ข้อใดไม่ เกี่ยวข้อง กับ คำ ว่า การอนุรักษ์พลังงาน

  • Skip to navigation
  • ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
  • Skip to primary sidebar
  • Skip to secondary sidebar
  • Skip to footer

Category Archives: แบบทดสอบหน่วยที่ 5 การอนุรักษ์พลังงาน ง 33106

คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(X)ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.พลังงาน(Energy)หมายถึงสิ่งที่สามารถทำให้วัตถุต่างๆทำงานได้
มี 2 ประเภทได้แก่ข้อใด.
ก.  พลังงานชีวมวล  พลังงานแสงอาทิตย์
ข.  พลังงานหมุนเวียน  พลังงานสิ้นเปลือง
ค.  พลังงานหมุนเวียน    พลังงานเชื้อเพลิง
ง.  พลังงานธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียน
เฉลยขัอ  ข
2.พลังงานหมุนเวียนคือพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ข้อใดไม่ใช่พลังงานหมุนเวียน.
ก.  พลังานน้ำ  ป่าไม้  กากอ้อย    ข.  พลังงานชีวมวล  พลังงานลม
ค.  พลังานชีวมวล  พลังงานแสงอาทิตย์  
ง.  พลังงานคลื่น  พลังงานเชื้อเพลิง  แก๊สธรรมชาติ
เฉลยข้อ  ง
3.พลังงานสิ้นเปลือง(Conventional  energy)แบ่งออกได้ 3 ประเภท
ข้อใดไม่ใช่พลังงานสิ้นเปลือง.
ก.  เชื้อเพลิงแข็ง        ข.  เชื้อเพลิงเหลว
ค.   แสงอาทิตย์          ง.แก๊สธรรมชาติ
เฉลยข้อ  ค
4.พลังงานในข้อใดสะอาดและไม่สร้างมลพิษใดๆขณะใช้งาน.
ก.  พลังงานแสงอาทิตย์      ข.  พลังงานใต้พิภพ(Geothermal energv)
ค.  พลังงานชีวมวล(Biomass energy)
ง.  พลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ
เฉลยข้อ  ก
5.น้ำพุร้อน เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนที่ถูกกักเก็บ
อยู่ภายใต้ผิวโลกเมื่อเปลือกโลกเคลื่อนที่เกิดรอยแตกของชั้นหิน
เมื่อฝนตกน้ำจะไหลซึมลงไปรับความร้อนจากชั้นหินที่ร้อนจนกลาย
เป็นไอน้ำแทรกตัวตามรอยแตกขึ้นมาบนผิวโลก  น้ำพุร้อน
มีความสันพันธ์กับข้อใดมากที่สุด (ใช้ตัวเลือกข้อ 4)
เฉลยข้อ  ข
6.พลังงานชีวมวล(Biomass energy)คือข้อใด.
ก.  พลังงานทดแทนที่สะอาดไม่สร้างมลพิษใดๆ ขณะใช้งาน
ข.  พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนที่ถูกกักกเก็บใต้ผิวโลก
ค.  พลังงานที่ได้จากการเกษตรและป่าไม้เช่นไม้ กากอ้อย ขยะ
ง.  พลังงานที่เกิดจากการปล่อยออกมาเมื่อมีการแยกรวม
หรือแปลงนิวเคลียสของปรมาณูในรูปของกัมมันตรังสี
เฉลยข้อ  ค
7.ข้อใดไม่ใช่พลังงานจากแร่เชื้อเพลิงธรรมชาติ.
ก.  เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป้นพลังงานส่วนใหญ่ของโลกใช้แล้วหมดไป
ข.  พลังงานนิวเคลียร์หรือแร่กัมันตรังสี
ค.  หินน้ำมัน ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์โดยตรงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ง.  พลังงานใต้พิภพและพลังงานชีวมวล
เฉลยข้อ  ง
8.เชื้อเพลิงฟอสซิสที่นักเรียนรู้จักกันโดยทั่วไปคือ.
ก.  ถ่านหิน      ข.  น้ำมัน    ค.  แก๊สธรรมชาติ     ง.  ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง
9.ในฐานะที่เป็นนักเรียนควรประหยัดพลังงานประเภทใด.
ก.  การประหยัดพลังงานในมอเตอร์  พลังงานน้ำมัน
ข.  ประหยัดพลังงานในระบบแสงสว่าง 
ค.  การประหยัดพลังงานในเครื่องปรับอากาศ
ง.  ถูกทุกข้อกล่าวมา
เฉลยข้อ  ง
10.หลอดกระเปราะแก้วหุ้มบรรจุแก๊สไนโตรเจนและอาร์กอนเพื่อ
ให้ใส้หลอดระเหยช้ามีคุณสมมบัติการนำใช้งานในข้อใด.
ก.  สะดวก ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่ายต่อการติดตั้งเพราะไม่มีอุปกรณ์
ประกอบวงจร    ข.  แสงที่ได้ค่อนข้างแดงมองเห็นคอนข้างต่ำ
ค.  หลอดไส้มีอายุการใช้งาน  750-1,000 ชั่วโมง หลอดทังสเตน
ฮาโลเจน  2,500-3,000 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการติดตั้งห้องเก็บของ
ง.   ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ  ง

กฏการอนุรักษ์พลังงาน (อังกฤษ: Conservation of energy) เป็นกฎในทางฟิสิกส์ที่กล่าวว่า พลังงานโดยรวมในระบบแยกส่วนหนึ่ง ๆ จะมีค่าเท่าเดิม หรือพูดได้ว่าพลังงานจะถูกอนุรักษ์ตลอดช่วงเวลา พลังงานที่ป้อนเข้าไปในระบบใดระบบหนึ่ง จะเท่ากับพลังงานที่ส่งออกมา พลังงานไม่สามารถถูกสร้างขึ้นใหม่หรือถูกทำลาย มันทำได้แต่เพียงเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานรูปแบบอื่นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น พลังงานเคมีสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์ได้ในการระเบิดของแท่งไดนาไมท์ เป็นต้น การอนุรักษ์พลังงานมีความแตกต่างกับการอนุรักษ์มวล แต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษแสดงให้เห็นว่ามวลมีความสัมพันธ์กับพลังงาน โดยที่    และวิทยาศาสตร์ปัจจุบันจะใช้มุมมองที่ว่า มวลและพลังงานถูกอนุรักษ์

กฏการอนุรักษ์พลังงาน สามารถพิสูจน์ได้ โดยใช้ทฤษฎีของนอยเธอร์ เป็นทฤษฎีบทที่เป็นผลจากความสมมาตรของการเลื่อนเวลาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า กฎทางฟิสิกส์ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา

ผลที่ตามมาของกฎทรงพลังงานนี้ก็คือเครื่องยนต์ที่เคลื่อนไหวได้โดยไม่มีวันหยุดประเภทที่หนึ่งไม่มีจริง หรือพูดอีกอย่างคือ ไม่มีระบบที่ปราศจากการจ่ายพลังงานจากภายนอกจะสามารถส่งออกพลังงานที่ไม่มีขีดจำกัดออกมาในสิ่งแวดล้อมได้

สรุปได้ว่า

พลังงาน (energy) คือ ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุ พลังงานมีหลายประเภท เช่น พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานเคมี พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานความร้อน เป็นต้น

ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับปริมาณพลังงานจลน์โดยตรง คือ ความเร็วของวัตถุนั่นเอง หากความเร็วของวัตถุมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าพลังงานจนล์ของวัตถุนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถหาพลังงานจลน์ได้จากสมการ

เมื่อ m คือ มวลของวัตถุ และ v คือ ความเร็วของวัตถุ และเช่นกันปริมาณที่เกี่ยวข้องกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงโดยตรง คือ ตำแหน่งความสูงของวัตถุ หากวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งความสูง แสดงว่าวัตถุนั้นมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์โน้มถ่วง ซึ่งสามารถหาได้จากสมการ  เมื่อ m คือมวลของวัตถุ g คือ ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงและ h คือ ความสูงของวัตถุ

หากเราพิจารณาการการเปลี่ยนรูปพลังงานของวัตถุเฉพาะพลังงานกล(พลังงานจลน์กับพลังงานศักย์ถูกเรียกรวมว่าพลังงานกล)โดยไม่มีพลังงานอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องเลย จะได้การเปลี่ยนรูปพลังงานตามสมการที่เราคุ้นเคยกันดี   

การเคลื่อนที่แบบเสรีของวัตถุภายใต้สนามโน้มถ่วงของโลกโดยไม่มีแรงภายนอกมากระทำ พลังงานกลของวัตถุ ณ ตำแหน่งใดก็ตาม ย่อมมีค่าคงเดิมเสมอ เมื่อวัตถุตกลงพลังงานศักย์โน้มถ่วงจะลดลง
ค่าที่ลดลงจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์ที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ ถ้าเราขว้างวัตถุไปจากพื้นดินเป็นโพรเจกไทล์ ทุกๆ ช่วงที่วัตถุเคลื่อนที่ทั้งขาขึ้นและขาลง จะมีพลังงานกล คือ พลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์รวมกันทุกขณะจะคงตัวตลอดการเคลื่อนที่ ทั้งนี้การเคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นการเคลื่อนที่ในสนามแรงโน้มถ่วงของโลกและในการเคลื่อนที่นี้แรงของสนามทำงานตลอดเวลาแต่ไม่ทำให้พลังงานกลเปลี่ยน สนามเช่น สนามโน้มถ่วงนี้นับเป็นสนามอนุรักษ์ หรือแรงโน้มถ่วงนับเป็น แรงอนุรักษ์ คือเป็นสนามที่ทำให้พลังงานกลรวมอนุรักษ์ ต่อไปจะพบว่า สนามไฟฟ้าก็เป็นสนามอนุรักษ์เช่นกัน

ที่มา //th.wikipedia.org/wiki/

สามารเข้าชมสินค้า SAJI ได้ที่ //sa-thai.com/shop/

l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l

Login

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก