ป่าโกงกางเป็นป่าที่เกิดขึ้นตามชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำของประเทศไทย ลักษณะของป่าชนิดนี้เป็นป่าไม้ผลัดใบ มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยัน หรือรากหายใจแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของต้นไม้นั้นๆ

ตลอดแนวชายฝั่งทะเลไทยยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร มีส่วนที่เป็นป่าชายเลนอยู่เพียงประมาณร้อยละ 36 ของความยาวชายฝั่งเท่านั้นปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนอยู่ประมาณ 1,679,335 ไร่ โดยลดลงประมาณเกือบร้อยละ 50 จากที่เคยมี 2,229,375 ไร่ ในปี พ.ศ. 2504 ป่าชายเลนในประเทศไทยขึ้นอยู่กระจัดกระขายตามชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน

การบุกรุกทำลายป่าชายเลนดำเนินการอย่างต่อเนื่องและรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เฉลี่ยล่วยปี พ.ศ. 2522-2529 ป่าชายเลนลดลงปีละ 81,142 ไร่ สภาพป่าชายเลนโดยทั่วๆ ไป พบว่า ทางภาคใต้ของประเทศไทยแถบฝั่งทะเลอันดามันมีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ส่วนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยและภาคกลางบริเวณปากอ่าวไทยมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม ประกอบด้วยไม้ขนาดเล็กและถูกรบกวนจากมนุษย์ในการเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนเป็นนากุ้ง นาเกลือ และแหล่งอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับภาคตะวันออก การทำนากุ้งได้ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของป่าชายเลนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ป่าชายเลนยังถูกทำลายด้วยเหตุอื่นอีกเช่น การทำเหมืองแร่ การเกษตรกรรมบางประเภท การขยายตัวของชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและพาดสายไฟฟ้า รวมทั้งการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านี้ ทำให้จำนวนป่าชายเลนลดลงอย่างที่มิอาจประมาณการได้

ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงปัญหาและความสำคัญยิ่งของป่าชายเลนดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายโฆษิตปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ในพระราชพิธีแรกนาขวัญหว่านข้าวในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สรุปแนวพระราชดำริว่า

....ป่าชายแลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย แต่ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทยเรากำลังถูกบุกรุกและถูกทำลายลงไป โดยผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจึงควรหาทางป้องกันอนุรักษ์และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยพาะต้นโกงกางเป็นไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโตด้วย จึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กรมป่าไม้ กรมประมง กรมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์ ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์โกงกางและปลูกสร้างป่าชายเลนกันต่อไป...

การสนองพระราชดำริด้านอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน

โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลนในเขตพื้นที่เป้าหมายของจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานี นับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่บังเกิดขึ้นด้วยกระแสพระราชดำริร่วมกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 โดยได้พระราชทานพระราชกระแสกับหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และนายสุเมธตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้ร่วมกันเป็นแกนกลางในการดำเนินการปลูกป่าพระราชทานแก่ประชาชนทั้งมวล ในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเฉลิมสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยทรงตั้งมั่นในพระราชหฤทัยที่จะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้มีสภาพยั่งยืนถาวรยาวนาน

การดำเนินการปลูกป่าชายเลน ป่าพระราชทานมูลนิธิชัยพัฒนา-มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง จังหวัดสงขลา และปัตตานีนั้น มีองค์กรที่ทำหน้าที่ประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชน คือ มูลนิธิโททาล (Total) สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนภายใต้โครงการย่อย 3 โครงการ คือ

  • โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
  • โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
  • โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูป่าชายเลน อำเภอหนองจิก

จังหวัดปัตตานี

โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการพัฒนาชุมชนให้มี่ความสำนึกตระหนักในความรู้ความเข้าใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนนี้เคยพึ่งพิงอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทยมาเป็นเวลาช้านาน

รูปแบบของการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลนที่ตำบลหัวเขา จึงเป็นอีกมิติหนึ่งของการพัฒนาป่าไม้ที่อาศัยความเกี่ยวพันและเกื้อกูลซึ่งกันและกันของมนุษย์และธรรมชาติ 

วัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ

1. รักษาสภาพแวดล้อมและสนับสนุนการจัดระเบียบที่อยู่อาศัยของชุมชน และเพิ่มผลผลิตของสัตว์น้ำที่จะเสนอทางเลือกของการทำการประมงที่ทางการอนุญาต เช่น อวนลอย

2. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับป่าชายเลนที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตและชุมชน ตลอดจนสามารถประสานสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องได้อย่างคล่องตัว

3. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกป่าชายเลนและสร้างทัศนคติให้เกิดความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน

การปลูกป่าชายเลนที่ตำบลหัวเขา ใช้วิธีการหลายรูปแบบในการดำเนินงาน อาทิเช่น

สร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชนยอมรับปฏิบัติและร่วมงานปลูกป่า โดยใช้วิธีการปลูกฝังจิตสำนึกสร้างความคุ้นเคยและประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ

จัดการประชุมปรึกษาร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติในการเตรียมงานการปลูกป่า ซึ่งทางชุมชนได้จัดสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ และหากล้าไม้มาร่วมกันปลูกป่าชายเลนกับส่วนราชการ ภาคเอกชนและองค์กรต่าง ๆ อย่างเต็มที่

มีการรวมตัวกันของประชาชนก่อตั้ง ชมราอนุรักษ์ป่าชายเลนทะเลสาบสงขลา ขึ้นโดยมีคณะกรรมการของชมรมประกอบด้วยสมาชิกทั้ง 8 หมู่บ้านของตำบลหัวเขา ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

  • การดูแลรักษาเรือนเพาะชำ
  • การกั้นรั้วบริเวณเขตป่า
  • การทำความเข้าใจกับชาวประมงในการดูแลรักษาป่า

บัดนี้การปลูกป่าชายเลนโดยประชาอาสานี้ได้มีการปลูกป่าชายเลนร่วมกันอย่างสม่ำเสมอเป็นครั้งคราวตามโอกาสและวาระอันควร และได้ปลูกป่าชายเลนไปแล้วประมาณ 300 ไร่

พระราชดำริด้านป่าชายเลน จึงเป็นบทพิสูจน์ว่ามีคุณค่าสมควรที่จะอนุรักษ์และพัฒนาไว้เป็นอย่างยิ่ง

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง

ตั้งอยู่ที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีป่าชายเลนผืนใหญ่มีอาณาบริเวณกว้างขวางถึง 9,080 ไร่สภาพป่าทั่วไปจัดได้ว่าเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์มากและยังประโยชน์แก่ชุมชนรอบด้านทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเฉพาะเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของกุ้ง หอย ปู ปลา ที่อุดมสมบูรณ์และชุกชุมเป็นอย่างมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม มีอาชีพทำการประมงขนาดเล็กโดยอาศัยทำกินในป่าแห่งนี้ รวมทั้งมีการใช้พื้นที่บางส่วนเลี้ยงปลากระพงขาวในกระชังตามลำแม่น้ำ ลำคลอง ตลอดจนเลี้ยงกุ้งกุลาดำหลังแนวเขตป่านี้ด้วย

การจัดทำโครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการัดการและสงวนรักษาป่าชายเลน โดยมีเจตนารมย์ที่จะให้ทุกฝ่ายมีความรู้ ความเข้าใจในสภาพสมดุลตามธรรมชาติของป่าชายเลน และสร้างความร่วมมือรวมพลังกันระหว่างชุมชนและนักวิชาการที่จะผดุงรักษาป่าชายเลนไว้ให้ยั่งยืนนาน

การจัดตั้งศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน จะทำหน้าที่เสริมสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชนให้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของบริเวณที่ชุมชนอาศัยอยู่ และร่วมคิดหาแนวทางส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น การร่วมกันปลูกป่าชายเลนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ให้มีการจัดการด้านป่าชายเลนที่ถูกต้องเหมาะสมกับท้องถิ่น เป็นต้น ทั้งนี้ศูนย์ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับป่าชายเลนได้รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการด้านป่าชายเลนแก่สาธารณชนทั่วไป

การจัดสร้างศูนย์ธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่งนี้ ได้ดำเนินการออกแบบที่ตระหนักถึงการให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติและความกลมกลืนที่ไม่กระทบกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดั้งเดิมทางเดินป่าชายเลนยะหริ่ง (The MangroveTrail) ยาวประมาณ 1,500 เมตร คือเป้าหมายที่จะดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ด้วยการเข้าไปทำการสำรวจและสัมผัสธรรมชาติป่าชายเลนได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะสร้างความประทับใจและรู้แจ้งเห็นจริงในการศึกษาด้านนี้โดยตรง เนื่องจากทางเดินธรรมชาติจะผ่านจุดแสดงข้อมูต่างๆ ที่น่าสนใจในป่าชายเลนโดยมีคำอธิบายการดำรงอยู่ของระบบนิเวศน์ป่าชายเลนให้เข้าใจอย่างแจ่มชัด ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าชายเลนในแหล่งอื่นต่อไป

โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูป่าชายเลน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

สภาพพื้นที่แห่งนี้เป็นสภาพป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมมาก แม้กรมป่าไม้ได้พยายามฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวเป็นเวลา 12 ปีแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้บริเวณดังกล่าวนี้ปราศจากการที่ป้องกันลม ที่จะลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ซึ่งจากการศึกษาของสถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงที่จะทำการฟื้นฟูปลูกป่าชายเลนได้นั้นมีเพียง 213 ไร่ และปัจจุบันได้เพิ่มความพยายามในการค้นหาแนวทางพัฒนาฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพอุดมสมบูรณ์ดังเดิมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การขุดแพรกเพื่อให้น้ำหล่อดินมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

ทฤษฎีการพัฒนาป่าชายเลนอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเป็นหนึ่งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานเพื่อความผาสุขสมบูรณ์แก่แผ่นดินไทยอย่างแท้จริง

ป่าชายเลนหลายแห่งของประเทศไทยจึงบังเกิดขึ้นในลักษณะที่คืนสู่ธรรมชาติพิสุทธิ์อันสมบูรณ์ดังเดิม เช่น ป่าชายเลนที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ป่าชายเลนที่จังหวัดระนอง พังงา และสตูลรวมทั้งที่จังหวัดเพชรบุรีและสมุทรสงครามคงเป็นบทพิสูจน์ถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงสอดส่องในสิ่งแวดล้อมของพระมหากษัตริย์ไทยนักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้

การอนุรักษ์และพัฒนา ป่าพรุ ทฤษฎีการพัฒนาโดยหลักการที่ทรงเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้วยการปรับปรุงสภาพป่าให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์มากที่สุด

ป่าพรุ เป็นป่าไม้ทึบ ไม้ผลัดใบประเภทหนึ่ง ซึ่งเหลืออยู่เพียงผืนเดียวในภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะเด่นชัด คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังทั่วทั้งบริเวณ ป่าพรุเกิดจากธรรมชาติสร้างขึ้นโดยสาเหตุที่คลื่นลมทะเลซัดดินทรายชายฝั่งปิดกั้นเป็นแนวสันเขื่อนจนกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เมื่อซากพืชหล่นทับถมมากขึ้นในน้ำแช่ขังนี้ ก็จะเกิดปฎิกิริยาให้เกิดน้ำและดินเปรี้ยวตามลำดับ

ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าพรุรวมทั้งสิ้น 4,000,000 ไร่ ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่กระจายอยู่ในแนวเหนือใต้ด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 290,000 ไร่ ประกอบด้วยพรุขนาดใหญ่ 3 แห่ง

  • พรุโต๊ะแดง
  • พรุบาเจาะ
  • พรุกาบแดง

พรุโต๊ะแดงจัดได้ว่าเป็นพรุที่มีสภาพป่าพรุซึ่งยังคงสภาพไว้อย่างสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื้อที่ประมาณ 216,500 ไร่ พื้นที่ป่าติดต่กันเป็นป่าขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอพื้นที่ป่าพรุในจังหวัดนราธิวาสทั้งหมดนี้ประกอบด้วย

  • ป่าพรุที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ 60,525 ไร่
  • ป่าพรุเสื่อมโทรม 33,525ไร่
  • ป่าเสม็ดขาว 91,250 ไร่
  • ทุ่งหญ้า 61,350 ไร่
  • พื้นที่กสิกรรม 27,275 ไร่
  • พื้นที่อื่น ๆ (หมู่บ้าน ป่าละเมาะและแม่น้ำ) 16,075 ไร่

พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกบุกเบิกเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร แต่เนื่องจากพื้นที่พรุใน 

จังหวัดนราธิวาสมีลัษณะทางกายภาพที่ไม่เหมาะสมอยู่หลายประการ ดังนั้นการพัฒนาดังกล่าวจึงดำเนินการไปด้วยความยากลำบากและยังประโยชน์ไม่เต็มที่หากยังใช้ประโยชน์โดยปราศจากการจัดการที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมของพื้นที่พรุก็ยิ่งจะมีแนวโน้นสูงขึ้นในการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมโทรมได้ง่าย 

ที่มาของแนวพระราชดำริพัฒนาและฟื้นฟูป่าพรุ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่างๆ ร่วมกันศึกษาพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาอันสืบเนื่องมาจากพรุซึ่งในระยะแรกของการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐษนไปยังพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ในปี พ.ศ. 2517 ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ในหน้ามรสุมราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากมีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมพรุเข้าไร่นาเสียหาย จึงมีพระราชดำริเพื่อความร่วมมือกันระบายน้ำจากพรุธรรมชาติทั้งหลายนี้ให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุดการระบายน้ำออกจากพรุทำให้ทรงพบว่ามีสภาพดินเปรี้ยวเกิดขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระทั่งเมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในปี พ.ศ. 2525 จึงได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางประสานงานในการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน

การสนองพระราชดำริด้วยการกำหนดเขตการใช้ที่ดินในบริเวณพื้นที่ป่าพรุ

สืบเนื่องจากที่ราษฎรส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่ป่าพรุอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้พื้นที่ป่าพรุบางแห่งเสื่อมโทรมจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป ต้องปล่อยทิ้งร้างไว้ตามสภาพธรรมชาติก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะราษฎรที่อาศัยอยู่รอบพื้นป่า โดยทั่วไปมีฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรให้ผลผลิตต่ำมาก ราษฎรก็ไม่มีความรู้ในการที่จะแก้ไขพื้นที่นั้นให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้การพัฒนาจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดเขตการใช้ที่พื้นที่ดินบริเวณพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ออกเป็น 3 เขต คือ

1. เขตป่าสงวน (Preservation Zone) เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่ยังคงนสภาพเป็นป่าธรรมชาติอย่างสมบูรณ์และยังไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ เนื่องที่ประมาณ 56,907 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของพรุโต๊ะแดง ในเขตอำเภอตากใบอำเภอสุไหงปาดี และอำเภอสุไหงโก-ลกและพื้นที่ทางตอนใต้ของพรุบาเจาะในเขตอำเภอเมืองและอำเภอยี่งอ ปกติพื้นที่ป่ามีน้ำท่วมขังเกือบตลอดปีในฤดูฝนระดับน้ำท่วมสูงสุด 2-3 เมตรพื้นที่ป่ามีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ ต้นไม้ส่วนใหญ่แตกรากค้ำยันหรือเป็นพูพอน พื้นที่ป่ามีใบไม้กิ่งไม้แห้งทับถมกันจนมีลักษณะเป็นเนินสูงขึ้นมาจากพื้นที่ป่าทั่วไป พื้นป่ามีระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 8 เมตร ดินเป็นดินอินทรีย์ ลึกลงไปเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบไพไรท์สะสมอยู่เป็นปริมาณมาก ในเขตนี้พืชพรรณธรรมชาติขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น มีพันธุ์ไม้ยืนต้นขึ้นปะปนกันอยู่มากกว่าร้อยชนิด โดยมีเรือนยอดอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ 20-30 เมตรพืชพื้นล่างที่ขึ้นอยู่มีทั้งไม้พุ่ม เถาวัลย์ ปาล์ม หวาย และเฟิร์นนานาชนิด

2. เขตอนุรักษ์ (Conservation Zone)เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่พืชพรรณธรรมชาติถูกทำลายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มีโครงการพัฒนาเข้าไปดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าถูกทำลายโดยการแผ้วถางและไฟไหม้ทำความเสียหายในช่วงปีที่อากาศแล้งจัด มีเนื้อที่ประมาณ 109,938 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันตกของพรุบาเจาะในเขตอำเภอเมืองและอำเภอระแงะ และบริเวณทุ่งหญ้ารวมป่าพรุโต๊ะแดงในเขตอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดีและอำเภอสุไหงโก-ลก พื้นที่เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังเกือบตลอดปี สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 8 เมตร ปกติดินเปียกชื้นตลอดปี ในฤดูฝนระดับน้ำสูงจากผิวดินตั้งแต่ 20-30 เซนติเมตร ไปจนถึง 1 เมตร ดินมีทั้งดินอินทรีย์และดินอนินทรีย์ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวจัด สำหรับทางตอนใต้ของพรุโต๊ะแดงเป็นดินอินทรีย์หนาประมาณ 1-3 เมตร ดินชั้นล่างเป็นดินเลนที่มีสารปรกอบกำมะถันสะสมอยู่

น้ำที่ท่วมขังอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบเป็นกรดจัด สีดำหรือสีน้ำตาลปนดำเนื่องจากมีสารอินทรีย์แขวนลอยปะปนอยู่มาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเสม็ดขาวและพื้นที่ปาพรุที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้มีพืชพวกคมบางย่านลำเท็ง กก กระจูด และพืชพวกหญ้าขึ้นเป็นพืชพื้นล่าง หรือเป็นพื้นที่ซึ่งในอดีตถูกแพ้วถางแล้วถูกปล่อยทิ้งร้างไป ต่อมามีไม้เสม็ดขาว กก กระจูด และพืชพวกหญ้าขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

3. เขตพัฒนา (Development Zone) เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่ได้มีการระบายน้ำออกไปบ้างแล้วพืชพรรณธรรมชาติดั้งเดิมถูกแผ้วถางจนหมดสิ้น มีพื้นที่ที่ใช้เพื่อกิจกรรมทางด้านเกษตรและมีโครงการพัฒนาต่างๆ เข้าไปดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีเนื้อที่ประมาณ 95,015 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตโครงการสหกรณ์นิคมบาเจาะในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอยี่งอ และอำเภอบาเจาะ และสหกรณ์นิคมปิเหล็งในท้องที่อำเภอตากใบและอำเภอสุไหงโก-ลกบริเวณพรุสะปอมท้องที่อำเภอเมือง และบริเวณพรุกาบแดงในท้องที่อำเภอเมืองคาบเกี่ยวอำเภอตากใบ พื้นที่เหล่านี้ได้จัดสรรที่ดินให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและทำกินอย่างถาวร ส่วนใหญ่มีดครงการชลประทานเข้าไปดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ ซึ่งโดยทั่วไปสูงจากระดับน้ำลดลงต่ำกว่าผิวดิน ประมาณ 0.5-1 เมตร บริเวณพรุบาเจาะส่วนใหญ่มีดินอินทรีย์ถมเป็นชั้นหนาไม่เกิน 2.5 เมตร มีลักษณะเป็นกรดจัดและมีคุณภาพทางเกษตรต่ำ ใต้ชั้นดินอินทรีย์ซึ่งทั้งดินและน้ำมีสภาพความเป็นกรดจัด ส่วนบริเวณพรุกาบแดงและพรุสะปอม ดินมีทั้งดินอินทรีย์ และอนินทรีย์ปะปนกันอยู่ส่วนใหญ่

การดำเนินงานพัฒนาพื้นที่พรุ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาและกำหนดเขตการใช้ที่ดินทั้ง 3 เขต ให้มีการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบผสมผสานให้สอดคล้องกันในหลายด้าน และกำหนดแนวทางการพัฒนาพท้นที่พรุไว้ดังนี้

1.เขตสงวนเป็นเขตที่ดำเนินการสงวนรักษาป่าไม้ไว้อย่างเข้มงวด เพื่อให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด หน่อยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง คือ กรมป่าไม้ ปัจจุบันได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแล้ว เมื่อได้มีการตรวจสอบรายละเอียดและประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้วก็จะทำให้การดูแลรักษาพื้นที่เหล่านี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. เขตอนุรักษ์เป็นเขตที่ดำเนินการฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าดังเดิม ซึ่งเปลี่ยนไปเป็นเขตสงวนหรือเปลี่ยนเป็นเขตพัฒนาโดยการใช้พื้นที่กระทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่พรุโดยไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของป่าและจะต้องผ่านการเห็นชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อนการดำเนินงานในเขตนี้จึงผันแปรไปได้ตามวัตถุประสงค์ คือ

2.1 ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสำรวจพันธุ์พืชการทดแทนของสังคมพืชและระบบนิเวศน์ของป่าพรุทั้งหมด โดยมีกรมป่าไม้เป็หน่วยงานหลัก

2.2 ศึกษาพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกป่าทดแทน และศึกษาวิธีการจัดการเพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกเจริญเติบโตได้ดีมีกรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลัก

2.3 ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันมิให้มีการบุกรุกทำลายป่าพรุอีกต่อไปดำเนินการโดยกรมป่าไม้และนิคมสหกรณ์

2.4 ในกรณีที่มีการจัดทำโครงการพัฒนาในเขตนี้ให้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วยทุกโครงการ 

3. เขตพัฒนาเป็นเขตที่กำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานร่วมกันพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดย

3.1 ค้นคว้าวิจัยเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสภาพดินและน้ำที่มีปัญหาสำหรับใช้กำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาต่อไปดำเนินการโดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

3.2 ดำเนินการพัฒนาพื้นที่พรุแบบครบวงจร โดยประกอบด้วยการควบคุมน้ำในพื้นที่ การปรับปรุงดิน การเลือกชนิดพืชที่ปลูก การสหกรณ์และการตลาด

3.3 เลือกพื้นที่ดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของราษฎร โดยพิจารณาจากข้อมูลต่างๆ เช่น สภาพดิน สภาพน้ำ และสภาพภูมิประเทศ

3.4 รัฐเป็นผู้ดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญจนแล้วเสร็จ และในระยะแรกรัฐจะจัดหาวัสดุปรับปรุงดินและพันธุ์พืชต่างๆ ให้แก่ราษฎร

3.5 รัฐเป็นผู้จัดสรรงบประมาณ และบริหารโครงการพัฒนาที่ดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าว

การค้นคว้าวิจัยป่าพรุตามพระราชดำริก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับคณะผู้ดำเนินงานสนองพระราชดำริมีความเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่พรุเป็นไปอย่างสอดคล้องผสมผสานกันทั้งในเรื่องอนุรักษ์และการพัฒนาพื้นที่เขตต่างๆ ในป่าพรุได้ดำเนินการไปพร้อมดันอย่างได้ผลดียิ่ง ส่วนราชการอันประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)ร่วมกับกรมป่าไม้ได้รับสนองพระราชดำริโดยจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับป่าพรุขึ้นบริเวณคลองโต๊ะแดงฝั่งขวา บริเวณบ้านโต๊ะแดง หมู่ที่ 8 ตำบลปูโต๊ะอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และจัดตั้ง ศูนย์ศึกษาวิจัยและธรรมชาติป่าพรุสิรินธร ขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา ซึ่งศูนย์แห่งนี้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมของป่าพรุอย่างละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ในลักษณะของเส้นทางเดินธรรมชาติ (Nature Tralil) และนิทรรศการความรู้ต่างๆ

บัดนี้ป่าพรุได้รับการใช้ประโยชน์อย่างอเนกประสงค์ควบคู่กับการสร้างสมดุลแห่งระบบนิเวศน์ ตามพระราชดำริแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานเพื่อความผาสุขนิรันดร์ของอาณาประชาราษฎร์

โครงการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชมีอะไรบ้าง

1. โครงการแกล้งดิน ... .
2. โครงการปลูกหญ้าแฝก ... .
3. โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ... .
4. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ... .
5. ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ... .
6. เกษตรทฤษฎีใหม่ ... .
7. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ... .
8. โครงการฝนหลวง.

โครงการตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรมีอะไรบ้างจงยกตัวอย่างมาพอสังเขป

โครงการพระราชดำริที่นับว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานรถบลูโดเซอร์ ให้หน่วยตำรวจตระเวนชายแดนค่ายนเรศวรไปสร้างถนนเข้าไปยังบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ซึ่งปัจจุบันคือ ตำบลทับใต้) อำเภอหัวหิน

โครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มีทั้งหมดกี่โครงการ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 5,151 โครงการ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ ดูโครงการทั้งหมด ค้นหาโครงการฯ แผนที่โครงการ โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริทั้งหมด จำนวน 5,151 โครงการ ภาค กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ อื่นๆ รวมทั้งสิ้น จำนวนโครงการ 855 โครงการ 1,295 โครงการ 1,960 โครงการ 994 โครงการ 47 โครงการ ...

โครงการใดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นโครงการด้านเกษตรกรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และโครงการกึ่งธุรกิจ อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก