เส้นทางการค้าของเอเชียกลางในอดีตที่เชื่อมระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกมีชื่อว่าอะไร

       โลกตะวันตก

กับโลกตะวันออก มีการติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 2,000 ปี มาแล้ว ด้วยเหตุผลทางการค้า การทูต การทำสงครามและการเผยแพร่ศาสนา  ทำให้เกิดการและเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

        1. การขยายอำนาจ  เช่นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย รุกรานเอเชียจนถึงอินเดีย จนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุ มีผลให้ สถาปัตยกรรมกรีก ปรากฏในเอเชียโดยเฉพาะการหล่อพระพุทธรูป    การขยายอำนาจของมองโกลสู่เอเชียกลาง และยุโรปตะวันออก จนถึงฮังการี และสงครามครูเสด ล้วนทำให้เกิดการผสมผสานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน

พระพุทธรูปสมัยคันธาระ
ที่มา : //www.indiaindream.com/

        2. การแสวงหาพันธมิตร จักรพรรดิจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น สร้างพันธมิตรกับอาณาจักรทางตะวันตกของจีนโดนส่งจางเชียน    ไปเป็นทูต เพื่อร่วมมือกันป่าพวกป่าเถื่อนฉงหนู ทำให้รับรู้เรื่องราวของอาณาจักรโรมันที่รุ่งเรือง เส้นทางที่จางเชียนเดินทางไปนั้นต่อมาเรียกว่าเส้นทางสายไหมหรือเส้นทางแพรไหม (The Silk Rood)   เป็นเส้นทางบกที่ใช้ติดต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนอารยธรรมกันอย่างกว้างขวาง บุคคลสำคัญที่เดินทางตามเส้นทางสายไหมคือพระถังซำจั๋ง เดินทางเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดีย และมาร์โค โปโล ชาวเมืองเวนิส ได้เดินทางมารับราชการในราชสำนักสมัยจักรพรรดิกุบไลข่าน

เส้นทางสายไหมซึ่งในอดีตใช้เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป

ที่มา : //commons.wikimedia.org/wiki/File:Transasia_trade_routes_1stC_CE_gr2.png

ภาพวาดมาร์โค โปโล ขณะกำลังเฝ้าจักรพรรดิกุบไลข่าน

ที่มา : //kakuzeroom.blogspot.com/2010_09_01_archive.php

        3. การเผยแพร่ศาสนา  ในสมัยโบราณมีการเผยแพร่ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ในทวีปเอเชียด้วยกันและการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ไปยังทวีปเอเชียในประเทศจีน ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

        4. การค้าขาย ในสมัยโบราณสินค้าผ้าไหมของจีนเป็นที่ต้องการของชนชั้นสูงของโรมัน   ในสมัยกลางโลกตะวันออกเป็นแหล่งเครื่องเทศที่สำคัญ จึงทำให้โลกตะวันตกแสวงหาเส้นทางการเดินเรือมายังแหล่งเครื่องเทศโดยตรง ซึ่งการเดินทางมาถึงของชาติตะวันตกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเอเชียในเวลาต่อมาโดยเฉพาะการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

เส้นทางเป็นช่องทางสำคัญที่กระจาย อารยธรรมจีนโบราณสู่บริเวณใกล้เคียง

             5. การชอบผจญภัย นักเดินเรือที่ชอบเดินทางไปยังดินแดนต่างๆด้วยความอยากรู้และท้าทาย ดังเช่น อิบน์ บัตตูตา ชาวโมร๊อกโก เดินทางทั้งทางบก ทางเรือ ทั้งในแอฟริกา ตะวันออกกลาง จีนและตอนใต้ของสเปน บันทึกเรื่องราวของเขาเป็นแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ได้ทำตามทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก

เรือที่ใช้เดินทางในสมัยโบราณ

ที่มา : //www.chiangmainews.co.th/page/wp-content/uploads/2012/03/DSC_2309-copy-copy.jpg

       1. ความต้องการสินค้าจากโลกตะวันออก เครื่องอุปโภคบริโภคเป็นผลของการสร้างสรรค์อารยธรรม สมัยจักรวรรดิโรมันความนิยมแต่งกายของชั้นชนสูงด้วยผ้าไหมจากจีน จนทำให้ทองของจักรวรรดิโรมันไม่พอใช้จ่ายเพราะนำไปซื้อผ้าไหมจากจีน  ในสมัยกลางโลกตะวันตกรู้จักใช้เครื่องเทศและพริกไทยปรุงอาหาร จึงกลายเป็นของจำเป็น แต่ต้องซื้อผ่านพ่อค้าคนกลางคือชาวอาหรับ ในช่วงสงครามครูเสดมีราคาสูงมาก  ทำให้โปรตุเกสสำรวจทางทะเลเพื่อแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังหมู่เกาะเครื่องเทศโดยตรงได้สำเร็จ และได้กำไรอย่างมหาศาลจากสินค้าดังกล่าว
ตัวอย่างของวัฒนธรรมที่เกิดจาการแลกเปลี่ยนกัน ดังเช่น
          เส้นสปาเก็ตตี้ของอิตาลี ดัดแปลงมาจากเส้นบะหมี่ของจีนโดยมาร์โคโปโลเป็นผู้นำไปเผยแพร่
         วัฒนธรรมการดื่มน้ำชาของชาวตะวันตก เกิดจากปลายคริสต์ศตวรรษที่18 อังกฤษซื้อใบชาจากจีนเป็นจำนวนมาก และต่อมานำไปปลูกในอาณานิคมของอังกฤษในลังกา อินเดีย และนำไปปรุงรสกลิ่นตามความนิยม

เครื่องเทศ จัดเป็นสินค้าที่ชาวยุโรปต้องการเพื่อนำไปปรุงอาหาร

ที่มา : //commons.wikimedia.org/wiki/File:Spicesindia.jpg

    2.เลขอารบิกและระบบคำนวณ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิต เลขคณิต และพีชคณิต ที่สำคัญ คือ การคิดระบบตัวเลข 1-9เดิมเลขโรมันกำหนดใช้จำนวนค่าของตัวเลขเพิ่มขึ้นตามจำนวนขีด  ซึ่งไม่สะดวกเมื่อจำนวนเพิ่มขึ้น แต่เมื่อชาวอินเดียคิดค้นเครื่องหมายแทนตัวเลขสิบตัวแต่ละตัวมีค่าตามที่ตั้งไว้เช่น หนึ่ง(1)สอง(2)สาม(3)สี่(4)ห้า(5)หก(6)และเมื่อตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นหลักสิบหลักร้อยหลักพัน หรือมากขึ้นเรื่อยๆ ก็นำตัวเลขมาผสมกันตามหลักที่กำหนดไว้ ทำให้การคำนวณ การทำกิจกรรมเกี่ยวกับตัวเลขมีความสะดวกขึ้นมาก ตัวเลขเหล่านี้เรียกว่า เลขอารบิก โดยชาวอาหรับนำไปจากอินเดียและชาวยุโรปรับไปอีกต่อหนึ่ง

เลขโรมัน

เลขอารบิก

ค่าของตัวเลข

เลขโรมัน

เลขอารบิก

ค่าของตัวเลข

I

1

หนึ่ง

C

100

หนึ่งร้อย

II

2

สอง

CC

200

สองร้อย

III

3

สาม

CCC

300

สามร้อย

IV

4

สี่

CD

400

สี่ร้อย

V

5

ห้า

D

500

ห้าร้อย

VI

6

หก

DC

600

หกร้อย

VII

7

เจ็ด

DCC

700

เจ็ดร้อย

VIII

8

แปด

DCCC

800

แปดร้อย

IX

9

เก้า

CM

900

เก้าร้อย

X

10

สิบ

M

1,000

หนึ่งพัน

XI

11

สิบเอ็ด

MM

2,000

สองพัน

XII

12

สิบสอง

MMXI

2,011

สองพันสิบเอ็ด

XX

20

ยี่สิบ

MMDLIV

2,554

สองพันห้าร้อยห้าสิบสี่

XXX

30

สามสิบ

MMM

3,000

สามพัน

XL

40

สี่สิบ

MMMCMXCIX

3,999

สามพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้า

L

50

ห้าสิบ

LX

60

หกสิบ

LXX

70

เจ็ดสิบ

LXXX

80

แปดสิบ

XC

90

เก้าสิบ

           ความก้าวหน้าด้านการคำนวณเป็นผลมาจากความต้องการของมนุษย์ที่หาทางคิดค้นวิธีการต่างๆเพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิต เช่นการแลกเปลี่ยนสินค้า การค้าขาย การคำนวณผลตอบผลตอบแทนฯลฯกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ต้องหาวิธีการคำนวณเพื่อหาคำตอบ
      3. เข็มทิศจีน สามารถประดิษฐ์เข็มทิศได้เป็นชาติแรกของโลก และสามารถใช้ในการเดินเรือ เมื่อชาวอาหรับมาติดต่อกับจีนได้นำความรู้เรื่องเข็มทิศไปใช้และชาวยุโรปก็รับความรู้จากอาหรับไปอีกต่อหนึ่ง


เข็มทิศจีน
ที่มา : //www.matichon.co.th/online/2011/03/12996757281299676676l.jpg

        สรุป ระหว่างประมาณ ค.ศ.500-1,500 โลกตะวันออกมีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่าโลกตะวันตก แต่หลังจากโลกตะวันตกเข้าสู่การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม แนวคิดเรื่องจักรวรรดินิยม จึงทำให้อารยธรรมยุโรปเจริญรุดหน้ามากกว่ารวมทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจ และการทหารที่เข้มแข็ง  ในขณะที่โลกตะวันออกยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โลกตะวันออกจึงด้อยความเจริญกว่า และเป็นผู้รับอารยธรรมของโลกตะวันตกมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก