จุดมุ่งหมายของการปฏิรูประบบเงินตราในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคืออะไร

ช่วงการปกครองในสมัยรัชการเป็นช่วงที่วัฒนธรรมจากตะตกเริ่มเข้ามามอิทธิพลในประเทศ ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ

การปฏิรูปบ้านเมืองใน สมัยรัชกาลที่๕ แบ่งเป็นกี่ระยะอะไรบ้าง

แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิรูประยะแรก และการปฏิรูประยะหลัง

การปฏิรูปประเทศระยะแรก

การปฏิรูปประเทศในระยะแรก รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ซึ่งศภาทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย  รวมไปถึงยกเลิกประเพณีโบราณต่าง ๆ ไม่เห็นว่าไม่เหมาะกับสังคมสังคมในสมัยนั้น แต่สภาทั้ง 2 ปฏิบัติงานได้ไม่นานก็ต้องยุติหน้าที่ลงเนื่องจากวิกฤติการณ์วังหน้า

การปฏิรูปประเทศระยะหลัง

รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงภยันอันตรายของจากล่าอาณานิคมของประเทศโลกตะวันตก และทรงเห็นว่าการปกครองในแบบเดิมของไทยนั้นมีความล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญของบ้านเมือง จึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปการปกครอง 2435 โดยใน พ.ศ. 2430 ได้มีการเริ่มแผนการปฏิรูปการปกครองขึ้นตามแบบแผนของตะวันตก ในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ต่อได้เปลี่ยนมาใช้คำว่ากระทรวงแทนโดยสถาปนาขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2435  และยังได้มีการประกาศแต่งตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงแต่ละกระทรวงขึ้น และยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่งต่อจากนั้นก็ได้มีการยุบกระทรวงเหลือเพียง 10  กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระกรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านเศรษฐกิจ  

การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนส่งผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

  1. มีการปรับตัวให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้หลุดพ้นจากการคุกคามจากประเทศตะวันตกด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศที่มีความล้าหลัง ดังนั้นในการปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความทันสมัยนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้เงินทุนอย่างมาก 
  2. มีการปฏิรูปการคลัง เนื่องด้วยปัญหาทางด้านการคลังที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปทางด้านอื่น ๆ และปัญหาในเรื่องความล้าสมัยไม่สามารถตรวจสอบได้ของการคลัง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปโดยมีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมพระราชทรัพย์ เป็นที่รวมงานการเก็บภาษีอากรและแจกจ่ายภาษีนั้นไปยังกรมกองต่าง ๆ  มีการจัดทำงบประมาณ มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และส่วนของแผ่นดิน และมีการปฏิรูประบบเงินตรา 

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านสังคม  

เนื่องในสมัยรัชกาลที่  ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยขึ้น จึงผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสังคมด้วยเช่นกันคือการยกเลิกทาส โดยแผนการปฏิรูปสังคมในเรื่องของการเลิกทาสนั้นก็ได้มีการออกประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ ในการยกเลิกทาส เช่น การมีธงประจำชาติครั้งแรก การออกประกาศพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสไทย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องขนบประเพณีในบางเรื่องอีกด้วย เช่น ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเดิมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการจะเป็นผู้ถือน้ำและสาบานตน เปลี่ยนเป็นพระมหากษัตริย์เป็นผู้เสวยน้ำและสาบาน 

การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2453)

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชปรารภว่า เงินภาษีอากรอันเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดิน จัดเก็บกันไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจายรั่วไหลไปมากมาย ในปี พ.ศ. 2416 จึงได้ตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ จุลศักราช 1235 และได้โปรดเกล้าตั้งสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อเป็นสำนักงานกลางสำหรับเก็บเงินผลประโยชน์รายได้ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ในที่แห่งเดียว มิให้แยกย้ายกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ดังที่เคยเป็นมาแต่ก่อน ให้หน่วยงานราชการทุกแห่ง นำส่งเงินผลประโยชน์เข้าสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นรายได้แผ่นดิน ให้มีพนักงานบัญชีกลางสำหรับรวบรวมบัญชีผลประโยชน์แผ่นดิน และตรวจตราการเก็บภาษี

อากรของหน่วยงานต่างๆให้เป็นไปอย่างรัดกุม ไม่รั่วไหลดังแต่ก่อน ซึ่งนับเป็นต้นกำเนิดของกระทรวงการคลังในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2418ได้โปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ จุลศักราช 1237 ตั้งกรมพระคลังมหาสมบัติ แยกงานการคลังออกจากงานการต่างประเทศ ซึ่งเวลานั้นรวมกันอยู่เป็นราชการในกรมท่า และต่อมาในปี พ.ศ. 2433 ได้ยกฐานะกรมพระคลังมหาสมบัติ เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตามพระธรรมนูญ หน้าที่ราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติรัตนโกสินทร์ศก 109

ในด้านการจัดเก็บภาษี ได้โปรดให้เปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บภาษีอากรเสียใหม่ จากระบบเจ้าภาษีนายอากร มาเป็นทางราชการเป็นผู้เก็บเอง โดยในช่วงแรกได้ทดลองให้เทศาภิบาลบางแห่งจัดเก็บภาษีอากรเอง ปรากฏว่าได้ผลดี สามารถจัดเก็บภาษีอากร ได้เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จึงโปรดให้เลิกวิธีการเรียกประมูลรับเหมาผูกขาดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยสิ้นเชิง และให้เทศาภิบาลเก็บเองเหมือนกันหมดทุกมณฑล

ในด้านรายจ่าย พระองค์ได้ทรงวางพิกัดอัตราเงินเดือนให้แก่ข้าราชการตามตำแหน่งเป็นที่แน่นอนแทนเงินเบี้ยหวัดที่จ่ายแต่เดิม และยังพระราชทานเบี้ยบำนาญแก่ข้าราชการ เพื่อเป็นเครื่องเลี้ยง เมื่อรับราชการไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2439 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกอันเป็นแบบฉบับที่จะต้องทำงบประมาณแผ่นดินขึ้น

นอกจากการปฏิรูปตามที่กล่าวมาข้างต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกเลิกภาษีชนิดที่เป็นโทษแก่ราษฎร และภาษีอากรบางประเภทที่ทำรายได้ให้กับรัฐบาลไม่มากนัก และเป็นภาระแก่คนยากจน เช่น ภาษีอากรภายใน อากรบ่อนเบี้ย เป็นต้น (อากรบ่อนเบี้ย ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเลิกอากรบ่อนเบี้ย จ.ศ. 1249 (พ.ศ. 2430) โดยลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงทุกปี และ ในที่สุดก็เลิกได้หมดทั่งราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6) สำหรับบทบัญญัติของภาษีอากรที่ได้มีการตราขึ้นในรัชสมัยนี้ เป็นเพียงการแก้ไขปรับปรุงภาษีอากรที่มีอยู่เท่าเดิมนั้น มิได้มีการเพิ่มประเภทภาษีขึ้นใหม่แต่อย่างใด

ที่มา :: หนังสือที่ระลึกในการเปิดอาคารกรมสรรพากร 2 กันยายน 2540

จุดมุ่งหมายของการปฏิรูประบบเงินตราในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือข้อใด

การปฏิรูปเงินตราสมัยรัชกาลที่ 4 การค้าขายมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ชาวต่างประเทศถึงกับแนะนำให้รัฐบาลไทยเลิกใช้ เงินบาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นจะผลิตเงินบาทเข้ามาใช้เอง แต่รัชกาลที่ 4 ไม่ทรงเห็นด้วยเพราะจะเป็นโอกาสให้มีเหรียญปลอมระบาดมากขึ้น การแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 4 ในเรื่องนี้ คือมีพระราชดำริที่จะเลิกใช้เงินพดด้วงซึ่ง

เหตุผลสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) ทรงปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยคืออะไร *

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงการคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มีต่อประเทศในแถบเอเชีย โดยมักอ้างความชอบธรรมในการเข้ายึดครองดินแดนแถบนี้ว่าเป็นการทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าอันเป็น "ภาระของคนขาว" ทำให้ต้องทรงปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย โดยพระราชกรณียกิจดังกล่าวเริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2416.

การปรับปรุงระบบเงินตราในสมัยรัชกาลที่ 4 ทีเหตุผลใด

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า การที่เงินตราต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาในประเทศสยามย่อมเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง ยังผลให้ราษฎรมีทรัพย์สินเงินทองมากยิ่งขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ประกาศให้ราษฎรใช้เงินเหรียญนอกเป็นเงินตราใช้จ่ายภายในประเทศได้เช่นเดียวกับเงินพดด้วง เมื่อ พ.ศ. 2399 ในอัตราแลกเปลี่ยน 3 เหรียญ (ชนิดหนัก ...

ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคืออะไร

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีสาเหตุสำคัญ ดังนี้ 1) เกิดจากภยันตรายที่มาจากการคุกคามของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ถ้าคนไทยไม่มีการปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ อาจเป็นข้ออ้างที่ทำให้ชาติตะวันตกเข้ามาปกครองประเทศไทยได้ 2) การปกครองในระบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้ามีการปฏิรูป ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก