การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

คลิกทำแบบทดสอบก่อนเรียน
หรือ สแกน QR  Code ทำข้อสอบ

เทคนิคการขับร้องประสานเสียง

1111111111พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการร้องเพลง คือการหายใจ  นักร้องทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบหายใจ และการใช้ลมหายใจเพื่อสร้างเสียง  สร้างความก้องกังวานและสร้างเทคนิคต่าง ๆ
1111111111ขั้นตอนของการเกิดเสียงขับร้อง  เริ่มต้นที่ลมหายใจออกไปผ่านกล่องเสียง  เกิดเสียงขึ้นและลมหายใจได้นำเสียงนั้นไปก้องวังวานในโพรงหน้า (mask) หรือในกะโหลกศรีษะแล้วพาเสียงออกไปนอกกาย  หากผู้ขับร้องสามารถควบคุมลมหายใจในการทำงานได้อย่างราบรื่นก็จะร้องเพลงได้ดี  มีเสียงที่ไพเราะ ใช้เทคนิคต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ดังนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก  คือการควบคุมลมหายใจให้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ  (ดวงใจ  อมาตยกุล, 2546)

การหายใจ

1111111111เสียงเกิดจาก ลมจากกระบังลมเคลื่อนที่มากระทบเส้นเสียง และทำให้เกิดการสั่นสะเทือน การเกิดเสียงสูงและต่ำ ขึ้นอยู่กับปริมาณของลมที่มากระทบเส้นเสียง คือ ปริมาณลมน้อย เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนน้อยทำให้เกิดเสียงต่ำ และปริมาณลมมาก เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนมาก ทำให้เกิด เสียงสูง  ดังนั้นหน้าที่ของลม คือการทำให้เกิดเสียงสูงต่ำ และอีกหน้าที่คือการทำให้เกิดความดัง-เบาของเสียง ซึ่งเกิดจากการควบคุมปริมาณลมเช่นเดียวกัน

1111111111พื้นฐานสำคัญที่สุดของการร้องเพลงคือ  การหายใจ การหายใจที่ดี ต้องมีความสามารถในการควบคุมการหายใจได้ ควบคุมลมที่จะมากระทบเส้นเสียง ควบคุมลมให้เกิดความดัง-เบาของเสียง ความนิ่งเรียบ และช่วงประโยคเพลงได้ดี ดังนั้นนักร้องจำเป็นต้องฝึกซ้อมการหายใจอย่างถูกวิธีและเป็นประจำ เพื่อให้สามารถใช้ลมสำหรับการขับร้องได้อย่างเต็มศักยภาพ

 1111111111ขั้นตอนของการเกิดเสียง  เริ่มต้นที่ลมหายใจออกไปผ่านกล่องเสียง  เกิดเสียงขึ้นและลมหายใจนั้นได้นำไปก้องกังวานในโพรงหน้า (Mask) หรือในศีรษะและพาเสียงออกไป  หากผู้ขับร้องสามารถควบคุมลมหายใจให้ทำงานอย่างราบรื่นก็จะร้องเพลงได้ดี  มีเสียงที่ไพเราะ  จะเห็นว่าสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือการควบคุมลมหายใจให้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

1111111111อวัยวะที่สำคัญในการหายใจ  ได้แก่
1111111111.  ปอด (Lungs)  ภายในปอดจะมีถุงลมเล็กๆ มากมาย  มีหน้าที่ในการเก็บลมเพื่อนำมาใช้ในการหายใจ ฟอกโลหิต ฯลฯ โดยปกติคนเราไม่สามารถหายใจเข้าไปในถุงลมได้ครบทุกถุง แต่การร้องเพลงจำเป็นที่จะต้องฝึก เพื่อให้สามารถหายใจเข้าไปในถุงลมได้มากที่สุด
1111111112.  กะบังลม (Diaphram)  กล้ามเนื้อผืนใหญ่ใต้ปอด  ที่อยู่เหนือกระเพาะอาหารประกอบด้วยซี่โครง และกล้ามเนื้อส่วนชองหน้าท้อง กระบังลมเป็นอวัยวะอีกชิ้นหนึ่งที่เราสามารถบังคับให้ช่วยปอดในการกักเก็บลมได้มากขึ้น เมื่อเราหายใจเข้าปอดซี่โครงจะขยายตัวเพราะถูกดึงโดนกล้ามเนื้อที่ติดอยู่กับหัวไหล่ เมื่ออากาศเข้าสู่ปอดกระบังลมต้องเคลื่อนตัวลงต่ำ และจะมีหน้าที่ดันอวัยวะภายในช่องท้องมิให้เคลื่อนตัวขึ้นตามการขยายตัวของซี่โครง เพื่อที่จะสามารถกักเก็บลมได้มากๆ
11111111111 กะบังลม  เป็นโครงสร้างรูปโดม  ทำหน้าที่เป็นผนังกั้นแบ่งระหว่างช่องทรวงอกกับช่องท้อง  กระบังลมมีบทบาทสำคัญในการหายใจสำหรับการขับร้อง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ขอบและส่วนที่เป็นพังผืดอยู่ตรงกลาง  เมื่อหายใจเข้ากล้ามเนื้อกระบังลมจะหดตัว  ทำให้ความสูงของโดมลดลง  และเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องทรวงอกในแนวดิ่งจะยาวขึ้น  จึงมีเนื้อที่ในช่องอกเพิ่มขึ้นและปอดขยายตัวเต็มที่  (ดวงใจ  อมาตยกุล : 2546)
11111111113.  ซี่โครง เมื่อเราหายใจเข้า  ปอดจะขยายตัวออก  และเมื่อปอดขยายตัวออกจะไปดันซี่โครงให้เกิดการขยายตัว  โดยการขยายตัวของซี่โครงนั้นจะขยายจากด้านล่างก่อน
11111111114.  กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Front Muscles)   มีหน้าที่บังคับลมเข้าออกในปริมาณน้อยไปหามาก ดังนั้นการออกเสียงในลักษณะ จากเสียงค่อยไปหาเสียงดัง หรือเสียงแคบไปหากว้างนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้อวัยวะส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อเราหายใจเข้ากล้ามเนื้อหน้าท้องจะขยายตัวออกมาทางด้านหน้า การหายใจออกจะเกิดจากการที่ปอดหดตัวลง ซี่โครงกลับคืนสู่ตำแหน่งปกติ กระบังลมยกตัวขึ้นกลับเข้าที่ กล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัวลง
1111111111การหายใจเพื่อการขับร้องที่ถูกวิธี  คือการหายใจเต็มที่ให้ลึกถึงปอดส่วนล่างจนปอด (Lung) ขยายตัวเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ซี่โครงขยายออก  ดังนั้นส่วนของลำตัวช่องท้อง (abdomen)  จะขยายออกเมื่อมีการหายใจเข้า

ภาพที่  12   ภาพแสดงอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ
ที่มา : ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล , 2558

กล้ามเนื้อในการหายใจเข้าตามปกติ

  1. กระบังลม (Diaphragm) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุด ในการหายใจ กระบังลมเกาะตามผิว ด้านในของกระดูกซี่โครงที่ 7-12 ,กระดูกลิ้นปี่ และกระดูกสันหลังระดับเอวอันที่ 1-3 โดยกล้ามเนื้อไปเกาะกันตรงกลาง เรียงCentral tendon เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะทำให้ Central tendon ถูกดึงต่ำลงเพิ่มเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวดิ่ง
  2. กล้ามเนื้อซี่โครงชั้นนอก (External intercostal muscle) หดตัวยกกระดูกซี่โครงขึ้น ทำให้ทรวงอกขยาย ปอดที่อยู่ภายในทรวงอกจะถูกขยายออก ทำให้ความดันในถุงลมในปอดลดลงต่ำกว่าความดันในบรรยากาศ(ปรกติ 760 mmHg.) ทำให้อากาศไหลเข้าไปในถุงลมในปอด จนมีความดันในถุงลมเพิ่มขึ้นเป็น 762 mmHg.

การหายใจออกตามปกติ

            เป็นการคลายตัวของกล้ามเนื้อกระบังลม และถุงลมคลายตัวกลับสู่ภาวะปกติ และความดันในถุง ลมมากกว่าในบรรยากาศจะถูกดันกลับออกมาภายนอก ทำให้ความดันในถุงลมลดลงเหลือ 756 mmHg. น้อยกว่าในบรรยากาศเล็กน้อย

ภาพที่  13   ภาพแสดงอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ
ที่มา : ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล , 2558

การหายใจในเพลง

            ต้องเตรียมพร้อมที่จะหายใจอย่างสมบูรณ์ก่นจะถึงประโยคเพลง  หากไม่ลากเสียงโน้ตตัวสุดท้ายของประโยคเพลงก็จะมีเวลาในการหายใจก่อนประโยคเพลงถัดไปอีกมาก  การที่ต้องหายใจระหว่างเพลงและต้องหายใจให้เต็มที่นั้น  มีเทคนิคพิเศษที่จะทำให้หายใจได้ทันคือ  ให้สังเกตในเพลงว่าตรงไหนที่ต้องหายใจอย่างรวดเร็ว ก็ให้ขโมยเวลาจากโน้ตตัวหลังสุดของประโยคเพลงก่อนหน้านั้น  และการหายใจเข้าอย่างรวดเร็วต้องเตรียมร่างกายก่อนหายใจ  โดยยกอกขึ้นให้ซี่โครงขยายออกได้ก่อนและเตรียมโพรงหน้าให้ถูกต้องด้วย  ไม่ให้อัดลมอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้เตรียมร่างกาย

1111111111กระบวนการหายใจประกอบด้วย  2  ลักษณะคือ การหายใจเข้าและการเป่าลมออก
1111111111การหายใจเข้า  การหายใจเข้าที่ถูกต้องไม่ว่าจะนั่งหรือยืนควรอยู่ในลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง (แต่ไม่ยกไหล่) อย่างธรรมชาติ  คือไม่เกร็งอ้าปากโดยดึงขากรรไกรล่างลงแล้วปิดหลอดลมให้กว้างออกเหมือนอาการหาว  แล้วสูดลมเข้าทางปากจนเต็มท้องน้อย กะบังลม ปอดและหน้าอก การหายใจเข้าอาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1111111111หายใจเข้าระยะที่  1  โดยเพิ่มลมบริเวณกะบังลมส่วนล่าง  อาจจะใช้มือข้างใดข้างหนึ่งแตะบริเวณหน้าท้องโดยให้นิ้วก้อยอยู่บริเวณสะดือหรือบริเวณซี่โครงซี่สุดท้าย เมื่อหายใจเข้าจะรู้สึกว่าท้องป่องออกเล็กน้อย
1111111111หายใจเข้าระยะที่  2  โดยเพิ่มลมจากระยะที่  1 ลมจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณกะบังลมส่วนบน  เอามืออีกข้างหนึ่งจับบริเวณซี่โครงใต้รักแร้เมื่อหายใจเข้าระยะที่ 2  จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณนั้นขยายออกเล็กน้อย
1111111111หายใจเข้าระยะที่  3  โดยเพิ่มลมให้เต็มปอดจนรู้สึกว่าหน้าอกยกขึ้นเล็กน้อย

การทำงานของอวัยวะเมื่อหายใจเข้า
1111111111ระยะที่หายใจเข้าจะรู้สึกว่ากระบังลม  ปอด  หน้าอกขยายออก

ภาพที่  14   แสดงการทำงานของอวัยวะเมื่อหายใจเข้า
( ที่มา :  การหายใจ, 2558 )

การเป่าลมออก

            การหายใจออกในชีวิตประจำวันนั้นเป็นเรื่องง่ายเพราะไม่ต้องควบคุมลม
แต่การเป่าลมออกสำหรับเครื่องเป่าต้องมีการควบคุมลมให้ออกอย่างสม่ำเสมอหรือตามความต้องการ  ขณะที่ปล่อยลมออกกะบังลมและกล้ามเนื้อส่วนล่างจะดันให้ลมออกมาทางปาก  ดังภาพ

ภาพที่  15  แสดงการทำงานของอวัยวะเมื่อเป่าลมออก
( ที่มา :  การหายใจ, 2558 )

แบบฝึกหัดที่  1

111111111111ฝึกความถูกต้องของการหายใจ
111111111111ให้ยืนในลักษณะอกผายไหล่ผึ่งหน้าตรงแต่ไม่เกร็ง เท้าทั้งสองห่างกันเล็กน้อย   มือทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเหมือนเท้าสะเอว  แต่ให้เอามือจับเบา ๆ ในบริเวณข้อต่อระหว่างซี่โครงและผนังหน้าท้อง หายใจเข้าช้า ๆ จนเต็มปอดและกะบังลม

111111111111ข้อควรระวังระหว่างหายใจเข้า ไม่ยกไหล่หรือเกร็งบริเวณต้นคอทุกอย่างอยู่ในลักษณะธรรมชาติ แบบฝึกหัดนี้  จะสังเกตเห็นการขยายตัวของกะบังลมเมื่อหายใจเข้า และการหดตัวของกะบังลมเมื่อหายใจออก ฝึกประมาณวันละ 3 ครั้ง

1111111111111111111111การยืน                      หายใจเข้า               หายใจออก

ภาพที่  16   ภาพแสดงการฝึกความถูกต้องของการหายใจ
ที่มา : อัญชลี  เมฆวิบูลย์ , 2558

แบบฝึกหัดที่  2

1111111111111.  หายใจเข้า 4 จังหวะ กลั้นหายใจ 4 จังหวะ เป่าลมออก 4 จังหวะ (หมายเหตุพยายามควบคุมลมให้สม่ำเสมอ) ทำติดต่อกัน 4-5  ครั้ง

1111111111112.  หายใจเข้า 4 จังหวะ กลั้นหายใจ 4 จังหวะ เป่าลมออก 8 จังหวะ (หมายเหตุพยายามควบคุมลมให้สม่ำเสมอ)  ทำติดต่อกัน 4-5  ครั้ง

1111111111113.  หายใจเข้า 4 จังหวะ กลั้นหายใจ 4 จังหวะ เป่าลมออก 12 จังหวะ (หมายเหตุพยายามควบคุมลมให้สม่ำเสมอ)  ทำติดต่อกัน  4-5  ครั้ง

แบบฝึกหัดที่  3

            นอนหงายชันเข่า โดยเข่าทั้งสองข้างห่างกันพอประมาณ เท้าทั้งสองวางอยู่บนพื้น แล้วดึงลำตัวให้สูงขึ้นเป็นเส้นตรง  ระหว่างเข่ากับไหล่ โดยน้ำหนักตกอยู่บนไหล่ทั้งสองข้าง มือทั้งสองข้างวางอยู่บนพื้นขนานกับลำตัว หายใจเข้าช้า ๆ จนเต็มแล้วเป่าลมออกทางปากเหมือนกับเป่าหลอดกาแฟหรือเป่าเทียน ฝึกท่านี้วันละครั้ง ๆ ละไม่เกิน 1 นาที  จุดประสงค์ของแบบฝึกหัดนี้เพื่อฝึกการหายใจโดยไม่ให้ยกไหล่

ภาพที่  17   ภาพแสดงการฝึกการหายใจตามแบบฝึกหัดที่ 3
ที่มา : อัญชลี  เมฆวิบูลย์ , 2558

แบบฝึกหัดที่  4

1111111111111.  ยืนด้วยท่าทางสำหรับการขับร้อง
1111111111112.  ทำปากรูปสระอูแล้วหายใจเข้า นับ 3  จังหวะ
1111111111113.  ขณะหายใจออกให้หดท้องและดึงกล้ามเนื้อหน้าท้องขึ้นเพื่อผลักลม
1111111111114.  หายใจออกช้า ๆ ภายในเวลา 10 วินาที  ด้วย  ซ  หรือ  S
1111111111115.  ขณะฝึกให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ให้เกร็ง

แบบฝึกหัดที่  5

1111111111111.  ยืนด้วยท่าทางสำหรับการขับร้อง
1111111111112.  หายใจเข้า
1111111111113.  ขณะหายใจออกให้หดท้องและดึงกล้ามเนื้อหน้าท้องขึ้นเพื่อผลักลม
1111111111114.  ร้องเสียงสั้น ๆ ด้วย ซ  หรือ  S
1111111111115.  ขณะฝึกให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ให้เกร็ง

ข้อสังเกต

11111111111.  การหายใจที่ถูกต้องในการเป่า หลอดลมจะเปิดตลอดเวลา  สามารถทดสอบได้โดยหายใจเข้าจนเต็มที่  กลั้นลมหายใจแล้วยังสามารถพูดได้แสดงว่าหายใจถูกต้อง
11111111112.  หยุดลมโดยใช้กล้ามเนื้อของกะบังลมบังคับ ไม่ใช้วิธีการปิดหลอดลม
11111111113.  ขณะที่เป่ากล้ามเนื้อจะตึงอันเกิดจากแรงดันของกระบังลม กล้ามเนื้อหน้าท้องจะค่อย ๆ เข้าทีละนิด ๆ  ขณะเป่าแต่ไม่เร็วจนเกินไปเพราะแรงดันของกะบังลมดันให้ลมออกสู่ช่องปาก

ข้อสังเกตความไม่ถูกต้องในขณะฝึกปฏิบัติ

11111111111.  หายใจทางจมูก
11111111112.  หายใจบ่อยขณะที่เป่าโดยไม่จำเป็น
11111111113.  หายใจมีเสียงดัง
11111111114.  มีลมไม่เพียงพอ
11111111115.  ยกอก ยกไหล่ หรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอขณะหายใจเข้า
11111111116.  ไม่สามารถควบคุมเสียงให้อยู่ในระดับเดียวกัน

ข้อสังเกตความถูกต้องของการหายใจ

11111111111.  เปิดหลอดลมและหายใจทางปาก
11111111112.  มีลมพอที่จะเป่าให้หมดประโยคเพลง
11111111113.  หายใจเข้าอย่างรวดเร็วโดยได้ปริมาตรของลมที่ต้องการ
11111111114.  หายใจเต็มปอดทุกครั้ง
11111111115.  ไม่เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการหายใจ เช่น ไหล่  เป็นต้น
11111111116.  สามารถควบคุมลมให้ออกมาอย่างสม่ำเสมอตามต้องการ

ค้นคว้าเพิ่มเติม

1.  การฝึกหายใจ

2.  การหายใจและการควบคุมลม

3.  ตัวอย่างวิธีฝึกหายใจ

ธรรมชาติของเสียง

111111111111เสียงของมนุษย์จัดอยู่ในประเภทเครื่องดนตรีชนิดเป่าลม  เสียงพื้นฐานจะเกิดขึ้นได้จากช่องคอ (Larynx) และมีคลื่นเสียงก้อง (Harmonics)  อยู่อย่างสมบูรณ์  เสียงพื้นฐานจะถูกกลั่นกรองหรือเพิ่มกำลังขึ้นโดยช่องปากและโพรงจมูก  การกระทำอันนี้จะเพิ่มกำลังให้แก่เสียงสะท้อนตัวอื่นด้วย

111111111111เสียงเกิดจาก ลมจากกระบังลมเคลื่อนที่มากระทบเส้นเสียง และทำให้เกิดการสั่นสะเทือน การเกิดเสียงสูงและต่ำ ขึ้นอยู่กับปริมาณของลมที่มากระทบเส้นเสียง คือ ปริมาณลมน้อย เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนน้อยทำให้เกิด“เสียงต่ำ” และปริมาณลมมาก เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนมาก ทำให้เกิด “เสียงสูง”  ดังนั้นหน้าที่ของลม คือการทำให้เกิดเสียงสูงต่ำ และอีกหน้าที่คือการทำให้เกิดความดัง-เบาของเสียง ซึ่งเกิดจากการควบคุมปริมาณลมเช่นเดียวกัน  อวัยวะในการเปล่งเสียง  ประกอบด้วย

11      1111.  เส้นเสียง

ภาพที่  18  เส้นเสียง
( ที่มา :  ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล , 2558 )

11111111111เส้นเสียง  เปรียบเหมือนเครื่องดนตรีประจำอยู่ในร่างกายของเรา  เส้นเสียงเป็นกล้ามเนื้อบาง ๆ สั้น ๆ มีความยาวประมาณ  1.2-1.7  เซนติเมตร กว้าง 0.2-0.3  เซนติเมตร  ขวางอยู่เหนือหลอดลม  นอกจากจะทำหน้าที่ทำให้เกิดเสียงแล้ว  เส้นเสียงยังทำหน้าที่เป็นประตูไม่ให้สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ผ่านเข้าไปในหลอดลม

ภาพที่  19   แสดงการเคลื่อนไหวของเส้นเสียง
( ที่มา :  ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล , 2558 )

111111.  เส้นเสียงขณะหายใจเข้า จะเปิดออกในรูปแบบสามเหลี่ยม
111112.  เส้นเสียงขณะสร้างเสียง โดยจะปิดเข้าชิดกันและเกิดการสั่นพลิ้วทั้งเส้นสำหรับระดับเสียงต่ำ
111113.  เส้นเสียงพลิ้วด้านหน้า  สำหรับระดับเสียงกลาง
111114.  เส้นเสียงพลิ้วด้านหลัง  สำหรับระดับเสียงสูง

มารู้จักเส้นเสียงกันเถอะ

11      1112.  ช่องคอ

ภาพที่  20   ช่องคอ
( ที่มา :  //www.google.co.th , 2558 )

11      1113.  ช่องปาก

ภาพที่  21   ช่องปาก
( ที่มา :  //www.google.co.th , 2558 )

การออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขระวิธี

11111การออกเสียงคำต่าง ๆ ในการขับร้องต้องประสานกับการฝึกลมหายใจ  การเปล่งเสียงและการสร้างเสียงสะท้อน  การฝึกการออกเสียงเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้การร้องเพลงได้ดี       การออกเสียงพยัญชนะ  สระและวรรณยุกต์อย่างไม่ถูกต้อง  ยางครั้งทำให้ความหมายของเพลงเปลี่ยนไป  ในทางกลับกัน  ถ้าผู้ขับร้องออกเสียงภาษานั้น ๆ ได้ถูกต้องตามอักขระวิธีก็จะเพิ่มความประทับใจให้กับผู้ฟัง

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์  และเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันทั้ง 5  เสียงนั้นทำให้ความหมายของคำต่างกัน  ฉะนั้นผู้ขับร้องควรคำนึงและให้ความสำคัญในเรื่องนี้

11111ส่วนการฝึกร้องเพลงภาษาตะวันตกนั้นมีเสียงสระพื้นฐาน  คือการออกเสียงตามอักษรโฟเนติคส์สากล  หรือ  I.P.A  (International Phonetic Alphabet) ทั้งหมดมี  5  ตัวคือ  a  e  i   o  u

11111รูปปากของการออกเสียงสระทั้ง  5  มีดังนี้

[a]  :อ้าปากโดยยกขากรรไกรบนขึ้น  ปล่อยขากรรไกรล่างตามสบาย  ลิ้นวางราบปล่อยเป็นธรรมชาติ  อ้าปากตามสบายแต่อย่ากว้างเกินไป

[e]  :อ้าปากครึ่งเดียว  ลิ้นหดเล็กน้อย  ตำแหน่งลิ้นค่อนไปทางด้านหลัง

[i]  :ฉีกมุมปาก  ลิ้นด้านหน้าเกือบแตะเพดานแข็ง

[o]:ห่อปาก  ตำแหน่งลิ้นค่อนไปทางด้านหลัง  ช่องปากครึ่งบนเป็นรูปทรงกระบอก  ใช้กำลังเต็มปาก

[o]:ห่อปาก  ลิ้นส่วนหลังสูงจนเกือบแตะเพดานอ่อน

 

ภาพที่  22  ภาพแสดงรูปปากในการออกเสียงสระต่าง ๆ
ที่มา : ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล ,  2558

การปิดคำ

1111111ในการร้องเพลงนักร้องต้องออกเสียงสระมากกว่าพยัญชนะ  เพราะการออกเสียงของคำแต่ละคำเราจะออกเสียงพยัญชนะสั้นกว่าสระ  โดยเฉพาะคำที่ต้องออกเสียงยาว  เช่น  คำว่า“ปี”เกิดจาก  พยัญชนะ  ปอ+สระอี  ให้ยาวเป็นเวลา  5 วินาที  จะสังเกตเห็นว่าลักษณะเสียงที่ออกมาจะเป็นดังนี้  ปอ+อี  (เสียง  ปอ. จะได้ยินแค่ครั้งแรกเท่านั้นหลังจากนั้นจะเป็นเสียงสระอี)  ดังนั้นในการปรุงแต่งคำร้องให้สละสวยจึงขึ้นอยู่กับการออกเสียงสระให้ถูกต้องชัดเจน  และมีน้ำหนักซึ่งเกิดจากการขยับขากรรไกร  ลิ้น  ริมฝีปากและทำรูปปากให้ถูกต้อง

1111111ถ้าเป็นการออกเสียงสระผสม  เช่น  คำว่า “ใจ”   เกิดจาก  สระใอ = อา +อี เวลาออกเสียงควรออกเสียงสระอาสั้นกว่าสระอี  เป็น  จอ + อา…+ อี  (จำนวนจุดแทนความยาวของการลากเสียง)  เพราะถ้าออกเสียงสระอายาวกว่าสระอี  จะกลายเป็น  จอ + อา  … + อี  (จาย…+อี)  หรือความว่า  “เกลียว”  เกิดจาก  พยัญชนะ  กล.  และ สระ  อี + อา + อู  ควรออกเสียงเป็น  กล + อี…+ อา + อูหรือ  กล + อี +…+ อา …+ อ   แต่ไม่ควรเป็น  กล + อี + อา + อู  (เพราะเสียงที่ออกมาจะกลายเป็น“กลู”)  การร้องคำที่ไม่มีตัวสะกด  ไม่ควรออกเสียงสระเป็นเวลานาน  เช่น  ฉันรักเธอ  หากร้องอยู่บนสระนาน ๆ โดยไม่รีบปิดคำ  ก็จะออกมาเป็น  ฉาน  ร้าก  เธอ

1111111การออกเสียงวรรณยุกต์ของคำในภาษาไทยนักร้องต้องระวังให้มาก  เพราะถ้าออกเสียงวรรณยุกต์ผิดก็จะทำให้ความหมายของคำนั้นมีความหมายต่างไปจากเดิมทันที  โดยเฉพาะเนื้อเพลงที่มีโน้ตดนตรีเป็นคนละเสียงกับวรรณยุกต์ของเนื้อเพลง  เช่น  ชื่นชีวันเมื่อฉันและเธอชิดใกล้  (เพลงหนึ่งมิตรชิดใกล้)  ถ้าร้องออกเสียงให้ตรงกับโน้ต จะต้องออกเสียงเป็น  ฉื่นชีวันเมื่อชันและเธอชิดใกล่  นอกจากจะไม่ได้สื่อความหมายตามที่ต้องการแล้ว ยังฟังตลกอีกด้วย  วิธีถูกต้องคือนักร้องจะต้องออกเสียงวรรณยุกต์ของแต่ละคำให้ถูกต้องเสียก่อน  แล้วจึงใช้เทคนิคของการเอื้อนเสียงให้ได้ตัวโน้ตที่ต้องการ (ปิ่นศิริ, 2548: 37-39)

เสียงสะท้อน

 111111111อวัยวะที่ทำให้เกิดเสียงสะท้อน  คืออวัยวะที่กลั่นกรองเสียง  ประกอบด้วยช่องคอ  โพรงจมูก  ช่องปาก  เพดานแข็ง  ลิ้น  ฟัน  ริมฝีปาก  เป็นต้น

 

ภาพที่  23   แสดงอวัยวะในการออกเสียง
( ที่มา :  //shcoolofphonetic.wordpress.com , 2558 )

อวัยวะในการสร้างเสียงสะท้อน  ประกอบด้วย

111111.  ทรวงอก
111112.  โพรงปากและโพรงจมูก
111113.  โพรงกะโหลก

11111จุดประสงค์ของการ  เสียงสะท้อน  คือทำให้เสียงไพเราะ  สมบูรณ์  สดใส  ชัดเจนมีกังวานทุกเมื่อ  การเปล่งเสียงร้องให้เกิดเสียงสะท้อนได้นั้น  ต้องอาศัยวิธีการหายใจที่ถูกต้องและเปิดช่องคอให้เป็นธรรมชาติและไม่เกร็ง  ปล่อยให้คลื่นเสียงตามธรรมชาติสะเทือนในอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียงสะท้อน  เกิดเป็นเสียงอันไพเราะ  มีกังวาน

            เสียงสะท้อนแบ่งออกเป็น

111111.  เสียงสะท้อนในช่องอก (Chest Tone) เป็นการขับร้องในระดับเสียงต่ำ เป็นเสียงที่เปล่งออกมาได้ง่ายที่สุด โดยจะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณหน้าอก  เสียงที่ได้จะมีความกังวาน ทุ้ม ใหญ่ เป็นโทนที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกสุขุม รอบคอบ เศร้า เหงา    โรแมนติก ฯลฯ ลักษณะของเนื้อเสียงจะเหมือนกับเสียงพูดปกติของชาวตะวันตก ตำแหน่งเสียงทางกายภาพจะอยู่ที่บริเวณ หน้าท้องถึงบริเวณริมฝีปากล่างหลักการร้องเพลงเสียงต่ำ ปฏิบัติได้ดังนี้
1111111113.1  ใช้เลียนแบบเช่นเดียวกับการพูด เสียงจะอยู่ที่ริมฝีปาก พยัญชนะและสระอยู่ที่ริมฝีปากไม่ใช่อยู่ในคอ
1111111113.2  เมื่อจะเริ่มร้องเสียงต่ำจะต้องเริ่มคิดเสียงสูงไว้
1111111113.3  ยิ่งเสียงลงต่ำช่องในปากจะเล็กลง ถ้าปากกว้างไปเสียงจะไม่มีกำลัง
1111111113.4  เวลาร้องเสียงต่ำไม่ควรร้องเสียงดัง
1111111113.5  และบังคับลมและกำลังไว้ไม่ให้พลังออกมามากพร้อมกับเสียง เพราะจะทำให้เสียงหนักเกินไป
1111111113.6  ให้เสียงต่ำมีลักษณะก้องหรือสะท้อนกังวานออกมาคล้ายเสียงฮัม

111112.  เสียงสะท้อนในโพรงปากและจมูก (Mouth Tone) โทนเสียงกลาง เป็นโทนเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์ที่ปกติ สบาย ๆ  เมื่อปล่อยเสียงจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนบริเวณช่องปากและในโพรงอากาศบริเวณจมูก ลักษณะของเนื้อเสียงจะเหมือนกับเสียงพูดปกติของชาวตะวันออก ตำแหน่งเสียงทางกายภาพจะอยู่ที่บริเวณ ริมฝีปากถึงโหนกแก้ม

111113.  เสียงสะท้อนในช่องกะโหลก (Head Tone) โทนเสียงระดับสูง เป็นเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์ที่ดีใจ   เสียใจ  สนุกสนาน เป็นการขับร้องในเสียงสูง ระดับเทนเนอร์ และ โซปราโน  ขณะเปล่งเสียงจะรู้สึกสั่นสะเทือนก้องบริเวณ เหนือลิ้นไก่และพริ้วไปตามส่วนหลังของศีรษะ เกิดความก้องกังวานในโพรงกะโหลกศีรษะแผ่กระจายมาถึงโพรงอากาศบริเวณหน้าผาก ตำแหน่งเสียงทางกายภาพจะอยู่ที่บริเวณระหว่างคิ้ว  หลักการร้องเพลงในโทนเสียงสูง ปฏิบัติได้ดังนี้ คือ
111111113.1  ใช้สมองหรือใช้ความคิดช่วยในการร้องเสียงสูง เช่น จะร้องเสียงซอลสูงให้สมมุติว่าจะร้องเสียงสูงเท่ากับที่เคยร้องมาก่อน
111111113.2  การร้องเสียงสูงต้องใช้พยัญชนะเร็วและชัด โดยใช้พลังของลมจากพยัญชนะถึงสระ
111111113.3  การร้องเสียงสูงให้ปล่อยเสียงออกมาตามสบายโดยไม่ต้องบังคับ
111111113.4  เมื่อร้องเสียงสูงให้ปล่อยขากรรไกร ปล่อยลิ้นตามสบาย อ้าปากกว้างไม่ต้องเงยหน้าและไม่เกร็ง
111111113.5  ใช้พลังของลมจากกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง เอวและสะโพก แต่ใช้กล้ามเนื้อที่คอเปล่งหรือบังคับเสียง

ค้นคว้าเพิ่มเติม

การออกเสียง  Head  Tone   /     การออกเสียง  Mount  Tone  /   การออกเสียง  Chest  Tone

การรักษาเสียง

111111111สภาพชองเสียง ขึ้นอยู่กับสุขภาพของนักร้องด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม  นอนหลัยบเพียงพอ  และออกกำลังกายสม่ำเสมอ   ไม่ควรตะโกน  ไม่ควรร้องเสียงดัง  หรือกรีดร้องเสียงแหลม  เพราะจะเป็นการทำงานเสียง  การเชียร์กีฬากลางแจ้งที่จะต้องใช้เสียงตะโกนดัง ๆ จะทำให้คอเกร็ง  กล้ามเนื้อคอถูกบีบทำให้เสียงเสีย
111111111การไอหรือกระแอมไอเมื่อระคายคอ  ก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพเสียงเช่นกัน  เมื่อมีอาการไอควรรีบพบแพทย์ เพื่อรักษาให้หายโดยเร็ว
111111111นักร้องควรระวังใช้เสียงในทางที่ผิดด้วยการบังคับเสียงในลักษณะที่ไม่สมควร  เช่น  ร้องเพลงดังเกินไปหรือการร้องเพลงเสียงสูงหรือเสียงต่ำเกินความสามารถของตนเอง  เมื่อปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยๆ เสียงจะเสีย  จะเกิดอาการเสียงแหบหรือเสียงหาย แสดงว่าเส้นเสียงบวม  ต้องหยุดพูดและหยุดร้องเพลงจนกว่าจะหาย มิฉะนั้นเสียงจะแหบถาวร

การถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทเพลง

111111111สามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกถึงความสุข สนุกสนาน หรือความทุกข์เศร้าโศก ผ่านทางคำพูด สีหน้าแววตาหรือท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไร เช่นเดียวกันกับบทเพลงที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของคนแต่ง ออกมาได้อย่างละมุนละไม นักแต่งเพลงจึงต้องทำผลงานเพลงให้ดี สามารถแสดงถึงความต้องการทางอารมณ์ ที่อยากสื่อสารให้ผู้ฟังได้รับรู้อย่างชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อความบันเทิง แต่ก็ต้องมีความจริงใจในเนื้อหาด้วย เพื่อที่ผู้ฟังจะได้รู้สึกว่า เพลงนี้สามารถสัมผัสถึงหัวใจของเขาได้อย่างแท้จริง

คลิกทำแบบทดสอบหลังเรียน
หรือ สแกน QR  Code ทำข้อสอบ

 

การร้องประสานเสียงที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

การร้องประสานเสียง หมายถึง เสียงร้องเพลงของผู้ร้องหลายคนที่เปล่งเสียงออกมาพร้อมๆกันโดยมีระดับเสียงที่ต่างกัน โดยที่เสียงที่เปล่งออกมานั้นจะต้องมีความกลมกลืนผสมผสานกันฟังแล้วไม่ขัดหู

คนที่จะฝึกหัดขับร้องได้ดีคือคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร

ผู้เรียนจะต้องมีใจรัก มีความอดทน ขยัน หมั่นฝึกฝน การร้องเพลงไทย นั้นประกอบด้วยการออกอักขระ ทำนอง จังหวะ ลีลา และอารมณ์ การหมั่น ฝึกฝนเป็นเนืองนิจจะช่วยให้การขับร้องเพลงไทยดีขึ้น หัวใจสำคัญของศิลปะ การขับร้องอยู่ที่ผู้เรียนมีใจรัก มีความพยายาม ขยัน อดทนไม่ท้อถอย เมื่อได้ รับความสำเร็จแล้วต้องไม่ทะนงตนว่าเก่งแล้วเลิศแล้ว ...

การประสานเสียงมีแบบใดบ้าง

สำหรับการขับร้องประสานเสียง โดยทั่วไปจะมีหมู่ขับร้องที่ใช้อยู่คือหมู่ขับร้อง ประสานเสียง 4 แนว ได้แก่ แนว โซปราโน และแนว อาลโต ซึ่งจะเป็นผู้หญิงร้อง และ แนว เตเนอร์ กับ เบส เป็นหมู่นักขับร้องชาย ถ้าเป็นหมู่ขับร้องชายล้วน มีชื่อว่า “MALE CHOIR” ประกอบด้วยแนว เตเนอร์ 1 เตเนอร์ 2 และ แนว เบส ถ้าเป็นหมู่ขับร้องหญิงล้วน มี ...

การประสานเสียง 3 เสียงขึ้นไปเรียกว่าอะไร

6.2 คอร์ด (Chords) หมายถึงกลุ่มเสียงตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป เรียงกันในแนวตั้งและเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน คอร์ดมีมากมายหลายชนิดแล้วแต่ลักษณะการใช้นำไปใช้ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคอร์ด 3 ชนิด ใหญ่ ๆ รวมถึงวิธีการสร้างคอร์ด (Chord Construction) ดังนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก