ข้อใด มีความ หมาย ตรงกับคำว่า กินปูนร้อนท้อง

5 ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่า "กินปูนร้อนท้อง"

6 สำนวนใดมีความหมายแสดงความเสียเปรียบ

7 ข้อใดเป็นคําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น

8 คําในข้อใดสามารถใช้ในความหมายโดยนัยได้

9 คําสรรพนามที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดต่างจากพวก

10 ข้อใดเป็นคําวิเศษณ์ทุกคํา

12 ข้อใดใช้คําทับศัพท์ภาษาต่างประเทศโดยไม่จําเป็น

13 คําทับศัพท์ในข้อใดใช้รูปวรรณยุกต์ผิด

16 เมื่อนายกรัฐมนตรี เสียชีวิต ต้องใช้คําใดจึงจะถูกต้อง

17 ข้อใดใช้ภาษาระดับทางการ

19 ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงความงามของผู้หญิง

20 พาดหัวข่าวข้อใดไม่มีการแสดงความคิดเห็น

ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงเมื่อกระทำความผิดแล้วกลัวว่าคนอื่นจะจับได้ว่าตนได้กระทำความผิดไว้ โดยแสดงอาการมีพิรุธ แสดงอาการเดือดร้อนออกมาให้เห็นเอง ซึ่งถ้านิ่งไว้ก็ไม่มีใครรู้

สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่คล้ายคลึงกัน : ตีตนไปก่อนไข้

ที่มาของสํานวน :  เกิดจากการที่คนเราเอาปูน(ปูนกินหมาก) มาล่อให้ตุ๊กแก หรือจิ้งจกกิน ซึ่งเมื่อมันกินเข้าไป มันจะมีอาการร้อนท้อง ส่งเสียงร้องแก้กๆ

วิดีโอ ตัวอย่างสำนวน :

ตัวอย่าง คำประพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสำนวน กินปูนร้อนท้อง  (ไม่ทราบชื่อคนแต่ง) :
กิน  หมากพลูอาจพลั้ง     กลืนปูน
ปูน  กัดปวดอาดูร              เร่าร้อน
ร้อน    รนเท่าทวีคูณ          ทำผิดไว้นา
ท้อง   ครืดคราดสะท้อน    บ่งชี้  พิรุธ

 

 

Tags: คำพังเพย, ทำความชั่ว, ทำความผิด, มีพิรุธ, สำนวนสุภาษิต, สำนวนไทย, สุภาษิต

เรื่องน่าสนใจ

  • วัวเคยขา ม้าเคยขี่
  • คดในข้อ งอในกระดูก
  • ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
  • เด็ดบัวไม่ไว้ใย
  • พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ

Digg it StumbleUpon Facebook Twitter del.icio.us Google Yahoo! reddit

This entry was posted on Sunday, June 19th, 2016 at 2:29 pm and is filed under ขึ้นต้นด้วย ก ข ค ฆ ง, สำนวน สุภาษิต คำพังเพย. สามารถติดตาม ศึกษาเรียนรู้สำนวนสุภาษิต และคำพังเพยไทย ได้ทาง RSS 2.0 feed. หากมีข้อสงสัย หรือมีอะไรจะแนะนำ สามารถฝากข้อความไว้ได้ที่กล่องแสดงความคิดเห็นได้เลยจ้า ^^

เมื่อตอนเราเป็นเด็ก เด็กไทยทุกคนต้องเคยเรียนสำนวน “คำสุภาษิต” หรือ “คำพังเพย” กันบ้างใช่ไหมคะ แล้วเคยสงสัยกันไหมคะ? ว่าภาษาอังกฤษ จะมีสำนวนแบบภาษาไทยไหม? เอ็ด ดู เฟิร์สท์ จะเปรียบเทียบระหว่าง สำนวนภาษาอังกฤษ (Idioms) VS สุภาษิตไทย ว่ามีความหมายใกล้เคียงกันอย่างไร? มาดูไปพร้อมกันเลยจ้า

สำนวนภาษาอังกฤษ & สุภาษิตไทย

เปรียบเทียบ สำนวนอังกฤษ และคำสุภาษิตไทย คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน

Conscience does make cowards of us all. (“กินปูนร้อนท้อง”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า “Conscience does make cowards of us all.” ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“กินปูนร้อนท้อง” หมายถึง ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง

ประโยคนี้จริงๆมาจากบทประพันธ์ของ Shakespeare เรื่อง Hamlet เป็นตอนที่ Hamlet ไม่กล้าฆ่าพระราชาที่ฆ่าพ่อตัวเองแล้วมาแต่งงานกับมาแม่ตัวเองอีก เพราะเขากลัวว่าสิ่งที่เขาทำจะเป็นสิ่งที่ผิด conscience หรือ ความมีสติทำให้เขาไม่กล้าทำ เหมือนกับว่าทำให้ตัวเองกลายเป็นคนขี้ขลาด

**อ่านๆดูแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจ ว่ามันแปลว่า กินปูนร้อนท้องได้ยังไง กินปูนร้อนท้องคือทำผิดไปแล้วแต่ยังไม่มีใครว่าก็แสดงอาการร้อนตัวออกมาเองแต่ภาษาอังกฤษ แปลว่า ยังไม่ได้ทำผิดแต่กลัวว่าจะทำผิด แต่เสิร์จหาหลายๆ ที่เขาก็บอกว่ามันแปลว่าอย่างนี้ค่ะ

อนึ่ง เราไม่เคยอ่านเรื่อง Hamlet นะ ก็อาศัยกูเกิ้ลเอา ถ้าข้อมูลผิดพลาดต้องขออภัยด้วยค่ะ

Don’t cross the bridge till you come to it. (“อย่าตีตนไปก่อนไข้”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า “Don’t cross the bridge till you come to it.” ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“อย่าตีตนไปก่อนไข้” หมายถึง ไม่ควรร้อนใจไปก่อนแค่ได้ข่าวหรือได้แต่เพียงรู้ว่า จะมีอะไรที่ไม่ดี หรือข่าวร้ายเกิดขึ้นกับตัว โดยที่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ชิงแสดงอาการทุกข์ร้อนหวาดกลัว หรือวิตกกังวลไปเสียก่อนแล้ว

อย่าข้ามสะพานทั้งๆที่คุณยังไปไม่ถึง หรือก็คืออย่าพึ่งทำอะไรจนกว่าคุณจะแน่ใจ ใกล้เคียงกับกินปูนร้อนท้อง แต่ตีต้นไปก่อนไข้ เราไม่ได้ทำผิดแต่ได้ข่าวหรือรู้อะไรมาก็ทำให้เป็นเรื่องใหญ่ซะก่อน

What is done by night appears by day. (“ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิดไม่มิด”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า “What is done by night appears by day. ” ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิดไม่มิด” หมายถึง ความผิดหรือความชั่วร้ายแรงที่รู้กันทั่ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด

ที่มา ช้างเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ใบบัวจึงไม่พอที่จะปิดซากช้าง โคลงสี่สุภาพประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามอธิบายความหมายว่า
ช้างใดตายกลิ้งอยู่ ทั้งตัว
อุตริเก็บใบบัว ปิดไว้
ความร้ายกาจน่ากลัว ฟุ้งเฟื่อง
เสียทรัพย์เฟื่องไพให้ สงบฟุ้งฤๅฟัง

โคลงนี้แรงเนอะ จำได้ว่าเคยเรียนเมื่อตอนเด็กๆ แล้วก็จำได้วาเกลียดโคลงสี่สุภาพที่สุดเพราะแต่งยากกกกกกกกก
ภาษาอังกฤษ ตรงกับทำว่า “What is done by night appears by day.” ก็แปลตรงๆตัวเลย อะไรที่ทำไว้ตอนกลางคืนเดี๋ยวมันก็แสดงออกมาให้เห็นตอนกลางวัน ความผิดที่ทำไว้ยังไงก็ปิดไม่มิด

To play a fiddle to a water buffalo. (“สีซอให้ควายฟัง”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า “To play a fiddle to a water buffalo. ” ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“สีซอให้ควายฟัง” หมายถึง สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า เหมือนการสีซอให้ควายฟังซึ่งควายมันก็ไม่เข้าใจหรอก

*แปลตรงๆเลยแหะ ไม่ค่อยแน่ใจ บางที่แปลว่า cast pearls before swine ซึ่งตรงกับคำว่าวานรได้แก้วมากกว่า จริงๆมันก็ใกล้เคียงกันนะ ความหมายมันประมาณว่า จะทำอะไรกับคนโง่ไปก็เท่านั้น ต่อให้สีซอให้ฟังหรือเอาแก้วให้มันก็ไม่ได้อะไรขึ้น เพราะคนโง่ไม่เข้าใจหรือไม่เห็นประโยชน์อะไรเลย(อันนี้เรียกแถป่ะ55)
Water Buffalo เป็น ควายพันธุ์หนึ่ง //en.wikipedia.org/wiki/Water_buffalo มีมากแถบเอเชีย บ้านเราก็คงเป็นควายไถนาล่ะมั้ง

His bark is worse than his bite. [not as unpleasant as they seem, and their actions are not as bad as their threats]. (“หมาเห่าใบตองแห้ง”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า “His bark is worse than his bite. [not as unpleasant as they seem, and their actions are not as bad as their threats]. ” ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“หมาเห่าใบตองแห้ง” หมายถึง คนที่ชอบเอะอะโวยวายเป็นที่อวดตัวว่า ตนเก่งกล้า แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นคนขี้ขลาด ไม่กล้าเผชิญกับศัตรู เปรียบได้กับใบตองแห้งที่ติดกับต้นกล้วย เวลาลมพัดมา มีเสียงดังแกรกกรากหมาได้ยินเข้าหน่อยก็มักจะเห่าส่งเดช

*เสียงเห่าแย่กว่าการกัด(ฮา) ก็ค่อนข้างตรงตามภาษาไทยนะ แต่ทำไมอ่านภาษาอังกฤษแล้วออกแนวคนพูดจะรำคาญมากกว่า555 ประมาณว่ารำคาญเสียงเห่า (อันนี้เราคิดเอง) สุนัขไร้น้ำยานิดๆ เห่ายังแย่กว่ากัดแสดงว่ากัดไม่เจ็บเลยเห่าอย่างเดียว

Walls have ears. (“กำแพงมีหู ประตูมีช่อง”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า Walls have ears. ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“กำแพงมีหู ประตูมีช่อง” (ไม่ใช่หน้าต่างมีหู ประตูมีช่องนะ ที่ถูกต้องเป็นกำแพง) หมายถึง การพูดหรือทำอะไรต้องระมัดระวัง เพราะแม้จะดูเสมือนว่าปกปิดมิดชิด คืออยู่ในกำแพงหรือปิดประตูแล้ว ก็ยังอาจมีคนล่วงรู้ได้ อันนี้แปลตรงได้อีกกกกกกกกกกกก บางครั้งก็เริ่มไม่แน่ใจว่าไอ้พวกที่แปลตรงๆ นี่ใครริเริ่มใช้ก่อน หรือใครเลียนแบบใคร หรือแค่บังเอิญ?

Keep not ill men company lest you increase the number.(“คบคนพาล พาลพาไปหาผิด”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า “Keep not ill men company lest you increase the number. ” ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“คบคนพาล พาลพาไปหาผิด (คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล)” หมายถึง การเลือกคบคน ต้องดูให้ดี เพราะหากคบคนพาล หรือคนไม่ดีเป็นมิตร ก็มักชักจูงเราไปในทางเสียหาย แต่ถ้ารู้จักเลือกคบเพื่อนดี คนดี ก็จะพาให้เราเป็นคนดีไปด้วย

ill man หมายถึง คนไม่ดีก็ได้ เพราะฉะนั้นประโยคนี้ก็แปลว่า อย่าคบกับคนพาลเพื่อว่าคุณจะได้ไม่มีเพื่อนเป็นคนพาลเยอะขึ้น(จะแปลว่าไงดี ฟระ) สรุป ถ้ายิ่งคบคนไม่ดี เขาก็พาคุณไปรู้จักคนไม่ดีมากขึ้น

Jack of all trades, master of none. (“รู้อย่างเป็ด”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า Jack of all trades, master of none. ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“รู้อย่างเป็ด” หมายถึง generalist ที่รู้หลายอย่างแบบกว้างๆแต่ไม่รู้ลึกสักอย่างเดียว ตรงข้ามกับ Specialst ประโยคนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในปี 1600s Jack หมายถึง Man หรือคนทั่วๆไปนี่แล่ะ

Out of the frying pan and into the fire. (“หนีเสือปะจระเข้”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า “Out of the frying pan and into the fire.” ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“หนีเสือปะจระเข้” หมายถึง อันนี้ก็ตรงๆ ออกจากกะทะที่กำลังโดนทอดอยู่ไปเจอไฟตรงๆเลย แย่แล้วเจอแย่กว่า

All that glitter is not gold.(“ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า All that glitter is not gold. ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง” หมายถึง ของที่ส่องประกายวิบวับทุกอย่างไม่ใช่ทอง(หรือของมีค่า) ดูดีแค่เปลือกนอก ประโยคนี้ใช้ย้อนกันไปถึงศตวรรษที่ 12 กันเลยทีเดียว ยอดฮิตที่สุดก็มาจาก The Merchant of Venice ของ Shakespeare (อีกแล้ว)

All that glisters is not gold;
Often have you heard that told:
Many a man his life hath sold
But my outside to behold:
Gilded tombs do worms enfold.
Had you been as wise as bold,
Young in limbs, in judgement old
Your answer had not been inscroll’d
Fare you well, your suit is cold.
glisters = glitter

When in Rome, do as the Romans do. (“เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม”)

สํานวนภาษาอังกฤษ คำว่า “When in Rome, do as the Romans do.” ตรงกับ สุภาษิตไทย คำว่า
“เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” หมายถึง ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน
ถ้าคุณอยู่ที่โรม ก็จงทำตัวแบบคนโรมันซะ!
ประโยคนี้รากศัพท์มาจากละตินเลยนะ แต่สงสัยอ่ะว่าทำไมต้องเป็นโรม ทำไมไม่เป็นเมืองอื่น พยายามหาแล้วแต่หาไม่เจอ
si fueris Rōmae, Rōmānō vīvitō mōre; si fueris alibī, vīvitō sicut ibi (if you were in Rome, live in the Roman way; if you are elsewhere, live as they do there)

เทียบสํานวนสุภาษิตภาษาอังกฤษกับสุภาษิตไทย มาพอหอมปากหอมคอแล้ว จริงๆ แล้ว “สำนวนภาษาอังกฤษ” ยังมีอีกเยอะแยะมากมาย ให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้กัน ถ้าอยากเพิ่มความรู้ภาษาอังกฤษ ติดตามบทความเรียนภาษาอังกฤษของเราไว้ได้เลยค่ะ แอดมินจะมาอัพเดทความรู้ภาษาอังกฤษให้กับเพื่อนๆ อีกในบทความถัดไปจ้า หากชอบบทความของเรา โหวต 5 ดาว ให้กำลังใจแอดมินกันได้เลย

เรียนภาษาอังกฤษ เริ่มต้น ที่ไหนดี?

แม้พื้นฐานภาษาอังกฤษมีน้อย เราก็พร้อมช่วยให้คุณเก่งขึ้นได้! ที่ EduFirst เรียนสดกับครูเจ้าของภาษา มีทั้งตัวต่อตัวหรือคลาสกลุ่มเล็ก เหลือรูปแบบการเรียนได้ เรียนที่สาขาหรือเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ เรียนแล้วนำไปใช้งานได้จริง คอร์สเรียนของเราออกแบบพิเศษ เพื่อให้ได้ผลตามที่คุณต้องการ เรียนสนุก เก่งเร็ว พร้อมรับรองผลการเรียน ลงชื่อขอรับคำปรึกษาฟรี!

Tags

ความรู้ภาษาอังกฤษ | คำคม | คำศัพท์ภาษาอังกฤษ | ภาษา | ภาษาอังกฤษ | ภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก | วลีภาษาอังกฤษ | สอนภาษาอังกฤษ | สำนวนภาษาอังกฤษ | เรียนภาษาอังกฤษ | ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

ข้อใดมีความหมายตรงกับสำนวนกินปูนร้อนท้อง

ก. ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง.

ปัดสวะ” มีความหมายตรงกับข้อใด *

เมื่อใช้เป็นสำนวนว่า ปัดสวะ หมายถึง ปัดความรับผิดชอบหรือโยนภาระหน้าที่ไปให้ผู้อื่น จึงมักมีวลีต่อท้ายสำนวนว่า ปัดสวะให้พ้นตัว หรือปัดสวะให้ผู้อื่น

สำนวนมีความหมายตรงกับข้อใด

สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงด้วยความคมคายสละสลวย ใช้พูดสื่อสารกันมี ความหมายเป็นนัย กินความลึกซึ้ง มักเป็นคำเปรียบเทียบ คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงความจริง ไม่ได้สอนโดยตรง สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวเป็นทำนองให้ข้อคิด คติ สั่งสอน เพื่อให้กระทำ ความดี

ข้อใดมีความหมายว่า "ไม่ยอมถอย"

Q. ข้อใดมีความหมายว่า "ไม่ยอมถอย" answer choices. ถึงพริกถึงขิง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก