รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกได้มาเมื่อใด

ทุกวันที่  10 ธันวาคม ของทุกปีถูกยกให้เป็น "วันรัฐธรรมนูญ" เนื่องจากวันนี้เมื่อ 90 ปีที่แล้วมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศสยาม อีกทั้งยังเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน กฎหมายฉบับนี้ 

แต่ถ้าพูดให้ถูกจริงๆ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ  พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 

10 ธันวาคม “วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ” เช็กสัญญาณเตือน-วิธีป้องกันให้ห่างไกลโรค

วันหยุดเดือนธันวาคม 2565 รวมหยุดยาวรวด 3 สัปดาห์

สำหรับพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475  ถูกยกร่างโดย  หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ซึ่งมีสาระสำคัญที่กำหนดไว้ คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร ณะกรรมการราษฎร และศาล 

โดยคณะราษฎร ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายหลังทำการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้ใช้รัฐธรรมนูญนี้ไปพลางก่อนและให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไปจึงได้มีการเติมคำว่า "ชั่วคราว" ลงไปและเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวประกาศใช้บังคับแล้วก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรซึ่งต่อมาก็คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475

นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งหมด 20 ฉบับ ซึ่งฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จำนวน 279 มาตรา จัดทำร่างขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐประหารที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. ในขณะนั้น ก่อนประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน

สาระสำคัญเป็นการจัดระเบียบการปกครอง การตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ และมีกลไกปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ

ทั้งนี้ โดยปกติแล้ววันรัฐธรรมนูญจะเป็นถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการประจำปี แต่วันรัฐธรรมนูญปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2565 ทำให้หลายคนสงสัยว่าจะได้หยุดชดเชยหรือไม่ ล่าสุดรัฐบาลได้กำหนดให้วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2565 เป็นวันหยุดชดเชยให้กับหน่วยงานรัฐ บริษัทเอกชน โรงเรียน และธนาคารแล้ว ทำให้สัปดาห์นี้จะมีวันหยุดยาวถึง 3 วัน คือ วันที่ 10-12 ธันวาคม 2565

วันหยุดเดือนธันวาคม 2565 รวมหยุดยาวรวด 3 สัปดาห์

ไม่มีวิธีรักษา! “เซลีน ดิออน” ป่วยโรคทางระบบประสาทหายาก

ที่มา : สารานุกรมเสรี / สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง / หนังสือ วันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม"

       สำหรับกิจกรรมในวันรัฐธรรมนูญ มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน

รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บทที่บัญญัติกฎเกณฑ์การบริหารและปกครองทางการเมือง หากกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญจะมีผลเป็นโมฆะและบังคับใช้ไม่ได้

เมื่อสังคมมีพัฒนาการทางการเมืองที่ซับซ้อนขึ้น รัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นประดิษฐกรรมที่มนุษย์ใช้รองรับบริบทต่างๆ ทางสังคม เดิมทีคำว่า “รัฐธรรมนูญ” (Constitution) หมายถึง หลักการหรือข้อตกลง ซึ่งมีความหมายค่อนข้างกว้างและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นหลักการและธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน

จนกระทั่ง พ.ศ.1758 พระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งอังกฤษ ถูกขุนนางบังคับให้ทรงลงนามใน มหากฎบัตรแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) เพื่อประกันสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน และลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ กลายเป็นจุดกำเนิดของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก ส่งผลให้อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบอบการปกครองประชาธิปไตย โดยพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นต้นแบบของหลายๆ ประเทศในเวลาต่อมา

ประวัติวันรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย

หลังคณะราษฎรได้ทำการอภิวัฒน์สยาม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ฉบับแรกของไทย

ต่อมา ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ทรงพระราชทาน “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับแรกของไทย ทำให้วันรัฐธรรมนูญตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งหมด 20 ฉบับ โดยฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475

รายชื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้ง 20 ฉบับ

1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
14. รรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตย

วงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางและถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร เป็นที่ตั้งของ "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" มีลักษณะเป็นรูปหล่อลอยตัว ตรงกลางประกอบด้วยเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทยประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า บริเวณลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบนรายรอบทั้ง 4 ทิศ สร้างขึ้นในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2483 เพื่อระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตยที่เรามักนึกถึงในวันรัฐธรรมนูญ ถูกใช้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย นอกจากนี้ยังถือเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครอีกด้วย

ความสําคัญของวันรัฐธรรมนูญ

นอกจากวันรัฐธรรมนูญจะมีขึ้นเพื่อระลึกถึงการมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ฉบับแรกของไทยแล้ว ยังมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีส่วนช่วยในการวางกรอบการปกครองและสร้างเสถียรภาพให้ระบอบการเมือง ดังนี้

  • สถาปนาอำนาจของรัฐ : แสดงถึงการดำรงอยู่ของรัฐ เป็นเอกราชไม่ขึ้นต่อใคร
  • สถาปนาเป้าหมายของสังคม : สร้างเอกภาพและแสดงเจตจำนงของการสร้างรัฐว่าต้องการให้การปกครองเป็นไปในทิศทางใด
  • สร้างรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ : ระบุหน้าที่ของผู้ปกครอง กำหนดบทบาทและกลไกการทำงานของสถาบันการเมือง 
  • คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ : ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ ทั้งการเคลื่อนไหว การแสดงความคิดเห็น และการเลือกนับถือศาสนา
  • รับรองความชอบธรรมให้ระบอบการเมือง : รัฐที่มีรัฐธรรมนูญจะได้รับความชอบธรรม เมื่อเข้าร่วมกับประชาคมนานาชาติในภาคีความร่วมมือต่างๆ

กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ 2565

วันรัฐธรรมนูญ ของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ มีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา หน่วยงานราชการและประชาชนจะประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน ส่วนในสถานศึกษามักจัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมประชาธิปไตย เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เห็นความสำคัญของวิถีประชาธิปไตยและความสำคัญของวันรัฐธรรมนูญ.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก